Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เด็กชาย อายุ 2 วัน, เพิ่มเติม, Ampicillin (100 MKDose) 340 mg v q 12 hr.,…
-
เพิ่มเติม
- สังเกตอาการขาดสารน้ำ ได้แก่ ผิวหนังแห้ง
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
-
กิจกรรมการพยาบาล
- ดูแลให้ทารกได้รับO2 cannula 1 LPM keep > 95% ตามแผนการรักษา เพื่อให้เนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายได้รับออกซิเจนเพียงพอ
- จัดท่านอนให้เหมาะสม ให้ศีรษะสูงเล็กน้อย 15-30 องศา หน้าตรงหรือตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง ให้ใช้ผ้าหนุนใต้ไหล่ให้หน้าเงยเล็กน้อย ระวังไม่ให้ผ้าเลื่อนมาอยู่บริเวณใต้ศีรษะ เพราะจะทำให้หลอดลมคอแคบลงและช่วยให้อวัยวะในช่องท้องหย่อนตัวลงไม่ดันกะบังลม
- ดูแลทางเดินหายใจให้โล่งอยู่เสมอ โดยดูดเสมหะทุกครั้งเมื่อมีเสมหะทั้งทางปากและจมูก ใช้เวลาในการดูดเสมหะประมาณ 10-15 วินาที ใช้ความดันขณะดูดเสมหะ 60-80 มิลลิเมตรปรอท
- สัมผัสหรือรบกวนผู้ป่วยให้น้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น เพื่อลดสิ่งกระตุ้นให้ร่างกายใช้ออกซิเจนมากขึ้น
- ติดตามสัญญาณชีพ ในระยะรุนแรงทุก 15-30 นาที เมื่ออาการคงที่ เปลี่ยนเป็นทุก 1,2 และ 4 ชั่วโมง ตามลำดับ เพื่อประเมินอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ และความผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นได้และรายงานแพทย์ทันที ก่อนที่อาการทารกจะทรุดลงมากขึ้น
- ติดตามค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดตลอดเวลา ควบคุมให้ > 95% สังเกตภาวะพร่องออกซิเจน เช่น การหายใจผิดปกติ ปีกจมูกบาน หน้าอกหรือชายโครงบุ๋ม เขียวตามปลายมือปลายเท้า
- กระตุ้นมารดาให้มีส่วนร่วมในการดูและทารก เช่น การจัดท่านอน การดูแลความสะอาดร่างการและสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
-
กิจกรรมการพยาบาล
- ดูแลทารกให้ได้รับยา
●Ampicillin (100 MKDose) 340 mg v q 12 hr.
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ Ampicillin มีฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของแบคทีเรีย โดยเข้าจับกับ penicillin-binding protein (PBPs) ที่จะยับยั้งกระบวนการทรานส์เปปทิเดชันในขั้นตอนสุดท้ายของการสังเคราะห์เปปทิโดไกลแคนของผนังเซลล์ของแบคทีเรีย เป็นผลให้ยับยั้งชีวสังเคราะห์ของผนังเซลล์แบคทีเรียและหยุดการประกอบโครงสร้างของผนังเซลล์แบคทีเรียจะถูกย่อยสลายโดยเอนไซม์ออโตไลซิน (autolysin) และมูเรอิน ไฮโดรเลส (murein hydrolase)
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาAmpicillin
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เกิดผื่นแดง เจ็บปาก ลิ้นเป็นสีดำเกิดขึ้น อาการแพ้ยาแบบ Steven-Johnson การเกิดพิษต่อผิวหนัง อาการบวม เป็นไข้ ปวดข้อ ภาวะโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงแตก ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือด เลือดแข็งตัวช้าลง พิษต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น อาการชัก เกิดพิษต่อไต ไตอักเสบ ตับอักเสบ
●Gentamycin (4 MKDose) 14 mg v OD.
กลไกการออกฤทธิ์ของยาคือ Gentamycin มีฤทธิ์ฆ่าจุลชีพ โดยจับกับ ribosome ส่วน 30 s ของเชื้อแบคทีเรีย และรบกวนการสร้างโปรตีนใช้รักษาแบคทีเรียแกรมลบชนิด aerobic ฤทธิ์ยาจะลดลงในสภาวะที่ขาดออกซิเจนนและไม่มี ผลต่อแบคทเีรียพวก anaerobic ถ้ายามีความเข้มข้นสูงจะมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อความเข้มข้นต่ำ มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ
ผลข้างเคียงจากการใช้ยา Gentamycin
ทรงตัวลำบาก กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ท่าทางการเดินผิดปกติ
เป็นพิษต่อระบบการได้ยินและการทรงตัวที่หู
ลดการกำจัดคริเอทนินที่ไต
- วัดสัญญาณชีพ ค่าออกซิเจนในเลือดและติดตามการเปลี่ยนแปลงต่างๆของทารก
ลักษณะการหายใจอาการแสดงของการติดเชื้อเช่น มีไข้ ปลายมือปลายเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว ซึมลง เคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง เขียวคล้ าตามปลายมือปลายเท้าตัวลาย มีจheตามตัว Capillary refillมากกว่า 2 วินาที
- ล้างมือก่อนและหลังจับทารกทุกครั้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายเชื้อ
- ดูแลความสะอาดร่างกายของทารกโดยเฉพาะสะดือ เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ 70% เช้า
และเย็นโดยเช็ดจากโคนสะดือและวนออกด้านนอก ถ้าพบอาการผิดปกติรีบรายงานแพทย์เพื่อให้การ
รักษาได้อย่างทันท่วงที
- ปฏิบัติการพยาบาลแก่ทารก โดยใช้หลักปลอดเชื้อ แยกอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็นเพื่อ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
- ดูแลเปลี่ยนชุดให้อาหารทางปากทุก 3 วัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- ทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมผู้ป่วยทุกวัน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อจากสิ่งแวดล้อม
- ติดตามและบันทึกผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจนับเม็ดเลือดผลการ
เพาะเชื้อในเลือดเมื่อพบว่าผิดปกติ รายงานแพทย์เพื่อให้การรักษาต่อไป
- ให้ความรู้มารดาและญาติเรื่องการล้างมือที่ถูกต้องและประเมินผลการรับรู้ เพื่อให้
สามารถนำกลับไปใช้ที่บ้านได้
-
-
กิจกรรมการพยาบาล
- สร้างสัมพันธภาพกับบิดามารดา โดยการพูดคุยซักถามด้วยความเป็นกันเองและแสดงความเห็นอกเห็นใจเพื่อให้เกิดความไว้วางใจ เปิดโอกาสให้บิดามารดา ได้ซักถามปัญหาต่างๆและร่วมสนทนา เพื่อเป็นการช่วยลดความรู้สึกกลัวและวิตกกังวล
2.ให้คำแนะนำบิดามารดาเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้กับผู้ป่วยประโยชน์ของเครื่องมือวิธีการใช้ด้วยคำพูดที่ง่ายต่อการเข้าใจ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับอุปกรณ์ต่างๆ
3.ให้กำลังใจและให้ความมั่นใจว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาพยาบาลและดูแลอย่างเต็ม
ความสามารถ แนะนำความก้าวหน้าและอาการของทารกเป็นระยะตามความจำเป็น
4.เปิดโอกาสให้มารดาได้มีส่วนร่วมในการดูแลทารกในขณะอยู่โรงพยาบาล เพื่อให้เกิด
การเรียนรู้และประสบการณ์ในการดูแลบุตรของการเลี้ยงทารก ขณะอยู่โรงพยาบาล
5.ยกย่อง ชมเชยเมื่อปฏิบัติได้ เพื่อส่งเสริมความรู้สึก นับถือคุณค่าในตนเอง
กิจกรรมการพยาบาล
- ส่งเสริมการขจัดเสมหะโดยการระบายเสมหะที่คั่งค้าง และขจัดสาเหตุที่ทำให้เสมหะมีมาก โดยทำกายภาพบำบัดทรวงอก เพื่อช่วยระบายเสมหะออกจากปอดด้วยแรงสั่นสะเทือน โดยการจัดท่าให้เสมหะออกได้สะดวก ใช้อุ้งมือเคาะบริเวณทรวงอกที่ต้องการระบายเสมหะ ใช้ผ้ารองก่อนเคาะ เฉลี่ย
1-3 นาที/ครั้ง ทำขณะท้องว่าง ฟังเสียงหายใจก่อนและหลังทำกายภาพบำบัดทรวงอก เพื่อประเมินผล
2.สังเกต และบันทึกลักษณะสีปริมาณของเสมหะทุกครั้งหลังดูดเสมหะ เพื่อประเมินภาวะแทรกซ้อนในระบบหายใจ
- ดูแลให้ทารกไดรับสารน้ำอย่างเพียงพอ เพื่อช่วยให้เสมหะไม่เหนียวจนเกินไปสามารถดูดหรือขับออกได้ง่าย
- บันทึกสัญญาณชีพ ค่าออกซิเจนในเลือด ทุก15- 30 นาที ในระยะวิกฤต และทุก 1-4 ชั่วโมง หรือตามสภาพทารก เฝ้าติดตามอาการที่บ่งชี้ว่าทารกมีการอุดกั้นในทางเดินหายใจ ได้แก่ลักษณะ
การหายใจมีการดึงรั้งของกระดูกหน้าอก ปีกจมูกบาน หายใจไม่สม่ำเสมอหรือหยุดหายใจเป็นพักๆ ถ้าพบความผิดปกติจะได้ให้การช่วยเหลือทันท่วงที
- ส่งเสริมให้มารดาทำกิจกรรมร่วมกับพยาบาลโดยการสาธิตให้ดูและกระตุ้นให้ทำกิจกรรมในเรื่องการเคาะปอด การดูดเสมหะด้วยลูกสูบยาง และประเมินความรู้ความสามารถ
-
-
-
-
-
-
-
-
กิจกรรมการพยาบาล
- ดูแลให้ได้รับนมอย่างเพียงพอตามแผนการรักษา คือ BF/นมแม่/นมN 30 ml*8 feed
- ชั่งน้ำหนักทารกทุกวัน เพื่อประเมินน้ำหนักของทารก
- จดและบันทึกจำนวนนมที่คั่งค้างอยู่ในกระเพาะอาหารก่อนได้รับนมทุกครั้ง
- สังเกตอาการที่ทำให้ทารกรับอาหารได้น้อย ได้แก่ อาเจียน ท้องอืด กระสับกระส่าย
เพิ่มเติม: เกณฑ์การประเมินการติดเชื้อ ได้แก่
-BT > 38 องศาเซลเซียส หรือ < 36องศาเซลเซียส
-Tachycardia มี HR > 160 หรือ < 100 bpm
-RR > 60 bpm
-WBC > 26,000 cell/mm3 หรือ < 8,000 cell/mm3 หรือ CRP > 10
เพิ่มเติม : การเคาะปอด
-Term สามารถเคาะได้
-Preterm ไม่สามารถเคาะปอดได้ เพราะจะทำให้เกิดแรงดันในสมองได้ แต่สามารถใช้การสั่นสะเทือนจากแปรงสีฟันไฟฟ้าได้
เพิ่มเติม: ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ CBC, CRP เพื่อประเมินดูการติดเชื้อจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ และเพื่อให้การรักษาได้ทันท่วงที
เพิ่มเติม: การจัดท่าผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่ปอด
-หากมีพยาธิสภาพที่ปอดซ้าย ให้จัดท่าไปด้านขวา
-หากมีพยาธิสภาพที่ปอดขวากลาง ให้จัดท่าตะแคงซ้ายหรือนอนราบ
-หากมีพยาธิสภาพที่ปอดlobeบน ให้จัดท่าศีรษะสูง