Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์ (โรคหอบหืด) - Coggle Diagram
การพยาบาลหญิงที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์ (โรคหอบหืด)
ความหมายโรคหอบหืด (asthma)
ภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของท่อหลอดลมส่วนแขนงปอด (bronchi) หลอดลมฝอย (bronchioles) และมีการตีบแคบหรืออุดตันของทางเดินหายใจทำให้มีการหายใจออกลำบากมากกว่าการหายใจเข้าแน่นหน้าอกและขาดออกซิเจน
การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคหอบหืด
ระดับ 1 (Mild intermittent asthma,symptom control)
มีอาการเล็กน้อยเป็นบางครั้ง น้อยกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ หรือน้อยกว่า 2วัน/เดือน เเต่ควบคุมได้
ระดับ 2 (Mild persistent)
มีอาการ 2 ครั้ง/สัปดาห์ เเต่มีอาการนานตลอดทั้งวันหรือมีอาการมากกว่า 2 คืน/เดือน
ระดับ 3 (Moderate persistent )
มีอาการมากกว่า 1 คืน/สัปดาห์
ระดับ 4 (Sever persistent)
มีอาการบ่อย เเละต่อเนื่องตลอดวัน
สาเหตุ
ภูมิต้านทานต่อสารที่ระคายเคืองหรือทำให้เกิดอาการแพ้ในเยื่อบุท่อหลอดลมคอเช่นฝุ่นเกสรดอกไม้ขนสัตว์ต่างๆควันบุหรี่มลพิษในอากาศละอองสารเคมีต่างๆการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจเป็นต้น
พยาธิ
สิ่งเเปลกปลอม - ทางเดินหายใจ + mast cell T-lym - หลั่ง Ige-หลอดลมบวม - สร้างจมูก - กล้ามเนื้อหดเกร็ง - หายใจลำบาก
อาการเเละอาการเเสดง
มีอาการไอหอบมักพบในตอนกลางคืนถึงเช้ามืดหายใจมีเสียงวด (wheezing) เจ็บแน่นหน้าอกเกิดจาก T helper cell 2 ถูกสารภูมิแพ้กระตุ้นทำให้หลอดลมหดเกร็งตีบเยื่อบุทางเดินหายใจบวมมีเสมหะยังอย
การหายใจออกลำบากกว่าการหายใจเข้าต้องใช้แรงในการหายใจเพิ่มขึ้น
ในขณะหอบจะหายใจลำบากต้องใช้กล้ามเนื้อที่ตอและไหล่ในการช่วยหายใจ
หายใจเร็วมากกว่า 35 ครั้งนาทีชีพจรเร็วมากกว่า 120 ครั้ง / นาทีเหงื่ออกมากอ่อนเพลียไม่สามารถพูดคุยไม่สามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและการคลอดก่อนกำหนด (preterm labor and delivery)
ภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์ (gestational hypertension)
ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย (low-birth weight infant)
ทารกมีภาวะพร่องออกซิเจน
การตรวจวินิจฉัย
การทดสอบประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของปอดจากปริมาตรอากาศที่หายใจออกแต่ละครั้งหรือใน 1 นาทีโดยใช้เครื่อง spirometer หรือ peak flow racter นอกจากนี้อาจตรวจวินิจฉัยด้วย chest X-ray หรือทดสอบปฏิกิริยาภูมิแพ้สารต่าง ๆ
การรักษา
ยาที่ใช้มี 2 กลุ่มคือยาขยายหลอดลมหรือยาบรรเทาอาการและยาระงับการอักเสบ
ยาขยายหลอดลม
ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น "(short-acting bronchodilators) เช่น albuterol, levabuterol, terbutaline เป็นต้น
ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ระยะยาว (long-acting bronchodilators) เช่น salimeterol, formoterol
ยาระงับการอักเสบ
ยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ใช้พ่นสูดดม (inhaled corticosteroids) เช่น budesonide nebulized, beclomethasone, triamcinolone เป็นต้น
ยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย (systemic corticosteroids) เช่น methyprednisolone, prednisone เป็นต้น
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหอบหืด
ให้คำแนะนำในการสังเกตสิ่งระคายเคืองต่อทางเดินหายใจที่กระตุ้นให้มีอาการโรคหอบหืดทำเริบ
ให้คำแนะนำในการสังเกตอาการแสดงของโรคหอบหืดเช่นไอมีอาการหายใจออกลำบากแน่นในอกได้ยินเสียง wheezing ริมฝีปากหรือเล็บมีสีคล้ำ
ประเมินลักษณะการหายใจและสัญญาณชีพต่าง ๆ ทุก 1-2 ชม. ทุก 4-6 ชม. ตามอาการเปลี่ยนแปลง
ติดตามประเมินผลการตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด (pulse Oximeter) กรณีความอิ่มตัวของออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 90 ต้องรายงานแพทย์เพื่อพิจารณาการตรวจรักษา
ประสานงานในการส่งตรวจประสิทธิภาพของปอด chest X-ray, arterial blood gas, หรือ electrolyte และติดตามผลการตรวจ
แนะนำเกี่ยวกับการรับประทานยาหรือการใช้ยาพ่นกลุ่มสเตียรอยด์หรือยาขยายหลอดลมตามแผนการรักษา
แนะนำให้มาตรวจครรภ์ตามนัดเพื่อติดตามประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อย 3,000 มิลลิลิตรต่อวั
พักผ่อนให้มากขึ้นหลีกเลี่ยงการทำงานหนักหรือการออกกำลังกายที่หักโหม
นับการดิ้นของทารกในครรภ์