Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะน้ำคร่ำน้อย Oligohydramnios - Coggle Diagram
ภาวะน้ำคร่ำน้อย Oligohydramnios
การรักษา
-ติดตามประเมินการเจริญเติบโตและสภาวะของทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
-การเติมสารละลายเข้าไปในถุงน้ำคร่ำ เป็นเทคนิคที่ใช้น้ำเกลือใส่เข้าไปแทนที่น้ำคร่ำ
-หากทารกในครรภ์อยู่ในภาวะอันตราย พิจารณาให้คลอด
อาการและอาการแสดง
1.ขนาดมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์
2.สตรีมีครรภ์อาจรู้สึกว่าทารกเคลื่อนไหวน้อวกว่าปกติ เนื่องจากถูกมดลูกบีบรัด
ความหมาย
ภาวะที่มีปริมานน้ำคร่ำน้อยกว่า 500 ml หรือการตรวจด้วยอัลตราซาวพบว่า deepest pocket น้อยกว่า 2 cm หรือมีค่า AFI น้อยกว่า 5 cm
สาเหตุ
ด้านทารก
ทารกมีความพิการของระบบทางเดินปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะออกน้อยผิดปกติ เช่น urethral obstruction
มีความผิดปกติของไต ได้แก่ renal agenesis renal dysplasia
ทารกมีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น triplody trisomy 18 Turner syndrome
IUGR
ทารกแฝดที่มีภาวะ twin-ywin transfusion inhibitor
ด้านมารดา
การแตกรั่วของถุงน้ำคร่ำ
การตั้งครรภ์เกินกำหนด
ภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
อธิบายแผนการรักษาและเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัย
แนะนำให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ
แนะนำการรับประทานอาหาร เพิ่มโปรตีน
แนะนำให้สังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์
ติดตามระดับความสูงยอดมดลูก
มาตรวจตามนัด
ระยะคลอด
แนะนำให้นอนตะแคงซ้าย
ประเมินความก้าวหน้าของการคลอด
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก และ FHS
กรณีที่มีการแตกของถุงน้ำคร่ำ ให้สังเกตการมีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
ดูแลให้ได้รับออกซิเจน
หลีกเลี่ยงการให้ยาบรรเทาปวด
หากต้องใช้สูติศาสตร์หัตถการหรือ C/S ควรเตรียมผู้คลอดให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจ
เตรียมอุปกรณ์ในการฟื้นคืนชีพทารกแรกเกิด
ระยะหลังคลอด
ให้การดูแลมารดาหลังคลอดทั่วไป
ช่วยเหลือทารกแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อย
ควบคุมอุณหภูมิร่างกายทารก
ประเมินความพิการหรือความผิดปกติ
ส่งเสริมสัมพันธภาพระหว่างมารดาและทารก
อธิบายแผนการรักษา และเปิดโอกาสให้มารดาได้ระบายความรู้สึกและซักถามข้อสงสัย
เน้นให้เห็นความสำคัญของการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของทารก
1.การแท้ง โดยเฉพาะถ้ามีน้ำคร่ำน้อยตั้งแต่ไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์
2.ทารกมีภาวะ amniotic band syndrome จากการที่มีเยื่อพังผืดรัดติดส่วนของร่างกายทารกกับผนัง amnion ทำให้เกิดความพิการ
3.ทารกในครรภ์ถูกกดเบียด จากการที่มีน้ำคร่ำน้อยมากเป็นเวลานาน ทำให้เกิดผลเสียต่อทารก ที่เรียกว่า potter sequences คือ ทารกมีภาวะปอดแฟบ หน้าตาผิดปกติ(คางเล็ก จมูกแบน) แขนขาหดเกร็ง
4.เพิ่มความเสี่ยงในระยะคลอด เช่น สายสะดือถูกกด cord compression ทำให้เกิด fetal distress มีขี้เทาปนในน้ำคร่ำ
การประเมินและการวินิจฉัย
การตรวจพิเศษ โดยการอัลตราซาว วัดค่า AFI ได้น้อยกว่า 5
การซักประวัติ เพื่อค้นหาปัจจัยส่งเสริมของการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย เช่น ประวัติถุงน้ำคร่ำแตกเป็นเวลานาน ประวัติการตั้งครรภ์เกินกำหนด
การตรวจร่างกาย โดยการตรวจครรภ์ พบขนาดของมดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์ คลำส่วนนำของทารกได้ชัดเจน เสียงหัวใจชัดเจน