Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่6 ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับอายุครรภ์ - Coggle Diagram
บทที่6 ภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับอายุครรภ์
ความหมาย ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ( preterm labor/premature labor)
การเจ็บครรภ์ที่เกิดในช่วงอายุครรภ์ก่อน 37 สัปดาห์โดยมีการหดรัดตัวของมดลูกสม่ำเสมอร่วมกับอาจมีหรือไม่มีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
แบ่งเป็น 2 ประเภท
1.1 ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดคุกคาม (threatened preterm labor)
1.2 ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด (preterm labor)
สาเหตุสาเหตุที่แท้จริงยังไม่แน่นอน แต่พบว่ามีปัจจัยส่งเสริม
ปัจจัยส่งเสริมด้านสูติศาสตร์และนรีเวช (Obstetric & Gynecological factors)
ภาวะครรภแ์ฝดน้ำ (polyhydramnios)
ครรภ์แฝด
ภาวะตกเลือดก่อนคลอด เช่น ในรายที่รกเกาะต่ำรกลอกตัวก่อนกำหนด
ความผิดปกติของมดลูกและปากมดลูก เช่น ปากมดลูกปิดไม่สนิท (cervical incompetence)
ปัจจัยส่งเสริมด้านอายุรกรรม (medical factors)
โรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคไต โรคของระบบหัวใจและหลอดเลือด ภาวะเลือดจาง
ภาวะติดเชื้ออื่นๆเช่นการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ การอักเสบของกรวยไต ติดเชื้อทาง เพศสัมพันธ์
โรคปริทันต์ (Periodontal disease)
ปัจจัยทางสังคมและพฤติกรรมต่าง ๆ (social and behavioral factors)
เศรษฐฐานะในระดับต่ำ พบถึงร้อยละ 12-20
ภาวะทุพโภชนาการก่อนตั้งครรภแ์ละขณะตั้งครรภ์
อายุ พบมากในอายุน้อยกว่า19 ปี และ มากกว่า35 ปี
เชื้อชาติพบในเชื้อชาติอื่นมากกวา่ ยุโรป และอเมริกัน
ไม่ฝากครรภ์หรือไดรับการดูแลก่อนคลอดไม่เพียงพอ
อาการและอาการแสดง
มดลูกหดรัดตัวสม่ำเสมอ
อาจมีอาการปวดหรือเจ็บครรภ์(cramp)
ผนังหน้าท้องตึง
ปวดถ่วงบริเวณหัวหน่าว
ปวดหลังส่วนล่าง(low back pain) มีมูกขาวออกเพิ่มขึ้นหรือมูกปนเลือดออก
อาจมีถ่ายปัสสาวะบ่อย ท้องเสีย
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ได้ตามอาการและอาการแสดง ลักษณะเหมือนอาการเจ็บครรภ์จริง ซึ่งต้องแยกจากจากการเจ็บครรภ์เตือน และ Braxton Hick contraction
การตรวจร่างกาย
พบมดลูกหดรัดตัวอย่างน้อย 4 ครั้ง ใน 20 นาที หรือ 8 ครั้งใน 60 นาที
ร่วมกับการเปิดของปากมดลูกเปิด ≥ 2 ซม.หรือบางตั้งแต่80 %
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ในปัจจุบันยังมีการตรวจด้วยวิธีอื่นๆเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัย
หรือช่วยในการทำนายล่วงหน้า
การตรวจดูความยาวของปากมดลูก(cervical length)โดยใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) ที่อายุครรภ์ 22-34 สัปดาห์
การตรวจทางชีวเคมีโดยตรวจหา Fetal fibronectin จากมูกบริเวณปากมดลูกและช่องคลอดให้ผลบวกเมื่อมีค่า > 50 ng/ml.
การตรวจหา estriol จากน้ำลายผูู้คลอดให้ผลบวกเมื่อมีค่า> 2.1 ng/ml. ซึ่งสารตัวนี้จะสูงขึ้นก่อนเจบครรภ์คลอด 1 สัปดาห์
การตรวจดูการหดรัดตัวของมดลูกโดยใช้ Home uterine activity monitor (HUAM)
ผลต่อมารดาและทารก
ผลต่อมารดา
ยาที่ใช้ยับยั้งงการคลอด การนอนพักและถูกจำกัดกิจกรรมเป็นเวลานาน ๆ
ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ท้องผูกและผลเสียทางด้านจิตใจมารดาอาจรู้สึกผิด ตำหนิตนเอง เกิดความเครียด
ความกลัว เพราะกังวลว่าทารกจะมีสุขภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรงและเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย
ผลต่อทารก
ทารกคลอดก่อนกำหนด อวัยวะต่าง ๆ ยังทำงานได้ไม่สมบูรณ์ทำให้ทารกมีภาวะเสี่ยงหลายประการ
ภาวะการหายใจล้มเหลว (respiratory distress syndrome, RDS)
อุณหภูมิต่ำ ภาวะสมองได้รับการกระทบกระเทือน
มีเลือดออกเนื่องจากการคลอด (intra ventricular hemorrhage,
IVH)
ภาวการณ์ติดเชื้อในทางเดินอาหาร (necrotizing enterocolitis, NEC)
ติดเชื้อในกระแสเลือด
การรักษา
ควรมีการบันทึกข้อมูลก่อนให้การรักษา เกี่ยวกับภาวะของปากมดลูก สภาวะการตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือดเพื่อค้นหาภาวะติดเชื้อต่างๆโดยเฉพาะ group B streptococcus
ดูแลให้ผู้เจ็บครรภ์นอนพักบนเตียง ( Partial bed rest) เพราะการนอนพักเป็นการลดแรงดันของทารกที่มีต่อปากมดลูกจึงช่วยลดการหดรัดตัวของมดลูกควรแนะนำให้นอนท่าตะแคงซ้ายเพื่อช่วยเพิ่มการไหลเวียนโลหิต
ลดความกลัว ความวิตกกังวลและความเครียดเกี่ยวกับความปลอดภัยของทารกในครรภ์และการคลอดเพราะภาวะดังกล่าวจะทำให้มีการเพิ่มของสารแคททีโคลามีนส์(Catecholomines)ในกระแสเลือดจะมีผลทำไห้มีลูกหดรัดตวัมากขึ้น
แพทย์อาจพิจารณาให้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูก (Tocolysis therapy) ถ้าอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์
ให้ยาปฏิชีวนะในรายที่มีข้อบ่งชี้ชัดเจนเช่นเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือให้ในระยะคลอดกรณีที่ไม่สามารถยับยั้งการคลอดได้เพื่อป้องกันการติดเชื้อ group B streptococcus (GBS)ในทารก
แรกเกิดซึ่งรุนแรงถึงเสียชีวิตได้
ภาวะการตั้งครรภ์เกินกำหนด (postterm , prolonged pregnancy)
ความหมาย
หญิงที่ตั้งครรภ์มากกว่า หรือเท่ากับ 42 สัปดาห์หรือ 294 วันนั้น
ไป
สาเหตุที่แท้จริงไม่ทราบ
่อาจเกิดจากการขาดฮอร์โมนที่มีส่วนช่วยทำให้มดลูกหดรัดตัว
เช่น estrogen, oxytocin และ prostaglandinn และยังมีการหลั่งฮอร์โมน progesterone อยู่ หรืออาจเป็นผลมาจากปากมดลูก ไม่ตอบสนองต่อ prostaglandin
อาการและอาการแสดง
1.มีน้ำหนักตัวลดลง > 1กิโลกรัมในสัปดาห์สุดท้ายของการตั้งครรภ์
2.วัดขนาดรอบท้องเล็กลง ใน 2-3 สัปดาห์สุดทา้ยของการตั้งครรภ์
3.ระดับความสูงของยอดมดลูกไม่ได้สัดส่วนกับอายุครรภ์ ตัวเล็กและคลำพบศีรษะทารกมีนาดแข็งกว่าปกติ
4.มีจำนวนน้ำคร่ำน้อยลงและอาจมีขี้เทาปน
การวินิจฉัย
1.การซักประวัติวันแรกของประจำเดือนคร้ังสุดท้ายที่มาปกติและวันแรกที่รู้สึกว่าลูกดิ้น
2.การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดงดังที่กล่าวข้างต้น
3.การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ด้วยการใช้ ultrasound ประเมินอายุครรภ์ตั้งแต่มาฝากครรภ์และอาจมีการประเมินเป็นระยะตามความเหมาะสม เช่น วัดขนาดศีรษะทารกในไตรมาสที่ 2 ว่าสัมพันธ์กับอายุครรภ์ที่คำนวณได้หรือไม่
ผลต่อมารดาและทารก
ผลต่อมารดา
อาจเกิดการคลอดยากเนื่องจากทารกตวัใหญ่ หรือภาวะน้า คร่ าน้อย ปัญหาจากการใช้หัตถการในการท าคลอด
ปัญหาทางจิตใจ อารมณ์ มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับทารกในครรภ์ อาจมีความรู้สึกทางลบต่อ
ตนเองและโกรธทารกในครรภ์ และอาจส่งผลต่อสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นด้วย
สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์การชักน าการคลอด-การดูแล
หลังคลอด
ผลต่อทำรก
ทารกอาจตัวใหญ่ มักพบประมาณร้อยละ 25 ของการตั้งครรภ์เกินกำหนดที่มีน้ำหนักมากกว่า4,000กรัม ทำให้เกิดการคลอดยาก การบาดเจ็บจากการคลอด อันตรายจากหัตถการช่วยคลอด
การตั้งครรภเ์กินกำหนดส่งผลให้รกเสื่อมสภาพลงเรื่อยๆ น้ำคร่ำลดน้อยลงอาจเกิดสายสะดือถูกกดทับ การสำลักขี้เทา
การรักษา
ประเมินภาวะสุขภาพของทารกในครรภ์บ่อย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์แนะนำให้นับจำนวนการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ทุกวันการนับลูกดิ้น การทำ NST
วัดรอบท้องหรือทำ ultrasound เพื่อประเมินดูภาวะน้ำคร่ำน้อย (oligohydramnios)
ตรวจทางช่องคลอดดูลักษณะของปากมดลูก และการเคลื่อนต่ำของส่วนนำการคำนวณ Bishop score เพื่อการตัดสินใจในการชักนำการคลอด
4.การทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลงด้วยวิธีที่เหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย