Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงที่มีเลือดออกระยะการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลหญิงที่มีเลือดออกระยะการตั้งครรภ์
การพยาบาบหญิงตั้งครรภ์นอกมดลูก
ความหมาย
การตั้งครรภ์นอกมดลูก หมายถึงการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้วนอกโพรงมดลูก ร้อยละ 95 เกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ นอกจากนั้นอาจพบได้ที่รังไข่ ปากมดลูก และในช่องท้อง
พยาธิ
เมื่อไข่ที่ได้รับการผสมแล้วฝังตัวที่เยื่อบุท่อนำไข่ ไข่จะฝังตัวผ่านเยื่อบุท่อนำไข่ลงไปแต่เนื่องจากท่อนำไข่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อเยื่อเจริญ เพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ชัดเจนเหมือนกับการตั้งครรภ์ในโพรงมดลูกจึงไม่สามารถขัดขวางการฝังตัวลึกเกินไปของไข่ได้ พร้อมกันนั้นการเปลี่ยนแปลงของไข่ก็จะมีการเจริญของตัวอ่อนเกิดขึ้น ซึ่งจะทะลุผ่านเนื้อเชื่อและกล้ามเนื้อของท่อนำไข่หรือผนังท่อนำไข่หรือเข้าไปในช่องท้อง สภาพแวดล้อมที่ท่อนำไข่หรือนอกเหนือจากโพรงมดลูกก็จะไม่เหมาะสมต่อการเจริญเดิบโตของตัวอ่อน (cmbry*) ตัวอ่อนจึงมักจะตายในที่สุดปรากฏการณ์ที่เกิดจากการตั้งครรภ์นอก
มดลูกอาจพบได้ 3 ลักษณะดังนี้
การเจริญชั้นนอกสุดของตัวอ่อนที่ใช้ฝั่งตัว ทำให้เกิดแผลขนาดใหญ่ของผนังท่อนำไข่และท่อนำไข่แตกในที่สุด ระยะนี้จะมีเลือดออกจำนวนมากในอุ้งเชิงกราน หญิงตั้งครรภ์จะมีอาการช็อกและปวดท้องอย่างรุนแรง พบได้เสมอในรายที่มีการฝังตัวที่ท่อนำไข่ส่วนอินเตอสทิเชียลหรืออิสมัส การตกเลือดจะเกิดอย่างรวดเร็วและจำนวนมาก อาจทำให้หญิงตั้งครรภ์เสียชีวิตถ้าได้รับการช่วยเหลือไม่ทันท่วงที
ตัวอ่อนอาจตายหลังการฝังตัว แต่ยังคงอยู่ใน ท่อนำไข่และถูกล้อมรอบด้วยเลือดเกิดก้อนที่มาจากการสลายตัวของไข่ (tubal mole) ถ้ามีเลือดออกภายในช่องท้องจะมีอาการปวดและกดเจ็บบริเวณท้องน้อย อาการและอาการแสดงของการตั้งครรภ์จะค่อย ๆ หายไป และผลตรวจสอบการตั้งครรภ์อาจได้ผลลบ หลังจากนั้นจะมีการลอกตัวของเชื่อบุโพรงมคลูก ทำให้มีเลือดสีคล้ำ ๆ ออกทางช่องคลอดำนวนเล็กน้อย ส่วนเลือดที่อยู่ล้อมรอบท่อนำไข่จะถูกดูดซึมไปในที่สุดหรืออาจมีการแท้ง (tubalabortion) ตามมา
การตั้งครรภ์ยังคงดำเนินต่อไปอีกระยะหนึ่ง ทำให้มีเลือดออกเพิ่มขึ้นในท่อนำไข่(hematosalpinx) เลือดและชิ้นส่วนของการตั้งกรรภ์ (product of conception) จะเคลื่อนตัวเข้าไปในอุ้งเชิงกราน (pelvic caviy) และลงไปสู่คัลดิแซก อาการปวดจะเพิ่มขึ้นและอาจมีอาการช็อกตามมา
สาเหตุ
มีปัจจัยขัดขวางไม่ให้ไข่ที่ถูกผสมแล้วเดินทางเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูก
มีปัจจัยขัดขวางไม่ให้ไข่ที่ถูกผสมแล้วเดินทางเข้าไปฝังตัวในโพรงมดลูก
1.1 การอักเสบของท่อนำไ ข่ (salpingitis) มักเกิดจากการอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อย คือ การติดเชื้อ
1.2 ท่อนำไข่มีพังผืด (peritubal adhesion) เป็นผลจากการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
1.3 ท่อนำไข่มีพัฒนาการที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น ท่อนำไข่ยาวคดเคี้ยว มีแอ่งเว้า (diverticulum) งอพับหรือหักงอ (angulation) หรือท่อนำไข่ตีบตัน
1.4 ท่อนำไข่มีแผลเป็นจากการผ่าตัด เช่น การผ่าตัดตกแต่งท่อนำไข่ (tuboplasty) การ ทำหมัน(tubal sterilization)
1.5 ก้อนเนื้องอกที่รังไข่หรือท่อนำไข่ทำให้รูปร่างบิดเบี้ยวไป เช่น เนื้องอกมคลูก (myomauteri) เชื้อบุโพรงมดถูกเจริญผิดที่
1.6 มีการตกไข่จากรังไข่ข้างหนึ่งแต่จะมีการผสมของไข่และเชื้ออสุจิในปีกมดลูกด้านตรงข้ามและเกิดการฝั่งตัวบริเวณนั้น
1.7 การใช้ห่วงคุมกำเนิด อาจทำให้เกิดอักเสบติดเชื้อในโพรงมดลูกได้
1.8 การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีแต่ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนอย่างเดียว
1.9 เคยมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน (previous ectopic pregnancy)
1.10 มีประวัติรักษาภาวะมีบุตรยาก เช่น การทำเด็กหลอดแก้วและฉีดตัวอ่อนหลายตัวเข้าในโพรงมดลูก
1.11 เคยมีประวัติการทำแท้งมาก่อนหลายครั้ง ทำให้มีการติดเชื้อในโพรงมดถูกและท่อนำไข่
1.12 การตกไข่จากรังไข่ค้านหนึ่งเข้าไปในบริเวณคัลคิแซก (cul-do-sac) และเข้าไปในท่อนำไข่ด้านตรงข้าม ซึ่งไข่ดังกล่าอาจถูกผสมโดยอสุจิแล้ว จึงเกิดการฝังตัวได้เร็วเพราะอยู่ในระยะที่ตัวอ่อนพัฒนาไปมากแล้ว หรือไข่ที่ถูกผสมแล้วนั้นได้เจริญขึ้นมีขนาดใหญ่เกินไป ทำให้ไม่สามารถเดินทางผ่านส่วนปลายที่แคบของท่อนำไข่ได้ จึงเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกขึ้น
1.13 มารคาที่มีอายุมากกว่า 3ร ปี มารดาที่มีประวัติการสูบบุหรี่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงน้อยต่อการเกิดภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก
เกิดจากเยื่อบุท่อนำไข่มีสภาพหมาะแก่การฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมแล้ว เช่น บางรายมีเยื่อบุโพรงมดถูกเจริญผิดที่ ทำให้ง่ายต่อการฝังของไข่
อาการและอาการแสดงของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
เลือดออกทางช่องคลอด ลักษณะเลือดที่ออกจะมีสีคล้ำเป็นเลือดเก่า ๆ จำนวนน้อยหรือออกกะปริบกะปรอย แต่ในบางรายอาจไม่มีเลือดออกเลยก็ได้ โดยเฉพาะในรายที่ตัวอ่อนยังมีชีวิตอยู่ บางครั้งเลือดที่ออกจะไม่สัมพันธ์กับอากร คือ เลือดออกให้เห็นน้อยแต่ผู้ป่วยมีอาการช็อคจากการตกเลือดในช่องท้อง แต่บางรายอาจให้ประวัติว่ามีชื้นเนื้อเยื่อออกมาจากช่องคลอดด้วยบางครั้งออกมา เป็นชิ้นเด็กๆบางครั้งออกมาเป็นก้อนเดียวเรียกว่า เดซิดัว คาส (decidual cast)
ปวดท้องน้อยลักษณะปวดเกร็ง (colicky pain) ที่บริเวณท้องน้อยส่วนล่าง พบประมาณร้อยละ96 ของผู้ป่วย ซึ่งอาจเป็นตั้งแต่ก่อนที่จะมีการแตกของครรภ์นอกมดถูกได้ อาการปวดมักเป็นแบบบิด ๆอาจปวดข้างเดียว ปวดสองข้างหรือปวดทั่วไปก็ได้ ในบางครั้งอาจปวดด้านตรงข้ามกับด้านที่เป็นก็ได้รายที่มีเลือดออกในช่องท้องจะมีการปวดร้าวไปที่หัวไหล่
ขาดประจำเดือน พบได้ประมาณร้อยละ 7ร-95 ของผู้ป่วยร่วมกับอาการของการตั้งครรภ์ ได้แก่เต้านมคัดตึง มดลูกโต คลื่น ไส้อาเจียนซึ่งเป็นอาการแพ้ท้อง อาจตรวจพบผลการตรวจการตั้งครรภ์จากปัสสาวะเป็นบวก
การวินิจฉัย
ตรวจ pregnancy test มากกว่าร้อยละ 90 การทดสอบการตั้งครรภ์ในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์นอกมดถูกสามารถตรวจพบผล pregnancy test ได้ผลบวก ปัจจุบันมีความไวในการตรวจที่ระดับ-hcG 50 mIU/m! หรือน้อยกว่า และสามารถตรวจพบได้ภายใน 14 วันหลังการปฏิสนธิ ถ้าพบผลการตรวจการตั้งครรภ์เป็นลบ (negative) โอกาสที่จะเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกน้อยมาก สำหรับการตรวจ P-hCG ในเลือด (serum- P- hcG) สามารถตรวจได้เร็วที่สุดภายหลังการปฏิสนธิ 5 วัน
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด(transvaginal ultrasound examination) อาจ ไม่สามารถบ่งบอกถึงการตั้งครรภ์นอกมดลูกอย่างแน่ชัดได้ แต่สามารถบอกได้ว่ามีการตั้งครรภ์ภายในมดลูกหรือไม่ จึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวินิจฉัยแยกจากการตั้งครรภ์ภายในมคลูก ยกเว้นรายที่มีการตั้งครรภ์ในมดลูก และมีการตั้งครรภ์นอกมดลูก (combined pregnancy) ซึ่งพบน้อยมาก การตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้อง สามารถตรวจพบการตั้งครรภ์ภายในมดถูกได้เมื่อระดับ B -hCG สูงถึง5,000-6,000 mIU/ml ส่วนการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอดสามารถพบการตั้งครรภ์ในมดลูกได้เมื่อระดับ B -ICG สูงเพียง 1,500 mIU/ml การตรวจไม่พบการตั้งครรภ์ภายในมดลูกเมื่อระดับ B-hCG สูงเพียงพอ ทำให้เพิ่มความเชื่อถือของการวินิจฉัยภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก
การตรวจเลือด (CBC) อาจพบว่าค่าระดับความเข้มข้นของเลือด(hematocrit) ลดลง แต่ถ้าค่าเม็ดเลือดขาว (white blood cell count) มากกว่า 20,000 WBC/al. บ่งชี้ได้ว่าน่าจะมีภาวะการติดเชื้อมากกว่าการตั้งครรภ์นอกมดถูก
การส่องกล้องตรวจทางหน้าท้อง (laparoscopy) พบว่าให้ผลตรวจที่แน่ นอนที่สุด มีโอกาสผิดพลาดได้เพียง 2-5 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกในระยะแรก ซึ่งยังไม่สามาร ถเห็นภาวะผิดปกติของท่อนำไข่ได้ (false-negative) อย่างไรก็ตามอาจพบผลบวกผิดพลาด (false-positive) จากภาวะเลือดออกในท่อไข่
จากอาการและอาการแสดง และจากการตรวจภายในพบอาการแสดงของการตั้งครรภ์ เช่น ปากมคลูกมีสีคล้ำ มดลูกนุ่นเป็นต้น เจ็บเมื่อโยกปากมดลูก cu! de sac โปงและกดเจ็บหากมีเลือดออกในช่องท้อง และอาจคลำาได้ก้อนที่ปีกมดลูกด้านใดด้านหนึ่งและกดเจ็บ
วิธีการรักษา
การผ่าตัด ประเภทการผ่าตัด มี
1 ผ่าตัดปีกมดลูก (salpingectomy) ในกรณี ที่ปีกมดลูกยังไม่แตก อาบใช้วิธีการผ่าตัดเปิดช่องเล็กๆ ตรงท่อนำไข่ที่ตำแหน่งการตั้งครรภ์แล้วเอาชิ้นส่วนของการตั้งครรภ์ออก (lincar salpingostomy)
1.2 ผ่าตัดมดลูกและปีกมดลูก (hysterectomy and salpingectomy)
การรักษาทางยา methotrexate ซึ่งวิธีบริหารยานี้ ให้ได้ทั้งรูปแบบกิน แบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าเส้นเลือด และฉีดเข้าจุดที่ตั้งครรภ์นอกมคถูกโดยตรงมักทำในรายที่ขนาดของก้อนน้อยกว่า 3.5 ซ.ม. และไม่พบการเต้นหัวใจทารกจากการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง ขณะที่รับการรักษาด้วยยา methotrexate ต้องแนะนำให้หลีกเลี่ยงการ ใช้ยาโฟลิก (Folic acid) และอาหารที่ให้แร่ ธาตุโฟลิก เพื่อป้องกันไม่ให้คุณภาพของยาด้อยลงและหลีกเลี่ยงการใช้ยา nonsteroidal antintlammatory drugs เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ methotrexate toxicity (ACOG, 2018) ภายหลังการรักษาโดยวิธีประกับประกองหรือวิธีที่ไม่ใช้การผ่าตัด ต้องติดตามการรักษาโดยการตรวจระดับ -ICG ในเลือด และ ทำการผ่าตัดถ้า พบว่าระดับของฮอร์โมนไม่ลดลง