Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 การดำเนินงานอนามัยชุมชน - Coggle Diagram
หน่วยที่ 4
การดำเนินงานอนามัยชุมชน
การอนามัยโรงเรียน (School Health)
การอนามัยโรงเรียนหมายถึง กิจกรรมหรือการด าเนินงานที่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ การป้องกัน การรักษา การแก้ไขปรับปรุง และการส่งเสริมสุขภาพของบุคคลทุกคนในโรงเรียนให้มีสุขภาพดีโดยการเน้นการจัดกิจกรรมร่วมกันใน 3 ลักษณะคือ การจัดสิ่งแวดล้อม การบริการสุขภาพและการสอนสุขศึกษา
การประเมินภาวะสุขภาพ
1) การประเมินภาวะการเจริญเติบโตของร่างกาย ได้แก่การ ชั่งน้ าหนัก วัดส่วนสูงและแปลผลภาวะโภชนาการ เพื่อเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และให้การดูแล ส่งเสริมโภชนาการตามปัญหาโภชนาการที่พบเช่น ผอม อ้วน เตี้ย เป็นต้น
2) การทดสอบสายตาโดยใช้แผ่นวัดสายตา
3) การทดสอบการได้ยินอย่างง่าย การตรวจสอบร่างกาย 10 ท่า ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขกำหนด
องค์ประกอบและแนวทางการให้บริการอนามัยโรงเรียน
1) บริการอนามัยโรงเรียน (School Health Service)
2) สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (Healthful School Living)
3) สุขศึกษาในโรงเรียน (School Health Education)
4) ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน บ้านและชุมชน (School and Home Relationship)
การประยุกต์ใช้กระบวนการพยาบาลในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน
ในการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลมาใช้ในการดูแลสุขภาพในโรงเรียน ผู้เขียนได้นำเอาทฤษฎีการพยาบาลของไนติงเกล (Nightingale’s Theory)
1) บุคคล ประกอบด้วยมิติทางชีวจิต และสังคมมีความเกี่ยวพันกับสิ่งแวดล้อม
2) สุขภาพ สุขภาพจะผูกพันกับสิ่งแวดล้อม สุขภาพหมายถึงการปราศจากโรคส่วนการเกิดโรคเป็น
กระบวนการที่ซ่อมแซมร่างกายทำให้เกิดความสมดุล
3) สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยปัจจัยภายนอกที่มีอิทธิพลต่อชีวิตและพัฒนาการ
4) การพยาบาล เป็นการจัดสิ่งอำนวยให้เกิดกระบวนการหายด้วยสิ่งแวดล้อมที่ดีที่สุด
ดังนั้นการพยาบาาลโดยใช้ทฤษฏีของไนติงเกลจึงต้องคำนึงถึงบุคคล สุขภาพ สิ่งแวดล้อมและกาพยาบาล โดยกระบวนการพยาบาลประกอบด้วย
1) การประเมิน (Assessment) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection data)
2) วิเคราะห์ข้อมูล และวินิจฉัยปัญหา (Analyzing data and Diagnosis)
3) การวางแผนงาน (Planning)
4) การด าเนินงานตามแผนงาน และ
5) การประเมินผลงาน/โครงการ (Evaluation)
แนวทางการดูแลแลรักษานักเรียนที่เจ็บป่วย
1) ให้สุขศึกษา สร้างพลังอำนาจในการดูแลตนเอง
2) รักษาพยาบาลเบื้องต้นนักเรียนที่เจ็บป่วย
3) ส่งต่อ รายที่เกินขอบเขตการบริการ
4) เยี่ยมบ้าน ประสานสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับครอบครัวและชุมชน
การสุขศึกษาในโรงเรียน
มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 ด้าน คือ ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึง
ประสงค์ สมารถทำได้ทั้งรายบุคคล รายกลุ่มและมวลชน เช่น เสียงตามสายในโรงเรียน หรือในหมู่บ้านการให้ความรู้หน้า
เสาธง การจัดบอร์ด หรือจัดนิทรรศการ เป็นต้น
การปรับปรุงการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม และการสุขาภิบาลอาหาร
องค์ประกอบของการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
1) น้ำดื่ม น้ำใช้
2) ส้วมและที่ปัสสาวะ
3) การกำจัดน้ำโสโครกในโรงเรียน
4) การกำจัดขยะ
5) ห้องครัว
6) โรงอาหาร
7) ห้องพยาบาล
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ และกลวิธีในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
การส่งเสริมสุขภาพ หมายถึง การกระบวนเพื่อให้ประชาชนเพิ่มความสามารถในการควบคุมและสร้างเสริมสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้น เพื่อให้มีสุขภาพดีทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม (Ottawa Charter)
โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (Health Promoting School) หมายถึงโรงเรียนที่มีขีดความสามารถที่แข็งแกร่งมั่นคง องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความของ "โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ" ดังนี้ "โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ คือ โรงเรียนที่มีขีดความสามารถแข็งแกร่ง มั่นคง ที่จะเป็นสถานที่ที่มีสุขภาพอนามัยที่ดี เพื่อการอาศัย ศึกษา และทำงาน
บทบาทหน้าที่พยาบาลในการให้บริการอนามัยโรงเรียน
Stanhope and Lancaster (2002) ได้กำหนดบทบาทไว้ดังนี้
1) บทบาทการเป็นผู้ดูแลโดยตรง (Direct care)
2) บทบาทเป็นผู้ประสานงาน (Co - ordinator)
3) บทบาทเป็นผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพอนามัยหรือให้สุขศึกษา (Health educator)
4) บทบาทด้านการดูแลรายกรณี (Case manager)
5) บทบาทเป็นที่ปรึกษา (Consultant)
6) บทบาทเป็นผู้ให้ค าปรึกษา (Counselor)
7) บทบาทเป็นผู้วิจัย (Researcher)