Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปสัปดาห์ที่ 13 - Coggle Diagram
สรุปสัปดาห์ที่ 13
การบูรณาการการเรียนแบบเรียนรวม
ความหมาย
การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบเรียนรวม
เด็กทุกคนเข้าเรียนในโรงเรียนพร้อมกัน
พื่อให้สามารถสอนเด็กได้ทุกคน
เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
โรงเรียนจะต้องให้บริการ สื่อ สิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือต่าง ๆ ทางการศึกษาให้แก่เด็กที่มีความต้องการจำเป็นนอกเหนือจากเด็กปกติทุกคน
โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้หลายรูปแบบในโรงเรียนปกติทั่วไปโดยจัดให้มีสภาพแวดล้อมที่มีขีดจำกัดน้อยที่สุด
องค์ประกอบในการตัดเกรด
องค์ประกอบด้านจิตวิทยา
ด้แก่ สติปัญญา อัตราเร็วของการเรียนรู้ ความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับตนเอง การปรับตัวทางอารมณ์และสังคมความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวและเพื่อน
องค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม
ได้แก่ สภาพแวดล้อม ที่เเอื้ออำนวยแก่การเรียนการสอน ของเด็กพิเศษ เช่น ห้องเรียน ห้องปฎิบัติ เป็นต้น
องค์ประกอบด้านสรีรวิทยา
ได้แก่ สาเหตุที่สืบเนื่องมาจากการทำงานผิดปกติของระบบการทำงานของร่างกาย เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางร่างกายของเด็กเอง
รูปแบบการจัดการเรียนร่วม
ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการครู
ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการสอนเสริม
ชั้นเรียนปกติเต็มวันและบริการปรึกษา
ชั้นพิเศษและชั้นเรียนเรียนปกติเด็กจะเรียนในชั้นเรียนพิเศษ
ชั้นเรียนปกติเต็มวัน รูปแบบการจัดเรียนร่วม
ชั้นเรียนพิเศษใน โรงเรียนปกติ
เด็กพิเศษ
ความหมาย
เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มว่า “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” หมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคน
ประเภทของเด็กพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
บรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียน
ความหมาย
การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียนให้เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน เพื่อช่วยส่งเสริมให้กระบวนการเรียนการสอนดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยสร้างความสนใจใฝ่รู้ ใฝ่ศึกษา ตลอดจนช่วยสร้างเสริมความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
ความสำคัญ
ช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีให้แก่ผู้เรียน
ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และสร้างความสนใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น
ช่วยสร้างเสริมลักษณะนิสัยที่ดีงามและความมีระเบียบวินัยให้แก่ผู้เรียน
ช่วยส่งเสริมการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างราบรื่น
ช่วยสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนและการมาโรงเรียน
ประเภทของบรรยากาศในชั้นเรียน
สุมน อมรวิวัฒน์ (2530) บรรยากาศในชั้นเรียนต้องมีลักษณะทางกายภาพที่อำนวยความสะดวกต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สร้างความสนใจใฝ่รู้และศรัทธาต่อการเรียน นอกจากนี้ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มนักเรียนและระหว่างครูกับนักเรียน ความรักและศรัทธาที่ครูและนักเรียนมีต่อกัน การเรียนที่รื่นรมย์ปราศจากความกลัวและวิตกกังวล สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างบรรยากาศการเรียนได้ดี
แบ่งได้ 2 ประเภท
บรรยากาศทางกายภาพ
บรรยากาศทางกายภาพหรือบรรยากาศทางด้านวัตถุ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ภายในห้องเรียนให้เป็นระเบียบเรียบร้อย น่าดู มีความสะอาด มีเครื่องใช้ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จะส่งเสริมให้การเรียนของนักเรียนสะดวกขึ้น
บรรยากาศทางจิตวิทยา
บรรยากาศทางจิตวิทยา หมายถึง บรรยากาศทางด้านจิตใจที่นักเรียนรู้สึกสบายใจ มีความอบอุ่น มีความเป็นกันเอง มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และมีความรักความศรัทธาต่อผู้สอน ตลอดจนมีอิสระในความกล้าแสดงออกอย่างมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน
การจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา
บุคลิกภาพ
ภาพบรรยากาศของห้องเรียนมีส่วนสัมพันธ์กับบุคลิกภาพของครู ครูที่มีบุคลิกภาพดี
พฤติกรรมการสอน
ตอบสนองพฤติกรรมของนักเรียน
เปิดโอกาสให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
ใช้เทคนิคและวิธีสอน
เทคนิคการปกครองชั้นเรียน
หลักประชาธิปไตย
ครูควรให้ความสำคัญต่อนักเรียนเท่าเทียมกัน
หลักความยุติธรรม
ครูควรปกครองโดยใช้หลักความยุติธรรมแก่นักเรียนทุกคนโดยทั่วถึง
หลักพรหมวิหาร 4
กรุณา
มุทิตา
เมตตา
อุเบกขา
หลักความใกล้ชิด
สัมผัสทั้งร่างกายและจิตใจ คำสั่งสอนและการกระทำของครูจะต้องสอดคล้องกัน
ปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน
ปฏิสัมพันธ์ทางวาจา