Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมระยะตั้งครรภ์ (โรคเบาหวาน) - Coggle Diagram
การพยาบาลสตรีที่มีโรคร่วมระยะตั้งครรภ์ (โรคเบาหวาน)
โรคเบาหวาน ( diabetes mellitus ) ระดับน้ำตาลในเลือดสูงที่เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายมีการสร้างฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ หรือมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์เเบ่งเป็น 2 กลุ่ม
เบาหวานที่เป็นมาก่อนตั้งครรภ์ (per-gestation diabetes mellitus หรือ overt DM) พบได้ทั้งในรายที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 1(type 1 diabetes mellitus) หรือชนิดที่ 2 (type 2 diabetes mellitus)
เบาหวานที่วินิจฉัยได้ขณะตั้งครรภ์ (gestational diabetes mellitus : GDM) เป็นเบาหวานที่ตรวจพบครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์
การเเบ่งชนิดของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ =โรคเบาหวานที่วินิจฉัยได้ครั้งแรกในขณะตั้งครรภ์
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มเอ 1 (GDM A1) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดรับประทานอาหารต่ำกว่า 105 มก./ดล. และระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง ต่ำกว่า 120 มก./ดล.
เบาหวานขณะตั้งครรภ์ กลุ่มเอ 2 (GDM A2) ระดับน้ำตาลในเลือดหลังงดรับประทานอาหาร สูงกว่าหรือเท่ากับ 105 มก./ดล. เเละระดับน้ำตาลในเลือดหลังรับประทานอาหาร 2 ชั่วโมง สูงกว่าหรือเท่ากับ 120 มก./ดล.
พยาธิ
ระยะแรก = eatrogen+progesterone จารกเพิ่มขึ้น beta ceell ของตับอ่อน จะหลั่ง insulinเพิ่มขึ้น น้ำตาลลดลง
ระยะหลัง =HPL+Pro+Prolactin,cortisol การทำงาน insulin ภาวะดื้อต่อ insulin น้ำตาลเพิ่มขึ้น
ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวาน
พันธุกรรม = ผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเบาหวานจึงมีความเสี่ยงในการเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติพันธุกกรมในครอบครัว
อายุ = อายุมากทำให้มีความเสี่ยงเป็นเบาหวานสูง เนื่องจากมีการงสะสมของพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆที่มีผลทำให้ความไวในการทำงานของอินซุลินลดลง หรือร่างกายจะมีภาสะดื้ออินซูลิน
ภาวะน้ำหนักเกิน หรืออ้วน = เนื้อเยื่อไขมันในร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลินมากขึ้น
พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม = การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลชนิคต่างๆ ผลไม้รสหวานที่มีน้ำตาล ฟรุคโตส อาหารสำเร้จรูปที่มีส่วนผสมของไขมันทรานส์ ทำให้มีการสะสมของเนื้อเยื่อไขมัน เเละเกิดภาวะดื้อต่ออินซุลิน
การขาดการออกกำลังกาย = ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานได้เนื่องจากพลังงานส่วนเกินจะสะสมเป็นเนื้อเยื่อไขมันซึ่งทำให้ร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซุลินเเละความไวในการทำงานของอินซุลิน
ผลการทบต่อการตั้งครรภ์
การเเท้งบุตร (abortion) = หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานและมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติร้อยละ 30-60 จะเกิดการแท้งบุตร โดยเฉพาะในช่วง 7 สัปดาห์เเรกของการตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูงร่วมกับการตั้งครรภ์ (hypertensive disorder) = ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมีผลทำลายเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดเเข็ง มีความต่านทานในหลอดเลือดสูงขึ้น จึงเกิดภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นได้
ทารกรมีขนาดใหญ่ (macrosomia) = กรณีที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวานมีขนาดใหญ่กว่าอายุครรภ์ เนื่องจากได้รับกลูโคลจากเลือดมารดามาก จึงทำให้ตับอ่อนของทารกสร้างเเละหลั่งอินซูลินออกมามาก เพื่อนำกลูโคลเข้าสู่เซลล์และนำไปสร้างเป็นเนื้อเยื่อไขมันสะสมอยู่บริเวณใบหน้าและลำตัวส่วนบน
ทารกในครรภ์เติบโตช้า (intrauterine growth retardation) = มารดารที่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ ความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ทารกอาจมีการเจริญเติบโตช้าเเละมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ได้เพื่องจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน มีผลทำให้เกิดพยาธิสภาพของหลอดเลือดมารดา ส่งผลให้มีเลือดเเละสารอาหารไหลเวียนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้น้อยลง หรืออาจเกิดขึ้นในกรณีที่มารดามีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ
ทารกเเรกเกิดมีภาวะการหายใจลำบาก (respiratory distress syndrome) = เนื่องจากทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวานมี่การส้รางสารเคลือบถุงปอด (pulmonary surfactant) ได้สมบูรณ์ช้ากว่าทารกที่มารดาไม่เป็นโรคเบาหวาน
ทารกมีความพิการแต่กำเนิด (congenital malformation) = มารดาที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงก่อนตั้งครรภ์ เเละในช่วง 5-8 สัปดาห์ ทารกในครรภ์ ร้อยละ 9.8-14.7 มีความพิการเเต่กำเนิด เช่น ภาวะกะโหลกศีรษะ ไม่ปิด ภาวะกระดูกสันหลังไม่ปิด ความพิการของหัวใจ เเขนสั้นผิดรุป
ทารกเเรกเกิดมีภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ (neonatal hypoglycemia ) = ทารกได้รับกลูโคสจากเลือดมารดาสูง ทำให้มีการสร้างอินซูลินสูง ในช่วงเเรกเกิดทารกไม่ได้รับกลูโคสจากมารดาแต่ยังคงมีอินซูลินสูงอยู่
การตกเลือดหลังคลอด = (postpartum hemorrhage) = มีภาวะน้ำคร่ำมากกว่าปกติ หรือมดลูกมีการชยายตัวมากกว่าปกติเนื่องจากทารกมีขนาดใหญ่ ทำให้ห้มดลูกมีการหดรัดตัวไม่ดีในระยะหลังคลอด
การติดเชื้อ (infection) = การติดเชื่อทาฃเดินปัสสาวะ การติดเชื้อของมดลูกหลังคลอด การติดเชื้อของแผลผ่าตัด
อาการเเละอาการเเสดง
หญิงตั้งครรภ์ที่ตรวจพบว่าเป็นเบาหวานร่วมด้วยครั้งเเรก อาการจะไม่ชัดเจนเเต่จะทราบได้ว่าเป็นโดยการตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะ หรือพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงเท่านั้น
หญิงตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ จะพบอาการอ่อนเพลียง่าย น้ำหนักลดลง ถ่ายปัสสาวะมาก หิวบ่อย กระหายน้ำ คันตามตัว คันบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ เเละมีอาการเเทร็กซ้อนอื่นๆ เช่น การมองเห็นเเย่ลง ปลายมือปลายเท้าชา มีเเผลหายช้า เป็นแผลเรื้อรัง
การตรวจคัดกรองภาวะเบาหวานในระยะตั้งครรภ์
การตรวจคัดกรอง (screening test) ภาวะเบาหวานเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งเเรก (ในรายที่มีความเสี่ยงสูง) หรือเมื่ออายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์ โดยการทดสอบด้วยการให้รับประทานกลูโคสขนาด 50 กรัม ( 50-g glucose challenge test : 50g GCT) และเจาะ เลือดตรวจดูระดับน้ำตาลในเลือด หลีงดื่มกลูโคสเเล้ว 1 ชั่วโมง กรณีระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 140 มก./ดล. ถือว่าผิดปกติต้องตรวจวินิจฉัยต่อ
การตรวจวินิจฉัยภาวะเบาหวานในระยะตั้งครรภ์
การทดสอบด้วยการรับประทานกลูโคส 100 กรัม (100-g glucose tolerance test : OGTT) เป็นการตรวจในตอนเช้าหลังอาหาร (NPO after Midnight) เป็นเวลา 8 ชั่วโมง โดยเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ 4 ครั้ง คือ
ครั้งเเรก * หารระดับน้ำตาลในเลือดก่อนรับประทานกลูโคส = fasting Blood Sugar (FBS)
**หลังจากหลังให้รับประทานกลูโคส 100 กรัม เเล้วเจาะเลือดที่ 1,2 เเละ 3 ชั่วโมง หลังจากรับประทานกลูโคส การแปลผล ค่า OGTT ผิดปกติตั้งเเต่ 2 ค่าขึ้นไป = ผิดปกติ
วินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์(GDM) เเต่ถ้าOGTT ผิดปกติเพียงค่าเดียว ต้องตรวจซ้ำอีก 1 เดือนต่อมา
การรักษา
ระยะตั้งครรภ์
ให้ข้อมูลคำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตรวจและผลการตรวจคัดกรองการตรวจวินิจฉัยโรคเบาหวานตามแนวปฏิบัติ
ให้คำแนะนำในการรับประทานอาหารตามหลักโภชนบำบัดประสานงานในการส่งไปพบนักโภชนาการหรือพยาบาลผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน
แนะนำเกี่ยวกับรูปแบบของการออกกำลังกายที่เหมาะสมและพักผ่อนให้เพียงพอ
แนะนำและสอนเกี่ยวกับทักษะการฉีดอินซูลินด้วยตนเองเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
แนะนำและสอนเทคนิคการเจาะเลือดจากหลอดเลือดฝอยปลายนิ้วมือเพื่อตรวจระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง (self-monitoring of blood glucose)
บอกให้ทราบเกี่ยวกับความสำคัญของการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ติดตามผลการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดในระบบการบันทึกของโรงพยาบาลและสมุดบันทึกประจำตัว
ระยะคลอด
แนะนำเกี่ยวกับการเตรียมคลอดปกติการชักนำการคลอดหรือการผ่าตัดคลอดคลอดทารกทางหน้าท้อง
กรณีเตรียมผ่าตัดคลอดแนะนำให้ฉีดอินซูลินในตอนเย็นหรือก่อนนอนตามปกติและให้งดอินซูลินในตอนเช้าของวันผ่าตัด
เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลทุก 1-2 ชั่วโมงโดยค่าระดับน้ำตาลในเลือดควรอยู่ระหว่าง 80-120 มก. / ดล.
ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษาเช่น NSS, 5% D / NSS
กรณีมีระดับน้ำตาลในเลือคสูงกว่าเกณฑ์เป้าหมายในการรักษาดูแลให้ได้รับการฉีดอินซูลินหรือให้อินซูลินทางหลอดเลือดดำ 1-2 ยูนิตต่อชั่วโมงตามแผนการรักษา
ส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอดประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและติดตามประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ตามแนวปฏิบัติ
วางแผนช่วยเหลือการคลอดเพื่อป้องกันการคลอดติดไหล่ (shoulder dystocia) และการบาดเจ็บ C จากการคลอด
ระยะหลังคลอด
ติดตามประเมินการเสียเลือดในระยะคลอดประเมินการหดรัดตัวของมดลูกและภาวะกระเพาะปัสสาวะเต็มเพื่อเฝ้าระวังการตกเลือดหลังคลอด
ติดตามประเมินอาการแสดงของภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่นานอาจเป็นโรคเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์ที่แฝงอยู่แล้วเพิ่งตรวจพบครั้งแรกระหว่างตั้งครรภ์
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 30 นาทีใน 1 ชั่วโมงแรกและอีกเชั่วโมงถัดมาหลังจากนั้นประเมินทุก 2-4 ชั่วโมงตามอาการเปลี่ยนแปลง
ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพหลังคลอดการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดการรับประทานอาหารการออกกำลังกาย
แนะนำให้มาตรวจสุขภาพหลังคลอดตามนัด 6 สัปดาห์และตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือดที่คลินิกเบาหวาน
กรณีมีปัจจัยเสี่ยงบอกให้ทราบเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารการออกกำลังกายเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ
ให้คำแนะนำในการวางแผนครอบครัวโดยแนะนำให้ใช้ถุงยางอนามัยยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนต่ำโดยใช้เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนน้อยที่สุดการใส่ห่วงอนามัยไม่แนะนำเพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อในอุ้งเชิงกรานถ้ามีบุตรเพียงพอแล้วแนะนำให้ทำหมัน