Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินความก้าวหน้าการคลอด - Coggle Diagram
การประเมินความก้าวหน้าการคลอด
ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าของการคลอด
1.รูปร่างและขนาดของหนทางคลอด กระดูก เชิงกรานของผู้คลอดที่มีขนาดกว้างพอจะทำให้ทารกในครรภ์ เคลื่อนผ่านไปได้ ผู้คลอดท่ีมีรูปร่างเล็ก ตัวเตี้ย มักมีขนาดของ มักมีขนาดของ เชิงกรานเล็กตามรูปหรือในรายที่เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณอุ้งเชิงกรานอาจทำให้แนวกระดูกผิดรูปร่างซึ่งเป็นอุปสรรค ต่อการดำเนินการคลอด
2.ลักษณะและขนาดของทารกในครรภ์ ทารกในครรภ์ที่มีขนาดใหญ่จากน้ำหนักมาก หรือจากที่ทารกมีความผิดปกติของร่างกายทำให้บางส่วนใหญ่ผิดปกติ ย่อมเคลื่อนผ่านหนทางคลอดของมารดาได้ยาก
3.แรงในการคลอด การหดรัดตัวของมดลูกเป็นแรงสำคัญที่ทำให้การคลอดมีความก้าวหน้าซึ่งแรงนี้อยู่นอกเหนือการควบคุมของจิตใจ โดยปกติในระยะคลอดมดลูกจะหดรัดตัวสม่ำเสมอเมื่อการคลอดดำเนินต่อไปมดลูกจะหดรัดตัวถี่ขึ้น แรงและนานขึ้น กล้ามเนื้อมดลูกส่วนบนจะสั้นและมีความหนามากกว่าเดิม ขณะที่กล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างจะยืดออกและบางทำให้พื้นที่ในโพรงมดลูกส่วนบนลดลงผลักดันให้ทารกในครรภ์เคลื่อนต่ำ และปากมดลูกมีความบางและเปิดขยายออก การหดรัดตัวของมดลูกที่มีประสิทธิภาพย่อมส่งผลให้การคลอดมีความก้าวหน้า ซึ่งความแรงประมาณ 30 - 50 มิลลิเมตรปรอทจึงจะทำให้ปากมดลูกเปิดขยาย2 เมื่อปากมดลูกเปิดหมดหรือเข้าสู่ระยะที่ 2 ของการคลอด ต้องมีแรงเบ่งจากผู้คลอดร่วมด้วยจึงจะทำให้ทารกในครรภ์เคลื่อนผ่านออกมาได้
4.ท่าของผู้คลอด การจัดให้ผู้คลอดอยู่ในท่าศีรษะสูงจะช่วยส่งเสริมการเคลื่อนต่ำของทารก ในครรภ์ และทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ดีขึ้น ช่วยลดระยะเวลาในการรอคลอด ลดการกดทับเส้นเลือดที่อยู่ด้านหลัง ทำให้เพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังมดลูกกับรก
5.ภาวะจิตใจ ผู้คลอดที่กลัวมาก ๆ หรือมีcatecholamines ทำให้หลอดเลือดตีบ เป็นผลให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลงกว่าเดิม การหดรัดตัวของมดลูกมีประสิทธิภาพลดลง ระยะเวลาในการรอคลอดจึงเพิ่มขึ้น
การเคลื่อนต่ำของส่วนนำของทารก
เมื่อมีความก้าวหน้าของการคลอด ส่วนนำทารกควรมีการเคลื่อนต่ำมากขึ้น ซึ่งประเมินได้จากการตรวจทางช่องคลอด Station -2,-1,0,+1,+2
วิธีการประเมินการหดรัดตัวของมดลูก
1..การหดรัดตัวของมดลูกระยะเวลาของการหดรัดตัว
(Duration) =45-60 วินาที
ความถี่ของการหดรัดตัว ( Interval) = 2-3 นาที
Severity = ++,+++
ช่วง latent phase ควรประเมินทุก 30-60 นาที
ช่วง active phase ควรประเมินทุก 15-30 นาที
วิธีการประเมินการหดรัดตัวของมดลูก โดยวางมือบริเวณยอดมดลูก เมื่อมีการหดรัดตัวจะรู้สึกว่ามดลูกแข็งตึง เริ่มจับเวลาเพื่อประเมินระยะห่างของการหดรัดตัวแต่ละครั้ง (interval of uterine contraction) ระยะการหดรัดตัว (duration of uterine contraction) รวมทั้งความแรงในการหดรัดตัว การจับการหดรัดตัวของมดลูกควรวางมือไว้ต่อเนื่องตลอดจนได้การหดรัดตัวอย่างน้อย
2 ครั้ง เพื่อดูความสม่ำเสมอของการหดรัดตัว
วิธีการตรวจ การตรวจต้องใช้เทคนิคสะอาดปราศจากเชื้อ และกั้นม่านเผยผู้คลอด จัดให้ผู้คลอดนอนหงายชันเช่าสูง คลุมผ้าตั้งแต่หน้าท้องลงมาตลอดขาสวมถุงมือปราศจากเชื้อ ทำความสะอาดบริเวณปากช่องคลอดและอวัยวะสืบพันธุ์ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ แล้วใช้มือข้างที่ไม่ถนัดแหวก Iabia minora ทั้งสองข้างออกจากกัน ใช้นิ้วกลางของมือข้างที่ถนัดสอดนำเข้าไปในช่องคลอดก่อนแล้วจึงสอดนิ้วชี้ตาม ส่วนนิ้วนางและนิ้วก้อยงอกำไว้ตลอดเวลาที่ตรวจเพื่อไม่ให้ถูกกับรูทวารหนักตรวจประเมินความก้าวหน้าของการคลอดภายในเพื่อให้ทราบว่าขณะนั้น ผู้คลอดอยู่ในระยะใด โดยในแต่ละครั้งจะประเมินสิ่งต่อไปนี้
1) การเปิดขยายของปากมดลูก (diatation of cervix) ประเมินความกว้างเป็นเซนติเมตร
2) ความบางของปากมดลูก (effacement of cervix) ประเมินการบางเป็นร้อยละ หรือเปอร์เซ็นต์
3) สภาพถุงน้ำทูนหัว (membrane) โดยการประเมินว่าถุงน้ำทูนหัวยังมีอยู่ (membrane intact : MI) รั่ว (membrane leakage : ML) หรือแตกแล้ว (membraneruptured : MR) รายที่ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือแตกอาจพบมีน้ำคร่ำไหลออกมาทางช่องคลอดให้เห็นบริเวณอวัยวะสืบพันธ์ภายนอกหรือเปื้อนผ้าที่สวมอยู่1) ระดับของส่วนนำ (station) การตรวจว่าส่วนนำเคลื่อนต่ำลงระดับใดพิจารณาโดยใช้ ischial spine เป็นหลัก ซึ่ง Greenhill (อ้างตามธีระพร วุฒยวนิช, ธีระ ทองสงและจตุพล ศรีสมบูรณ์, 2539) กำหนดให้ระดับ ischial spine เป็นระดับ 0 แล้วกำหนดระดับที่อยู่สูงกว่าหรือต่ำกว่าระดับ ischial spine
การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
1.การเปิดของปากมดลูกระยะlatent ครรภ์แรก 0.3cm/hr ครรภ์หลัง 0.5cm/hr ระยะactive ครรภ์แรก 1.2cm/hr,ครรภ์หลัง 1.5cm/hr
2.การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูกตรวจทุก 2ชม. ในactiveตรวจทุก 4ชม. ในLatentอาการแสดงที่เข้าสู่ระยะที่2 ของการคลอดเช่น มีมูกเลือดผู้คลอดอยากเบ่งคลอด บริเวณแผลฝีเย็บ และทวารหนักขยายออกครรภ์แรก latent ปากมดลูกเปิดประมาณ 8-12 ชั่วโมงครรภ์หลัง latent ปากมดลูกเปิดประมาณ 6-8 ชั่วโมง
กิจกรรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของการคลอด
1.ดูแลปรับเปลี่ยนท่า
2.ดูแลในการขับถ่ายปัสสาวะเพื่อไม่ให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม
3.ดูแลทางด้านโภชนาการ
4.จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการพักผ่อนและให้ผู้คลอดรู้สึกสุขสบาย
5.ดูแลเพื่อบรรเทาอาการปวด