Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Content conferenceเด็กเล็ก : การติดเชื้อของสะดือและการดูแลสายสะดือในทารกแร…
Content conferenceเด็กเล็ก : การติดเชื้อของสะดือและการดูแลสายสะดือในทารกแรกเกิด
การติดเชื้อของสะดือในทารกแรกเกิด(Neonatal omphalitis)
การอักเสบของสะดือในทารกแรกเกิดที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นสาเหตุที่สำคัญของการนอนโรงพยาบาลและการตายของทารกแรกเกิด
สาเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มาจากผิวหนังบริเวณใกล้เคียงกับสะดือหรือการทำหัตถการเกี่ยวกับสายสะดือ ร้อยละ 75 พบเชื้อแบคทีเรียหลายชิดพร้อมกัน ได้แก่ Staphylococcus aureus,Groups A and B Streptococcus,E.coli, Klepsiella species และ Pseudomonas species
อาการอาการแสดง อาการที่พบบ่อย ร้องไห้บ่อยเวลาที่จับสะดือ ดูดนมได้ไม่ดี สายสะดือหลุดช้า บวมแดงที่สะดือและใกล้เคียง
แบ่งความรุนแรงได้ 3กลุ่ม
กลุ่ม 1 อาการรุนแรงน้อย
ทารกส่วนมากจะอยู่ในกลุ่มนี้ จะมีแต่น้ำหรือหนองที่มีกลิ่นเหม็นออกมาทางสายสะดือ ไม่บวมแดงหรือกดเจ็บที่บริเวณข้างเคียง
กลุ่ม 2 อาการรุนแรงปานกลาง
นอกจากมีน้ำหนองแล้ว ยังมีการบวมแดงกดเจ็บที่สะดือและผนังหน้าท้องบริเวณข้างเคียงด้วย
กลุ่ม 3 อาการรุนแรงมาก
การติดเชื้อลุกลามไปถึงชั้นไขมัน ช่องท้อง deep fascia และแม้กระทั่งในกระแสเลือด มีโอกาสเกิภาวะแทรกซ้อนและเสียชีวิตสูง
การวินิจฉัย
ทำได้โดยดูอาการและอาการแสดง ประกอบกับการนำน้ำหรือหนองที่มีกลิ่นเหม็นไปย้อม(Gram-stained)หรือ เพาะเชื้อแบคทีเรีย (aerobic and anaerobic culture ) ถ้ารุนแรงมากสงสัยติดเชื้อในกระแสเลือด ให้เพาะเชื้อด้วย Blood culture
การรักษา
กลุ่ม 1
จะตอบสนองได้ดีต่อการให้ยาปฎิชีวนะหรือยาฆ่าเชื้อเฉพาะที่ มีเพียงติดเชื้อ Groups A Streptococcus เท่านั้นที่จำเป็นต้องให้ยาปฎิชีวนะกลุ่ม penicillin เท่านั้น เนื่องจากเป็นเชื้อที่ค่อนข้างรุนแรง
กลุ่ม 2
ควรได้รับยาปฎิชีวนะทางหลอดเลือดที่สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิดและครอบคลุมเชื้อที่มักเป็นสาเหตุของการติดเชื้อบริเวณสะดือ ส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย gram positive และ gram negative และยาปฎิชีวะที่เหมาะสมคือ Vancomycin หรือ Nafcillin สำหรับครอบคลุมแบคทีเรีย gram positive และกลุ่ม Aminoglycoside หรือ third-generation cephalosporin สำหรับครอบคลุมแบคทีเรีย gram negative
กลุ่ม 3
นอกจากต้องให้ยาปฎิชีวนะกลุ่มที่ 2 แล้ว ยังต้องให้ยาปฎิชีวนะ Metronidazole เพิ่มด้วย เปลี่ยนยาไปเป็น Nafcillin ไปเป็น clindamycin เพื่อให้ครอบคลุมแบคทีเรีย anaerobe เพิ่มด้วย
ภาวะแทรกซ้อน
Peritonitis ,necrotizing fasciitis,ฝีที่อวัยวะในช่องท้อง
การดูแลและป้องกันการติดเชื้อของสายสะดือในทารกแรกเกิด
การให้วัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักแก่มารดา (Tetanus immunization)
การดูแลตอสะดือ
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังดูแลด้วยน้ำสบู่
เสื้อผ้าทารกควรหลวม เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ดี เพื่อให้สะดือแห้งเร็ว
นุ้งผ้าอ้อมให้ทารกควรใส่ให้ขอบบนของผ้าอ้อมต่ำกว่าต่อสายสะดือ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนสิ่งสกปรก
ปล่อยตอสะดือให้แห้งไปเอง ไมม่ควรห่อหรือปิดต่อสะดือไว้ด้วยผ้ากอซ
การส่งทารกแรกเกิดคืนมารดาเร็วและให้ทารกและมารดาอยู่ห้องเดียวกันตลอด 24 ชั่วโมง
ช่วยทำให้ตอสายสะดือและบริเวณใกล้เคียงปกคลุมไปด้วยเชื้อแบคทีเรียที่ไม่ก่อให้เกิดโรคจะช่วยป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ตอสะดือของทารกได้ น้ำนมมารดามีภูมิต้านทานเชื้อโรค ทำให้ทารกแรกเกิดมีภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อของอวัยวะในระบบต่าง ๆ
ในกรณีที่ไม่สามารถส่งตัวได้ ให้ทาต่อสะดือด้วยยาฆ่าเชื้ออย่างใดอย่างหนึ่ง ต่อไปนี้ clohexidine,tincture of iodine,providone-iodine,triple dye หรือ silver sulfadazine