Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะอาเจียนไม่สงบ (Hyperemesis gravidarum) - Coggle Diagram
ภาวะอาเจียนไม่สงบ (Hyperemesis gravidarum)
สตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนเล็กน้อยในช่วงเช้า เรียกว่า อาการแพ้ท้อง (Morning sickness)
พยาธิสภาพ
การเกิดภาวะแพ้ท้องอย่างรุนแรง มีการดำเนินเช่นเดียวกับอาการอาเจียนโดยทั่วไป เมื่อมีการกระตุ้นที่ศูนย์ควบคุมการอาเจียน จะส่งประสาทความรู้สึกไปผลักดันสิ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้นออกมา ซึ่งเป็นการตอบสนองของร่างกายที่อยู่ภายนอกอำนาจจิตใจ มีผลต่อมารดาและทารก
สาเหตุ
ระดับของฮอร์โมนที่สร้างจากรก Human chorionic gonadotropin และ estrogen สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
ผลของฮอร์โมน Progesterone ทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าลง
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอ
สภาพจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ไม่ปกติ เช่น สตรีตั้งครรภ์กลัวการคลอดบุตร
ปัจจัยส่งเสริม
อายุน้อย ครรภ์แรก
การตั้งครรภ์แฝด ซึ่งรกใหญ่กว่าปกติ
ครรภ์ไข่ปลาอุก ซึ่งรกเจริญผิดปกติแต่ไม่มีตัวเด็ก
เคยมีประวัติ คลื่นไส้ อาเจียน ในขณะตั้งครรภ์ก่อน
มีประวัติการเจ็บป่วยทางจิต
เป็นสตรีที่มีลักษณะอารมณ์ตึงเครียดมาก่อน
ด้านมารดา
ทางชีวภาพ มีไข้ ขาดน้ำ น้ำหนักตัวลด มีอาการขาดสารอาหาร
ผิวหนัง แห้งแตก ความตึงตัวและความยืดหยุ่นไม่ดี อาจตัวเหลือง
ตาเหลือง ขุ่นลึก มองภาพไม่ชัดเจน
ด้านทารก
ถ้ามารดาอาการไม่รุนแรงรักษาได้ถูกต้องทันที ทารกไม่มีความผิดปกติใดๆ
ถ้ามารดาน้ำหนักลดลงกว่า 5 ปอนด์ ขาดน้ำนานๆ ทารกจะขาดอาหาร เลือดไปเลี้ยงรกน้อยลงทารกจะมีการเจริญเติบโตน้อยลง น้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่าปกติ
อาการและการตรวจพบ
เมื่อมีอาการรุนแรงจะตรวจพบสิ่งต่อไปนี้
1.น้ำหนักตัวลดจากการขาดอาหารและน้ำ ท้องผูก
ภาวะขาดน้ำ ผิวหนังเหี่ยว ซีด เป็นมัน และบางครั้งมีอาการตัวเหลือง
Ketoacidosis
สิ่งตรวจพบจากเลือด ระดับฮีมาโตคริตจะเพิ่มเพราะน้ำเลือดเข้มขึ้น
การตรวจพบอย่างอื่น ในระยะสุดท้ายอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้น ตัวเหลือง
อาการแสดง แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ คือ
อาการไม่รุนแรง
1,1 อาเจียนน้อยกว่า 5 ครั้ง/วัน สามารถทำงานได้ตามปกติ
1.2 ลักษณะอาเจียนไม่มีน้ำหรือเศษอาหาร
1.3 น้ำหนักตัวลดลงเล็กน้อย แต่ไม่มีอาการขาดสารอาหาร
1.4 มารดาสามารถทำกิจวัตรประจำวันได
อาการรุนแรงปานกลาง
2.1 อาเจียนติดต่อกันมากกว่า 5-10 ครั้ง/วัน
2.2 อาเจียนติดต่อกันไม่หยุดภายใน 2-4 ชั่วโมง
2.3 อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
อาการรุนแรงมาก
3.1 อาเจียนมากกว่า 10 ครั้ง/วัน ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ นอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา
3.2 อาเจียนทันทีภายหลังรับประทานอาหาร และอาเจียนติดต่อกันเกิน 4 สัปดาห์
3.3 เกิดการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง
การวินิจฉัย
ประวัติการตั้งครรภ์มีอาการคลื่นไส้
จากการตรวจร่างกาย
ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเลือดพบโซเดียม โปตัสเซียม และคลอไรด์ต่ำ SGOT และ Liver function test สูง, ฮีมาโตคริตสูง, BUN สูง และโปรตีนในเลือดต่ำ
การดูแลรักษา
ให้ดื่มของอุ่นๆ ทันทีที่ตื่นนอน เช่น นมชง โอวัลตินหรือน้ำอุ่น
แนะนำให้รับประทานอาหารแข็งที่ย่อยง่าย เช่น ขนมปังปิ้ง
ให้ยาระงับประสาท หรือยาแก้คลื่นไส้ อาเจียน ที่นิยมใช้ได้แก่ Dimenhydrinate
ป้องกันมิให้ท้องผูก โดยให้ยาระบายอ่อนๆ จำพวกสกัดจากพืช และสวนอุจจาระให้ เมื่อท้องผูก
ให้วิตามินและแร่ธาตุ วิตามินที่สำคัญ ได้แก่ บี 1 บี 6 และบี 12
บันทึกอุณหภูมิ ชีพจร การหายใจ และความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง ตามความจำเป็น
ตรวจปัสสาวะหาความถ่วงจำเพาะ คีโตน คลอไรด์ และโปรตีนทุกวัน
ชั่งน้ำหนักตัวทุกวัน
อยู่ในที่สงบไม่มีผู้มารบกวน ให้ความเห็นอกเห็นใจและดูแลอย่างใกล้ชิด
การวินิจฉัยแยกโรค
โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ (Gastroenteritis)
โรคตับอักเสบ (Hepatitis)
โรคถุงน้ำดีอักเสบ (Cholecystitis)
แผลในกระเพาะอาหาร (Peptic ulcer)
ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy)
ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)