Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Diabetes Mellitus เบาหวาน - Coggle Diagram
Diabetes Mellitus เบาหวาน
ชนิดของโรคเบาหวาน
Type 1 Diabetes Mellitus : T1DM เกิดจากเซลล์ตับอ่อนถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ขาดอินซูลิน มักพบในเด็ก
สาเหตุ
เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้
Type 2 Diabetes Mellitus : T2DM (พบบ่อยที่สุด ผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด) เกิดจากภาวะดื้อต่ออินซูลินมักพบใน ผู้ใหญ่ / ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน / อ้วน
สาเหตุ
เกิดจากการที่ตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ไม่เพียงพอต่อการใช้ หรือเกิดภาวะการดื้ออินซูลิน (Insulin Resistance)
Gestational diabetes Mellitus : GDM เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นใน ขณะตั้งครรภ์ มักเกิดเมื่อไตรมาส 2-3 ของการตั้งครรภ์
สาเหตุ
เป็นโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์จากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน โดยที่ผู้ป่วยไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อน
4.Diabetes Other specific types : โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ มีได้หลายสาเหตุ เช่น โรคของตับอ่อน โรคทางต่อมไร้ท่อ หรือ ยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
การวินิจฉัยโรค
Fasting Plasma Glucose; FPG or Fasting Blood Sugar; FBS (ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดก่อนอาหารเช้าหลังอดอาหารข้ามคืนมากกว่า 8 ชม.) พบค่า > 126 mg/dl
Oral Glucose Tolerance Test: OGTT (ระดับน้ำตาลในเลือดชั่วโมงที่ 2 ภายหลังการทดสอบความทนต่อกลูโคส) > 200 mg/dl
Random Plasma Glucose or Random Blood Sugar (ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดโดยไม่งดอาหารและน้ำ) ถ้ามีค่า > 200 mg/dl ร่วมกับอาการแสดงที่สำคัญของโรคเบาหวานได้แก่ หิวน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
HbA1c (Hemoglobin A1C :ฮีโมโกลบินเอวันซี คือการตรวจค่าเฉลี่ยของน้ำหนัก (กลูโคส) ในเลือดที่จับฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา (อาจใช้คำว่า “น้ำตาลสะสม“) > 6.5 %
มีอาการแสดงของโรคเบาหวานร่วมกับระดับน้ำตาลในเลือดสูงอย่างชัดเจน
ภาวะแทรกซ้อน
อาการแขนขาชา
เกิดจากเส้นเลือดฝอยที่มาเลี้ยงเส้นประสาทถูกทำลาย ไม่สามารถส่งออกซิเจนมาตามกระแสเลือดเพื่อไปเลี้ยงเส้นประสาทได้รวมถึงการมีน้ำตาลสะสมรวมตัวกันอยู่บริเวณเส้นประสาทเองด้วยจึงทำให้การทำงานของเส้นประสาทเสื่อมลง
โรคความดันโลหิตสูง
การสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแคบลง จึงทำให้
ความดันเลือดสูงขึ้น
โรคหัวใจขาดเลือด
ความดันเลือดสูง ไขมันในเลือดสูง สูบบุรี่ และเป็นผู้ที่เครียดเป็นประจำ
มีแผลเกิดขึ้นที่เท้าได้ง่าย
เส้นเลือดแดงส่วนปลายเกิดความผิดปกติ ทำให้การรับน้ำหนักไม่สมดุล
และเกิดเท้าผิดรูป จึงเกิดแผลกดทับจากน้ำหนักตัวได้ง่าย
ไตเสื่อม
ผนังเส้นเลือดถูกทำลายโดยน้ำตาลในเลือดที่สูงอยู่เป็นเวลานาน การทำ
หน้าที่ในการกรองของไตจะเริ่มเสื่อมลง ทำให้โปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะ
Bun cr egfr
จอประสาทตาเสื่อม
เกิดจากหลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงจอประสาทตาเกิดความเสียหาย ซึ่งอาจ
ทำให้ตาบอดได้
เกิดจากน้ำตาลไปสะสมที่เลนส์ตา ทำให้ห้การมองเห็นลดลง
อัมพาต
เกิดจากการที่ความดันโลหิตสูง ทำให้หลอดเลือดในสมองแตก และทำให้
เกิดอัมพาตได้
การรักษา
ยารักษาโรคเบาหวาน
Metformin (500) 2 tabs oral bid. Pc
กลุ่ม Biguanide ลดการสร้างกลูโคสของตับ ผลข้างเคียงคลื่นไส้ ท้องผูก ปวดศีรษะ ไอ จาม
1.Glibenclamide (5) 2 tabs oral bid. ac.
กลุ่ม Sulfonylurea กระตุ้นเบต้าเซลล์จากตับอ่อนให้หลั่ง Insulin เพิ่มขึ้น ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ
Mixtard 70/30 10 -0-10
ฉีดใต้ผิวหนัง
ผู้ป่วยเบาหวานที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ผลข้างเคียง ปวดหัว เหงื่อออก ตัวเย็น ใจสั่น กระสับกระส่าย อ่อนเพลีย ชาในปากหรือริมฝีปาก เดินเซ หงุดหงิด มองภาพไม่ชัด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 3 ของเสียคั่งในร่างกายเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง
ข้อมูลสนับสนุน
S:ผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกอ่อนเพลีย
O : Creatinine 2.84(ค่าปกติ 0.67 - 1.17)
O: BUN 31 (ค่าปกติ 6-20 g/dl)
O : GFR 38ml/min/1.73m2
O : ตรวจ Urine Analysis พบ Glucose 1+(Negative) Protein 2+(Negative)
เมื่อเป็นเบาหวานมานาน น้ำตาลทำให้เลือดหนืดตัว หลอดเลือดฝอยในไตเสื่อมสภาพ ไตทำงานน้อยลงจนไม่สามารถรักษาให้กลับคืนสู่สภาพเดิมได้ เมื่อการทำงานของไตเสียไป จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้ อาเจียน จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยบอกว่ารู้สึกอ่อนเพลีย
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ BUN 31, Creatinine 2.84, GFR 38ml/min/1.73m2, ตรวจ Urine Analysis พบ Glucose 1+, Protein 2+ ดังนั้นผู้ป่วยจึงของเสียคั่งในร่างกายเนื่องจากประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลง จึงมีความสำคัญที่ควรที่จะได้รับการรักษา เพื่อลดการคั่งของของเสียในร่างกายและไม่เกิดอันตรายจากของเสียคั่ง
วัตถุประสงค์การพยาบาล
เพื่อลดการคั่งของของเสียในร่างกายและไม่เกิดอันตรายจากของเสียคั่ง
เกณฑ์การประเมินผล
-ค่า BUN อยู่ในช่วง 6-20 mg / dL
-ค่า Creatinine อยู่ในช่วง 0.67-1.17 mg / dl
-ค่า eGFR > 90 ml/min/ 1.73m2
-ตรวจ Urine Analysis พบ Glucose Negative Protein Negative
-ไม่มีอาการของของเสียคั่งในร่างกาย เช่น ปัสสาวะออกน้อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนอ่อนเพลีย บวมคันตามตัว หอบเหนื่อย ความดันโลหิตสูง
กิจกรรมการพยาบาล
1.ตรวจวัดและบันทึกสัญญาณชีพ สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ T:36.5 องศาเซลเซียส P:88 ครั้ง/นาที
R:20 ครั้ง/นาที BP:140/90 มิลลิเมตรปรอท ทุก 1ชั่วโมงเพื่อประเมินสภาวะของร่างกาย
บันทึกจำนวนปัสสาวะที่ออกเป็นซีซีต่อชั่วโมงและรายงานแพทย์เมื่อปัสสาวะออกน้อยกว่า 0.5 mUkg/hr. ติดต่อกัน 2 ชั่วโมง
สังเกตอาการของของเสียคั่งในร่างกาย เช่นปัสสาวะออกน้อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย บวมคันตามตัว หายใจหอบ ความดันโลหิตสูง เพื่อช่วยในการประเมินความรุนแรงของของเสียคั่งในร่างกายและรายงานแพทย์ให้การรักษาอย่างเหมาะสม
บันทึกปริมาณสารน้ำเข้า-ออก ทุก 8 ชม. เพื่อเป็นการประเมินความสมดุลของน้ำเข้าและน้ำออก
ติดตามผล BUN ให้อยู่ในค่าปกติ (อยู่ในช่วง 6-20 mg / dL) Creatrinine ให้อยู่ในค่าปกติ (อยู่ในช่วง 0.67-1.17 mg/ dl) ติดตามค่า eGFR> 60 m mymin / 1.73 m2 ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพื่อประเมินการทำงานของไตในการกรองของเสีย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลข้อที่ 4 เสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า เนื่องจากพยาธิสภาพของโรค
ข้อมูลสนับสนุน
S : ผู้ป่วยบอกว่า “อาชีพทํานา”
O : บริเวณเท้าแห้ง มีรอยแตกที่บริเวณส้นเท้าทั้ง 2 ข้าง
A : ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ดี จะมีปัญหาปลายประสาทเสื่อม เท้าชา, เท้าผิดรูป, ผิวเท้าแห้ง ซึ่งจะก่อให้เกิดแผลที่เท้า และถ้าเกิดภาวะติดเชื้ออาจถูกตัดเท้าหรือขา จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยบอกว่า “มีอาชีพทํานา” บริเวณเท้าแห้ง มีรอยแตกที่บริเวณส้นเท้าทั้ง 2 ข้าง ดังนั้นผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าเนื่องจากพยาธิสภาพของโรค จึงมีความสำคัญมากที่ควรจะได้รับการดูแล เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวการดูแลความสะอาดของเท้าและความปลอดภัยของเท้า
วัตถุประสงค์การพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวการดูแลความสะอาดของเท้าและความปลอดภัยของเท้า
เกณฑ์การประเมินผล
ไม่เกิดแผลบริเวณเท้า
กิจกรรมการพยาบาล
ล้างเท้าด้วยน้ำธรรมดา และสบู่อ่อนทุกวันหลังอาบน้ำ ไม่ความใช้แปรงขนแข็งขัดเท้า เพื่อรักษาความสะอาดให้เท้า
ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้าที่สะอาดและนุ่ม เช่น ผ้าขนหนู โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณซอกนิ้วเท้า เพื่อไม่ให้เกิดการเปื่อยของเท้า
ตรวจดูเท้าทุกวันว่ามีอาการปวด บวม มีแผล รอยช้ำ ผิวเปลี่ยนสี หรือเม็ดพอง โดยตรวจทั่วทั้งฝ่าเท้า ส้นเท้า ซอกระหว่างนิ้ว และรอบเล็บเท้า เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิด
สวมรองเท้าตลอดเวลา ทั้งในและนอกบ้านป้องกันไม่ให้เกิดแผล ก่อนสวมรองเท้าทุกครั้งควรตรวจสอบภายในก่อนว่ามีสิ่งแปลกปลอมใดที่ทำให้เกิดแผลได้หรือไม่เช่น กรวด ทรายเพราะแม้แต่แผลเล็กมากๆ จากรอยถลอกจากการถูกของแข็งจะทำให้เป็นแผลและหายช้า
เลือกใช้รองเท้าที่ถูกสุขลักษณะ รองเท้าจะต้องนิ่ม ขนาดพอดีไม่คับหรือหลวมเกินไป เพื่อป้องกันการเสียดสีจนเกิดเป็นแผล
การตัดเล็บเท้าด้วยความระมัดระวัง และตัดอย่างถูกวิธีโดยตัดขวางเป็นเส้นตรงให้พอดีกับเนื้อ ถ้าสายตาไม่ดี ควรให้ผู้อื่นช่วยตัดเล็บให้ เพื่อป้องกันการเกิดแผล
ทาโลชั่นผิวหนังตลอด เพื่อลดความแห้งแข็งของผิวหนัง
ออกกำลังบริเวณขา และเท้าอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 15 นาที เพื่อให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ไม่ให้เกิดอาการชาที่ขา
ถ้ามีผิวหนังที่หนาหรือตาปลาไม่ควรตัดเอง ควรได้รับการตัดให้บางทุก 6-8 สัปดาห์โดยผู้ชำนาญ
กรณีเกิดบาดแผลต้องรีบรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ 5 ผู้ป่วยวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่เนื่องจากสภาพความเจ็บป่วยเรื้อรัง
เกณฑ์การประเมินผล
ผู้ป่วยมีสีหน้าสดชื่นขึ้น คลายความวิตกกังวล
ผู้ป่วยยอมรับสภาพความเจ็บป่วยและสามารถปรับตัวได้
กิจกรรมการพยาบาล
ให้เวลาผู้ป่วยในการซักถามปัญหาหรือข้อสงสัยต่างๆ และตอบข้อซักถามของผู้ป่วยและญาติด้วยความเต็มใจ เพื่อสร้างความไว้วางใจแก่ผู้ป่วย
เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดคุยและระบายความในใจ ปลอบโยนผู้ป่วยและรับฟังด้วยท่าทางที่สงบ ไม่แสดงอาการรำคาญหรืออาการรีบร้อน ในการทำงานอื่น ๆ เพื่อให้
ผู้ป่วยคลายความวิตกกังวลและให้ความร่วมมือในการทำหัตถการต่างๆ
ก่อนให้การรักษาพยาบาลผู้ป่วยทุกครั้ง อธิบายให้ผู้ป่วยรับทราบถึงเหตุผลและความจำเป็นเพื่อลดความวิตกกังวลให้ผู้ป่วย
ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคที่เป็นอยู่ได้แก่ สาเหตุ อาการและอาการแสดงของโรค แผนการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยที่ได้รับ เพื่อลดความวิตกกังวลของผู้ป่วย
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยด้วยท่าทางที่เป็นมิตร ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่แสดงอาการเบื่อหน่ายต่อผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยคลายความกังวล
ปลอบโยนและสัมผัสเพื่อให้รู้สึกอบอุ่นเป็นมิตร และลดความวิตกกังวล แนะนำกิจกรรมคลายเครียดตามความถนัด
ประเมินและสังเกตระดับความเครียดของผู้ป่วย เพื่อทราบถึงระดับความเครียดและสามารถวางแผนการพยาบาลได้ตรงกับตัวผู้ ป่วยได้
วัตถุประสงค์การพยาบาล
เพื่อให้ผู้ป่วยคลายเครียดลดความวิตกกังวล ยอมรับสภาพความเจ็บป่วย
ข้อมูลสนับสนุน
0 : ผู้ป่วยมีสีหน้าวิตกกังวล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่ 2 มีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากได้รับอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด
ข้อมูลสนับสนุน
O:ผู้ป่วยได้รับยา
-Glibenclamide (5) 2 tabs oral bid. ac.
-Metformin (500) 2 tabs oral bid. pc.
-Mixtard 70/30 10 -0-10
A: ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำคือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม/เดซิลิตร มักทำให้เกิดอาการใจสั่นอ่อนเพลีย ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาลดน้ำตาลหรือฉีดอินซูลิน จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยได้รับยา Glibenclamide (5) 2 tabs oral bid. ac. / Metformin (500) 2 tabs oral bid. pc. และ Mixtard 70/30 10 -0-10 ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเนื่องจากได้รับอินซูลินเพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือด มีความสำคัญที่ควรได้รับการรักษา เพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
วัตถุประสงค์การพยาบาล
ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เกณฑ์การประเมินผล
ระดับความรู้สึกตัวดี ไม่มีอาการชักหรืออาการทางระบบประสาท
ไม่มีอาการเหงื่อออก ตัวเย็น หรือผิวหนังแห้ง ตาลึกโบ้
สัญญาณชีพปกติ
อุณหภูมิร่างกาย 36.5 – 37.4 องศาเซลเซียส
อัตราการเต้นของชีพจร 70 - 100 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 18 - 24 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 90/60 - 130/90 มิลลิเมตรปรอท
ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่า 60 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตระดับความรู้สึกตัวและอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย เช่น ซึม กระวนกระวาย ชักหรือหมดสติ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันท่วงที
วัดสัญญาณชีพ T:36.5 องศาเซลเซียส P:88 ครั้ง/นาที R:20 ครั้ง/นาที BP:140/90 มิลลิเมตรปรอท
ทุก 15 นาที เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลง และวางแผนการช่วยเหลือได้ทันท่วงที
ดูแลให้ได้รับ 50% glucose 50 ซีซี เข้าทางหลอดเลือดดำ ช้า ๆตามแผนการรักษาเพื่อให้สมอง
ได้รับกลูโคสที่เพียงพอ ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับสมอง
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดคำตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันภาวะการขาดน้ำ
ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้
เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังให้ 50% glucose 50 ซีซี เข้าหลอดเลือดดำช้าๆซ้ำ 20-30 นาที เพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดและวางแผนให้การรักษาพยาบาลได้ถูกต้อง
เฝ้าระวังการเกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ โดยสังเกตและแนะนำญาติในการสังเกตอาการผู้ป่วย
หลังได้รับอินซูลิน เช่น มึนงง ปวดศีรษะ หาว ตาพร่ามัว พูดไม่ชัด เหงื่อออก ตัวเย็น ผิวหนังแห้ง ตาลึกโบ ถ้าพบรีบแจ้งพยาบาลเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ถูกต้อง
วินิจฉัยการพยาบาลที่ 1 เสี่ยงต่อภาวะช็อกเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง
ข้อมูลสนับสนุน
S:ผู้ป่วยบอกว่ามีอาการใจสั่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร
O : ผลระดับน้ำตาลในเลือด 279 mg/dl, 265 mg/dl,359 mg/dl, 423 mg/dl
O : สัญญาณชีพ T:36.5 องศาเซลเซียส P:88 ครั้ง/นาที R:20 ครั้ง/นาที BP:140/90 มิลลิเมตรปรอท
A : โรคเบาหวานจะมีการเกิดภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าเกณฑ์ปกติอาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้ จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยบอกว่า “มีอาการใจสั่น อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร” ผลระดับน้ำตาลในเลือด 279 mg/dl, 265 mg/dl,359 mg/dl, 423 mg/dl สัญญาณชีพ T:36.5 องศาเซลเซียส P:88 ครั้ง/นาที R:20 ครั้ง/นาที BP:140/90 มิลลิเมตรปรอท ดังนั้นผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะช็อกเนื่องจากระดับน้ำตาลในเลือดสูง ควรได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อก
วัตถุประสงค์การพยาบาล
ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อก
เกณฑ์การประเมินผล
ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้อยกว่า150 mg/dl
ไม่มีอาการของน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย กระหายน้ำ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน หอบ ระดับความรู้สึกตัวลดลง ซึมลง หมดสติ
สัญญาณชีพปกติ
อุณหภูมิร่างกาย 36.5 – 37.4 องศาเซลเซียส
อัตราการเต้นของชีพจร 70 - 100 ครั้ง/นาที
อัตราการหายใจ 18 - 24 ครั้ง/นาที
ความดันโลหิต 90/60 - 130/90 มิลลิเมตรปรอท
กิจกรรมการพยาบาล
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนราบ ยกปลายเท้าสูง30-45องศา เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้ดี
ตรวจวัดและบันทึกสัญญาณชีพให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ อุณหภูมิ 36.5 - 37.4 องศาเซลเซียส ชีพจร 60 - 90 ครั้ง/นาที สม่ำเสมอ อัตราการหายใจ 18 - 24 ครั้งนาที สม่ำเสมอ ความดันโลหิต 90/60 - 130/90 มิลลิเมตรปรอท
สังเกตและบันทึกอาการเกี่ยวกับระดับความรู้สึกตัวและภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ได้แก่ ปัสสาวะบ่อย
กระหายน้ำ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียน หอบ ระดับความรู้สึกตัวลดลง ซึมลง หมดสติ
ดูแลการได้รับยารับประทานและยาฉีดลดระดับน้ำตาล
1.Glibenclamide (5) 2 tabs oral bid. ac.
สรรพคุณ : ควบคุมภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับการควบคุมอาหารในผู้ป่วย Non-insulin-dependent diabetes
ผลข้างเคียง :
เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
แพ้ยา จะมีผื่นคันตามผิวหนัง หรือตุ่มพองและลอกอาการที่พบบ่อย คือ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย มีการหลั่งกรดเพิ่ม
อาจทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ หรือเกิดคอพอก
มีไข้ ผื่นสีแดงคล้ำ ซึ่งมักเป็นชนิด Maculopapular
อาจทำให้เกิดอาการดีซ่าน Leukopenia
Metformin (500) 2 tabs oral bid. Pc 3. สรรพคุณ : มีคุณสมบัติในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ซึ่งมีภาวะดื้ออินซูลิน โดยส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับอินซูลิน และการรักษาด้วยยาอื่น ๆ
ผลข้างเคียง : คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หายใจเร็ว หรือ หายใจตื้น มีไข้ หนาวสั่น รู้สึกไม่สบายตัว รู้สึกไม่สบายท้อง ปวดหลังหรือปวดกล้ามเนื้อ ปัสสาวะติดขัด
Mixtard 70/30 10 -0-10 ฉีดใต้ผิวหนัง ตามแผนการรักษาของแพทย์ สรรพคุณ : ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงชนิดอ่อนถึงปานกลางในผู้ป่วยเบาหวานที่คงที่แล้ว
ผลข้างเคียง :
เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
เกิดรอยบุ๋มหรือนูนตรงบริเวณที่ฉีดยา เนื่องจากการลีบ หรือการเจริญเติบโตผิดปกติ(Hypertrophy) ของเนื้อเยื่อ ซึ่งทำให้การดูดซึมของอินสุลินลดน้อยลงควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
การแพ้อินสุลิน มีปฏิกิริยาตรงผิวหนังบริเวณที่ฉีดซึ่งเป็นผลจาก IgE ทำให้เกิดอาการคันและบวมแดง
การดื้อต่ออินสุลิน อาจเกิดจากร่างกายสร้าง IgE มาต้านฤทธิ์อินสุลิน เพื่อดูแลให้ได้รับยาตามแผนการรักษาของแพทย์
ติดตามผลระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินภาวะน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
ติดตามผลระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินภาวะน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
6.บันทึกสารน้ำเข้า - ออก ทุก 8 ชม.เพื่อประเมินความสมดุลของน้ำเข้าและออก ถ้าน้ำเข้ามากกว่าน้ำ
ออกทำให้ร่างกายเกิดภาวะน้ำเกินได้
อาการและอาการแสดง
ปัสสาวะบ่อยหิวน้ำบ่อย เมื่อระดับน้ำตาลสูงมากกว่า 180 มก./ดล.คอแห้ง หิวน้ำบ่อย น้ำหนักลด อ่อนเพลีย
แผลหายยาก มีการติดเชื้อตามผิวหนังง่าย เกิดฝีบ่อย
คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อราง่าย ผิวหนังแห้งเกินไปการอักเสบของผิวหนัง
ตาพร่ามัว
ชาปลายมือปลายเท้า
พยาธิสภาพ
ความสูงอายุเป็นผลร่วมกันของการเปลี่ยนแปลงระบบต่อมไร้ท่อ
ต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ลดลง
ตับอ่อนสูญเสียหน้าที่
ผลิตอินซูลินได้น้อยลง
กลูโคสเข้าสู่เซลล์ลงลด
เนื้อเยื่อใช้กลูโคสลดลง
มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
มีน้ำตาลปนกับปัสสาวะ
มีการปัสสาวะเพิ่มขึ้น
2 more items...
มีภาวะขาดน้ำในเซลล์ทำให้กระหายน้ำ
ความรู้สึกตัวลดลง