Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การวินิจฉัยการพยาบาล (Nursing Diagnosis) - Coggle Diagram
การวินิจฉัยการพยาบาล
(Nursing Diagnosis)
เป็นขั้นตอนของการนำความต้องการหรือปัญหาทางสุขภาพของผู้รับบริการ (Client’s needs or problems) ที่ผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลข้อเท็จจริงจนสรุปได้ว่าผู้รับบริการมีปัญหาทางสุขภาพ มาเขียนเป็นข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เป็นการตัดสินใจทางคลินิกเกี่ยวกับบุคคล ครอบครัวหรือชุมชนที่ตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพที่กำลังเกิดขึ้นหรือมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ในกระบวนการ ของชีวิต การวินิจฉัยการพยาบาลใช้เป็นฐานสำหรับการจัด กิจกรรมการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่พยาบาลรับผิดชอบ
ปัญหาในการวินิจฉัยทางการ
พยาบาล
ไม่นำข้อมูลจากการประเมินมากำหนดข้อวินิจฉัย
การพยาบาล
วินิจฉัยการพยาบาลไม่เป็นปัจจุบัน ไม่ครบถ้วน
ขาดความเข้าใจและทักษะในการเขียนวินิจฉัย
การพยาบาล
ขาดทักษะในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
ของข้อมูล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลขาดความเป็นสากล มีความยุ่งยากซับซ้อน
แนวทางในการวินิจฉัยทางการ
พยาบาล
เขียนด้วยข้อความที่สั้น เข้าใจง่าย
เขียนให้ผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
ระบุปัญหาหรือภาวะสุขภาพ สาเหตุ และข้อบ่งชี้
หากยังไม่ทราบสาเหตุ ยังไม่ต้องระบุสาเหตุ
เฉพาะเจาะลงสำหรับผู้ป่วยเฉพาะราย
บอกแนวทางในการปฏิบัติการพยาบาลได้อย่าง
ชัดเจน
วินิจฉัยทางการพยาบาลที่เป็นสากล
North American Nursing Diagnosis Association (NANDA)
เป็นการตัดสินใจทางคลินิก (Clinical judgment)ที่เกี่ยวกับบุคคล ครอบครัว และชุมชนในการตอบสนองต่อปัญหาสุขภาพ ทั้งในปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นแล้ว และปัญหาสุขภาพที่เสี่ยง รวมทั้งกระบวนการการดำเนินชีวิตเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลตามที่พยาบาลรับผิดชอบ
การกำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
ปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว
(Actual problem)
ปัญหาที่เสี่ยงต่อการเกิด
(Risk for problem)
องค์ประกอบของการเขียนข้อวินิจฉัยทางการ
พยาบาลจะใช้ข้อความ
PES statement
Problem (ภาวะสุขภาพของผู้ป่วย)
Etiology
Sign & Symptom
การระบุปัญหาที่เกิดขึ้น สาเหตุ หรือปัจจัยที่ก่อให้เกิดหรือเสี่ยงต่อการเกิดปัญหา อาการและอาการแสดง
จำแนกข้อวินิจฉัยการพยาบาลออกเป็น 5 ประเภท
Actual nursing diagnosis
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่มีปัญหาเกิดขึ้นแล้ว เป็นข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่บ่งบอกถึงปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นแล้วในขณะที่ทำการประเมินภาวะสุขภาพมีอาการและอาการแสดงให้เห็นชัดเจน (Signs and Symptoms)ได้มาจากการบอกเล่าของผู้รับบริการหรือจากการสังเกต ของพยาบาลที่เป็นทั้งข้อมูลอัตนัย (Subjective data) และข้อมูลปรนัย (Objective data) หรือจากการวินิจฉัยของแพทย์
Risk nursing diagnosis
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่มีความเสี่ยง เป็นข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้คือมีปัจจัยเสี่ยงปรากฏให้เห็น แต่ปัญหายังไม่เกิด ไม่มีอาการและอาการแสดงปรากฏให้เห็นชัด และมีโอกาสพัฒนาเป็นปัญหาสุขภาพได้ถ้าพยาบาลปล่อยให้ปัจจัยเสี่ยงได้พัฒนาจนเป็นปัญหา
การเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลประเภทนี้จึงไม่ต้องเขียน/ระบุอาการหรืออาการแสดงไว้เนื่องจากปัญหาสุขภาพยังไม่เกิด แต่ต้องระบุปัจจัยเสี่ยงที่แสดงว่าปัญหาทำท่าจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงนั้น ๆ พยาบาลต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับปัจจัยเสี่ยงนั้นเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
การเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลประเภทนี้จึงไม่ต้องเขียน/ระบุอาการหรืออาการแสดงไว้เนื่องจากปัญหาสุขภาพยังไม่เกิด แต่ต้องระบุปัจจัยเสี่ยงที่แสดงว่าปัญหาทำท่าจะเกิดจากปัจจัยเสี่ยงนั้น ๆ พยาบาลต้องทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งกับปัจจัยเสี่ยงนั้นเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา
Possible nursing diagnosis
พยาบาลต้องหาข้อมูลที่สำคัญและเกี่ยวข้องมาสนับสนุนเพิ่มเติมหรือตัดทิ้งออกไปถ้าแน่ใจว่าปัญหาจะไม่เกิด การเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลประเภทนี้ จะขึ้นต้นข้อความว่า อาจ นำปัญหาสุขภาพมาเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลตามรูปแบบ PES ของ NANDA ดังนี้
P = ส่วนของปัญหาสุขภาพ
E = ส่วนของสาเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
S = ส่วนของอาการและอาการแสดงทางคลินิก
Wellness nursing diagnosis
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลจะเริ่มต้นด้วยคำ มีความพร้อมสำหรับ....” หรือขึ้นต้นด้วย ข้อความที่เป็นการบ่งบอกถึงพฤติกรรมที่ทำให้สุขภาพดีขึ้น เช่น ให้นมบุตรได้ถูกต้องจาก... ข้อวินิจฉัยประเภทนี้จะเน้นที่การตอบสนองของการมีสุขภาพดีของผู้รับบริการที่พบได้บ่อยในผู้รับบริการทางด้านสูติศาสตร์ ครอบครัว และชุมชนนำปัญหาสุขภาพมาเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลตามรูปแบบ PES
Syndrome Nursing Diagnosis Statement
การเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาลประเภทนี้จะมีข้อความที่รวมถึงพยาธิสภาพและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตัวอย่าง “อาการปวดเจ็บจากการถูกข่มขืน” “เสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการของโรค”
Nursing Intervention Classification
ระบบการจำแนกกิจกรรมการพยาบาลนี้
แบ่งออกเป็น 7 หมวด
หมวดสรีรวิทยาขั้นพื้นฐาน
หมวดสรีรวิทยา ที่ซับซ้อน
หมวดพฤติกรรม
หมวดความปลอดภัย
หมวดครอบครัว
หมวดความปลอดภัย
หมวดชุมชน
Nursing Outcome Classification
เน้นวิธีการประเมินประสิทธิผลของการพยาบาลที่บุคคล ครอบครัว และชุมชนได้รับ ซึ่งคำว่า “ผลลัพธ์” หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยและผู้ดูแลที่เป็นสมาชิกในครอบครัวที่เกี่ยวกับสภาวะ พฤติกรรม หรือการรับรู้ที่ตอบสนองต่อกิจกรรมการพยาบาล
Collaborative problem
ภาวะแทรกซ้อนทางด้านร่างกายที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้น ซึ่งพยาบาลไม่มีสิทธิตามกฎหมายที่ จะรักษา แต่ต้องเฝ้าระวัง เช่น ปัญหาสุขภาพ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาการแพทย์ โภชนากร นักกายภาพบำบัด ซึ่งบุคคลากรดังกล่าว จะต้องแก้ปัญหาร่วมกัน
ลักษณะของการวินิจฉัยทางการพยาบาล
ปัญหาสุขภาพ
ครอบคลุมการดูแลแบบองค์รวม
เกิดจากการตัดสินของพยาบาล
สรุปแบบแผนหรือกลุ่มข้อมูลที่ตรวจสอบได้
ประกอบด้วยปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
พยาบาลมีสิทธิในการดูแลภายในขอบเขตของวิชาชีพ
ขั้นตอนวินิจฉัยการพยาบาล
การแปลความหมายของข้อมูล
แปลข้อมูลเทียบกับเกณฑ์ปกติ
การจัดกลุ่มข้อมูล
กำหนด ภาวะสุขภาพ
สุขภาพดี
สุขภาพไม่ดี
การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
การทวนสอบข้อวินิจฉัย การพยาบาล
การกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาล
การเขียนวินิจฉัยการพยาบาลสามารถเขียนเฉพาะส่วนของปัญหาได้ถ้า
ปัญหาสุขภาพที่มีความชัดเจนโดยไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสาเหตุของปัญหา เช่น มีการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพตนเองไม่ถูกต้อง
ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน เช่น มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
ส่วนประกอบของข้อวินิจฉัยการพยาบาล
Problem (ภาวะสุขภาพของผู้ป่วย)
ส่วนแรกของข้อความ
แสดงถึงภาวะสุขภาพของผู้ป่วย
อาจแสดงถึงภาวะสุขภาพดี เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ หรือภาวะเจ็บป่วย
แหล่งที่มา ได้แก่
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย (ดู คลำ เคาะ ฟัง)
สัญญาณชีพ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษต่างๆ
แผนการรักษา
Etiology (สาเหตุหรือสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหา)
เป็นส่วนหลักของข้อความ
บอกสาเหตุหรือสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ
เป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางหรือแก้ปัญหาสุขภาพ
แหล่งที่มา ได้แก่
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย (ดู คลำ เคาะ ฟัง)
สัญญาณชีพ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษต่างๆ
แผนการรักษา
Signs/Symptom (อาการ/อาการแสดง)
เป็นข้อความที่ขยายส่วนที่ 2 ให้ชัดเจนขึ้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับอาการ/อาการแสดง
เป็นการวินิจฉัยโรคของแพทย์
แหล่งที่มา ได้แก่
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย (ดู คลำ เคาะ ฟัง)
สัญญาณชีพ
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจพิเศษต่างๆ
แผนการรักษา
รูปแบบการเขียนข้อวินิจฉัยการพยาบาล
2 Part-statement
Problem
Etiology
PES Format
Problem
Etiology
Signs & Symptoms
การทวนสอบข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ทวนสอบปัญหากับผู้รับบริการ/ผู้เกี่ยวข้อง
เพื่อการรับรู้ของผู้รับบริการและพยาบาลตรงกัน
การเขียนวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ควรเลี่ยง
ระบุความต้องการแทนการระบุปัญหา
สลับที่ระหว่างสาเหตุและปัญหา
ระบุสภาวะที่ไม่สามารถแก้ไขได้แทนการระบุปัญหาที่เกิดขึ้น (ซึ่งสามารถให้การช่วยเหลือได้)
เขียนข้อความที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางกฎหมาย
เขียนข้อความที่มีความหมายซ้ำซ้อน
ระบุปัญหาของพยาบาลแทนปัญหาของผู้ป่วย
หลักการพิจารณาความสำคัญของข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ปัญหาที่มีความสำคัญอันดับแรกเป็นปัญหา ที่มีความสำคัญมากหรือปัญหาที่มีความเร่งด่วนเนื่องจาก มีอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วย จึงต้องการความช่วยเหลือทันทีเพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตหรือเกิดความพิการได้
ปัญหาที่มีความสำคัญอันดับสอง เป็นปัญหา ที่มีความสำคัญระดับปานกลาง ไม่จำเป็นต้องช่วยเหลือเร่งด่วนเหมือนปัญหาที่มีความสำคัญอันดับแรก แต่ก็ต้องให้ความช่วยเหลือโดยเร็ว เนื่องจากถ้าทิ้งไว้นานอาจเกิดปัญหารุนแรงขึ้น
ปัญหาที่มีความสำคัญอันดับหลัง เป็นปัญหาที่ต้องการความช่วยเหลือแต่สามารถรอได้เนื่องจากการดำเนินของปัญหาเป็นไปอย่างช้าๆ และไม่ได้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วยในระยะเวลาอันใกล้