Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ - Coggle…
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
ความหมาย
การสร้างไทรอยด์ฮอร์โมนมากหรือน้อยกว่าปกติ
สาเหตุ
การทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ คือมีแอนติบอดีไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนมากกว่าปกติ
การทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ คือต่อมไทรอยด์อักเสบจากปฏิกิริยาภูมิต้านทานในร่างกายตนเอง
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษที่ควบคุมไม่ได้ และภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ
ไทรอยด์มากกว่าปกติ = คลื่นไส้ อาเจียนมากกว่าปกติในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ การแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
ไทรอยด์น้อยกว่าปกติ = เกิดการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด
พยาธิสรีรวิทยา
ต่อมไทรอยด์ทำงานโดยการควบคุมของไฮโปรทาลามัส
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติเกิดจากต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติเกิดจากต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนไทรอกซินน้อยลง
อาการและอาการแสดง
ต่อมไทรอยด์ทำงานมากกว่าปกติ = เหงื่อออกมากกว่าปกติ หิวบ่อย รับประทานอาหารจุ ผิวหนังอุ่น ตกใจง่าย หัวใจเต้นเร็ว ชีพจรขณะหลับสูงกว่า100ครั้ง/นาที
ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ = น้ำหนักเพิ่มขึ้น เหนื่อยง่าย ท้องผูก นอนไม่หลับความคิดช้า ทนต่อความหนาวไม่ได้
การรักษา
การทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ = รักษาด้วยยา propylthiouracil (PTU) 50-300 มก./วัน
methimazole (MMI) 5-20 ,g/day กรณีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนเป็นปกติ อาจหยุดรับประทานยาได้ในช่วงอายุครรภ์ 30-34 สัปดาห์
การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จะทำเมื่อไม่สามารถรักษาด้วยยาได้ มักทำในไตรมาส2
หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ต่ำกว่าปกติ ต้องรักษาด้วยยา levothyroxine (LT4) 1.8-2 microgram/kg
ในช่วงที่ได้รับการรักาาด้วยยา PTU หรือ levothyroxine ควรได้รับการตรวจระดับฮอร์โมน TSH และ free T4 เดือนละครั้ง
การตรวจวินิจฉัย
ใช้การตรวจระดับฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ = พบระดับfree thyroxine สูงกว่าปกติ ระดับฮอร์โมน THS ต่ำกว่าปกติ ตรวจร่างกาย ชีพจรเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ความดันsystolicสูง pulseกว้างมากกว่า 40มม.ปรอท ต่อมไทรอยด์โต
ภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์น้อยกว่าปกติ = พบระดับfree thyroxine ต่ำกว่าปกติ ระดับฮอร์โมน THS สูงกว่าปกติ
หลักการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
ซักประวัติการตั้งครรภ์เกี่ยวกับภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติในครรภ์ก่อนว่ามีหรือไม่
แนะนำการวางแผนการตั้งครรภ์แก่หญิงที่มีภาวะการทำงานของต่อมไทรอยด์เป็นพิษ
บอกให้หญิงตั้งครรภ์ทราบว่าการทำงายของต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติอาจจะกำเริบขึ้นในช่วงไตรมาสแรก และในช่วง1ปีหลังคลอด
แนะนำให้รับประทานยาตามแผนการรักษา เช่น PTU เพื่อควบคุมไทรอยด์ฮอร์โมนให้อยู่ในช่วงปกติ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยาหลังคลอด ควรรับประทานยาต่อไปในระยะหลังคลอด
กรณีได้รับยา methimazole แนะนำไม่ให้รับประทานยาร่วมกับยาต่างๆ และไม่แนะนำให้รับประทานในระยะให้นมบุตร
มารดาหลังคลอดที่มีภาวะ hyperthyroidism และได้รับการรักษาด้วยยา PTU ต่ำกว่าวันละ 300 mg หรือ MMI ต่ำกว่าวันละ 20 mg แนะนำให้เลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาได้
ทารกที่คลอดจากมารดาที่มีภาวะ hyperthyroidism ควรได้รับการตรวจประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยการตรวจระดับ TSH ในเลือด