Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลหญิงที่มีโรคร่วมกับการตั้งครรภ์
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคหัวใจ
การแบ่งชนิดของโรคหัวใจโรคหัวใจในหญิงตั้งครรภ์แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดและ โรคลิ้นหัวใจพิการรูห์มาติค
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart disease) เช่น ผนังหัวใจห้องบนรั่ว (atrial septaldefect:ASD) ผนังหัวใจห้องล่างรั่ว (ventricular septal defect: VSD) หลอดเลือดแดงใหญ่ไม่ปิด (patentductus arteriosus:PDA) เป็นต้น
โรคลิ้นหัวใจพิการรูห์มาติค (rheumatic heart disease) เช่น ลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ (mitral stenosis)เป็นต้น เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการมีการติดเชื้อ streptococcus ที่ลำคอ ของผู้ที่มีประวัติการติดเชื้อนี้
ทำให้มีพยาธิสภาพที่ลิ้นหัวใจ ทำให้ลิ้นหัวใจตีบแคบ หัวใจต้องบีบตัวมากขึ้น อาจทำให้เกิดภาวะความดัน โลหิตสูงในปอด น้ำท่วมปอด และหัวใจล้มเหลวได้ อาการที่แสดงแรกเริ่มที่ทำให้รู้ว่าจะมีภาวะหัวใจล้มเหลว คือ ได้ยินเสียงน้ำในปอด (rale) หอบเหนื่อยเมื่ออกแรง ไอ ไอเป็นเลือด หัวใจเต้นเร็ว บวม
พยาธิสรีรวิทยา
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด และพยาธิสภาพของโรคหัวใจแต่ละชนิดมีผลต่อความดันในหัวใจห้องล่างในช่วงคลายตัว (diastolic filling pressure) กรณีความดันในหัวใจห้องล่างก่อนที่จะหดรัดตัวครั้งต่อไป (preload) ต่ำ กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างจะยืดตัวได้น้อย มีผลทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจในการบีบตัวแต่ละครั้ง (stroke volume) น้อย นอกจากนี้พยาธิสภาพของโรคหัวใจมีผลต่อความต้านทานในหลอดเลือดแดงใหญ่ในขณะหัวใจห้องล่างบีบตัว (systemic vascular resistance)กรณีมีความต้านทานในหลอดเลือดสูง ทำให้ปริมาตรเลือดที่บีบออกจากหัวใจน้อย และอาจทำให้เกิดหัวใจวายได้
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงของโรคหัวใจอาจรุนแรงขึ้นในช่วงอายุครรภ์หลัง 28 สัปดาห์ซึ่งมีปริมาตรเลือดสูงสุด และในระยะหลังคลอดซึ่งมีปริมาตรเลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจปริมาณมาก โดยโรคหัวใจแต่ละชนิดมีอาการและอาการแสดง ดังนี้
โรคหัวใจชนิดผนังกั้นหัวใจห้องบนรั่ว (atrial septal defc.) กร ณีมีความดันในปอดสูง อาจมีเลือดไหลผ่านผนังรั่วจากหัวใจห้องบนขวาไปยังหัวใจห้องบนซ้ายได้ (reverse existing shunts) มีอาการแสดงของหัวใจห้องล่างขวาล้มเหลว (right-sided heart failure) อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ (arhythmia)
โรคหัวใจชนิดผนังกั้นหัวใจห้องล่างรั่ว (ventricular septal deiect) มีอาการแสดงของลิ้นหัวใจรั่ว (aortic valve leakage) ความดันในหลอดเลือดปอดสูง (pulmonary hypertension) และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (endocarditis)
โรคหัวใจชนิดเอออร์ตาตีบ (coarctation of aorta) มีความดัน โลหิตสูงในแขน และความดันโลหิตต่ำในช่วงขา อาจมีอาการแสดงของภาวะหัวใจล้มเหลวได้
โรคลิ้นหัวใจไมทรัลตีบ (miral stenosis) ลิ้นหัวใจไมทรัลจะแข็งและตีบ เนื่องจากการติดเชื้อ(beta-hemolytic streptococcal throat infection) ทำให้เลือดไหลจากหัวใจห้องบนซ้ายลงสู่หัวใจห้องล่างซ้ายได้ไม่หมด จึงเกิดอาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย หัวใจห้องบนซ้ายบีบตัวแบบสั่นพริ้ว (atrialfibrillation) มีลิ่มเลือดอุดตันหลอดเลือดในปอด (pulmonary embolism) หัวใจห้องล่างขวาวาย (right-sided heart failure) น้ำท่วมปอด (pulmonary edema) ไอมีเลือดปน (massive hemoptysis) และเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (infective endocarditis)
โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (aortic stenosis) ทำให้มีเลือดดั่งอยู่ในหัวใจห้องล่างซ้าย
ผลกระทบต่อมารดาและทารกโรคหัวใจมีผลกระทบต่อสุขภาพของมารคาและทารก ในกรณี ที่มีการลดลงของปริมาตรเลือดที่ไหลเวียน และความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด ดังนี้
การแท้งบุตร (spontancous abortion) กรณีมีปริมาตร ไหลเวียน ไปที่มดลูกและรกน้อยลงในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ อาจทำให้เกิดการแท้งบุตรได้
ทารกในครรภ์เจริญเติบโตช้ (Intrauterine growth retardation) กรณี ได้รับเลือดและสารอาหารน้อยลง
ทารกมีภาวะขาดออกซิเจน (hypoxia) กร ณีในเลือดมารดามีออกซิเจนน้อยลงจากภาวะน้ำท่วมปอด ทารกในครรภ์อาจได้รับออกซิเจน ไม่เพียงพอ ซึ่งมีผลทำให้ทารกเสียชีวิต หรือมีพัฒนาการทางสมองช้ำาได้ (mental retardation)
การคลอดก่อนกำหนด (preterm delivery) กรณีมารดามีอาการแสดงของโรคหัวใจรุนแรง หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากยารักษาโรคหัวใจอาจเกิดการเจ็บครร ภ์คลอดก่อนกำหนด หรือต้องยุติการตั้งครรภ์ก่อนครบกำหนดคลอด
การเสียชีวิตของมารดา (maternal death) โรคหัวใจเป็นสาเหตุการตายใน 5 อันดับแรกของมารด1 สาเหตุจากภาวะหัวใจวาย
การตรวจวินิจฉัย
โรคหัวใจในหญิงตั้งครรภ์ก็ มีแนวทางในการตรวจวินิจฉัยตามอาการ อาการแสดงของโรค และการ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ดังนี้
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG)
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียง (echocardiogram)
กรถ่ายภาพรังสีทรวงอก (chest radiograph) จะพบหัวใจ โต
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound)
การตรวจเลือด เช่น ระดับยา digitalis ในเลือด cardiac enzymes, electrolytes, coagulation
การรักษา
1.จำกัดการทำกิจกรรม หรือให้นอนพักเพื่อลดการทำงานของหัวใจ กรณีมีอาการแสดงของโรคหัวใจระดับสอง, สาม หรือสี่ เพื่อให้มารดาและทารกได้รับออกซิเจนเพียงพอ
ให้ออกซิเจน 5-6 ลิตร/นาที กรณีมีอาการแสดงของการได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
การให้ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) เช่น heparin
ยาขับปัสสาวะ (furosemide, Lasix) 40-80 mg ทางหลอดเลือดดำ หรือเนื้อเยื่อชั้นใต้ผิวหนัง ให้เพื่อขับน้ำออกจากร่างกายกรณีมีภาวะน้ำท่วมปอด หรือการทำงานของหัวใจล้มเหลว
ดิจิทาลิส (digitalis, digoxin) ให้เพื่อเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ และลดอัตราการเต้นของหัวใจ
ยาลดความดัน โลหิต เช่น propranolol, labetalol โดยยากลุ่มนี้อาจมีผลทำให้ปริมาตรเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง (cardiac output) และปริมาตรเลือดที่ไหลเวียนไปที่รกน้อยลง อาจทำให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัว และมีอาการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดได้
ในระยะคลอดควรให้ยาบรรเทาอาการเจ็บครรภ์ และวางแผนการช่วยคลอดโดยใช้สูติหัตถการเช่น การใช้Forcep เพื่อช่วยลดระยะที่สองของการคลอด ลดระยะเวลาการเบ่งคลอด ลดการทำงานของหัวใจ และป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว ส่วนการผ่าตัดจะทำเมื่อมี ข้อบ่งขี้ทางสูติกรรมเท่านั้น
ระยะหลังคลอด แนะนำให้ใช้ยาอกซิโตซินเพื่อป้องกันการตกเลือดหลังคลอด ไม่แนะนำให้ใช้ methergin เพราะยามีผลทำให้มดลูกหดรัดตัวรุนแรง เลือดไหลกลับเข้าสู่หัวใจในปริมาณ มากอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ขาปฏิชีวนะ กรณีหญิงตั้งกรรภ์เป็น โรคลิ้นหัวใจตีบ หลังผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม (prosthetic valve) หรือมีประวัติเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ (endocarditis) จำเป็นต้องให้การ รักษาด้วยยาปฏิชีวนะใน ระยะคลอดและหลังคลอด เพื่อป้องกันการติดเชื้อของเยื่อหุ้มหัวใจ โดยยาปฏิชีวนะที่ใช้ ได้แก่ ampicillin,gentamicin, amoxicillin