Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลหญิงที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะการทำงานของต่อมไร้ท่อผิดปกติ
ความหมาย
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ (thyroid dysfunction) หมายถึงภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีการสร้างไทรอยค์ฮอร์ โมนมาก หรือน้อยกว่าปกติซึ่งมีผลต่อเมตาบอลิซึมของร่างกายและระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประเภทความผิดปกติของของต่อมไทรอยด์
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ (Hyperthyroidism) พบได้ร้อยละ 1.6-2.7 และภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ (Hypothyroidism) พบได้ร้อยละ 7.0-10.9
สาเหตุ
สาเหตุของภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ ร้อยละ 60-80 คือโรคของต่อมไทรอยด์ชนิด Graves' disease ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะภูมิต้านทานใน ร่างกายตนเอง (autoimmune) ทำให้มีแอนติบอดีไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ สาเหตุอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ไทรอยด์อักเสบแบบกึ่งเฉียบพลัน (subacute thyroiditis) ไทรอยด์อักเสบหลังคลอด(postpartum thyroidis คอพอกเป็นพิษชนิดหลายปุ๊ม (toxic multinodular goiter) เนื้องอกชนิดไม่ร้ายของต่อมไทรอยด์ที่เป็นพิษ (toxic adenoma) เป็นต้น
พยาธิสรีรวิทยา
ต่อมไทรอยด์ทำงานโดยการควบคุมของไฮโปทาลามัส ซึ่งหลั่งฮอร์ โมน TRH ไปกระตุ้นต่อมพิทูอิทรี ให้หลั่งฮอร์ โมน TSH เพื่อไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างและหลั่งฮอร์ โมu triodothyronine(T3) และtyroxine (T4)
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติที่เกิดจากต่อมไทรอยค์เป็นพิษ (Graves' disease)เซลล์ของต่อมไทรอยด์จะถูกกระตุ้นจากแอนติบอดีจากปฏิริยาภูมิต้านทานในร่างกายตนเอง จะทำให้ขนาดของต่อมไทรอยด์โตขึ้น
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยค์ฮอร์ โมน้อยกว่าปกติ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์ โมน(ทรอกซิน (thyroxine น้อยลง เนื่องจากมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เช่น มีการอักเสบเรื้อรัง(chronic autoimmune thyroiditis) จาก Hashimoto disease โดยเซลล์ของต่อมไทรอยด์จะถูกทำลายโดยแอนติบอดี หรือเม็ดเลือดขาว (lymphocytes) เป็นต้น นอกจากนี้ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ อาจพบได้ในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยสารกัมมันตรังสีไอโอดีน (radioactive iodine) ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือได้รับสารไอโอดีนจากอาหาร ไม่เพียงพอ
อาการและอาการแสดง
ต่อมไทรอยด์ โต(Goiter) เหงื่อออกมากกว่าปกติ หิวบ่อย รับประทานจุ ผิวหนังอุ่น แดง ขึ้น ขี้ร้อน หงุดหงิด ตกใจง่าย หัว
ใจเต้นเร็ว รู้สึกใจสั่น กระวนกระวาย มือสั่น ความดัน โลหิตสูง นอนไม่ค่อยหลับ ชีพจรขณะหลับสูงกว่า100 ครั้ง/นาที มีภาวะวิกฤตของต่อมไทรอยด์ (hyroid storm) และการ ทำงานของหัวใจล้มเหลว(congestive heart failure)
กรณีไม่ได้รับการรักษา รักษาไม่ต่อเนื่อง หรือมีการติดเชื้อรุนแรง อาจเกิดภาวะวิกฤตของต่อมไทรอยด์ (thyroid storm) โดยจะมีอาการและอาการแสดง ได้แก่ มีไข้สูง มีอาการสับสน ใจสั่น และการทำงานของหัวใจล้มเหลว
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ มีอาการแสดงที่สำคัญ ได้แก่ น้ำหนักเพิ่มขึ้นเหนื่อยง่าย ท้องผูก ผมร่วง นอนไม่หลับ ความคิดช้า เสียงเปลี่ยน และทนต่ออากาสหนาวไม่ได้
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (hyrotoxicosis) ที่ควบคุมไม่ได้ และกาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ (hypothyroidism) มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และทารกได้ โดยภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ มีผลทำให้เกิดภาวะคลื่นไส้ อาเจียนมากกว่าปกติในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ (hyperemesis gravidarum) การแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด ภาวะความดัน โลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (preeclampsia) ทารกมีภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน มีโอกาสเกิดต่อมไทรอยค์เป็นพิษแต่กำเนิด การเจริญเติบโตช้ำในครรภ์ และทารกตายในครรภ์ ส่วนภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ มีผลทำให้เกิดการแท้งบุตร และการคลอดก่อนกำหนด
การตรวจวินิจฉัย
การวินิจฉัยการทำงานของต่อมไทรอยด์ในหญิงตั้งกรรภ์ ใช้การตรวจระดับฮอร์ โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ (ISH) ในการตรวจคัดกรองเบื้องต้น และตรวจวินิจฉัยโรคของต่อมไทรอยด์
จากระดับฮอร์โมน TSH และ free T4 ดังนี้
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ จะตรวจพบระดับของ free thyroxine สูงกว่าปกติ(> 1.8 ng dL) และมีระดับของฮอร์โมน TSH ต่ำกว่าปกติ (<0.45 mU/L) ค่าปกติของ TSH ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เท่ากับ 2.5 mU/L ตรวจร่างกาย ชีพจรเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ใจสั่น ผิวหนังอุ่น ความดันsystolic สูง pulse pressure กว้างมากกว่า 40 มม.ปรอท ต่อมไทรอยด์โต การตรวจภาวการณ์ทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยใช้การวัดจำนวนออกซิเจนที่ร่างกายใช้ในขณะพัก และงดอาหารมาแล้วอย่างน้อย10-14 ชั่วโมง ค่าจะสูงขึ้น
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ฮอร์ โมน้อยกว่าปกติ จะตรวจพบระดับของ free thyroxine ต่ำกว่าปกติ และมีระดับของฮอร์ โมน TSH สูงกว่าปกติ (0.4-4.5 microunit/m) ค่าปกติของ free thyroxineในสตรีตั้งครรภ์จะเท่ากับสตรีทั่วไป คือ 0.7-1.8 ng/aIl
การรักษา
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ ต้องได้รับการรักษาด้วยยาpropylhiouracil (PTU) 50-300 มก. ต่อวัน (50- 150 มก. ทุก 8 ชม) ยานี้ไม่ได้ขัดขวางการปลดปล่อยฮอร์โมนที่เก็บไว้ในต่อมไทรอยค์ ออกมาในกระแสเลือด ผลของยาจึงเห็นช้า อาจนานหลายสัปดาห์ หรือนานหลายเดือน อาการข้างเคียงที่อันตรายของ PTU คือ ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ (agranulocytosis) ผู้รับประทานยานี้อาจมีอาการ เจ็บคอ เป็น ไ ข้ บางรายอาจมีผื่นขึ้นตามตัว ถ้ามีอาการดังกล่าว ให้รีบพบแพทย์
methimazole (MMI) 5-20 mg ต่อวัน หรือ carbimazole 40 mg ต่อวัน เพื่อควบคุมให้มีระดับ total T4 12-18 microgram/dL, free T4 2.0-2.5 ngdL และ TSH 0.1-0.4 mU/L กรณีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นปกติ อาจหยุดรับประทานยาได้ในช่วงอายุครรภ์ 30-34 สัปดาห์ เพื่อป้องกันภาวะ ไทรอยด์ต่ำ(hypothyroidism) ในทารกแรกเกิด ยานี้จะผ่านรกได้มากกว่า PTU มีผลต่อทารกในครรภ์ได้มาก ทำให้เกิดความพิการของกะโหลกศีรษะ (scalp defect)
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จะทำเมื่อไม่สามารถรักษายาได้ เช่นมีอาการแพ้ยาต้านไทรอยด์ การผ่าตัดกรณีจำเป็น มักทำในไตรมาสที่ 2 เพราะถ้าทำในไตรมาสที่ 1 อาจทำให้เกิดการแท้ง ถ้าทำในไตรมาสที่ 3 อาจคลอดก่อนกำหนด