Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลมารดาทารก ในระยะที่ 1 ของการคลอด - Coggle Diagram
การดูแลมารดาทารก ในระยะที่ 1 ของการคลอด
หลักการประเมินสภาวะของทารกในครรภ์
การเต้นของหัวใจทารก
ลักษณะน้ำคร่ำ
การดิ้นของทารกในครรภ์
การวิเคราะห์เลือดของทารกในครรภ์ (fetal blood analysis)
5.การบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยใช้เครื่องอิเล็คโทรนิก
การเต้นของหัวใจทารก
ปกติอัตราการเต้นของหัวใจทารกอยู่ในช่วงประมาณ 110-160 ครั้ง/นาที มีอัตราการเต้นสม่ำเสมอ
ควรฟังเสียงหัวใจทารกให้เต็ม 1 นาที เพื่อประเมินจังหวะและความสม่ำเสมอของการเต้นของหัวใจ
ควรฟังภายหลังมดลุกคลายตัวประมาณ 20-30 วินาที
ในผู้คลอดที่มีภาวะเสี่ยงต่ำ ในระยะ latent ควรฟังทุก 1ชั่วโมง และในระยะ
active ควรฟังทุก 30 นาที
ในผู้คลอดที่มีภาวะเสี่ยงสูงไนระยะ Iatent กวรฟังทุก 30 นาที และในระยะactive ควรฟังทุก 15 นาที ถ้ามีข้อบ่งชี้ว่าทารกในครรภ์มีโอกาสได้รับอันตรายควรฟังบ่อยขึ้น
ในผู้คลอดที่ถุงน้ำคร่ำแตก ควรฟังเสียงหัวใจทารกทันที
ลักษณะน้ำคร่ำ
ถ้าถุงน้ำคร่ำแตกแล้วมีขี้เทาปน บ่งบอกถึงภาวะทารกขาดอากาศหายใจ
ถ้าทารกขาดออกซิเจน ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักของทารกคลายตัวขับขี้เทาปนออกมา
C = clear ligour draining (น้ำคร่ำใสปกติ)
M = meconium stained ligour draining (น้ำคร่ำมีขี้เทาปน)
A = absent ถุงน้ำแตกแต่ตรวจภายในไม่พบน้ำคร่ำ
B = blood stained (น้ำคร่ำปนเลือด)
การดิ้นของทารกในครรภ์
ภาวะปกติทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหวอย่างน้อย 10 ครั้ง ในช่วง 12 ชั่วโมงแรก
การที่เลือดไปเลี้ยงมดลุกและรกลดลง ทำให้ขาดออกซิเจน จึงทำให้ดิ้นน้อยลง
ในผู้คลอดที่มีภาวะเสี่ยงสูง ทำให้ทารกดื้นน้อยลงจนกระทั่งหยุดดิ้น
การวิเคราะห์เลือดในทารก
โดยปกติเลือดของทารกในครรภ์จะมีค่า pH อยู่ระหว่าง 7.20 - 7.45
ถ้า pH ของเลือดต่ำกว่า 7.20 ถือว่าทารกมีภาวะเลือดเป็นกรด (acidosis) ต้องรีบช่วยเหลือแก้ไขและช่วยให้การคลอดสิ้นสุดลงโดยเร็ว
ในกรณีที่กล่าวมาอาจพบว่าค่า PH ของเลือดทารกต่ำ แต่ทารกกลับมีคะแนนApgar แรกเกิดดีก็ได้
การตรวจหาค่า pH ของเลือดทารกเพียงอย่างเดียวจะบอกภาวะ fetal distressได้ถูกต้องเพียงร้อยละ 80 เท่านั้น ดังนั้นการตรวจเลือดทารกในครรภ์ควรทำร่วมกับการตรวจวิธีอื่นด้วย
การบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจทารกโดยใช้เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (EFM)
การแปลผลบันทึกลักษณะของอัตราการเต้นของหัวใจในภาวะปกติ
110 - 160 ครั้งต่อนาที เรียกว่า Baseline fetal heart rate (PHR)
ถ้า FHRมีการเปลี่ยนแปลงชั่วคราวโดยสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูก เรียกว่า Periodic FHR ถ้า FHR เร็วกว่า baseline เล็กน้อยเรียกว่า accelerationคือ FHR เพิ่มขึ้นในอัตรา 15 ครั้งต่อนาที นานประมาณ 15 วินาที (รายที่อายุครรภ์ มากกว่า 32 สัปดาห์ ถือว่าทารกได้รับออกซิเจบเพียงพอ
การบันทึกความก้าวหน้าของการคลอด
Partograph
Friedman's curve
การพยาบาลในระยะรอคลอด
การบันทึกความก้าวหน้าของการเจ็บครรภ์
ถ้าปากมดลูกเปิดไม่ถึง 3 เซนติเมตร (Latent phase) จะต้องมีการหดรัดตัวของมดลูก 2 ครั้งใน 1 0 นาที และหดรัดตัวนานไม่น้อยกว่า20 วินาที
ถ้าปากมดลูกเปิดตั้งแต่ 3 ชั่วโมง (Active phase) ต้องมีการหดรัดตัวของมดลูก1 ครั้งใน 10 นาที และหดรัดตัวนานไม่น้อยกว่า20 วินาที
ข้อยกเว้นในการใช้ WHO Partograph
Premature labor pain ที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 34 สัปดาห์
เจ็บครรภ์ใกล้จะคลอดที่ปากมดลูกเปีดขยาย 9 - 10 เซนติเมตร
ไม่ต้องการให้มีการเจ็บครรภ์คลอด เช่น การนัดผ่าตัดคลอด
มีความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับการผ่าตัดคลอดฉุกเฉินภายใน 1 ชั่วโมงหลังรับไว้
ส่วนประกอบที่สำคัญของ WHO Partograph
สภาพของทารกในครรภ์ (fetal condition)
ความก้าวหน้าของการคลอด (progression of labor)
การให้ยาและการรักษา (drug and treatment)
สภาพของมารดา (maternal condition)
สภาพของทารกในครรภ์ (Fetal condition)
อัตราการเต้นของหัวใจทารก (FHR)
ลักษณะของถุงน้ำและน้ำคร่ำ (membrane and amniotic fluid)
การเกยกันของกระดูกกะโหลกศีรษะทารก (molding of fetal skull
bone)
ลักษณะของถุงน้ำและน้ำคร่ำ
การปรับตัวของกระโหลกศีรษะ
เป็นภาวะปกติของทารกขณะเจ็บครรภ์คลอด เพื่อลดความกว้างของกระโหลกศีรษะ (BPD) เพื่อสะดวกในการเข้าสู่อุ้งเชิงกรานถ้ามี moulding มากเกินไปอาจมีภาวะ CPD (ศีรษะโตกว่าช่องเชิงกราน)
การเกยกันของกระดูกกะโหลกศีรษะทารก
0 คือ สภาพกระดูกกะโหลกศีร ษะทารกปกติคลำ sagittal suture
ได้ชัดเจน
คือ กระดูกกะโหลกศีรษะเคลื่อนตัวมาชิดกันพอดี คลำ sagittal suture ได้ไม่ชัดเจน ได้เป็นลักษณะเส้นไม่เป็นร่อง
++ คือ กระดูกกะโหลกศีรษะเกยกันมาก คลำได้กระดูกเหลื่อมกัน
+++ คือ กระดูกกะโหลกศีรษะเกยกันมาก คลำได้กระดูกเหลื่อม
กันมากกว่า 0.5 เซนติเมตร
ความก้าวหน้าของการคลอด
การเปิดขยายของปากมดลูก
การเคลื่อนต่ำของส่วนนำ
การหดรัดตัวของมดลูก
หลักการวินิจฉัยการเปิดขยายของปากมดลูกตามแบบบันทึกของ WHO Partograph
ในระยะ latent ระยะนี้ไม่ควรนานเกิน 8 ชั่วโมง
ในระยะ active อัตราการเปิดขยายของปากมดลูกไม่ควรน้อยกว่า 1 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
เส้น alert line คือเริ่มเกิดการคลอดยาวนาน
เส้น action line คือปากมดถูกเปิดขยายล่าช้า
หรือถึงเขตที่มีการคลอดยาวนานผิดปกติ
พื้นที่ส่งต่อเป็นช่วงที่ต้องการส่งต่อผู้คลอดจากสถานพยาบาลที่มีความพร้อมมากกว่า
หลักการบันทึกการเปิดขยายของปากมดลูกและการเคลื่อนต่ำของศีรษะทารก
ใช้เครื่องหมาย "X"แทนการเปีดขยายของปากมดลูก
ใช้เครื่องหมาย "0"แทนการเคลื่อนต่ำของศีรษะทารก
2.การบันทึกการเปิดขยายของปากมดลูก
3.การบันทึกการหดรัดตัวของมดลูก
4.การบันทึกการเคลื่อนต่ำของศีรษะของทารก
ลักษณะความก้าวหน้าของการคลอดที่ผิดปกติ
ระยะ latent ปากมดลูกไม่เปิดขยายเพิ่มขึ้นภายใน 4 ชั่วโมง
ระยะ active ปากมดลูกไม่เปิดขยายเพิ่มขึ้นภายใน 2 ชั่วโมง
เส้นกราฟการคลอดที่แสดงอัตราการเปีดขยายของปากมดลูกมีความชันน้อยกว่า
ระยะที่สองของการคลอด พบว่าส่วนนำไม่มีการเคลื่อนต่ำลงมาในช่องเชิงกรานภายใน 30 นาที
การประเมินทางด้านจิตสังคม
1.ระยะ Latent phase : เครียดน้อย เจ็บครรภ์น้อย จะรับรู้
เรียนรู้และแก้ปัญหาได้มาก
2.ระยะ Active phase : สิ่งกระตุ้นความเครียดมากขึ้น เจ็บ
ครรภ์มากขึ้น เหนื่อย อ่อนเพลีย
3.ระยะ Transitional phase :วิตกกังวลสูง เจ็บปวดและเครียดมากที่สุด ทุรนทุรายและเหนื่อยอ่อน
บทบาทของพยาบาล
Non-pharmacological tech.
ประคับประคองทางด้านจิตใจ
สามี/ญาติ ดูแล
พยาบาลอยู่เป็นเพื่อน เข้าใจถึงความ ต้องการของผู้คลอด มนุษยสัมพันธ์ที่ดี
เบ่งเบนความสนใจ/จินตนาการ
ระยะปากมดลูกเปิด 1 -4 ชม. แนะนำให้เดิน พูดคุย หรืออ่านหนังสือ
ระยะปากมดลูกเปิด 4-8 ชม. แนะนำให้จิตใจจดจ่อ นับลมหายใจ
ระยะปากมดลูกเปิด 8- 10 ชม. แนะนำให้หายใจลึกๆ
การถู/นวด/ลูบ
ประคบร้อน/เย็น
การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
การสัมผัส
การกดจุด
การสะกดจิต
การหายใจ
ข้อควรคำนึง
ควรหายใจล้างปอด (cleaning breath)ทั้งก่อนและหลังมดลูกหดรัดตัว โดยหายใจเข้าออก ลึก ๆ ช้า ๆ ยาว ๆ
การหายใจเข้า-ออกควรเป็นจังหวะ สม่ำเสมอ
หากหายใจเร็วและลึกจนเกินไป อาจเกิด hyperventilation
2.Pharmacological pain management
ระยะที่ 2 ของการคลอด
Pushing breathing
มดลูกเริ่มหดรัดตัว หายใจเข้าลึกๆ กลั้นลมหายใจ ปิดปากแม่น คางชิดอก และเบ่งลงทางช่องคลอด (นับ 1-12)แล้วหายใจทางปาก ทำไปเรื่อย
การปฏิบัติเมื่อทารกมีภาวะเครียด
นอนตะแคงซ้าย
2.ให้ O2 = 5 L/min
รายงานแพทย์
ฟัง FHS บ่อยๆ หรือ On fetal heart rate monitoring
ให้ยาตามแผนการรักษา
ดูแลให้ IV Fluid
ดูแลใกล้ชิด
เตรียมช่วยแพทย์ในการคลอดทั้ง N/D และ C/S
การดูแลทางด้านจิตใจ
Developing trust & security
สร้างความไว้วางใจและความมั่นคงปลอดภัย
Meeting the informational need
การให้ข้อมูลตามความต้องการ
Promoting of comfort & relaxation ส่งเสริมให้เกิดความสุขสบายและผ่อนคลาย
Support role of nurse การสนับสนุนช่วยเหลือทางด้านจิตใจ
การป้องกันอันตรายต่อสุขภาพหญิงในระยะที่ 1 ของการคลอด
1 . ความก้าวหน้าของการคลอดล่าช้า
Latent phase : G1 > 20 ชม.,Gหลัง > 14 ชม
Active phase : G1 ~ 1.2 ซม./ชม.,Gหลัง ~ 1.5 ซม./ชม.
ผู้คลอดอยู่ในภาวะอันตราย
-Hypertonicity : D > 75 sec. หน้าท้องเป็นลอนสูง
-Maternal exhaustion/distress
-Emotional distress
ทารกอยู่ในภาวะเครียด (Fetal distress) : FHS < 120, >
160 ครั้ง/นาที
การป้องกันอันตรายต่อสุขภาพหญิงในระยะเฝ้าคลอด
1.ความก้าวหน้าของการคลอดล่าช้า
2.ผู้คลอดอยู่ในภาวะอันตราย
3.ทารกในครรภ์อยู่ในภาวะเครียด
ด้านกฏหมายและสิทธิของผู้ใช้บริการ
พยาบาลต้องทำความใจถึงสิทธิของผู้คลอดและให้ข้อมูล เกี่ยวกับสิทธิของผู้ใช้บริการที่พึงได้รับ รวมทั้งสิทธิอันพึงมีของผู้คลอดและสมาชิกในครอบครัวด้วย : การเซ็นยินยอมเข้ารับการรักษาต่างๆ
อาการที่แสดงว่าอาจจะเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด
เจ็บครรภ์แรงขึ้น นานขึ้น กระสับกระส่าย
Ut. contraction ถี่ขึ้น นานขึ้น 1 ~ 2-3 นาที, D 60 วินาทีขึ้นไป
มีเลือดสดๆออกมาขึ้น
MR
อยากเบ่ง / อยากถ่าย ลองเบ่งจะเห็น Gaping sign ฝืเย็บโป้งตึง หูรูคทวาร หนักถ่างออก
มองเห็นส่วนนำ
อาการแสดงว่าใกล้สิ้นสุดระยะที่ 1 ของการคลอด
probable sign (บ่งบอก)
อยากเบ่ง อยากถ่ายอุจจาระและปัสสาวะขณะที่มดลูกหดรัดตัว
มีเลือดสดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย
ถุงน้ำคร่ำแตก
ฝีเย็บตุงและมองเห็นส่วนนำของทารกทางช่องคลอด
positive sign (แน่นอน) จากการตรวจทางช่องคลอด
คลำไม่พบขอบของปากมดลูก คือปากมดลูกเปิดหมด 10 เซนติเมตร (fully dilatation)