Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมในระยะตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
บทที่ 1 การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมในระยะตั้งครรภ์
3.การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหอบหืด
เป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่พบบ่อย พบในหญิงตั้งครรภ์ร้อยล่ะ4-8ขณะตั้งครรภ์ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงของระบบกลไกลหายใจทำให้หญิงตั้งครรภ์มีอาการหายใจเร็ว หายใจหอบ
หมายถึง
ภาวะที่มีการอักเสบเรื้อรังของท่อหลอดลมฮ่วยส่วนแขนงปอด หลอดบอมฝอย และมีการตีบแคบหรืออุดตันของการเดินหายใจ ทำให้มีการหายใจออกลำบากมากกว่าหายใจเข้า แน่นหน้าอก และขาดออกซิเจน
การแบ่งระดับความรุนแรงของโรคหอบหืด
2.
ระดับความรุนแรงระดับ 2
(Mild persistent) มีอาการ 2 ครั้ง/สัปดาห์ แต่มีอาการนานตลอดทั้งวัน หรือมีอาการมากกว่า 2 คืน/วัน
3.ระดับความรุนแรงระดับ 3 (Moderate persistent) มีอาการมากกว่า 1 คืน/สัปดาห์
1.
ระดับความรุนแรงระดับ 1
(Mild intermittent asthma, symptom control) มีอาการเล็กน้อย เ็นบางครั้ง น้อยกว่า 2 ครั้ง/สัปดาห์ หรือน้อยกว่า 2 คืน/เดือน ควบคุมอาการได้
4.ระดับความรุนแรงระดับ 4 (Severe persistent) มีอาการบ่อยแต่ต่อเนื่องตลอดเวลา
สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง
โรคหอบเกิดจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานต่อสารที่ระคายเคื่องหรือทำให้เกิดอาการแพ้ในเยื่อบุท่อหลอดลมคอ เช่น ฝุ่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ต่างๆ ควันบุหรี่ มลพิษในอากาศ ละอองสารเคมีต่างๆ การติดเชื้อในระบบทางเดินหารใจ เป็นต้น
1.การอักเสบของเยื่อบุท่อหลอดลม
2.มีการสร้างมูกออกจากเซลล์เยื่อบุท่อหลอดลมมากกว่าปกติ
พยาธิสรีรวิทยา
มีอาการอักเสบนเรื้อรังในระบบทางเดินหายใจ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของพยาธิสรีรวิทยาในท่อหลอดลมและถุงลมปอด 3 ลักษณะ ได้แก
3.มีการตีบแคบหรืออุดตันของท่อหลอดลม
อาหารและอาการแสดง
1.มีอาการไอ หอบ มักพบในตอนกลางคืนถึงเช้ามืด หายใจมีเสียงวี้ด เจ็บแน่นหน้าอก เกิดจาก T helper cell2 ถูกสารภูมิแพ้กระตุ้น ทำให้หลอดลมหดเกร็ง ตีบ เยื่อบุทางเดินหารใจบวม มีเสมหะขังอยู่
2.การหายใจออกลำบากกว่าการหายใจเข้า ต้องใช้แรงในการหายใจเพิ่มขึ้น
3.ในขณะหอบจะหายใจลำบากต้องใช้กล้ามเนื้อที่คอและไหล่ ในการหายใจ
4.หายใจเร็ว มากกว่า 35 ครั้ง/นาที ชีพจรเร็วมากกว่า 120 ครั้ง/นาที เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย ไม่สามารถพูดคุย ไม่สามารถดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารได้
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
1.การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและการคลอดก่อนกำหนด
2.ภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์
3.ทารกมีน้ำหนักตัวน้อย
4.ทารกมีภาวะพร่องออกสิเจน
การตรวจวินิจฉัย
โดยการทดสอบประสิทธิภาพการทำหน้าที่ของปอดจากปริมาตรอากาศที่หายใจออกแต่ละครั้งหรือใน1นาที โดยใช้เครื่อง spirometer หรือ peak flow meter นอกจากนี้ อาจตรวจวินิฉัยด้วย chest X-rey หรือทดสอบปฏิกิริยาการแพ้สารต่างๆ
การรักษา
1.1ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ระยะสั้น เช่น albuterol, levabuterol, trebutaline เป็นต้น
1.2ยาขยายหลอดลมที่ออกฤทธิ์ระยะยาว เช่น salmeterol, formoterol เป็นต้น
1.ยาขยายหลอดลม
2.1ยากลุ่มสเตียรอยด์ที่ใช้พ่นสูดดม เช่น budesonide, nebolized, เป็นต้น
2.ยาระงับการอักเสบ
2.2ยากลุ่มสดตียรอยด์ที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย เช่น methyprednisolonr, prednisone เป็นต้น
หลักการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหอบหืด
1.ให้คำแนะนำในการสังเกตสิ่งระคายเคืองต่อทางเดินหายใจ กระตุ้นให้มีอาการหอบหืดกำเริบ
2.ให้คำแนะนำในการแสดงอาการของโรคหอบหืด เช่น ไอ มีการการหายใจลำบาก แน่นหน้าอก เป็นต้น
3.ประเมินลักษณะการหายใจ และสัญญาณชีพต่างๆทุก 1-2 ชม., ทุก4-6 ชม.
5.ติดตามประเมินผลการตรวจความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด
1. การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน
โรคเบาหวาน หมายถึง
ภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอหรือร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
1.เบาหวานที่เป็นมาก่อนตั้งครรภ์หรือพบได้ทั้งในรายที่เบาหวานชนิดที่1หรือชนิดที่2
เบาหวานที่วินิจจัยได้ในขณะตั้งครรภ์เป็นเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์
ปัจจุบันผู้ป่วยโรคเบาหวานพบมากขึ้น อายุที่เริ่มพบโรคน้อยลง บุคคลเหล่านี้อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และมีโอกาสในการตั้งครรภ์ ถ้าควบคุมเบาหวานไม่ดีจะส่งผลกระทบต่อการตั้งครรภ์ก่อให้เกิดอันตรายต่อมารดาและทารก การตั้งครรภ์จะทำให้ภาวะของโรครุนแรงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน
การแบ่งชนิดของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
เบาหวาขณะตั้งครรภ์ กลุ่มเอ1 (GDM A1) กรณีระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร ต่ำกว่า 105 มล./ดล. และระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชม. ต่ำกว่า 120 มล./ดล.
2.เบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มเอ2(GDM A2) กรณีระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดรับประทานอาหารสูงกว่า หรือเท่ากับ 105 มล./ดล. และระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชม. สูงกว่าหรือเท่ากับ 120 มล./ดล.
พยาธิสรีรวิทยา
ในสตรีตั้งครรภ์ ระยะเเรกของการตั้งครรภ์ฮอร์โมน เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนจากรกจะเพิ่มขึ้น มีฤทธิ์กระตุ้นเบต้าเซลล์ของตับอ่อน ทำให้มีการหลังของอินซูลินเพิ่มขึ้น ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดของสตรีตั้งครรภ์ ต่ำลงกว่าก่อนตั้งครรภ์
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวาน
3.ภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน
ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ร้อยละ 80 จะมีภาวะน้ำหนักเกินโดยเนื้อเยื่อไขมันทำให้ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น
4.พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
การรัยประทานอาหารที่ไม่ให้พลังงานเกินความต้องการของร่างกาย เช่น เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลชนิดต่างๆ
2.อายุ
อายุมากขึ้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานสูงขึ้นเนื่องจากมีการสะสมของพฤตอกรรมเสี่ยงต่างๆ
5.การขาดการออกกำลังกาย
ผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้เนื่องจากพลังงานส่วนเกินจะสะสมเป็นเนื้อเยื่อไขมันซึ่งทำให้ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน และความไวการทำงานของอินซูลินลดลง
1.พันธุกรรม
การทำงานของฮอร์โมนต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเมตาบอลิซึม การเผาผลาญสารอาหาร การใช้พลังงานของร่างกาย การควบคุมระดับน้ำตาล และไขมันในเลือด ควบคุมโดยสารพันธุกรรม DNA
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
1.การแท้งบุตร (abortion)
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
2.ภาวะควาดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์
ระดับน้ำตาลในเลือดสูง มีผลทำลายเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดแข็ง
3.การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหรือการคลอดก่อนกำหนด
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานร้อยล่ะ 6.5 มีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหรือการคลอดก่อนกำหนด
4.ทารกมีขนาดใหญ่
กรณีมารดามีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวานมีขนาดใหญ่กว่าอายุครรภ์
5.ทารกแรกเกิดมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวานร้อยละ 10.8-26.0มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
6.ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้า
กรณีมารดาเป็นโรคเบาหวานที่เป็นก่อนตั้งครรภ์ หรือความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ทารกอาจมีการเจริญเติบโตช้าและมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ได้
7.ทารกแรกเกิดมีภาวะการหายใจลำบาก
เนื่องจากทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวาน มีการสร้างสารเคลือบถุงลมปอดได้สมบูรณ์ช้า
8.ทารกมีความพการเเต่กำเนิด
ในกรณีที่มารดามีระดับน้ำตาลในเลือดสูงก่อนตั้งครรภ์ และในช่วง 5-8สัปดาห์เเรกของการตั้งครรภ์มีความพิการแต่กำเนิด
9.การตกเลือดหลังคลอด
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานเสี่ยงต่อการตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมีภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ
10.การติดเชื้อ
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานเสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆได้ง่าย
อาการและอาการแสดง
สตรีตั้งครรภ์ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ อาจไม่พบอาการแสดงชัดเจนเเต่จะทราบได้จากการตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ หรือตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่านั้น สตรีตั้งครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์ อาการและอาการแสดง ดังนี้ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลดลง ถ่ายปัสสาวะมาก หิวบ่อย กระหายน้ำ เป็นรต้น
การตรวจวิจัยฉัยภาวะเบาหวานในระยะตั้งครรภ์
การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานด้วยการทดสอบโดยการรับประทานกลูโคส75กรัม หรือ 100กรัมในขั้นตอนเดียวก็ได้ ใช้การทดสอบด้วยการรับประทานกลูโคส 100 g ตรวจในตอนเช้า หลังงดนำ้และอาหาร เป็นเวลา 8-14 ชม. โดยเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ 4 ครั้ง
การรักษา
1.การรับประทานอาหารตาหลักโภชนาบำบัด
.
1.2แนะนำให้รับประทานอาหารกลุ่คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
1.3แบ่งมื้ออาหารหลักเป็น 3 มื้อ และอาหารว่างระหว่างมื้อ 2-3 มื้อ และควรรับประทานอาหารเเต่ละมื้อให้ตรงเวลา ไม่ควรงดรับประทานอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง เพื่อป้องกันภาวะระดับนำ้ตาลในเลือดต่ำ
1.4แนะนำให้รับประทานอาหารกลุ่คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าว ถั่ว และธัญพืช
1.5แนะนำให้รับประทานผักและผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ
1.6แนะนำให้รับประทานอาหารที่ให้พลังงานต่ำ หรือปรุงด้วยวิธีที่ไม่เพิ่มเเคลอรี
1.7เเนะนำให้งดรับประทานอาหารที่มีส่วนผสของไขมันทรานส์หรือเนยเทียม
1.1หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานซึ่งมีดัชมีมวลกายอยู่ในช่วงปกติ(18.5-24.9 กก./ม.2) เเนะนำให้รับประทานอาหาร 30-35กิโลเเคลอรี/น้ำหนัก 1 กก กรณี มีภาวะน้ำหนักเกิน (ดัชนีมวลกาย 25.0-29.9 กก./ม.2) แนะนำให้รับประทานอาหาร 25-30 กิโลแคลอรี/น้ำหนักตัว 1 กก.
2.การออกกำลังกาย
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ เช่น การเดิน การบริหาร โยคะ การเต้นแอโรบิคครั้งละ 10-30 นาที
3.การรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน
จะให้ในรายที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติได้โดยการควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว
3.1การเลือกใช้ชนิดอินซูลิน
อินซูลินชนิดออกฤทธิ์ระยะสั้น เช่น Actrapid, Humulin R
อันซูบินชนิดออกฤทธิ์ระยะปานกลาง เช่น NPH,Humulin N
อินซูลินชนิดออกฤทธิ์เร็ว เช่น Lispro (Humalog)
3.2วิธีฉีดอินซูลิน
การฉีดอินซูลิน อาจเลือกใช้การฉีดด้วยกระบอกฉีดอินซูลินชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง หรือฉีดด้วยกระบอกฉีดที่บรรจุลงกอดอินซูลินสำหรับฉีดได้หลายครั้ง ฉีดทาง subcutaneous
หลักการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน
การพยาบาลระยะคลอด
1.แนะนำเกี่ยวกับการเตรียมคลอดปกติ การชกันทำการคลอดหรือการผ่าตัดคลอดคลอดทารกทางหน้าท้อง
2.กรณีเตรียมผ่าตัดคลอดแนะนำให้ฉีดอินซูลินในตอนเย็นหรือก่อนนอนตามปกติ
3.เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลทุก1-2ชั่วโมง
4.ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนกการรักษา
5.กรณีมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายในการรักษาดูแลให้ได้รับการฉีดอินซูลิน
6.ส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอด ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและติดตามประเมินสุขภาพทารกในครรภ์
7.วางแผนการช่วยเหลือการเคลื่อนเพื่อป้องกันการคลอดติดไหล่
การพยาบาลระยะตั้งครรภ์
1.ให้ข้อมูล คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตรวจและผลการตรวจคัดกรอง การตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานตามแนวปฏิบัติ
2.ให้คำเเนะนำในการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาบำบัด
3.แนะนำเกี่ยวกับรูปแบงของการออกกำลังกายที่เหมาะสม
4.แนะนำและสอนเกี่ยวกับทักษะการฉีดอินซูลินด้วยตนเอง
5.เเนะนำและสอนเทคนิคการเจาะเลือดจากหลอดเลือดฝอยปลายนิ้ว
6.บอกให้ทราบเกี่ยวกับความสำคัญของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
7.ติดตามผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดในระบบการบันทึกของโรงบาล
8.ให้เเนะนำในการประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์
9.แนะนำให้มาตรวจครรภ์ตามนัดเพื่อติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
1.0.ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกายและอวัยวะสืบพันธุ์
การพยาบาลระยะหลังคลอด
1.ติดตามประเมินการเสียเลือดในระยะคลอดประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและภาวะกระเพาะปัสสาวะเต็ม
2.ติดตามประเมินอาการแสดงของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูง หรือต่ำกว่าปกติ
3.ประเมิน และบันทึกสัญญาณชีพทุก30นาที
4.ให้คำเเนะนำในการดูแลสุขภาพหลังคลอด การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย
5.แนะนำให้มาตรวจสุขภาพหลังคลอดตามนัด 6 สัปดาห์ และตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
6.กรณีปัจจัยเสี่ยง บอกให้ทราบเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่2
7.ให้คำแนะนำในการวางแผนครอบครัวโดยแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัย ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำ
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคระบบทางเดินปัสสาวะ
ขณะตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงระบบทางเดินปัสสาวะทั้งด้านกายวิภาคและสรีรวิทยาการเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะเป็นผลมาจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้น การถูกกดของกระเพาะปัสสาวะ การเปลี่ยนแปลงขนาดของไตที่มีขนาดใหญ่ อัตราการกรองไตเพิ่มขึ้น การไหลเวียนเลือดของไตเพิ่มขึ้น
หมายถึง
ภาวะที่มีแบคทีเรียในปัสสาวะซึ่งเกิดจากมีเชื้อโรคเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ และไต อย่างน้อย 10 ยกกำลัง5 แบคทีเรีย/ml.ในปัสสาวะใหม่ ส่วนใหญ่การติดเชื้ระบบทางเดินปัสสาวะที่แสดงอาการ สามารถพบเชื้อแบคทีเรีย 10 ยกกำลัง3 แบคทีเรีย/ml. มักเกิดการอักเสบและจำเพาะเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะสูงมากกว่า 8 cell/ml.
ปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
1.ไตพิการ
2.มีประวัติติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
3.มีประวัติได้รับการสวนปัสสาวะ
4.เบาหวาน
5.โลหิตจาง
6.การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น คลามัยเดีย หนองใน HIV
ภาวะแทรกซ้อน
1.การคลอดก่อนกำหนด
2.กรวยไตอักเสบเรื้อรัง
3.การติดเชื้อในกระแสเลือด
4.ทารกน้ำหนักน้อย
5.ความดันโลหิตสูง
การแบ่งชนิดการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
แบ่งเป็น2ชนิดคือ
1.การติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะที่ไม่แสดงอาการ
4 more items...
2.โรคติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะที่มีอาการแสดง
1 more item...
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคไทรอยด์ผิดปกติ
การทำงานของต่อมไทรอยด์มีความสำคัญต่อการเผาผลาญสารอาหาร การใช้พลังงานของร่างกาย การเจริญพันธ์และการพัฒนาทางสติปัญญาของทารก ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติในหญิงตั้งครรภ์ ถ้าไม่สามารวินิจฉัยได้ อาจนำไปสู่การทำงานของหัวใจล้มเหลวได
หมายถึง
ภาวะที่ต่อมไทรอยด์มีการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนมากหรือน้อยกว่าปกติ ซึ่งมีผลต่อเมตาบอลิซึมของร่างกาย และระบบต่างๆที่เกี่ยวข้อง
ประเภทความผิดปกติของต่อมไทรอยด์
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยผิดปกติแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ ภาวะการทำงานของต่อมไทรรรอยด์มากกว่าปกติ และภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ
สาเหตุ
ของภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าคือโรคของต่อไทรรอยด์ Graves dissease ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาวะภูมิต้านทานในร่างกายตนเอง
สาเหตุ
ของภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ คือต่อมไทรอยด์อักเสบ
พยาธิสรีรวิยา
ต่อมไทรรอยด์ทำงานโดยการควบคุมของไฮโปทาลามัส ซึ่งหลั่งฮอร์โมน TRH ไปกระตุ้นต่อมพิทูทารี ให้หลั่งฮอร์โมน TSH เพื่อไปกระตุ้นต่อมไทรรอยด์ให้สร้างและหลั่งฮอร์โมน triiodothyronine (T3)และ tyroxine (T4)
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติที่เกิดจากต่อมไทรอยด์เป็นพิเศษ(Graves’dusease) เซลล์ของต่อมไทรอยด์จะถูกกระตุ้นจากเเอนติบอดีจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานในร่างกายของคน จะทำให้ขนาดของต่อมไทรอยด์โตขึ้น
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอกซิน(thyroxine) น้อยลง เนื่องจากมีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เช่น มีการอักเสบเรื้อรัง(chronic autoimmune thyroiditis) จาก Hashimoto disease) โดยเซลล์ของต่อมไทรอยด์จะถูกทำลายโดยแอนติบอดี หรือเม็ดเลือดขาว (lymphocytes) เป็นต้น นอกจากนี้ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ อาจพบได้ในผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยสารกำมันตรังสีไอโอดีน(radioactive iodine) ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ หรือได้รับสารไอโอดีนจากอาหารไม่เพียงพอ
อาการแลอาการเเสดง
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติมีอาการเเสดงที่สำคัญ ได้แก่ ต่อมไทรรอยด์โต เหงื่อออกมากกว่าปกติ หิวบ่อย รับประทานผิวหนังคุ้น เเดง และการทำงานของหัวจล้มเหลว กรณีไม่ได้รักษาหรือรักษาไม่ต่อเนื่องหรือมีการติดเชื้ออย่างรุนแรงอาจเกิดปัญหาของวิถุของต่อมไทรอยด์ และการทำงานของหัวใจล้มเหลว
ภาวะการทำงานของตอมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ มีอาการแสดงที่สำคัญ ได้แก่ น้ำหนักเพิ่ม เหนื่อยง่าย ท้องผูก ผมร่วง นอนไม่หลับ ความคิดช้า เสียงเปลี่ยน ทนต่ออากาศหนาวไม่ได้
ภาวะการทำงานของอะต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ จะตรวจพบระดับของ free thyroxine สูงกว่าปกติ (>1.8 ng/dL) และมีระกับของฮอร์โมน TSH ต่ำกว่าปกติ (<0.45 mU/L) ค่าปกติของ TSH ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เท่ากับ 2.5 mU/L ตรวจร่างกายชีพจรเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ใจสั่น ผิวหนังอุ่น ความดัน systolic สูง pulse pressure กว้างมากกว่า 40 มม. ปรอท ต่อมไทรอยด์โต การตรวจภาวการณ์ทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยใช้การวัดจำนวนออกซิเจนที่ร่างกายใช้ในขณะพัก และงดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 10-14 ชั่วโมง ค่าจะสูงขึ้น
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ จะตรวจพบระดับของ free thyroxine ต่ำกว่าปกติ และมีระดับของฮอร์โมน TSH สูงกว่าปกติ (0.4-4.5 microunit/ml) ค่าปกติของ free thyroxine ในสตรีตั้งครรภ์จะเท่ากับสตรีทั่วไป คือ 0.7-1.8 ng/dL
การตรวจวินิจฉัย
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่ควบคุมไม่ได้ และภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ มีผลกระทบต่อการตั้งครรภ์และทารกได้ โดยภาวะการทำงานของต่อมภาวะการทำงานของตอมไทรอยด์มากกว่าปกติ ทำให้เกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนมากกว่าปกติ ช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ การแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
การรักษา
การรักษาภาวะไทรอยด์ไม่ได้ผล อาจมีอาการของต่อมไทรอยด์วิกฤต คือ ภาวะที่ต่อมหลั่งไทรอยค์ออกมาในระดับสูงมากในกระแสเลือดอย่างทันทีทันใจ จากกาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากต่อมไทรอยด์ได้รับการกระทบกระเทือน เช่น การผ่าตัด การติดเชื้อ ภาวะเครียด ฯลฯ จะมีอาการไข้สูงเกิน38.5องศาเซลเชียส มีความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง เช่นระบบทางเดินอาหาร
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จะทำเมื่อไม่สามารถรักษายาไ ด้ เช่น มีอาการแพ้ยาด้านไทรอยค์ การผ่าตัดกรณีจำเป็น มักทำในไตรมาสที่ 2 เพราะถ้าทำในไตรมาสที่ 1 อาจทำให้เกิดการแท้ง ถ้าทำในไตรมาสที่ 3 อาจคลอดก่อนกำหนด
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะการทำงานของต่อมไทรอยค์ต่ำกว่าปกติ ต้องได้รับการรักษาด้วยยา levothyroxine (LT4) 1.8-2.0 microgram/kg เพื่อควบคุมให้มีระดับ total T4 12-18 microgram/dI, freeT4 2.0-2.5 ng/dL และ TSH 0.5-2.0 mU/L
ในช่วงที่ได้รับการรักษาด้วยย1 PTU หรือ levothyroxine ควร ได้รับการตรวจระดับฮอร์โมน TSHและ free T4 เดือนละครั้งเพื่อให้ในการพิจารณาปรับระดับยาให้เหมาะสม
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ ต้องได้รับการรักษาด้วยยา propylthiouracil (PTU) 50-300 มก. ต่อวัน (50-150 มก. ทุก 8 ชั่วโมง) ยานี้ไม่ได้ขัดขวางการปลดปล่อยฮอร์โมนที่เก็บไว้ในต่อมไทรอยด์ ออกมาในกระแสเลือด ผลของยาจริงเห็นช้า อาจนานหลายสัปดาห์ หรือนานหลายเดือน อาการค้างเคียงที่อันตรายของ PTU คือ ทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ (agranulocytosis) ผู้รับประทานยานี้อาจมีอาการ เจ็บคอ เป็นไข้ บางรายอาจมีผื่นขึ้นตามตัว ถ้ามีอาการดังกล่าว ให้รีบพบแพทย์
methimazole (MMI) 5-20 mg ต่อวัน หรือ carbimazole 40 mg ต่อวัน
6.การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคโลหิตจาง
ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ ประเทศไทยใช้เกณฑ์กระทรวงสาธารณสุข WHO
หมายถึง
หญิงตั้งครรภ์มีระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงต่ำกว่า 33% หรือมีฮีโมโกลบินต่ำกว่า 11g/dl.ทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์
การแบ่งชนิดของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางในที่พบในหญิงตั้งครรภ์ ได้เเก่ โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟแลด
สาเหตุ
1.ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเกิดขึ้นเนื่องวัยเจริญพันธ์ ส่วนมากมักจะเก็บสะสมธาตุเหล็กได้ไม่เพียงพอ
2.ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟแลดเกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายได้รับสารโฟเเลต จากสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ปัจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับโฟเเลดจากสารอาหารไม่เพียงพอ เช่น มีประวัติดื่มสุรา รับประทานยากันชัก ตั้งครรภ์แฝด มีฮีโมโกลบิลที่ผิดปกติ
3.ภาวะโลหิตจางเล็กน้อยอาการจะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ
2.ภาวะโลหิตจางปานกลาง จะมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย ใจสั่น หายใจลำบาก
ระดับความรุยแรงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
3.ภาวะโลหิตจางรุนแรงเมื่อระดับสีโมโกลบินต่ำกว่า 6 กรัม/เดซิลิตร จะมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียตลอดเวลา ใจสั่น
อาการและอาการแสดง
หญิงตั้งครรภ์ที่มีโลหิตจางจะมีอารการซีด หน้ามืด เพลีย เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะและมีอาการง่วงนอน ริมฝีปากหรือลิ้นอักเสบ ลิ้นเลี่น ลิ้นซีด แผลมุมปาก กลืนลำบาก นำ้ย่อยในกาะเพาะอาหารลดลงทำให้เบื่ออาหาร และติดเชื้อง่าย ถ้าขาดธาตุเหล็กเรื้อรังจะแสดวอาการทางเล็บ
ผลกระทบของภาวะโลหิตจางต่อหญิงตั้งครรภ์
1.มีการตั้งครรภ์แฝดการเสียเลืดเพียงเล็กน้อยจะทำให้อาการโลหิตจางมากขึ้น
2.หากพบภาวะโลหิตจางเมื่ออายุครรภ์น้อยจะทำให้มีอาการคลอดก่อนกำหนดทารกนำ้หนักน้อย
ผลต่อมารดา
3.หากพบพาวะโลหิตจางเมื่อครบกำหนดคลอด มารดาจะเสี่ยงต่อการเสียเลือดสูงจากการทำงานของเกล็ดเลือดเสียไป
ผลต่อทารก
ถ้ามารดามีภาวะโลหิตจางอย่างรุนเเรงจะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนลดลง ทารกอาจแท้ง พิการ ตายตั้งเเต่อยู่ในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักน้อย การเจริญเติบโตในครรภ์ช้า
การตรวจวินิฉัย
ตรวจวินิจฉัยจากผลการตรวระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ต่ำกว่า 33% หรือฮีโมโกลบิน ต่ำกว่า 11 g/dl และสารเฟอริตินในเลือดต่ำกว่า 10-15ไมโคกรัม,MCV ต่ำกว่า 80fl. เม็ดเลือดเเดงมีขนาดเล็กและติดสีจางลง
การรักษา
ภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์รักษาโดยการรับประททานอาหารที่มีโฟเลดสูงและให้รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก เช่น ferrous fumarate 200 มก.(elemental iron)ประมาณ 60 มก.FBC 1เม็ด ประกอบด้วย ferrous fumarate 200 มก. (elemental iron 66 mg), triferdine 1 เม็ด ประกอบด้วย Iodine 0.15 มก +Ferrous fumarate 60.81มก. +Folic acid 0.4 มก.
โดยอาจให้ยา triferdine วันละ 1 เม็ด ก่อนนอน หรือ Triferdine 1 เม็ด +FBC วันละ 1-2เม็ด หรือFBC วันละ2เม็ด+obimin 1เม็ด ก่อนนอน ซึ่งธาตุเหล็ก ที่ได้จากการรับประทานอาหารยานี้ จะดูดซึมผ่านทางระบบทางเดินอาหารได้เพียงร้อยละ 10-30 ในรายที่มีภาวะโลหิตจางรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการฉีดธาตุเหล็กท่งกล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือดดำ หรือให้เลือดทดแทน
2.การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ
โรคหัวใจ
เป็นสาเหตุการตายของมารดาได้มากกว่าภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่พบได้ทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนาในอดีตของโรคหัวใจในหญิงตั้งครรภ์ที่พบบ่อยที่สุด คือโรคหัวใจรูมาติก แต่โรคหัวใจพิการแก่กำเนิด เป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในหญิงตั้งครรภ์
1.โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด เช่น ผนังหัวใจห้องบนรั่ว ASD, ผนังห้องล่างรั่ว VSD, หลอดเลือดเเดงใหญ่ไม่ปิดPDA เป็ต้น
2.โรคลิ้นหัวใจพิการรูห์มาติก เช่น ลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ เป็นต้น
การแบ่งชนิดของโรคหัวใจ
พยาธิสรีรวิทยา
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือดและพยาธิภาพของโรคหัวใจแต่ละชนิดมีผลต่อความดันในหัวใจห้องล่างในช่วงคลายตัว กรณีหัวใจห้องล่างก่อนที่จะหดรัดตัวครั้งต่อไป ต่ำ กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างจะยืดตัวได้น้อย มีผลทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจในการบีบตัวแต่ละครั้งน้อย
นอกจากนี้พยาธิสภาพของหัวใจมีผลต่อความต้านทานในหลอดเลือดแดงใหญ่ในขณะหัวใจห้องล่างบีบตัว กรณีมีความต้านทานในหลอดเลือดสูง ทำให้ปริมาตรเลือดที่บีบออกจากหัวใจน้อย และอาจทำให้เกิดหัวใจวายได้
อาการและอาการแสดง
สตรีตั้งครรภ์ที่มีปัญหาโรคหัวใจจะมีอาการและอาการแสดงคือหอบเหนื่อย เป็นลมเมื่อต้องออกเเรง ไอเป็นเลือด หอยเหนื่อยเป็นพักๆทำให้นอราบไม่ได้ในเวลากลางคืน เจ็บหน้ออกเมื่อออกแรง
1.โรคหัวใจชนิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว มีอาการของหัวใจห้องล่างขาวล้มเหลว อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ
2.โรคหัวใจชิ้นผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว มีอาการแสดงของลิ้นหัวใจรั่ว ความดันในหลอดเลือดปอดสูง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
3.โรคหัวใจชนิดเอออร์ตาตีบ มีความดันโลหิตสูงในช่วงแขน และมีความดันโลหิตต่ำในช่วงขา อาจมีอาการแสดงหัวใจล้มเหลวได้
4.โรคหัวใจไมทรัลตีบ ลิ้นหัวใจไมทรัลจะแข็ง ทำให้เลือดไหลการหัวใจห้องบนซ้ายลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายได้ไม่หมด เกิดอาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หัวใจห้องล่างซ้ายบิวตัวแบบสั่นพริ้ว มีลิ้มเลือดอุดตันหลอดเลือดในปอด หัวใจห้องล่างขาววาย นำ้ท่วมปอด ไอมีเลือดปน และเยื่อหุ้หัวใจอักเสบ
5.โรคหัวใจเอออร์ติกตีบ ทำให้เลือดคั่งอยู่ในหัวใจห้องล่างซ้าย
การจำแนกความรุนแรงของดโรคหัวใจ
จำเเนกระดับความรุนเเรงตามความสามารถในการทำกิจกรรมและอาการแสดงของโรคหัวใจได้เป็น 4 ระดับ และควรประเมินอาการของโรคหัวใจเมื่ออายุครรภ์ 3 เดือน และอีกครังเมื่อ7-8 เดือน ดังนี้
ระดับที่หนึ่ง(class l) ไม่มีอาการของโรคหัวใจสามารถทำกิจกรรมออกกำลังกายได้ตามปกติ
ระดับที่สอง(class ll) ความสามารถในการทำกิจกรรมลดลง จะรู้สึกสบายดีในขณะพัก แต่ถ้าทำงานตามปกติจะรู้สึกเหนื่อย มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ใจสั่น
ระดับที่สาม (class lll) ขณะพักจะรู้สึกสบายดีแต่จะรู้สึกเหนื่อยมากถ้าทำงานเล็กน้อยหรือปฏิบัติกิจวัตรเป็นประจำ จะมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ใจสั่น
ระดับที่สี่ (class lV) มีอาการของโรคหัวใจ เหนื่อยอหอบเเม้ในขณะพัก ไม่สามารถทำกิจกรรมหรือทำงานได้เลย
หลักการแพทย์พยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ
ระยะคลอด
ผู้คลอดที่เป็นโรคหัวใจจะเสี่ยงต่อภาวะหัวใจวายได้ง่าย การคลอดด้วยวิธีธรรมชาติโดยให้คลอดเองทางช่องคลอดร่วมกับการให้ออกซิเจนเพื่อเพิ่มการซึมซับของเนื้อเยื้อของมารดาและทารกในครรภ์ โดยไม่ต้องกลั้นหายใจเป็นวิธีที่ดีที่สุด ควรดูแลดังนี้
1.วางแผนช่วยเหลือการคลอดเพื่อลดการทำงานของหัวใจ ป้องการการเกิดหัวใจล้มเหลว เช่นจัดท่านอนศีรษะสูง แยกขาออกในระดัยราบ เป็นต้น
2.ตรวจวัดสัญญาณชีพบ่อยๆประเมินทุก15นาที โดยเฉพาะชีพจร การหายใจ สังเกตอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น เหนื่อย หายใจลำบาก เขียวตามปลายมือปลายเท้า
3.ดูแลให้ได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ ใส่หน้ากากออกซิเจน10ลิตร/นาที
4.ดูแลให้ได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำเพื่อควบคุมระดับความดันโลหิตระมัดระวังการได้รับสารละลายมากเกินไป
5.บันทึกสารน้ำเข้า-ออกจากร่างากยเพื่อป้องกันภาวะน้ำเกินในร่างกาย
6.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกทุก 30 นาทีในระยะที่ปากมดลูกเปิดเร็ว
7.ดูแลให้ได้รับยาตาแผนรักษา เช่น ยาบรรเทาปวด ยาปฏิชีวนะ ยาเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจพยาบาลต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
ระยะหลังคลอด
1.ติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดอยู่อย่างน้อย 24-72ชั่วโมงหลังคลอด
3.วัดความอิ่มตัวของออกซิเจน ประเมินสัญญาณชีพทุก15นาที 4 ครั้ง ทุก 30นาที 2ครั้ง
4.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด
5.กระตุ้นผู้คลอดให้มีการเคลื่อนไหว earlr ambulation หลังจากพักผ่อนเต็มที่แล้ว อาการทั่วๆไปดีแล้ว เพื่อป้องการการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน
2.ดูแลให้มารดาหลังคลอดได้พักให้มากที่สุดเพื่อลดการทำงานของหัวใจ
ระยะตั้งครรภ์
4.ให้คำเเนะนำในการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กและโลเดสูง ป้องกันภาวะโลหิตจางซึ่งมีผลต่อการช่วยลดการทำงานของหัวใจ
5.ให้คำเเนะนำในการจำกัดเกลือในอาหารที่รับประทาน
6.แนะนำบประทานอาหารที่มีใยอาหารสูงเพื่อป้องกันอาการท้งอผูก
7.การทำกิจกรรมประจำวันในรายที่มีลิ้นหัวใจตีบควรมีกิจกรรมที่ค่อนข้างจำกัดเพราะโรคทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ
8.ออกกำลังกายเเต่พอเหมาะไม่ให้ร่างกายเหนื่อย ถ้ารู้สึกเหนื่อยตังหยุดทันที
3.แนะนำในการสังเกตอาการข้างเคียงของยารักษาโรคหัวใจซึ่งทำให้เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้
2.ในรายที่เป็นโรคลิ้นหัวใจ หรือหลังผ่าตัดลิ้นหัวใจแนะนำให้ป้องกันการติดเชื้อในช่องปากการเดินหายใจ เพื่อป้องกันการติดเชื้อของเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
1.ให้คำเเนะนำในการดูแลสุขภาพ แนะนำการดูแลความสะอาดของร่างกาย