Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สรุปสัปดาห์ที่ 12 - Coggle Diagram
สรุปสัปดาห์ที่ 12
สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้
ความหมาย
สถาวะแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวผู้เรียน ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ในด้านรูปธรรมเป็นสภาพแวดล้อมทางกานภาพ ได้แก่สภาพแวดล้อมในห้องเรียน เช่นขนาด การวางผัง แสง ที่นั่ง ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกห้องเรียน
ความสำคัญ
ช่วยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ให้แก่ผู้เรียน
ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน
สนับสนุนการเรียนรู้หลายด้าน
มีส่วนช่วยในการควบคุมชั้นเรียนให้ผู้เรียนมีระเบียบวินัย
เป็นแหล่งทรัพยากรทางการเรียน
เสริมสร้างบรรยากาศในการเรียน
สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน
ช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน
ช่วยลดความเมื่อล้า หรือความอ่อนเพลีย ทางด้านสรีระของผู้เรียน
แนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดเชิงทฤษฎีทางด้านจิตวิทยา
แนวคิดเชิงทฤษฎีการสื่อสาร
แนวคิดเชิงปรัชญาการศึกษา
แนวคิดเชิงเทคโนโลยีการศึกษา
แนวคิดเชิงเออร์โกโนมิกส์ (ergonomics)
สิ้งแวดล้อมในการเรียน
ด้านกายภาพ
การจัดการห้องเรียนในแต่ละช่วงวัย
ปฐมวัย
การทำงานกับเด็กปฐมวัยได้ประสบความสำเร็จ ครูจะต้องมีความสามารถในการจัดห้องเรียนและการจัดการชั้นเรียนสำหรับเด็กเพราะการจัดการชั้นเรียนมีผลกระทบโดยตรงต่อพฤติกรรมของเด็กที่จะแสดงออกมาเมื่ออยู่หรือทำงานร่วมกับเพื่อน
ประถมศึกษา
เป็นการจัดห้องเรียนเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างหลากหลาย ตั้งแต่การจัดโต๊ะเรียน การตกแต่งห้องเรียนโดยจัดอุปกรณ์ในการทำกิจกรรมหรือหนังสืออ่านประกอบที่หน้าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทำกิจกรรมควรติดอุปกรณ์รูปภาพและผลงานไว้ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ด้านจิตวิทยา
บรรยากาศทางด้านจิตใจที่นักเรียนรู้สึกสบายใจ มีความอบอุ่น มีความเป็นกันเอง มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน และมีความรักความศรัทธาต่อผู้สอน ตลอดจนมีอิสระในความกล้าแสดงออกอย่างมีระเบียบวินัยในชั้นเรียน
การจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาความคิด
กิจกรรมพัฒนาการคิด
สะท้อนคิด
เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นหลังนักเรียนได้ทำกิจกรรมขบคิดเสร็จสิ้นแล้วเพื่อให้ผู้เรียนได้คิดทบทวนถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปอย่างรอบคอบ และวิเคราะห์จุดเด่นและจุดที่ควรพัฒนาให้ดีขึ้น อันเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการควบคุมการรู้คิดของตนเอง (Meta-Cognition)
คิดต่อยอด
เป็นกิจกรรมที่มุ่งให้นักเรียนนำสิ่งที่ได้จากกิจกรรมสะท้อนคิด มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่นที่หลากหลาย และท้าทายความสามารถของผู้เรียนมากกว่าเดิม
ขบคิด
เป็นกิจกรรมที่เน้นให้นักเรียนได้คิดจากการลงมือทำงาน โดยเน้นการคิดขั้นสูงที่หลากหลาย ผ่านกระบวนการคิดที่ซับซ้อน ต้องใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรม ดังนั้นกิจกรรมนี้ครูจึงต้องเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ และช่วยให้การทำงานของนักเรียนเป็นไปตามเป้าหมาย
ประเมิน
การประเมินกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้มุ่งประเมินเพื่อดูพัฒนาการ ความสำเร็จของนักเรียนแต่ละคน เทียบกับเกณฑ์ความสำเร็จ เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และพัฒนาความสามารถของตนเองต่อไป
ชวนคิด
เป็นกิจกรรมที่มุ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากที่จะเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคการตั้งคำถามกระตุ้นให้นักเรียนคิด ซึ่งคำถามที่ดี ควรเป็นคำถามที่ไม่ใช่คำตอบผิดถูก แต่เป็นคำตอบที่ท้าทาย อยากให้นักเรียนค้นหาคำตอบ
ลักษณะการใช้คำถามที่ดี
ถามทีละคนและตอบทีละคน
แต่ต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนตอบหลาย ๆ คน ในคำถามเดียวกัน
ถามแล้วไม่ทวนคำถาม และไม่ทวนคำตอบ
ถามแล้วต้องมีเวลารอคอย
เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทั้งเก่งและไม่เก่งได้คิดอย่างทั่วถึงจากนั้นจึงเรียกชื่อผู้เรียนให้ตอบคำถาม ไม่กำหนดผู้ตอบก่อนถามคำถาม
ควรใช้ท่าทาง เสียงประกอบการถามเพื่อกระตุ้นความสนใจ
ถามอย่างมั่นใจโดยใช้ภาษาชัดเจน กะทัดรัด
ควรใช้คำถามปูพื้น เมื่อตอบคำถามแรกไม่ได้
ควรใช้คำถามง่ายและยากปนกันในการสอนครั้งหนึ่ง ๆ
เตรียมคำถามล่วงหน้า
เพราะจะสามารถถามได้อย่างเรียงลำดับตามความง่ายยาก ตามลำดับเนื้อหา และช่วยให้มีความมั่นใจในการถาม
ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนถามคำถามผู้สอน
การคิด(Thinking)
การทำงานของกลไกสมอง ที่เกิดจากสิ่งเร้าตามสภาพต่างๆเพื่อทำให้เกิดจินตนาการ เพื่อนำไปแก้ปัญหา หาคำตอบ ตัดสินใจ ซึ่งก่อให้เกิดทั้งพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอกจิตใจสำหรับการดำเนินชีวิต ถ้าไม่คิดก็ไม่สามารถที่จะทำในเรื่องต่างๆได้