Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chronic Obstructive Pulmonary Disease with Acute exacerbation (COPD with…
Chronic Obstructive Pulmonary Disease with Acute exacerbation (COPD with AE )
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุตามทฤษฎี
การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดเนื่องจาก ซึ่งบุหรี่มีสารมากมายหลายชนิดที่มีอยู่ในควันบุหรี่ทั้งท่ีเป็นอนุภาคและ เป็นก๊าซจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดลมและถุงลม ซึ่งมีฤทธิ์ต่อหลอดลม 2 ประการ คือ ทำให้ขนกวัดของเยื่อบุหลอดลมเสียหน้าที่ และทำให้เซลล์ขับมูกหลั่งน้ำมูกมากขึ้น ทำให้สิ่งแปลกปลอมเข้าสู่หลอดลม ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง และทำลายหลอดลมฝอยขนาดเล็กและถุงลมไปทีละน้อย เมื่อการทำลายมากถึงขนาดที่ปอดเสื่อมสมรรถภาพ ก็จะมีอาการแสดงของโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
การติดเชื้อ (Infection) พบว่าการติดเชื้อของทางเดิน หายใจเป็นสาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดอาการของโรครุนแรง (acute exacerbation) ขึ้น ซึ่งอาจเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรียชนิดต่างๆ ก็ได้ ทำให้มีการทำลายเยื่อบุผิว เกิดเป็นแผลเป็นและชั้นใต้เยื่อบุผิวหนาขึ้นทำให้หลอดลมตีบแคบถาวร จึงทำให้เกิดCOPD ได้
มลภาวะ (Air pollution) การสูดหายใจเอาควัน ฝุ่นละออง เข้าไปในปอดนานๆจะเป็นตัวเร่งทำให้เกิดอาการของ COPD ได้ เช่นเดียวกับการสูบบุหรี่
พันธุกรรม (Heredity) ในคนที่พร่อง serum alpha 1 - antitrypsin พบว่าเป็น COPD ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งตามปกติโรคนี้จะพบมากในคนที่มีอายุ 40 ปี ขึ้นไป
อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ความยืดหยุ่นของเนื้อปอดน้อยลง ใยเยื่อเหนียวและคอลลาเจนที่ช่วยทำ
ให้หลอดลมฝอยไม่แฟบขณะหายใจออกทำหน้าที่น้อยลง ทำให้เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ง่าย
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย
ผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นโรคถุงลมโป่งพองมา10ปี
ผู้ป่วยมีประวัติสูบบุหรี่มา 15 ปี
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงของผู้ป่วย
ผู้ป่วยมีอาการ ไข้ ไอมีเสมหะเหนียว หายใจเหนื่อยหอบ ต้องใช้กล้ามเนื้อช่วยในการหายใจ
อาการและอาการแสดงตามทฤษฎี
อาการหอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจเสียงดังวี้ด ไอมีเสมหะเพิ่มข้ึนหรือเสมหะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียวคล้ายหนอง มีไข้ หรือทำกิจกรรมได้ ลดลง นอกจากน้ีอาจชีพจรเต้น เร็ว อ่อนเพลีย สับสน ซึม
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจน เนื่องจาก เสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ
การหายใจไม่มีประสิทธิภาพเนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนก๊าซในถุงลมปอดลดลงจากพยาธิสภาพของโรค
ความทนต่อการปฏิบัติกิจกรรมลดลง เนื่องจากอ่อนเพลีย หายใจหอบ
ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรคที่ตนเป็น
ผู้ป่วยขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตน
มีโอกาสติดเชื้อทางเดินปัสสาวะจากการใส่สายสวนปัสสาวะ
เสี่ยงต่อภาวะปอดอักเสบจากการติดเชื้อ เนื่องจากการใส่เครื่องช่วยหายใจ
การรักษาด้วยยา
-berodual forte 2 dose stat
-berodual foret 3 dose stat then 1 dose ทุก 2 ชั่วโมง
ประเภท = ยาขยายหลอดลม
ข้อบ่งใช้ =ป้องกันการเกิดอาการหอบหืด และการทดเกร็งของหลอดลม
กลไกออกฤทธิ์ = เป็น Pz-adrenergic agonist
ผลข้างเคียง = กระส่าย มึนงง กลัว เหนื่อยล้า หัวใจเต้นเร็ว แสบอก กล้ามเนื้อเป็นตาย
เหตุผลที่ได้รับยา เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อยหอบจึงได้รับยาขยายหลอดลมเพื่อให้ผู้ป่วยหายใจสะดวกขึ้น
dexamethasone 4 mg vein ทุก 8 ชั่วโมง
ประเภท = สเตียรอยด์Antinflammation, Immunosuppressant
ข้อบ่งใช้ = รักษาอาการแพ้อย่างเฉียบพลัน Cerebral edema เนื่องจากเนื้องอกในสมองหรือ Head injury
การออกฤทธิ์ = ออกฤทธิ์ทาง Glucocorticoid มากกว่า Mineralocorticoid คล้าย Corticosteroi ยานี้เป็นทั้งยากคภูมิต้านทานและเป็นยาต้านการอักเสบ
ผลข้างเคียง = แพ้ชนิด Anaphylaxis หากให้ยาเร็ว หายใจลำบาก นอนไม่หลับ กระสับกระจ่ายวิตกกังวล ซึมเศร้า ปวดศีรษะ อารมณ์แปรปรวน ชัก มีอาการทางจิต Vertigo หัวใจเต้นผิดจังหวะ บวม สูญเสียโปแตสเชียม ความดันโลหิตสูง เป็น Cushing's syndrome
เหตุผลที่ได้รับยา เนื่องจากผู้ป่วยมีภาวะอักเสบเฉียบพลัน
ambroxol 1 tab oral tid pc
ประเภท =
ยาละลายเสมหะตัวใหม่ ซึ่งเป็น Metabolite ตัวหนึ่งของ Bromhexine
ข้อบ่งใช้ = รักษาโรคทางเดินหายใจที่มีเสมหะผิดปกติ นอกจากนี้ยานี้ยังใช้ในทารกที่คลอดก่อนกำหนดหรือให้ผ่านทางมารดาที่คาดว่าจะคลอดทารกก่อนกำหนด เพื่อป้องกันหรือช่วยให้ทารกฟื้นตัวจาก Respiratory distress syndrome (RDS) เร็วขึ้น
การออกฤทธิ์ = เพิ่มการสร้างและการหลั่ง Surfactant และการกระจายของ Surfactant พอกจากนี้ยังมีผลทำให้ Mนcus ลดความหนืดลง ทำให้ Cia ที่ถูกกระตุ้นทำงานได้ดีขึ้น การชับเสมาะออกจึงเป็นไปได้สะดวกและต่อเนื่อง
ผลข้างเคียง = หากให้ขนาดสูงๆ อาจพบอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ขนาดปกติพบอาการน้อยมาก หากใช้ติดต่อกันนานๆ อาจพบอาการแน่นท้อง ท้องเสีย จุกเสียด
เหตุผลที่ได้รับยา เนื่องจากผู้ป่วยไอมีเสมหะเหนียวข้น จึงได้รับยาเพื่อละลายเสมหะ
Prednisolone 20-40 mg/day
ประเภท
สเตียรอยด์ที่สังเคราะห์ขึ้น เพื่อใช้ในการรักษาโรคให้ได้ผลดีขึ้น ขจัดข้อเสียให้น้อยลง ซึ่งสเตียรอยด์ชนิดนี้จะมีฤทธิ์ทาง Glucocorticoid มากกว่า Mineralocorticoid
ข้อบ่งใช้
รักษาอาการแพ้และอาการอักเสบ
กลไลการออกฤทธิ์ = ฤทธิ์ต้านการอักเสบ Glucocorticoid มีฤทธิ์ระงับการอักเสบได้ทุกชนิด เช่น จากสาร เคมี การติดเชื้อ ถูกวังสี หรือปฏิกิริยาอิมมูน กลไกระงับการอักเสบ
ผลข้างเคียง = การหยุดใช้ยาอย่างกะทันหัน จะเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลียกล้ามเนื้อ ปวดข้อและอาจมีอาการคลุ้มคลั่งจากการติดยา รู้สึกหงุดหงิด โรคเก่ากำเริบ
เหตุผลที่ได้รับยา เนื่องจากผู้ป่วยมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ ไอมีเสมหะเหนีย จึงได้รับยาเพื่อลดการอักเสบ
Amoxicillin
ประเภท = ยาปฏิชีวนะ กลุ่มเพนิซิลลิน
ข้อบ่งชี้ = ขจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อ เช่น ปอดบวม หลอดลมอักเสบ ติดเชื้อในหู ทางเดินปัสสาวะและผิวหนัง ใช้ร่วมกับ Omeprazole หรือ Lansoprazole และ Clarithromycin เพื่อรักษา Duodenal ulcers โดย Helicobacter pylori
กลไกการออกฤทธิ์ = ยับยั้งการสร้างผนังเชลล์ของแบคทีเรีย อยู่ในกลุ่ม Broad spectrum penicllin เป็นเพนิซิลลินที่สังเคราะห์ขึ้น ให้มีขอบเขตในการฆ่าเชื้อโรคกว้างขึ้นกว่าเพนิชิลลินชนิดอื่นนอกจากจะทำลายแบคทีเรียที่ไวต่อ Penicilin G และยังทำลายแบคที่เรียแกรมลบได้ดีอีกด้วย ยาออกฤทธิ์คล้ายกับ Ampiilin แต่ระดับยาในเลือดจะสูงกว่า Ampicllin 2.5 เท่า
ผลข้างเคียง = คล้าย Ampicillin แต่โอกาสเกิดน้อยกว่า ที่พบบ่อย คือ มีผื่นแดงขึ้นตามตัวแต่ไม่คัน ซึ่งไม่ใช่อาการแพ้ยา ปวดศีรษะ เจ็บในปาก มีอาการคัน และมีตกขาวใน
เหตุผลที่ได้รับยา เนื่องจากผู้ป่วยไอมีเสมหะเหนียวอาจทำให้หลอดลมมีการอักเสบจึงได้รับยาเพื่อลดการอักเสบของหลอดลม
การรักษา
retained foley’s cath with bag และ เจาะ lab
แพทย์ทำการใส่ท่อช่วยหายใจให้ผู้ป่วยเป็น ET- tube No.7 mark 22 mode PCV FiO2 30 %
PEEP 5 I:E 1:3 RR 16 on IV rate เดิม
dexamethasone 4 mg vein ทุก 8 ชั่วโมง
berodual foret 3 dose stat then 1 dose ทุก 2 ชั่วโมง
ambroxol 1 tab oral tid pc
on NG tube for feed BD 1:1 200 x 5 feeds
order ให้ พ่นยา berodual forte 2 dose stat dexamethasone 8 mg vein stat
on O2 cannular 3 lits/min
on IV เป็น Acetar 1000 ml vein drip 80 cc/hr
การรักษาที่ไม่ใช้ยา
การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด (pulmonary rehabilitation)
การใช้ออกซิเจน
on O2 cannular 3 lits/min
การรักษาโดยการผ่าตัด
Bullectomy
Lung volume reduction surgery (LVRS)
Lung transplantation
การตรวจร่างกายและการตรวจพิเศษ
การตรวจร่างกาย
แพทย์ทาการตรวจร่างกาย ทรวงอกโป่งออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เส้น A-P lateral diameter > 1 : 2 เคาะปอดได้ยินเสียงโป่งมาก(hyperresonance)
ฟังปอดได้ยินเสียง crepitation ที่ปอด ทั้ง 2 ข้าง แต่เสียงจะค่อนข้างเบา
V/S แรกรับ
Temperature 37.7c (ไข้ต่ำ)
Pulse 86 bpm (ปกติ)
Respiratory rate 26 bpm (เร็วกว่าปกติ)
Blood pressure 110/78 mmHg (ปกติ)
SPO2 93 % (ต่ำ)
V/S หลังพ่นยา
Temperature 37.9 c (ไข้ต่ำ)
Pulse 96 bpm (ปกติ)
Respiratory rate 28 bpm (เร็วกว่าปกติ)
Blood pressure 108/85 (ปกติ)
mmHg SPO2 95 % (ปกติ)
การตรวจพิเศษ
EKG
Chest X-ray
ผล Chest X-ray พบ ฝ้าขาวที่ปอดทั้ง 2 ข้าง
ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ผิดปกติ
CBC
-WBC = 12,000 cell/mm สูง
Electrolyte - Na+ = 130 mEq/l ต่ำ
ABG - pH = 7.28 ต่ำ -pCO2 = 49 mmHg pO2
พยาธิสภาพและสรีรวิทยา
พยาธิสภาพและสรีรวิทยาตามทฤษฎี
เมื่อหลอดลมเกิดการระคายเคืองผู้ป่วยจะไอ การหลั่งมูกมากขึ้น ทำให้มีเสมหะมากขึ้นเซลล์อักเสบที่อยู่ในท่อของหลอดลมทำให้เสมหะเหนียวและมีสีเหลืองหรือเขียว การระคายเคืองอย่างเรื้อรังทำให้ระบบการป้องกันการติดเชื้อในหลอดลมเสื่อมลง เกิดการติดเชื้อได้ง่าย
ผนังของหลอดลมที่บวม และเสมหะในหลอดลมร่วมกับต่อมใต้เยื่อบุที่โตขึ้น ทำให้ท่อของหลอดลมเล็กลง การหายใจจึงต้องใช้แรงมากกว่าเดิม ผนังของหลอดลมที่ถูกทำลายไปจะอ่อนแอลงทำให้หลอดลมตีบปอดที่พองจะมีความยืดหยุ่นลดลง มีอากาศค้างอยู่มาก จึงไปกดหลอดลมให้แคบลงการระบายอากาศในปอดไม่ทั่วถึง ทำให้ออกซิเจนในหลอดโลหิตแดงต่ำเกิดหัวใจข้างซ้ายวายเมื่อขาดออกซิเจนไตจะปล่อยอิริโตรพอิทิน
ไปกระตุ้นไขกระดูกให้สร้างเม็ดโลหิตแดงเพิ่มขึ้น ทำให้เม็ดโลหิตแดงมีจำนวนมากขึ้น โลหิตมี
ความหนืดสูงขึ้น ผลจากการระบายอากาศในปอดไม่ทั่วถึงอีกประการหนึ่งคือ คาร์บอนไดออกไซด์คั่งในโลหิตทำให้โลหิตเป็นกรดเป็นผลให้หลอดโลหิตในปอดหดตัว ความดันในปอดสูงเกิดหัวใจข้างขวาวาย
(Corpulmonale)
พยาธิสภาพและสรีรวิทยาของผู้ป่วย
เนื่องจากผู้ป่วยมีประวัติสูบบุรี่มาเป็นเวลา 15ปี ซึ่งบุหรี่มีสารมากมายหลายชนิดที่มีอยู่ในควันบุหรี่ทั้งท่ีเป็นอนุภาคและ เป็นก๊าซจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดลมและถุงลม เมื่อหลอดลมได้รับสารระคายเคืองต่อเยื่อบุภายในหลอดลมเป็นเวลานาน จึงก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรังต่อเยื่อเมือกทำให้สร้างสิ่งคัดหลั่งเพื่อตอบสนองการอักเสบทำให้เยื่อเมือกบวมเสมหะเหนียวข้นและขับออกได้ยากช่องทางเดินอากาศในหลอดลมตีบแคบลงเกิดการระบายอากาศลดลงจึงก่อให้เกิดอาการไอเรื้อรัง
และหายใจลำบาก
เนื่องจากผู้ป่วยมีประวัติเป็นโรคถุงลมโป่งพองมาเป็นเวลา 10ปี ซึ่งถุงลมโป่งพองจะทำให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจเป็นผลมาจากเนื้อเยื่อปอดถูกทำลายทำให้ปอดเสียความยืดหยุ่น (elastic recoil) หลอดเลือดฝอยและถุงลมในปอดก็ถูกทำลายด้วยทำให้ลมคั่งในถุงลม
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ
ผู้ป่วยมาด้วยอาการ มีอาการ ไข้ ไอมีเสมหะเหนียว หายใจเหนื่อยหอบต้องใช้กล้ามเนื้อในการหายใจ พ่นยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น
-ผู้ป่วยมีประวัติเป็นถุงลมโป่งพองมา10ปี รักษาโดยการรับประทานยาและพ่นยา.
-ผู้ป่วยมีประวัติสูบบุหรี่มาประมาน 15ปี