Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินความก้าวหน้าการคลอด - Coggle Diagram
การประเมินความก้าวหน้าการคลอด
การพยาบาล
ระยะที่1
1) ดูแลปรับเปลี่ยนท่า ควรดูแลให้ผู้คลอดอยู่ในท่าที่ทำให้ทารกในครรภ์เคลื่อนลงต่ำตามแรงโน้มถ่วงของโลกได้ง่ายเช่น การจัดท่านอนศรีษะสูง
2) ดูแลในการขับถ่ายปัสสาวะเพื่อไม่ให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม เนื่องจากเมื่อส่วนนำทารกเข้าสู่อุ้งเชิงกรานมารดาจะไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ หากกระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะมากจะทำให้ส่วนนำทารกเคลื่อนต่ำได้ช้า
3) ดูแลทางด้านโภชนาการ เพื่อให้ได้รับสารน้ำ และสารอาหารที่เพียงพอเป็นการป้องกันการเกิดอาการอ่อนล้าของผู้คลอด และสารอาหารที่ได้รับยังเป็นพลังงานช่วยในการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
4) จัดสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการพักผ่อนและให้ผู้คลอดรู้สึกสุขสบาย ช่วยลดอาการเหนื่อยล้าที่อาจเกิดขึ้นโดยลดปัจจัยที่มารบกวน
5) ดูแลเพื่อบรรเทาอาการปวด เช่นการเบี่ยงเบนความสนใจ
ระยะที่2
1) แนะนำวิธีการเบ่งให้ผู้คลอด โดยควรเบ่งขณะที่มีการหดรัดตัวของมดลูก
2) การจัดท่าเบ่งคลอดการจัดให้ผู้คลอดอยู่ในท่าศีรษะสูงพบว่ามีความสัมพันธ์กับการหดรัดตัวของมดลูกที่แรงขึ้นและสม่ำเสมอ
3) ดูแลให้ผู้คลอดรู้สึกสุขสบาย ขณะเบ่งผู้คลอดมักใช้พลังงานในการเบ่งค่อนข้างมากเกิดการเผาผลาญเพิ่มขึ้นทำให้รู้สึกร้อนและมีเหงื่อออก พยาบาลจึงควรใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดขณะพักเพื่อให้ผู้คลอดรู้สึกสบายตัวขึ้น
วีธีการประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
การตรวจการหดรัดตัวของมดลูก
Good contraction
Duration=45-60 วินาที
Interval = 2-3 นาที
Severity = ++,+++
อาการและอาการแสดง
รู้สึกอยากเบ่งกลั้นไม่ได้
ถุงน้ำคร่ำแตก
เลือดออกทางช่องคลอด
น้ำเดิน
การตรวจภายใน
ส่วนนำทารกควรมีการเคลื่อนต่ำมากขึ้น ซึ่งประเมินได้จากการตรวจทางช่องคลอด Station -2,-1,0,+1,+2
การเปิดของปากมดลูกระยะlatent ครรภ์แรก 0.3cm/hr
การเปิดขยายของปากมดลูกระยะactive ครรภ์แรก 1.2cm/hr,ครรภ์หลัง 1.5cm/hr
การเปิดขยายของปากมดลูกระยะlatent ครรภ์แรก 0.3cm/hr ครรภ์หลัง 0.5cm/hr
การประเมินองค์ประกอบของการคลอด
1.แรงผลักดันในการคลอด(Power)
แรงจาการหดรัดตัวของมดลูก(Primary Power)
แรงเบ่ง(Secondary Power)
2.ช่องทางคลอด(Passages)
เชิงกราน(ฺBony Passages)
ช่องเข้าเชิงกราน(Pelvic inlet) ยาวที่สุดได้ 13 ซม.
ช่องเชิงกราน(Pelvic cavity) เส้นผ่าศูนย์กลางที่สำคัญที่สุด คือ Interspinous diameter ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดยาวประมาณ 10 ซม.
ช่องออกเชิงกราน(Pelvic outlet) มีลักษณะเป็นรูปรีตามยาวด้านหน้าหลัง
หนทางคลอดที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม(Soft Passages)
ปากมดลูก
ช่องคลอด
กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกราน
ปากช่องคลอดและฝีเย็บ
3.สิ่งที่คลอดออกมา(Passenger)
Lie ทารกที่ปกติควรจะอยู่ในท่า Longitudinal lie
Attitude ท่ารกที่อยู่ปกติควรจะอยู่ในท่า Flexion attitude
ท่ารกที่ปกติควรอยู่ในท่า Vertex presentation ถ้ามีส่วนอื่นเป็นส่วนนำทำให้เกิดการคลอดล่าช้า
ขนาดของทารก
รกและเยื่อหุ้มรก
4.ท่าของผู้คลอด (Position of labour)
ท่ายืน (standing position)
ท่านั่งยอง (squatting)
ท่ายกศีรษะและลำตัวสูง (upright position)
ท่าคุกเค่า (hang and knees position)
ท่านอนตะเเคง (Side-lying position)
5.สภาวะจิตใจของผู้คลอด (Psychological )
ภาวะจิตใจ มีความวิตกกังวล ความเครียด ความกลัวต่างๆจะทำให้มดลูกหดรัดตัวผิดปกติ มีแรงเบ่งน้อย เป็นสาเหตุให้เกิดการคลอดยาวนาน
6.สภาวะร่างกายของผู้คลอด (Physical condition)
สภาพร่างกายของผู้คลอด เช่น อาการอ่อนเพลีย หมดแรง ขาดน้ำ ภาวะไม่สมดุลของน้ำ และอิเลคโตรไลท์ ผู้คลอดที่เป็นโรค เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ทำให้เเรงเบ่งน้อย