Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 14 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบไหลเวียน - Coggle Diagram
บทที่ 14 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาระบบไหลเวียน
กลุ่มโรคหัวใจแต่กำเนิด
(congenital heart disease)
โรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดไม่เขียว
กลุ่มที่มีการไหลลัดของเลือดจากหัวใจซีกซ้ายไปซีกขวา (left to right shunt)
Ventricular septal defect (VSD)
โรคหัวใจที่มีรูรั่วที่บริเวณผนังกั้นระหว่างเวนตริเคิลที่ไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดทางติดต่อระหว่างเวนตริเคิลซ้ายและขวา
อาการและอาการแสดง
มีอาการเหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเวลาดูดนม
มีเหงื่อออกมาก ตัวเล็กหรือเลี้ยงไม่โต
พัฒนาการอาจจะปกติหรือล่าช้า
ติดเชื้อในระบบหายใจได้บ่อย ๆ
Atrial septal defect (ASD)
โรคหัวใจที่มีรูรั่วที่บริเวณผนังกั้นระหว่างเอเตรียม เนื่องจากมีการสร้างผนังกั้นเอเตรียม ที่ไม่สมบูรณ์
อาการและอาการแสดง
มักจะไม่มีอาการแสดงหรืออาการที่ผิดปกติ
บางรายอาจจะมีการติดเชื้อในระบบหายใจ หรือมีการเจริญเติบโตช้า
อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่ายเวลาออกแรงหรือออกกำลังกาย
Patent ductus arteriosus (PDA)
โรคหัวใจที่มีเลือดไปปอดมาก มีความผิดปกติ คือ หลอดเลือด ductus arteriosus ยังเปิดอยู่ภายหลังเด็กเกิด
ทำให้เกิดการติดต่อระหว่างหลอดเลือดแดงพัลโมนารี และหลอดเลือดเอออร์ต้าส่วนที่จะไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่าง (descending aorta)
สาเหตุ
การเกิดก่อนกำหนด ทำให้หลอดเลือด ductus arteriosus ในทารกที่เกิด มีการหดตัวตอบสนองต่อความเข้มข้นของออกซิเจนที่เหลืออยู่ในกระแสเลือดได้ไม่ดี
ทำให้ไม่สามารถขจัด prostaglandin ในกระแสเลือดออกได้หมด ทำให้เกิดการเปิดของหลอดเลือด ductus arteriosus หลังคลอดได้
ภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ส่งผลให้หลอดเลือด ductus arteriosus ยังเปิดอยู่หลังคลอด
การติดเชื้อ เช่น การติดเชื้อหัดเยอรมันในช่วงการตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก
เชื้อไวรัสจะไปขัดขวางการสร้าง arterial elastic tissue ซึ่งจะเจริญต่อไปเป็นหลอดเลือด ductus arteriosus
จึงมีโอกาสที่จะเกิดการเปิดของหลอดเลือด ductus artriosus ได้มากขึ้น
อาการและอาการแสดง
PDA ขนาดเล็กมักจะไม่มีอาการผิดปกติ
PDA ขนาดใหญ่ มักจะมาด้วยอาการของหัวใจซีกซ้ายวาย
มีอาการหายใจเร็ว เหงื่อออกมากเวลาดูดนม เหนื่อยหอบ น้ำหนักขึ้นช้า
กลุ่มที่มีการอุดกั้นการไหลของเลือด (obstructive lesions)
Aortic stenosis (AS)
โรคหัวใจที่มีการตีบของลิ้นเอออร์ติค หรือมีการอุดกั้นของทางออกของเวนตริเคิลซ้าย
ทำให้เวนตริเคิลซ้ายบีบตัวส่งเลือดแดงผ่านลิ้นเอออร์ติคที่ตีบไปเลี้ยงร่างกายได้ไม่สะดวกหรือได้น้อยลง
อาการและอาการแสดง
มีอาการอ่อนเพลียง่ายเวลาเล่น เจ็บหน้าอก
Pulmonary stenosis (PS)
โรคหัวใจที่มีการตีบของลิ้นพัลโมนารี หรือมีการอุดกั้นของทางออกของเวนตริเคิลขวา
ทำให้เวนตริเคิลขวาบีบตัวส่งเลือดดำผ่านลิ้นพัลโมนารีที่ตีบไปปอดได้ไม่สะดวกหรือได้น้อยลง
อาการและอาการแสดง
moderate PS และ severe PS ภาวะหัวใจวาย หรืออาการเขียวเล็กน้อย
มีอาการเหนื่อยง่าย หรือเจ็บแน่นหน้าอก
จะเป็นมากขึ้นเวลาออกกำลังกาย บางรายอาจจะมีอาการเป็นลมหมดสติ
Coarctation of aorta (CoA)
โรคหัวใจที่มีการคอดหรือการตีบแคบที่หลอดเลือดเอออร์ต้าตรงบริเวณหลอดเลือด ductus arteriosus มาเชื่อมกับหลอดเลือดเอออร์ต้า
ทำให้เลือดไหลจากหลอดเลือดเอออร์ต้าไปเลี้ยงร่างกายส่วนบน และลงสู่ส่วนที่ไปเลี้ยงร่างกายส่วนล่างได้ไม่สะดวก
จึงพบว่า ความดันโลหิตของแขนสูงกว่าขา
อาการและอาการแสดง
หายใจแรงและเร็ว เหนื่อยหอบ เหงื่อออกมาก
ดูดนมช้า เลี้ยงไม่โต จะตรวจพบชีพจรที่ขาทั้ง 2 ข้างเบากว่า
การพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ
ดูดนมแล้วเหนื่อย ต้องหยุดเป็นช่วง ๆ มีหายใจแรง เหงื่ออกมาก มีอาการเขียวตามปลายมือ ปลายเท้า น้ำหนักขึ้นช้าหรือโตช้า พัฒนาการอาจล่าช้า
ติดเชื้อในระบบหายใจได้บ่อย
มีประวัติเป็นลม หรือมีอาการหน้ามืด
การตรวจร่างกาย
อาการเขียว หรือสีผิวเขียวคล้ำ
หายใจเร็ว (tachypnea)
อาการหายใจลำบาก (dyspnea) เหนื่อยขณะหายใจ หายใจหน้าอกบุ๋ม
หัวใจเต้นเร็ว (tachycardia)
อาการบวม (edema)
อาการเจ็บบริเวณขา
การประเมินภาวะจิตสังคม
บิดามารดาหรือผู้ป่วยโรคหัวใจที่เป็นเด็กโตมักจะวิตกกังวลเกี่ยวกับความเจ็บป่วย
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
เนื้อเยื่อของร่างกายมีโอกาสได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากประสิทธิการทำงานของหัวใจลดลง
กิจกรรมการพยาบาล
จำกัดกิจกรรมต่าง ๆ ของผู้ป่วย และดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่
จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูง (semi-Fowler’s position)
ดูแลให้ออกซิเจนเพื่อเพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน
ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนรสจืด หรือเค็มน้อย
ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาจำพวกดิติตาลิสตามแผนการรักษา
บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
ดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และประเมินการทำงานของหัวใจ เช่น สีผิว ลักษณะของการหายใจ
ประเมินการสะสมน้ำในร่างกายของผู้ป่วย
ผู้ป่วยอาจมีอาการเป็นลมหมดสติ เนื่องจากสมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ จากการที่มีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอย่างสม่ำเสมอ
แนะนำผู้ป่วยให้จำกัดกิจกรรมที่ต้องออกแรง
ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการเป็นลม ให้การดูแล
จัดให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ และยกปลายเท้าให้สูงกว่า
ปลดเสื้อผ้าให้หลวมเพื่อให้ปอดขยายตัว
สังเกตและบันทึกชีพจร และความดันเลือด
โรคหัวใจแต่กำเนิดชนิดเขียว
กลุ่มที่มีอาการเขียวที่มีเลือดไปปอดน้อย อาจมีภาวะสมองขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน
Tetralogy of Fallot (TOF)
โรคหัวใจที่มีเลือดไปปอดน้อยมีความผิดปกติ 4 อย่าง
การตีบของลิ้นพัลโมนารี (pulmonic stenosis)
ผนังระหว่างเวนตริเคิลมีรูรั่ว (VSD) ขนาดใหญ่
ตำแหน่งของลิ้นเอออร์ติคเลื่อนไปทางด้านขวา (overriding aorta หรือ dextroposition of the aorta)
มีการหนาตัวของเวนตริเคิลขวา (right ventricular hypertrophy)
อาการและอาการแสดง
อาการเขียวทั่วร่างกาย (central cyanosis) มีประวัตินั่งยอง ๆ อาการเหนื่อย อาการเขียวมากขึ้นร่วมกับอาการหอบลึก
ภาวะหัวใจวาย มีปริมาณเลือดไหลลัดจากหัวใจซีกซ้ายไปซีกขวามาก จึงมีเลือดไปปอดมากขึ้น
Pulmonic atresia (PA)
โรคหัวใจที่มีเลือดไปปอดน้อย มีการตันบริเวณลิ้นพันโมนารีจนเลือดไม่สามารถผ่านสู่ปอดได้
Tricuspid atresia (TA)
กลุ่มที่มีอาการเขียวที่มีเลือดไปปอดมาก อาการเขียว และมีภาวะหัวใจวาย
Transposition of great arteries
โรคหัวใจที่มีเลือดไปปอดมาก
มีความผิดปกติ คือ มีการสลับที่กันของหลอดเลือดแดงใหญ่ที่ออกจากหัวใจ
โดยหลอดเลือดเอออร์ตัวออกจากเวนตริเคิลขวา และหลอดเลือดแดงพัลโมนารีออกจากเวนตริเคิลซ้าย
อาการและอาการแสดง
อาการเขียวมากตั้งแต่แรกเกิด ภายใน 2-3 วันแรกหลังเกิด
หอบเหนื่อย อาการของหัวใจวาย
การพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ
มีอาการเขียวเป็นพัก ๆ และหายใจหอบลึก หอบเหนื่อยจนเป็นลมหมดสติ
มีประวัติชอบนั่งยอง ๆ เวลารู้สึกเหนื่อย
มีอาการปวดศีรษะ เนื่องจากภาวะ cerebral hypoxemia
การตรวจร่างกาย
อาการเขียวคล้ำทั่วร่างกาย
ภาวะเลือดข้น มีความเข้มข้นของออกซิเจนลดลง (hypoxemia)
นิ้วมือนิ้วเท้าปุ้ม
ท่านั่งยอง ๆ
ภาวะสมองขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน
ฝีในสมอง
การประเมินภาวะจิตสังคม
ประเมินความวิตกกังวล ของผู้ป่วยและบิดามารดาเกี่ยวกับการเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจน ร่วมกับอาการเขียวทั่วตัวของเด็ก
ข้อวินิจฉัย
ผู้ป่วยมีภาวะสมองขาดออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน เนื่องจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเฉียบพลัน
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ผู้ป่วยสงบโดยเร็วที่สุด
จัดให้ผู้ป่วยนอนในท่าเข่าชิดอก
ดูแลให้ออกซิเจน
ติดตามค่าความเข้มข้นของออกซิเจน
ดูแลให้ยาที่ทำให้ผู้ป่วยสงบตามแผนการรักษา เช่น chloral hydrate
ดูแลให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำตามแผนการรักษา
ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะสมองขาดออกซิเจนได้ง่าย
กิจกรรมการพยาบาล
สังเกตอาการเริ่มของภาวะสมองขาดออกซิเจน
ได้แก่ กระสับกระส่ายมีหายใจเร็วขึ้นและแรงขึ้น จนหอบเหนื่อยมากขึ้น และมีอาการเขียว
ควบคุมและจำกัดกิจกรรมต่าง ๆ
ดูแลผู้ป่วยไม่ให้มีอาการท้องผูก
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้ดื่มน้ำอย่างเต็มที่
สังเกตและบันทึกปริมาณน้ำดื่ม
ในรายที่มีไข้ ควรดูแลเช็ดตัวและให้ยาลดไข้
ติดตามผลการเจาะเลือดฮีมาโตคริท
ดูแลให้ยาเสริมธาตุเหล็กตามแผนการรักษา
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจที่เกิดภายหลัง
infective endocarditis (IE)
การติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ
การอักเสบซึ่งเกิดจากการติดเชื้อของเยื่อบุหัวใจชั้นในสุด หรือเยื่อบุผิวภายในหัวใจ หรือลิ้นหัวใจ
สาเหตุ
เชื้อที่เป็นสาเหตุ ได้แก่ แบคทีเรีย เชื้อรา ริคเกทเซีย (rickettsia) หรือไวรัส
มักมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย โดยเฉพาะเชื้อ Streptococcus viridans, Staphylococcus aureus
อาการและอาการแสดง
มีไข้ ลักษณะไข้ต่ำ ๆ
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปวดเมื่อย เหนื่อยง่าย
เสียงฟู่ของหัวใจ (heart murmur)
การตายของสมอง
ม้ามโต กดไม่เจ็บ อาจพบตับโต
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะในขนาดสูงทางหลอดเลือดดำ
ควรติดตามเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อในเลือดเป็นระยะ ๆ
ตรวจสอบหาแหล่งของการติดเชื้อที่ทำให้เกิด IE เช่น ฟัน ทางเดินปัสสาวะ
การป้องกัน
ให้ยาปฏิชีวนะก่อนและหรือหลังการทำหัตถการที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสโลหิตเพิ่มขึ้น
การพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ ควรซักประวัติเกี่ยวกับแหล่งของการติดเชื้อ อาการและอาการแสดง
การตรวจร่างกาย ตรวจร่างกายพบเสียงฟู่ของหัวใจ
การประเมินภาวะจิตสังคม
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ESR สูง เม็ดเลือดขาวสูง ปัสสาวะมีเลือดปน
ข้อวินิจฉัย
มีการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ เช่น ที่ลิ้นหัวใจต่าง ๆ
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยตามแผนการรักษา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้นอนพักผ่อน เพื่อลดการทำงานของหัวใจ
ดูแลให้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่โดยเป็นอาหารที่อ่อน ย่อยง่าย
สังเกตอาการข้างเคียงของยาปฏิชีวนะ
สังเกตอาการข้างเคียงของโรค
บันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
สังเกตอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อที่เยื่อบุหัวใจ
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่า ESR จำนวนเม็ดเลือดขาว
rheumatic heart disease (RHD)
โรคหัวใจรูห์มาติค เกิดตามหลังไข้รูห์มาติค (rheumatic fever) ซึ่งมีการติดเชื้อที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพของอวัยวะต่าง ๆ
โดยเฉพาะทำให้เกิดการอักเสบของหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะหัวใจวาย ตลอดจนลิ้นหัวใจรั่วหรือตีบได้
อาการและอาการแสดง
major criteria
Carditis
polyarthritis
chorea หรือ sydenham’s chorea
minor criteria
มีไข้ต่ำ ๆ
polyarthralgia มีอาการปวดข้อโดยไม่มีอาการอักเสบ
เลือดกำเดาไหล
ปวดท้อง รู้สึกไม่สบาย อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย เหงื่อออกมาก เจ็บหน้าอกซีด และน้ำหนักลด
มีประวัติเคยเป็นไข้รูห์มาติค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
กระเพาะเชื้อจากบริเวณคอ (thoat swab culture)
antistreptolysin O (ASO) ค่า ASO ในเลือดจะสูงขึ้นเพราะมีการสร้างแอนติบอดีต่อเชื้อมาก่อน
ค่าปกติของ ASO อยู่ระหว่าง 0-120 Todd unit
การรักษา
ให้ยาปฏิชีวนะสำหรับกำจัดเชื้อสเตร็ปโตคอคคัสกลุ่มเอ
ให้ยาสำหรับต้านการอักเสบของหัวใจและข้อ ได้แก่ salicylate และ steroid
ผู้ป่วยที่มี arthritis carditis ที่ไม่มีหัวใจโต ให้ยา salicylates
ผู้ป่วยที่มี carditis ที่มีหัวใจโตหรือมีอาการหัวใจวาย ควรให้ยาเพรดนิโซโลน 2 มิลลิกรัม
ให้นอนพัก โดยทั่วไปผู้ป่วยที่มี carditis และอาการหัวใจวาย ให้พักจนกว่าจะควบคุมภาวะหัวใจวายได้ ต่อมาค่อย ๆ เพิ่มการเคลื่อนไหวมากขึ้นในเวลา 3 เดือน
ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวาย ให้การรักษาโดยให้ยา digitalis
เช่น digoxin ยาขับปัสสาวะ ยาลด afterload
การพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ ติดเชื้อในระบบหายใจ
การตรวจร่างกาย มีไข้ carditis, polyarthritis
การประเมินภาวะจิตสังคม ความกังวลเกี่ยวกับอาการปวดข้อ หรืออาการหัวใจเต้นเร็ว
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
throat swab culture ให้ผลบวก
antistreptolysin O (ASO) unit
ค่า ESR สูง
ภาพถ่ายรังสีทรวงอก พบหัวใจโตกว่าปกติ
ข้อวินิจฉัย
ผู้ป่วยมีการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากมีการติดเชื้อ β-hemolytic Streptococcus group A
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
ดูแลให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ เพื่อลดการทำงานของหัวใจ
ดูแลให้ยาแอสไพริน หรือ เพื่อลดการอักเสบของหัวใจ และลดไข้
ดูแลให้ยาเพรดนิโซโลน มีภาวะหัวใจวาย ลดการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ
ทำ tepid sponge
สังเกตและบันทึกสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง และชีพจรขณะนอนหลับ (sleeping pulse)
ติดตามฟังเสียงฟู่ของหัวใจ (cardiac murmur)
ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น throat seab culture, ASO titer, ESR, CROP
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่มีภาวะหัวใจวาย
กลุ่มอาการหรือความผิดปกติที่เกิดในระบบไหลเวียนเลือด
เป็นภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปตามระบบไหลเวียนเลือดเพื่อนำออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
สาเหตุ
ความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น
เนื่องจากมีปริมาณเลือดในหัวใจเพิ่มขึ้นมากเกิดจากมีการรั่วไหลของเลือด ทำให้มีปริมาณเลือดในเวนตริเคิลมากขึ้น
กลุ่มที่มีเลือดไหลลัดจากหัวใจซีกขวา
กลุ่มที่มีการรั่วของลิ้นหัวใจ
กลุ่มที่มีเลือดไปปอดมากขึ้น
ความผิดปกติของหัวใจที่ทำให้หัวใจทำงานมากขึ้น
เนื่องจากมีความดันในเวนตริเคิลสูงกว่าปกติเกิดจากการอุดกั้นของทางออกของเวนตริเคิล
ความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของหัวใจลดลง
จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ ส่งผลให้ปริมาณเลือดไหลออกจากหัวใจลดลง
อาการและอาการแสดง
อาการของหัวใจซีกซ้ายวาย
หายใจเร็ว ปีกจมูกบาน หายใจลำบาก หน้าอกบุ๋ม ฟังได้เสียง crepitation เนื่องจากมี pulmonary congestion
อาการของหัวใจซีกขวาวาย
หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง หน้าบวม ตาบวม ตับโต บางรายอาจมีม้ามโต คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดท้อง แน่นอึดอัดท้อง แขนขาเย็น บวม
การรักษา
Ianoxin
เพิ่มแรงในการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ และทำให้หัวใจเต้นช้าลง อัตราการเต้นของหัวใจที่ลดลง
เพิ่มการขับปัสสาวะออกจากร่างกายมากขึ้น
การพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพ
การซักประวัติ
มีประวัติติดเชื้อบ่อย เช่น ปอดอักเสบ
เด็กมักเหนื่อยง่ายโดยเฉพาะเวลาดูดนม ดูดนมได้ช้า
เด็กมักโตช้า ตัวเล็ก เด็กมีน้ำหนักน้อย มีอาการเหนื่อย หายใจแรง หัวใจเต้นเร็ว
ชีพจร เบา เร็ว ซีด หรือมีอาการเขียว ฟังได้ยินเสียงฟู่
ข้อวินิจฉัย
ปริมาณเลือดไปเลี้ยงร่างกายต่อนาทีลดลง เป็นผลจากความผิดปกติของหัวใจหรือหลอดเลือด เช่น VSD,ASD,PDA
กิจกรรมการพยาบาล
จำกัดกิจกรรมต่าง ๆ
จัดให้ผู้ป่วยนอนยกศีรษะสูง
ดูแลออกซิเจนตามแผนการรักษา
ดูแลให้อาหารจืดหรือเค็มน้อย
ประเมินลักษณะของการหายใจ สีผิว
สังเกตและบรรทุกสัญญาณชีพอย่างน้อย 4 ชั่วโมง
ติดตามและบันทึกปริมาณน้ำดื่มและปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมง
กลุ่มอาการคาวาซากิ (Kawasaki Disease )
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ริกเก็จเชีย และอื่นๆ ที่กระตุ้นให้เด็กบางคนตอบสนองทางอิมมูนผิดปกติ ทำให้เกิดอาการขึ้น
พยาธิสรีรวิทยา
มีการอักเสบของผนังหลอดเลือดแดงโคโรนารี่และหลอดเลือดแดงขนาดกลางอื่นๆ และมี Platelet thrombi อุดหลอดเลือดแดง
อาการและอาการแสดง
ไข้
ส่วนใหญ่จะเป็นไข้สูงเป็นพักๆ โดยช่วงที่ไข้ลดมักจะไม่ลดลงจนเป็นปกติ
การเปลี่ยนแปลงที่มือและเท้า
มือ เท้า จะบวม แดง บางรายเจ็บชัดเจนตั้งแต่ข่วงแรกๆ ของโรค ประมาณ 2 – 3 สัปดาห์หลังจากเริ่มมีไข้จะเห็นผิวหนังลอก
ตาแดง
จะเป็นทั้ง 2 ข้าง มักเห็นภายใน 2 - 4 วันแรกนับจากเริ่มมีไข้
ริมฝีปากแดงและแห้ง
มีริมฝีปากแตก อาจมีเลือดออกด้วย เยื่อบุในปากแดง แต่ไม่มีแผล ลิ้นจะแดงและมี prominent papillae ที่เรียกว่า Strawberry tongue
ต่อมน้ำเหลืองโต
มักพบที่ anterior cervical triangle มักเป็นข้างเดียว เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1.5 ซม. ลักษณะค่อนข้างแข็ง
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจพิเศษ
มีเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
เกล็ดเลือดสูงในสัปดาห์ที่ 2-3
เลือดจาง ESR และ C-reactive protein สูงขึ้น
มีเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ เม็ดเลือดขาวสูงในน้ำไขสันหลัง
ระดับ transaminase และบิลิรูบินในซีรั่มสูงขึ้นเล็กน้อย
การพยาบาล
ประเมินการทำงานของหัวใจและปอดและหลอดเลือดเกี่ยวกับการมีอาการของหัวใจอักเสบ
สังเกตจังหวะการเต้นของหัวใจ การเจ็บหน้าอก
ประเมินการไหลเวียนเลือดของแขนขา
วัดชีพจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะให้ gamma globulin ควรสังเกตดูปฏิกิริยาของการแพ้ ถ้าแพ้ให้หยุดทันที
ดูปฏิกิริยาข้างเคียงของยา
เช่น แอสไพรินจะมีเลือดออกและกัดกระเพาะอาหาร
ตวงและบันทึกน้ำดื่ม ปัสสาวะในรอบ 24 ชั่วโมง ระวังการขาดน้ำ ดูอาการของหัวใจวาย ปัสสาวะลดลง
ป้องกันการขาดน้ำระยะเฉียบพลัน ดูแลความอยากอาหาร จัดอาหารให้น่ารับประทาน และมีความสะดวกสบายในการรับประทานอาหาร
ถ้ามีหัวใจวาย มีบวม อาจให้อาหารลดเค็ม
ชั่งน้ำหนักทุกวัน ดูอาการบวมของภาวะหัวใจวาย
ทำความสะอาดปาก ฟัน ปากแตกแห้ง ถ้าในปากมีเยื่อบุในปากอักเสบอาหารต้องเป็นประเภทอ่อน
ระวังการติดเชื้อของผิวหนัง
ลดความไม่สุขสบาย
ให้ยาลดอาการคัน ยาแอสไพรินที่ให้เพื่อลดการอักเสบ antiplatelet
จัดสภาพแวดล้อมให้เงียบสงบ ให้เด็กบางรายที่กระสับกระส่ายได้พักผ่อนเพียงพอ ให้บิดามารดาช่วยประคบประคอง และดูแลเด็กให้เด็กสุขสบาย
ลดความกลัวและวิตกกังวล
การดูแลสุขภาพที่บ้าน ต้องดูแลเรื่องหัวใจและหลอดเลือดต่อไป