Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Burn, v4-460px-14992-1.jpg, นาย รพีพงษ์ ปัดสุวรรณ 62110066, นาย นัฐพงศ์…
Burn
Complication
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ
ระดูกและกล้ามเนื้อที่ถูกทำลายและตายจะปล่อย myoglobin ออกมาและขับออกมาทาง ปัสสาวะ (myoglobilinuria) โดย myoglobin จะถูกส่งมาทางไตเพื่อขับออก แต่อาจจะไปทำให้เกิดการอุดกั้น renal tubules ได้จากขนาดที่ใหญ่เกิด acute tabular necrosis และทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน (acute renal failure) ได้ส่วนแผลไหม้ที่เกิดบริเวณข้อพับต่างๆอาจทำให้เกิดข้อติดและการหดรั้งตามข้อพับและมีพังผืดเหนียวจากแผลเป็นหลังแผลหายทำให้อวัยวะนั้น ๆ ผิดรูปไปจากเดิมได้
ระบบไต
มีอัตราการกรองน้อยลงจากการสูญเสียน้ำออกจากระบบไหลเวียนทั้งการหดตัวของหลอดเลือดไตทำให้ของเสียพวกครีเอตินิน (Creatinin) ยูเรียไนโตรเจนในเลือด (BUN) เพิ่มขึ้นหน้าที่ของไต ในการควบคุมสมดุลอิเลคโตรไลท์ และสมดุลกรดด่างเสียไป ถ้าหากได้รับสารน้ำทดแทนไม่เพียงพอหรือแก้ไข ภาวะอัตราการกรองของไตไม่ได้ไตจะถูกทำลายเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
ระบบทางเดินอาหาร
ผู้ป่วยที่มีแผลไหม้ 25% TBSA ขึ้นไปเลือดที่ไปเลี้ยงลำไส้ลดลงทำให้ลำไส้หยุดการเคลื่อนไหว (Paralytic ileus) ถ้าหากขาดเลือดมาเลี้ยงลำไส้นาน ๆ อาจทำให้เยื่อบุลำไส้ตายเกิดการติดเชื้อได้ง่ายอาจเกิดแผลในทางเดินอาหารและมีเลือดออกได้จากการหลั่งกรดออกมามากเพราะภาวะเครียด
อิเลคโทรลัยท์และกรดด่าง
ผิวหนังควบคุมการระเหยสารน้ำไม่ได้ทำให้ร่างกายเสียเกลือแร่ 4 เท่าใน 24-36 ชม. แรกทำให้ K สูงในกระแสเลือดเนื่องจากเนื้อเยื่อและเม็ดเลือดแดงถูกทำลายขณะเดียวกัน Na จะต่ำจากการ Na เข้าไปแทนที่ K ใน cel หลัง 72 ชมไปแล้ว K จึงจะต่ำเนื่องจากได้รับสารน้ำและมีการดูดซึมกลับของสารน้ำเข้ากระแสเลือดต่อมไร้ท่อภาวะเครียดกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองหลัง Hormone กระตุ้นต่อมหมวกไตให้หลั่ง Glucagons ให้สลาย Carbohydrate ในตับเกิดน้ำตาลในเลือดสูงระบบภูมิคุ้มกันระบบภูมิคุ้นกันที่ผิวหนังลดลง WBC
ระบบหายใจ
ความร้อนทำลายเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนหลอดลมบวมและหดตัวทำให้ทางเดินหายใจอุดกันระบบไหลเวียนร่างกายปล่อย histamine ทำให้หลอดเลือดส่วนปลายหดตัวเลือดไหลกลับเข้าหัวใจและออกจากหัวใจลดลงประกอบกับร่างกายเสียน้ำทางผิวหนังมีการรั่วซึมของสารน้ำโปรตีนออกจากหลอดเลือดสู่ช่องว่างระหว่างเซลล์เสี่ยงต่อการเกิด Shock ได้
Type of burn wound
Chemicals
แผลไหม้จากสารเคมีอาจเป็นกรดหรือด่าง มีคุณสมบัติเป็นnecrotizing substance ทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ
-สารเคมีเป็นด่างจะทำให้แผลไหม้รุนแรงกว่าเป็นกรด
Electricity
เมื่อกระแสไฟฟ้าผ่านเข้าสู่ร่างกายจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อนทำให้เกิดแผลไหม้ที่ผิวหนังภายนอก มีการทำลายเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ ที่กระแสไฟฟ้าผ่านและทำลายเส้นประสาทแและเส้นเลือดโดยตรง ทำให้เนื้อเยื่อขาดออกซิเจน
Thermal
ความร้อนแห้ง Flame burn -แผลที่เกิดจากเปลวไฟ (flame) ประกายไฟ (flash)ซึ่งเกิดจากการsparkของกระแสไฟฟ้าหรือการถูกวัตถุที่ร้อน ถ้าเกิดในบริเวณตัวอาคารที่ปิด มีการระบายของอากาศไม่ดี มักจะมีอันตรายจากการสูดดม (inhalation injury) ร่วมด้วย ซึ่งมักทำให้เกิดอาการรุนแรง
Radiation
แผลไหม้จากรังสี เช่น สารกัมมันตรังสี อุบัติเหตุจากรังสี ระเบิดปรมาณู เป็นเหตุให้เกิดการทำลายของผิวหนังและเกิดแผลไหม้ขึ้น
Degree of burn wound
-
Second degree burn
1.Superficial partil-thinkness burn (ชนิดตื้น) -จะเกิดการไหม้ที่ชั้นหนังกำพร้าทั้งชั้น และหนังแท้ในส่วนตื้นๆผิวหนังมีตุ่มน้ำพองใส ถ้าถุงน้ำแตกจะเห็นเป็นสีชมพูมีเลือดซึม และปวดแสบบริเวณแผล การหายของแผลใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ ส่วนมากเกิดจากของเหลว และเปลวไฟ1
Superficial partil-thinkness burn (ชนิดตื้น) -จะเกิดการไหม้ที่ชั้นหนังกำพร้าทั้งชั้น และหนังแท้ในส่วนตื้นๆผิวหนังมีตุ่มน้ำพองใส ถ้าถุงน้ำแตกจะเห็นเป็นสีชมพูมีเลือดซึม และปวดแสบบริเวณแผล การหายของแผลใช้เวลา 2-3 สัปดาห์ ส่วนมากเกิดจากของเหลว และเปลวไฟ 2.Deep partial-thinkness burns (ชนิดลึก) -จะเกิดการไหม้ขึ้นที่ชั้นหนังแท้ส่วนลึก ลักษณะแผลจะไม่ค่อยมีตุ่มพอง แผลเป็นสีขาว แห้ง และไม่ค่อยปวดบาดแผลชนิดนี้มีโอกาสเป็นแผลเป็นได้ แผลมักจะหายใน 3-6 สัปดาห์
Third degree burn
ผิวหนังจะถูกทำลายตลอดชั้นผิวหนัง ไม่มีความยืดหยุ่นขนหลุดจากผิวหนัง ไม่มีความรู้สึกเจ็บปวด ส่วนมากเกิดจากไฟไหม้ ไฟฟ้าช็อต และถูกความร้อนเป็นเวลานาน
Nursing
-
- Isolation ในกรณีบาดเจ็บระดับรุนแรงมากและระดับอันตรายซึ่งควรจะแยกคนไข้ออกจากคนไข้ประเภทอื่นหรือแม้แต่ในกลุ่มผู้ป่วยบาดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกด้วยกันเองก็ควรให้อยู่เป็นห้อง ๆ แยกจากกันบรรยากาศภายในห้องควรจัดอุณหภูมิและการถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม
- การให้ยาปฏิชีวนะยาปฏิชีวนะที่สาคัญ ได้แก่ topical antibacterial agent ส่วนการให้ยาปฏิชีวนะแบบ systemic ไม่แนะนำให้ใช้ในระยะแรก แต่ให้เมื่อมีข้อบ่งชี้เมื่อพบว่าแผลมีการติดเชื้อที่มีอาการและอาการแสดงเมื่อพบรีบให้ยาปฏิชีวนะพื้นฐานก่อนและเปลี่ยนชนิดเมื่อทราบผลการเพาะเชื้อแล้ว
Resuscitate
การดูแลในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังจากอุบัติเหตุ-ให้สารละลาย ringer lactate ในปริมาณ 4 ml / kg ./% wound โดยแบ่งให้ครึ่งหนึ่งของปริมาณที่คำนวณได้ใน 8 ชั่วโมงแรกและอีกครั้งละ 1 ใน 4 ของปริมาณที่คำนวณได้ในช่วง 8-16 ชั่วโมงและ 16-24 ชั่วโมงต่อมาระหว่างที่ให้ fluid นี้ควรจะมีปัสสาวะออก 0.5-1 มล. / กก. / ชม.
คนไข้ที่มีบาดแผลไฟไหม้มากกว่า 40% และมีระดับอัลบูมิน (Albumin) ในเลือดต่ำอาจต้องให้ plasma หรือสารละลาย Albumin ร่วมด้วยซึ่งมักจะให้หลังจากให้ fluid ไปแล้ว 8-12 ชั่วโมงเพื่อให้มีปัสสาวะออกเพราะการที่พบปัสสาวะออกน้อยมักจะเกิดจากการให้ fluid ทดแทนไม่เพียงพอหรือว่ามี Albumin ต่ำทำให้ intravascular osmotic pressure ลดลง
-
-
-