Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส - Coggle Diagram
โรคตับอักเสบจากเชื้อไวรัส
อาการและอาการแสดง
โรคตับอักเสบเอ
มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อ่อนเพลีย ท้องเสีย ตัวตาเหลือง ดีซ่าน
โรคไวรัสตับอักเสบบี
ระยะเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ อาการไข้ ตัวเหลืองตาเหลือง ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ผื่น ปวดข้อ
ระยะเรื้อรัง ระยะเรื้อรังแบ่งผู้ป่วยได้เป็นพาหะ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ และตับอักเสบเรื้อรัง คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ
โรคไวรัสตับอักเสบซี
โรคดีซ่าน ตัวตาเหลือง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้ ปัสสวะสีส้มเข้ม
โรคไวรัสตับอักเสบ ดี
อาการแบบเฉียบพลันจะเกิดขึ้นประมาณ 2 - 8 สัปดาห์หลังการได้รับเชื้อ (ระยะฟักตัวของโรค) และมักเกิดขึ้นพร้อมๆกับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ซึ่งอาการต่างๆจะเช่นเดียวกับอาการของไวรัสตับอักเสบ บี คือ อาจมีไข้ได้สูง (พบได้น้อยกว่า) หรือไข้ต่ำ (พบได้บ่อยกว่า)
มีอาการคล้ายอาการโรคหวัด เช่น ปวดเมื่อยตัว ไม่มีแรงอ่อนเพลีย แต่จะอ่อนเพลียมากกว่าจากไข้หวัดมาก
สาเหตุ/ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรค
ไวรัสตับอักเสบ เป็นสาเหตุที่สำคัญ แบ่งเป็น ตับอักเสบเอ ติดเชื้อจากอาหารที่ไม่สะอาด ส่วนตัวที่สำคัญคือ ตับอักเสบบี และซี ซึ่งติดต่อมาจากมารดาสู่ทารก ทางเพศสัมพันธ์ และทางการได้รับเลือด
แอลกอฮอล์ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของตับอักเสบและโรคตับเรื่องรัง หรือ ตับแข็ง และมะเร็งตับ
ขมันพอกตับ มักพบในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และมีกิจวัตรที่ไม่ค่อยออกกำลังกายและใช้พลังงาน มีไขมันสะสมสูง
การอุดกันทางเดินน้ำดี เช่น นิ่ว / เนื้องอกในท่อนน้ำดี ถุงน้ำดี / ท่อน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน
การพยาบาลที่สำคัญ
ควรแยกผู้ป่วยโรคตับอักเสบจากผู้ป่วยโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆ ซึ่งจะต้องอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เนื่องจากความต้านทานของร่างกายลดลงมีโอกาสที่จะรับเชื้อได้ง่าย
สวมเสื้อคลุมและถุงมือทุกครั้งที่สัมผัสกับสิ่งติดเชื้อ
ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังให้การดูแลผู้ป่วย
ข้อควรระมัดระวังเกี่ยวกับเลือด และสิ่งขับหลั่งจากผู้ป่วย
แนะนำฉีดวัคซีนป้องกันผู้ที่สัมผัสโรค และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
การวินิจฉัยโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
HBsAg เป็นแอนติเจนส่วนหนึ่งของไวรัสตับอักเสบ บี การตรวจพบบ่งบอกถึงผู้ป่วยเคยติดเชื้อ หรือกำลังมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี หรือยังคงมีการติดเชื้อเรื้อรัง
antiHBs เป็นภูมิต้านทานต่อไวรัสตับอักเสบบี แสดงถึงภาวะการมีภูมิต้านทานต่อโรคที่อาจเกิดจากการติดเชื้อโดยธรรมชาติหรือจากการได้วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี
antiHBc เป็นแอนติบอดีต่อส่วนแกนกลาง (core) ของไวรัสตับอักเสบ บี เป็นการแสดงว่าครั้งหนึ่งเคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี และต่อมาร่างกายอาจสร้าง antiHBs หรือเป็นโรคเรื้อรังโดยสามารถตรวจพบ HBsAg ร่วมด้วยก็ได้
antiHBc IgM เป็นการตรวจหา IgM ของ antiHBc ซึ่งจะขึ้นในระยะแรกของการติดเชื้อและ คงอยู่ประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปี แสดงว่าเป็นการติดเชื้อแบบเฉียบพลัน
HBeAg แอนติเจนอีเป็นแอนติเจนที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี จะบอกถึงความสามารถในการเพิ่มจำนวนไวรัส บอกถึงความสามารถในการแพร่กระจายหรือ ติดโรคไปยังผู้อื่นได้สูงกว่าคนที่ตรวจไม่พบ
การซักประวัติ
ซักประวัติคัน อุจจาระซีดลงนึกถึงดีซ่านจากการอุดตันของถุงน้ำดี ซักประวัติรับประทานยา สุรา หรือสารพิษ การรับเลือด หรือการสัมผัสผู้ป่วย
พยาธิสภาพ
ระยะแรกของตับอักเสบส่วนใหญ่ จะคล้ายกันเมื่อเชื้อเข้าไปทางเส้นเลือดเข้าสู่ตับ (Portal Tract) โมโนนิวเคลีย เซลล์ (Mononuclear cells) จะแทรกซึมเข้ามา เนื้อตับเสื่อมและถูกย่อยด้วยตัวมันเอง (Degeneration and Autolysis) แพร่กระจายอยู่ทั่วไป เอนไซม์จากตับจะหลั่งออกมา เซลล์ตับที่ถูกทำลายจะถูกจับกินและสลายไป หน้าที่ของตับลดลง
การรักษา
การรักษาตามอาการ ได้แก่ การพักผ่อนเต็มที่ในระยะต้นจะทำให้อ่อนเพลียลดลง งดการออกแรงออกกำลังกาย การทำงาน งดการดื่มสุรา รับประทานอาหารอ่อนย่อยง่าย
ควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงในระยะที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก
รายที่อาการมากอาจให้สารน้ำเข้า เส้นเลือดดำ ให้ยาแก้คลื่นไส้ ยาวิตามิน
ประเภทของโรคตับอักเสบ
ปัจจุบันมี 5 ชนิด
Hepatitis E virus (HEV)
Hepatitis D virus (HDV)
Hepatitis C virus (HCV),
Hepatitis B virus (HBV),
Hepatitis A virus (HAV),