Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การอนามัยโรงเรียน (School Health) - Coggle Diagram
การอนามัยโรงเรียน (School Health)
ความหมาย
: กิจกรรมหรือการดำเนินงานที่ก่อให้เกิดความรู้ เจตคติและการรปฏิบัติ เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค การรักษา เพื่อให้สุขภาพดี เป็นความร่วมมือระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน
ขอบเขต
: 1. ป้องกันการแพร่กระจายและควบคุมโรคติดต่อ
การจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
เป้าหมาย
: นักเรียน ครู บุคลากร สุขภาพดี
องค์ประกอบงานอนามัยโรงเรียน
1. บริการอนามัยโรงเรียน
(School health service)
เพื่อการส่งเสริม ป้องกันการเกิดโรคในเด็กวัยเรียน
2. สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (Healthful school living)
จัดโรงเรียนให้ถูกสุขลักษณะ ให้เอื้อต่อการมีสุขภาวะ โดยการควบคุมดูแลและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม
3. สุขศึกษาในโรงเรียน (School health education)
เป็นกิจกรรมการให้ความรู้ เสริมสร้างประสบการณ์ ปลูกฝังทัศนคติที่
ถูกต้องในเรื่องสุขภาพแก่นักเรียน โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
4. ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน (School and Home Relationship)
การดำเนินงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกัน ทั้งฝ่ายครอบครัวและชุมชน ให้ทุกฝ่ายมีความรู้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทความรับผิดชอบเกี่ยวกับสุขภาพ
การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
1. การประเมิน (Assessment)
1.1 สำรวจข้อมูลทั่วไป
1.2 ประเมินสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และสุขาภิบาลอาหาร (แบบสำรวจ)
1.3 การประเมินภาวะสุขภาพ (บัตรบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน สศ. 3)
2. การวิเคราะห์ข้อมูล และวินิจฉัยปัญหา ( Analyzing data and Diagnosis)
นำมารวบรวม จัดหมวดหมู่และวิเคราะห์ข้อมูล และหาข้อมูล
สนับสนุนเพื่อนำไปวินิจฉัยปัญหา จัดลำดับความสำคัญของปัญหา และหาสาเหตุของปัญหา
3. การวางแผนงาน/โครงการ (Master plan /Sub plan)
วางแผนงาน/โครงการเขียนโครงการแบบมีส่วนร่วม ระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ใช้กรอบการพยาบาล 4 มิติ คือ การส่งเสริม
สุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาลเบื้องต้น และการฟื้นฟูสภาพ
4. การดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการ (Implementation)
ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่เขียนไว้ เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพ
5. การประเมินผลงาน/โครงการ (Evaluation)
ประเมินก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินการ และหลังดำเนินการ เพื่อนำผลการประเมินมาพัฒนาโรงเรียน และพัฒนาสุขภาพของนักเรียน ครู และบุคลากรต่อไป
3. การให้บริการอนามัยโรงเรียนในสถานการณ์ต่าง ๆ
3.1 การให้บริการอนามัยโรงเรียน
งานบริการอนามัยโรงเรียน หมายถึง การที่โรงเรียนจัดให้มีบริการสุขภาพ ขั้นพื้นฐานที่จำเป็น สำหรับนักเรียนทุกคน ได้แก่ การเฝ้าระวังภาวะสุขภาพ การตรวจสุขภาพ และการรักษาพยาบาล
3.1.1. การสร้างผู้นำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ
3.1.2. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
4 -6 ปี
วัคซีนรวมป้องกันคอตีบบาดทะยัก-ไอกรน (DPT)
และโปลิโอ (OPV) ครั้งที่ 5
7 ปีื
ัคซีนป้องกันตับอักเสบ คอ
ตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน
(HB/DTP-HB)
วัคซีนคอตีบ บาดทะยัก (dT)
วัคซีนป้องกันคางทูม หัด และ
หัดเยอรมัน (MMR)
11 ปี
(นร.หญิง)
วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก
(HPV)
12 ปี
วัคซีนรวม คอตีบ-บาดทะยัก (dT)
วัคซีนป้องกันโรคหัดและหัดเยอรมัน (MR)
3.1.3 การประเมินภาวะสุขภาพ
หมายถึง การตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพนักเรียน เพื่อการนำไปวาง
แผนการดูแลสุขภาพ
1) การประเมินภาวะการเจริญเติบโตของร่างกาย ได้แก่ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงและแปลผลภาวะโภชนาการ
2) การทดสอบสายตา
3) การทดสอบการได้ยินอย่างง่าย
4) การตรวจสุขภาพร่างกาย 10 ท่า
การประเมินภาวะการเจริญเติบโต เพื่อให้ทราบการเจริญเติบโตของนักเรียนเป็นไปตามวัย หรือภาวะขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการ
เกินหรือไม่ และสามารถให้คำแนะนำและช่วยเหลือได้
3.1.4 การปรับปรุงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการสุขาภิบาลอาหาร
วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้านร่างกายให้แก่นักเรียน
เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจและอารมณ์ให้แก่นักเรียน
เพื่อช่วยให้นักเรียนปลอดภัยจากโรคภัยไข้เจ็บและอุบัติเหตุต่าง ๆ
เพื่อให้นักเรียนมีการปฏิบัติด้านสุขลักษณะได้ถูกต้อง เป็นตัวอย่างที่ดีต่อครอบครัวและชุมชน
องค์ประกอบของการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
1) น้ำดื่ม น้ำใช้
น้ำประปา
เป็นน้ำที่ได้รับการกรองและใส่คลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคแล้ว จึงเป็นน้ำที่ปลอดภัย
น้ำฝน
เป็นน้ำที่จัดได้ว่าสะอาดที่สุด
คุณภาพที่ดีของน้ำฝนจะถูกทำให้เปลี่ยนแปลงได้จาก
องค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ สถานที่รองรับน้ำฝน หลังคาและที่เก็บกัก
น้ำบ่อ
น้ำบ่อลึกหรือบ่อบาดาลเป็นน้ำที่สะอาดพอเพราะพวกแบคทีเรีย บ่อบาดาลต้องลึกเกินกว่า 3 เมตร
ปากบ่อมีฝาปิดและติดตั้งเครื่องสูบน้ำมือโยก
2) ส้วมและที่ปัสสาวะ
ในโรงเรียนสหศึกษาควรแยกส้วมระหว่างชายหญิงไว้คนละแห่งสวมควรอยู่นอกอาคารเรียน เพื่อป้องกันไม่ให้มีกลิ่นรบกวน
ภายในห้องส้วมต้องมีการระบาย
อากาศที่ดี มีแสงสว่างพอเพียง
3) การกำจัดน้ำโสโครกในโรงเรียน
ถ้าปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปจะมีกลิ่นเหม็นเป็นเหตุรำคาญได้
จึงต้องมีการกำจัดน้ำโสโครกที่ถูกวิธีและเหมาะสม
4) การกำจัดขยะ
ต้องมีการแยกขยะ และกำจัดให้ถูกต้อง ตามหลัก
สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
5) ห้องครัว
สถานที่ ไม่ควรอยู่ใกล้กับสิ่งโสโครกหรือสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ มีระบบการถ่ายเทอากาศที่ดี
พื้นห้อง ต้องทึบเรียบ และสร้างด้วยวัสดุที่ความสะอาดง่าย แข็งแรงคงทน
ประตูหน้าต่างใส่ลวดตาข่าย เพื่อป้องกันแมลงวันและสัตว์นำโรค
ควรจัดให้มีอ่างล้างมือ และสบู่
มีภาชนะใส่เศษอาหารถังขยะมีฝาปิดและควรนำไปกำจัดทุกวัน
ควรมีถังน้ำยาดับเพลิงไว้พร้อมที่จะใช้ได้ทุกเวลา
ควรมีตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งสำหรับเก็บอาหารที่ต้องการให้สดอยู่เสมอ
6) โรงอาหาร
ควรจัดให้มีที่นั่งเพียงพอกับจำนวนนักเรียน ควรมีพื้นที่เฉลี่ย 1 ตารางเมตรต่อนักเรียน 1 คน
จัดให้มีน้ำสะอาดดื่มและใช้อย่างเพียงพอ
จัดให้มีอ่างล้างมือเพียงพอกับจำนวนนักเรียน
มีที่รองรับเศษอาหารที่ถูกสุขลักษณะ
มีลวดตาข่ายเพื่อป้องกันแมลงวัน
ควรมีเคาน์เตอร์สำหรับจ่ายอาหาร
7) ห้องพยาบาล
1) อยู่ชั้นล่างของอาคารเรียนเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
2) ขนาดของห้อง ขนาดของห้องไม่น้อยกว่า 6 เมตรเพื่อ
ประโยชน์ในการวัดสายตา
3) ตั้งอยู่ห่างจากสิ่งรบกวนและเหตุรำคาญ
4) ต้องสะอาดและมีแสงสว่างเพียงพอ อากาศถ่ายเทได้สะดวก
5) มีอ่างล้างมือในห้องพยาบาลและมีส้วมอยู่ใกล้เพื่อความสะดวก
6) มีพยาบาลหรือครูเวรอยู่ประจำ
3.1.5 การสุขศึกษาในโรงเรียน
มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 ด้าน คือ ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ
3.2 การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในโรงเรียน
จุดมุ่งหมายในการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
1.ป้องกันไม่ให้เกิดโรคติดต่อเกิดขึ้นในโรงเรียน
2.เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อไปยังเด็กคนอื่น
3.เพื่อให้ความรู้ในการป้องกันโรคแก่นักเรียน ครูและเจ้าหน้าที่ใน
โรงเรียน
4. โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (Health Promoting School)
หมายถึง โรงเรียนที่มีขีดความสามารถที่แข็งแกร่ง
มั่นคงที่จะเป็นสถานที่ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดีเพื่อการอาศัย ศึกษาเรียนรู้และท างาน
กลวิธีในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
ตามกฎบัตรออตตาวา
การชี้แนะ (Advocacy)
การสร้างหุ้นส่วนและภาคี (Partnerships and Alliances)
การสร้างเสริมความเข้มแข็งในระดับท้องถิ่น (Strengthening local capacity)
การวิจัย ติดตาม และประเมินผล (Research, monitoring and evaluation)
5. บทบาทหน้าที่พยาบาลในการให้บริการอนามัยโรงเรียน
1) บทบาทการเป็นผู้ดูแลโดยตรง (Direct care) ใน 4 มิติ
2) บทบาทเป็นผู้ประสานงาน (Co - ordinator)
3) บทบาทเป็นผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยหรือให้สุขศึกษา (Health educator)
4) บทบาทด้านการดูแลรายกรณี (Case manager)
5) บทบาทเป็นที่ปรึกษา (Consultant)