Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โครงงานวิทยาศาสตร์ - Coggle Diagram
โครงงานวิทยาศาสตร์
-
-
-
ตัวแปร
-
-
ตัวแปรควบคุม : ปริมาณและความเข้มข้นของสารสกัดหยาบ ปริมาณและความเข้มข้นของสารเคมีที่ใช้ อุณหภูมิ และเวลา
การอ้างอิง
กมลชนก สกุลประเสริฐ. (2556). ผลของวิธีการทำแห้ง ปริมาณของสารกลุ่มฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารสกัดจากใบผักหวานป่า Melientha suavis Pierre. ปริญญานิพนธ์ ไม่ได้ตีพิมพ์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกตุการ ดาจันทา, หทัยทิพย์ ร้องคำ, ทรงพรรณ สังข์ทรัพย์, และเปรมนภา สีโสภา. (2562). ปริมาณ
สารประกอบฟีนอล ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านจุลินทรีย์ของผักพื้นบ้านในจังหวัดพิษณุโลก.
แก่นเกษตร 47, (1), 1541-1548.
กิตติพัฒน์ โสภิตธรรมคุณ และปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ. (2560). การสกัดและวิธีวัดความสามารถการต้าน อนุมูลอิสระในพืช. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 3(1), 86-94.
การกำหนดนิยามศัพท์เฉพาะ
ผักหวานป่า หมายถึง ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบมีลักษณะปลายแหลมสีเขียว ใบอ่อนมีสีเขียวอมเหลืองอยู่บริเวณปลายยอด ใบแก่มีสีเขียวเข้มบริเวณกิ่นก้านและลำต้น
สารพฤกษเคมี หมายถึง สารเคมีที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพที่พบในพืชผักและผลไม้เป็นสารที่ทำให้พืชผักและผลไม้มีสี กลิ่นหรือรสชาติที่เฉพาะตัว
-
สรุป และ อภิปราย
อภิปรายผลการศึกษา
จากผลการทดลองข้างต้นจะเห็นได้ว่าส่วนต่าง ๆ ของผักหวานป่า ได้แก่ ยอดอ่อนและใบแก่ สามารถใช้เป็นแหล่งของสารพฤกษเคมีที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่ดีได้ และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากผักหวานป่าขึ้นอยู่กับปริมาณสารพฤกษเคมี จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับปริมาณสารฟลาโวนอยด์ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมของสารสกัดจากผงผักหวานป่า สังเกตได้จากส่วนของผงยอดอ่อนผักหวานป่าที่มีปริมาณสาร
ฟลาโวนอยด์ และปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงที่สุด ทำให้มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ FRAP สูงตามไป และยังมีปัจจัยอื่น เช่น ตัวทำลละลายในการสกัด ที่ส่งผลต่อปริมาณสารพฤกเคมีและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Laksana Charoenchai (2558) ที่ทำการศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณฟีนอลิกรวมและปริมาณฟลาโวนอยด์ของผักหวานป่า ที่รายงานว่า การสกัดผักหวานป่าด้วยสารละลายอินทรีย์ เช่น เอทานอล พบว่าในผักหวานป่ามี
ปริมาณฟีนอลลิกรวม ฟลาโวนอยด์ และความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ FRAP สูงกว่าการสกัดด้วยน้ำ
การใช้เอทานอลในการสกัดตัวอย่างพืช พบว่าทำให้มีปริมาณสารพฤกษเคมีและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าการสกัดด้วยน้ำ เนื่องจากเอทานอลจัดเป็นตัวทำละลายที่มีขั้วปานกลาง สามารถสกัดได้ทั้งสารที่มีขั้วและสารที่ไม่มีขั้วออกมาได้ จึงนิยมใช้เอทานอลในการสกัดสารพฤกเคมีมากกว่าน้ำ ที่เป็นตัวทำละลายที่มีขั้วสูง
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อม ระยะเวลาในการเก็บตัวอย่าง และชนิดของตัวอย่าง
ที่ส่งผลต่อความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ ลักษณา เจริญใจ (2556)
ที่ทำการศึกษาการแยกสกัดและศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดผักหวานป่าและผักหวานเมา ที่รายงานว่า สารสกัดผักหวานป่าและผักหวานเมา จากกิ่งและยอดอ่อนมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระโดยพบว่า สารสกัดผักหวานป่าที่สกัดโดยใช้ 95% เอทานอลมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ DPPH สูงสุด ในขณะที่สารสกัดผักหวานเมากาญจนบุรีที่สกัดด้วย 95% มีค่าความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ FRAP สูงกว่าผักหวานป่าอุทัยธานี ซึ่งเก็บตัวอย่างพื้นจากพื้นที่ที่แตกต่างกันและชนิดพืชที่แตกต่างกัน
สรุปผลการศึกษา
จากการทดลองตรวจวัดปริมาณคลอโรฟิลล์และแคโรทีนอยด์ สารฟลาโวนอยด์ และสารประกอบฟีนอลิกรวม พบว่าสารสกัดของผงยอดอ่อนผักหวานป่ามีปริมาณสารพฤกษเคมีมากกว่าผงใบแก่ผักหวานป่า ซึ่งผลการทดลองที่ได้ในส่วนของการตรวจวัดปริมาณสารพฤกษเคมี เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อตรวจวัดปริมาณสารพฤกษเคมีของผงยอดอ่อนและผงใบแก่ของผักหวานป่า และสมมุติฐานที่คาดว่าผงยอดอ่อนและผงใบแก่ของผักหวานป่า มีปริมาณสารพฤกษเคมีที่แตกต่างกัน
ากการทดลองตรวจสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ FRAP พบว่าสารสกัดของผงยอดอ่อนผักหวานป่ามีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ DPPH และ FRAP มากกว่าผงใบแก่ผักหวานป่าซึ่งผลการทดลองที่ได้ในส่วนของการตรวจสอบความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ เป็นไปตามวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระของผงยอดอ่อนและผงใบแก่ของผักหวานป่า และสมมุติฐานที่คาดว่าผงยอดอ่อนและผงใบแก่ของผักหวานป่ามีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระที่แตกต่างกัน
-
-
-
ที่มาและความสำคัญ
ผักหวานป่า เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เป็นไม้พุ่ม เนื่องจากมีการหักกิ่งเด็ดยอดนำไปประกอบอาหารเพื่อการบริโภค แต่ในส่วนของใบแก่ยังไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ มีรายงานว่าผักหวานป่ามีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระเราจึงสนใจที่จะตรวจวัดปริมาณสารพฤษเคมีและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระในส่่วนของยอดอ่อนและใบแก่ของผักหวานป่า
-