Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การสอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม - Coggle Diagram
การสอบเทียบเครื่องมือวัดอุตสาหกรรม
ความรู้เกี่ยวกับการสอบเทียบเครื่องมือวัด
เนื่องจากเครื่องมือวัดที่ใช้ในการสำรวจส่งผลกระทบต่อความแม่นยำและเชื่อถือได้ของข้อมูลจึงจำเป็นต้องดำเนินการให้แน่ใจว่าเครื่องมือวัดที่ใช้ในการสำรวจสามารถให้ผลการวัดที่แม่นยำตามความต้องการ การสอบเทียบเครื่องมือวัด (Calibration) เป็นกิจกรรมที่จำเป็นสำหรับ การทำให้แน่ใจว่าเครื่องมือวัดที่ใช้งานยังสามารถทำงานได้อย่างแม่นยำตามที่ต้องการ บทความนี้จะกล่าวถึงความหมายของการสอบเทียบ ความสำคัญของการสอบเทียบ แนวทางปฏิบัติของการสอบเทียบเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้สนใจได้นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการสอบเทียบเครื่องมือวัดให้เหมาะสมต่อไป
ความหมายของการสอบเทียบ
การสอบเทียบ หมายถึง ชุดของการดำเนินการซึ่งสร้างความสัมพันธ์ระหว่างค่าการชี้บอกโดยเครื่องมือวัดหรือระบบการวัด หรือค่าที่แสดงโดยเครื่องวัดที่เป็นวัสดุกับค่าสมนัยที่รู้ค่าของปริมาณที่วัดภายใต้ภาวะเฉพาะที่บ่งไว้ จากความหมายดังกล่าวขยายให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ การสอบเทียบเป็นชุดการดำเนินการภายใต้สภาวะเฉพาะเพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือวัดเพื่อเปรียบเทียบกับค่าที่รู้ของ ปริมาณที่วัด ( ซึ่งต้องเป็นค่าที่สามารถอ้างอิงได้) ผลจากการสอบเทียบจะให้ข้อมูลว่าเครื่องมือวัดที่ใช้ในการสำรวจยังคงมีคุณลักษณะทางด้านมาตรวิทยาที่เหมาะสมในการใช้งานต่อไปหรือไม่
ความสำคัญของการสอบเทียบ
ผลจากการสอบเทียบเมื่อนำมาวิเคราะห์ จะทำให้สามารถกำหนดได้ว่าเครื่องมือวัดควรจะใช้ต่อไปหรือจำเป็นต้องปรับแต่งผลจากการสอบเทียบ ทำให้ มั่นใจได้ว่าเครื่องมือวัดที่ใช้ในการสำรวจยังคงทำงานได้อย่างแม่นยำและเชื่อถือได้ ผลการสอบเทียบหลายๆ ครั้ง ยังแสดงให้เห็นคุณลักษณะทางด้านความเสถียร ( Stability ) ของเครื่องมือวัด
เมื่อใดที่ต้องสอบเทียบ
มักมีคำถามเกิดขึ้นเสมอว่าเครื่องมือวัดใดที่ต้องดำเนินการสอบเทียบ และจะสอบเทียบบ่อยเพียงใดพอจะกล่าวโดยรวมได้ว่า การสอบเทียบเครื่องมือวัดจะต้องทำเมื่อใดก็ตามที่ผลการวัดของเครื่องมือวัดนั้นกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลดังนั้น เครื่องมือวัดใดที่ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของข้อมูลก็ไม่จำเป็นต้องสอบเทียบ การกำหนดว่าเครื่องมือวัดใดต้องสอบเทียบบ้างอาจจะใช้ข้อสันนิษฐานดังต่อไปนี้ ให้ตั้งคำถามว่าหากเครื่องมือวัดที่ใช้ในการสำรวจอ่านค่าผิดไปจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จะได้รับผลกระทบที่เสียหายต่อคุณภาพของข้อมูลหรือไม่ หากพบว่าการสำรวจขึ้นอยู่กับค่าการอ่านของเครื่องมือวัดเป็นสำคัญก็แสดงว่าเครื่องวัดนั้น ต้องดำเนินการสอบเทียบและอีกกรณีหนึ่งก็คือ เมื่อใดที่เจ้าหน้าที่มีเหตุผลที่จำเป็นต้องมั่นใจในค่าของเครื่องมือวัดก็ต้องสอบเทียบตัวอย่างเช่น เรื่องของความปลอดภัย
การวัดและระบบการวัด
มาตรฐานของระบบการวัด แบ่งได้ 4 ระดับ
มาตรฐานนานาชาติ (International Standard)
มาตรฐานแห่งชาติ (National Standard/ Primary Standard)
มาตรฐานขั้นรอง (Secondary Standard)
มาตรฐานใช้งานหรือ มาตรฐานโรงงาน (Working/Factory Standard)
การประเมินผลความเที่ยงตรง (Evaluation Accuracy)
ค่าผิดพลาด (Error)
ค่าผิดพลาดในการวัด คือ ความแตกต่างระหว่างค่า (Value) ที่แสดงบนเครื่องมือกับค่าจริงของที่วัดได้ (ค่าจริงของจำนวนที่ทำการวัดซึ่งจะรู้เป็นครั้งคราว) ค่าผิดพลาด แบ่งเป็นค่าผิดพลาดแบบสุ่ม ซึ่งเป็นการเกิดขึ้นโดยความบังเอิญ ตามธรรมชาติ ค่าต่างๆที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไปและไม่สามารถที่จะทำการคาดคะเนได้จากการทำงานของการวัด ค่าผิดพลาดแบบนึ้เป็นค่าผิดพลาดที่ไม่สามารถควบคุมไม่ให้เกิดขึ้นได้ แหล่งที่มาของค่าผิดพลาด อาจได้แก่ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไป การสั่นสะเทือนของสถานที่ทำงาน การรบกวนของสัญญาณความถี่ทางไฟฟ้า เป็นต้น ค่าผิดพลาดที่เกิดจากตัวแปรที่ควบคุมหรือกำจัดได้ เป็นค่าผิดพลาดจากเหตุที่สามารถทำให้น้อยลงจนเป็นศูนย์ หรือควบคุมไม่ให้มีผลต่อการวัดได้ เช่น ค่าผิดพลาดเนื่องจากการอ่านค่าของพนักงาน หรือค่าผิดพลาดจากความสกปรกของเครื่องมือ เป็นต้น
ความเที่ยงตรง (Accuracy)
ความเที่ยงตรงคือคุณภาพที่กำหนดให้เป็นไปตามรูปแบบการวัด สามารถพิจารณาแบ่งเป็น สองส่วน ตามรูปแบบของค่าผิดพลาดได้ โดยค่าผิดพลาดต่างๆ ที่ได้ทำการวิเคราะห์นั้น ควรจะพิจารณาตามชนิดและธรรมชาติของมันเอง
ข้อมูลพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ความเที่ยงตรงของการวัด อาทิ การพิจารณาวัดขนาด น้ำหนัก เป็นต้น
แบ่งออกเป็น 5 องค์ประกอบ
มาตรฐาน (Standard)
ชิ้นงาน (Workpiece)
เครื่องมือ (Instrument)
บุคคล (Person)
สิ่งแวดล้อม (Environment)