Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลหญิงที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะโลหิตจาง
ความหมาย
ภาวะ โลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ (anemia in pregnancy) ประเทศไทยใช้เกณฑ์กระทรวงสาธารณสุขและ WHO ได้กำหนดไว้ที่ Hct < 33% , H6 < 11g/L. หมายถึง ภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีระดับความเข้มข้นขคงเม็ดเลือดแดง (hematocri) ต่ำกว่า 33% หรือมีสี โมโกลบิน (hemoglobin) ต่ำกว่า 11 g/dlทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์
การแบ่งชนิดของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางที่พบบ่อยในหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ โลหิตจางจากการขาคธาตุเหล็ก (iron-deficiency anemia) และ โลหิตจางจากการขาดโฟเลต (folate deficiency)
สาเหตุ
ภาวะ โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก เกิดขึ้นเนื่องหญิงวัยเจริญพันธุ์ ส่วนมากมักจะเก็บสะสมธาตุเหล็กได้ไม่เพียงพอ เนื่องจากร่างกายต้องมีการ สูญเสียไปกับการมีประจำเดือน ร่างกายได้รับธาตุเหล็กจากสารอาหารไม่เพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย ในการนำไปใช้สร้างเม็ดเลือดแดง
ภาวะโลหิตจางจากการ ขาดโฟเลต เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายได้รับสาร โฟเลต จากสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ในการนำไปใช้สร้างเม็ดเลือดแดง โฟเลตเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ พบได้ใน ไข่ ผักใบเขียว เผือก มัน แครอท ธัญพืช ส้มชนิดต่าง ๆ
อาการและอาการแสดง
หญิงตั้งครรภ์ที่มีโลหิตจางจะมีอาการซีด หน้ามืด เพลีย เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ และมีอาการง่วงนอน ริมฝีปากหรือลิ้นอักเสบ ลิ้นเลี่ยน ลิ้นซีด (3lossiti) แผลมุมปาก (cleilis) กลืนลำบาก น้ำช่อยในกระเพาะอาหารลดลงทำให้เบื่ออาหาร และติดเชื้อง่าย ถ้าขาดธาตุเหล็กเรื้อรังจะแสดงอากาทางเก็บ โดยเล็บจะเปราะ จะงอขึ้นเป็นแอ่งคล้ายช้อน เรียกว่าเก็บรูปช้อน (koilonychias or spoon nails) เส้นผมร่วงง่าย ถ้าซีดมาก หัวใจจะโตและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ผลกระทบของภาวะโลหิตจางต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
หากพบภาวะ โลหิตจางเมื่ออายุครรภ์น้อย จะทำให้มีโอกาสคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย การตายปริกำเนิด
หากพบภาวะโลหิตจางเมื่อครบกำหนดคลอด มารดาจะเสี่ยงต่อการเสียเลือดสูงจากภาวะ การทำงานของเกล็ดเลือดเสียไป อาจเกิดภาวะหัวใจวาย ตกเลือดได้ง่าย การติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในระหว่างคลอดและหลังคลอด จากภาวะร่างกายมีความด้านทานต่ำ
หากมีการตั้งครรภ์แฝด การเสียเลือดเพียงเล็กน้อยจะทำให้อาการของภาวะโลหิตจางเป็นมากขึ้น
ผลต่อทารก
ถ้ามารดามีภาวะ โลหิตจางอย่างรุนแร ง จะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนลดลง ทารกอาจแท้ง พิการ ตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อย การเจริญเติบโตในครรภ์ช้า
ผลกระทบของการตั้งครรภ์ต่อภาวะโลหิตจาง
ถ้าหญิงตั้งครรภ์มีภาวะโลหิตจางอยู่แล้ว จะทำให้อาการและอาการแสดงของภาวะโลหิตจางรุนแรงขึ้น
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจวินิจฉัยจากผลการตรวจระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (hematocri) ต่ำกว่า 33% หรือมีฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ต่ำกว่า 11 g/al และสารเฟอริตินในเลือด serum ferritin ต่ำกว่า 10-15 ไมโครกรัม , MCV ต่ำกว่า80 1 เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กและติดสีจางลง
การรักษา
ภาวะ โลหิตจางในหญิงตั้งครรกั รักษาโดยการให้รับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูง และให้รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก เช่น ferrous sulfate 325 มก. วันละ 1-2 ครั้ง ซึ่งยาแต่ละเม็ดมีธาตุเหล็ก(elemental iron) ประมาณ 60 มก. FBC 1 เม็ด ประกอบด้วย ferrous fumarate 200 มก. (elemental iron 66mg), triferdine 1 เมื่ค ประกอบด้วย Iodine 0.15 มก. +Ferrous fumarate 60.81 มก. +Folic acid 0.4 มก.โดยอาจให้ยา tiferdine วันละ 1 เม็ด หรือ Triferdine 1 เม็ด + FBC วันละ 1-2 เม็ด หรือ FBC วันละ 2 เม็ด + obimin 1 เม็ด ก่อนนอน ซึ่งธาตุเหล็กที่ได้จากการรับประทานยานี้ จะดูดซึมผ่านทางระบบทางเดินอาหารได้เพียงร้อขละ 10-30 ในรายที่มีภาวะโลหิตจางรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการ
ฉีดธาตุเหล็กทางกล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือดคำ หรือให้เลือดทดแทน