Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Rheumatoid arthritis - Coggle Diagram
Rheumatoid arthritis
การวินิจฉัยโรค
-
-
-
-
-
น้ำในข้ออุ่น มี WBC 2,000 ต่อลบ.มม หรือมากกว่า
การรักษา
การรักษาด้วยยาต่อต้านการอักเสบ เช่น แอสไพริน ยาต่อต้านการอักเสบไม่ใช่ สเตียรอยด์ (NSAID) กลูโคคอร์ติคอยด์ชนิดรับประทานและฉีดเข้าข้อ
การรักษาให้โรคสงบด้วย Gold salts,D-Penicillamine โดยเฉพาะในรายที่โรครุนแรง บ่อยๆโดยหวังควบคุมให้โรคสงบ
ยากดอิมมูน (Immunosuppressive drug) ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่โรครุนแรงและก้าวหน้าไปไม่ตอบสนองต่อยาต่อต้านการอักเสบ เช่น cyclophosphamide,azathioprine 6-mercaptopurine เป็นต้น
การทำ plasmaphersis ในรายที่เป็นผู้ป่วยหนักและคุกคามชีวิตจรกหลอดเลือดอักเสบหรือเลือดหนืดและรักษาด้วยยาอื่นไม่ได้ผล
กายภาพบำบัด ลดการหดตัวของกล้ามเนื้อและลดการตึงของข้อโดยใช้ความร้อนและอาบพาราฟิน การออกกำลังกาย การปรับกิจวัตรประจำวัน และการใช้เครื่องมือช่วย
การผ่าตัดแก้ไขความพิการของข้อ และช่วยให้ทำหน้าที่ได้ดีขึ้นเช่น การผ่าตัดกลุ่มอาการ Synovin carpal tunnel ที่เป็นมากและกดประสาททำให้เจ็บปวด นอกจากนี้การทำ synovectomy เพื่อลดอาการปวดข้อและไม่ให้ลุกลามต่อไป
อาการ และอาการแสดง
-
มีอาการปวดกล้ามเนื้อนำมาก่อนหลายสัปดาห์จึงจะมีการอักเสบของข้อให้เห็น คือ มี อาการปวด บวม แดง ร้อน และกดเจ็บบริเวณข้อที่ปวดและกดเจ็บบริเวณข้อที่ปวด
ลักษณะจำเพาะ คือ มีอาการปวดพร้อมกันและคล้ายคลึงกัน
ทั้งสองข้างและข้อจะบวมแดงร้อน นิ้วมือ นิ้วเท้าจะบวมเหมือนรูปกระสวย ต่อมาอาการอักเสบจะลุกลามไปทุกข้อทั่วร่างกาย
-
สาเหตุ
•อาจเกิดจากกลไกทางระบบอิมมนูร้อยละ70ตรวจพบรูมาตอยด์แฟคเตอร์แสดงว่ามีการ
สร้างแอนติบอดี้ตรวจพบในซีรั่ม
•การสร้างแอนติบอดี้ต่อต้าน Ig G ยังได้อธิบายไม่ได้
แต่อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียนำมาก่อน เมื่อรูมาตอยด์
แฟคเตอร์จับกับ Ig G
-
-
-
-
การพยาบาล
เป้าหมายการพยาบาลผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ คือ ช่วยผู้ป่วยสนองความต้องการดูแลตนเองทั้งหมดในระดับเพียงพอและต่อเนื่อง และช่วยเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเอง ซึ่งปัญหาและกิจกรรมจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์
1.การจัดการควบคุมอาการปวดข้อในระยะรุนแรงและระยะปกติ เพื่อให้เกิดความสุขสบายและไม่เกิดความพิการของข้อมากขึ้นเช่น
•การใช้ความเย็นในระยะเจ็บปวดเฉียบพลันและระยะรุนแรง
จะมีผลดีในการลดการปวดข้อและลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ ลดอาการบวม
•การใช้ความร้อน ไม่ควรใช้ระยะรุนแรง เพราะมีการอักเสบของข้อมากอาจทำให้กระดูกอ่อนถูกทำลายมากขึ้น แต่ในระยะเรื้อรังสามารถใช้น้ำอุ่นช่วยลดอาการตึงข้อตอนเช้าและรู้สึกสุขสบาย
2.คงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างการมีกิจกรรม และการพักผ่อน เพื่อไม่ให้เกิดความพิการของข้อ ข้อติดแข็งจากการไม่ได้ใช้ และมีการพักข้อ
•การจัดท่านอน หลีกเลี่ยงการหนุนหมอนและการใช้หมอนรองใต้เข่าซึ่งจะทำให้ข้องอผิดปกติ และยิ่งทำให้ข้อพิการมากขึ้น
•การออกกำลังกาย เพื่อรักษาความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็งแรงช่วยให้เคลื่อนไหวข้อได้ดี โดยพิจารณาจากอาการปวด บวมของข้อ
3.ส่งเสริมการทำหน้าที่และพัฒนาการให้ถึงขีดสูงสุดภายใต้ระบบสังคมและความสามารถของตนเอง สามารถดำรงบทบาทในสังคมได้ เช่น การปรับกิจกรรมในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม เรียนรู้การเผชิญกับความเจ็บป่วย การปรับของใช้ในบ้านเกี่ยวกับงาน จะแก้ไขความจำกัดในการทำงานกิจกรรมบางอย่างและสามารถเคลื่อนไหวได้อิสระ
-
5.เรียนรู้และหาวิธีการลดความเครียดอันเกิดจากความเจ็บป่วย และจากการมีข้อจำกัดสามารถปรับตัวได้ดี เพื่อลดการกำเริบของโรครูมาตอยด์
6.ใช้ความพยายามในการเรียนรู้และปรับอัตมโนทัศน์ในการยอมรับกับข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นและสอดแทรกกิจกรรมการดูแลตนเองให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต