Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ครรภ์แฝดน้ำ (Polyhydramnios) - Coggle Diagram
ครรภ์แฝดน้ำ (Polyhydramnios)
การป้องกัน
โดยทั่วไป สาเหตุที่ทำให้มีน้ำคร่ำมากมักไม่พบชัดเจน ดังนั้นส่วนใหญ่จึงไม่สามารถป้อง กันภาวะนี้ได้ แต่หากมีปัจจัยเสี่ยงชัดเจน เช่น มารดาเป็นเบาหวาน การรักษา ควบคุมปัจจัยเสี่ยง ก็จะสามารถป้องกันภาวะน้ำคร่ำมากได้
หมายถึง
ภาวะตั้งครรภ์ที่มีจำนวนน้ำคร่ำมากผิดปกติ AFI เกิน 24-25 ซม ถ้าวัดปริมาตรได้โดยตรงจะถือที่มากกว่า 2,000 มล. ตอนครรภ์ครบกำหนด
จำนวนน้ำคร่ำที่มากมักจะค่อยๆเพิ่มขึ้น เรียกว่า chronic hydramnios ลักษณะของน้ำคร่ำจะเหมือนกับครรภ์ปกติ
ถ้าเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 วัน เรียกว่า acute hydramnios ลักษณะของน้ำคร่ำจะเหมือนกับครรภ์ปกติ
ดัชนีปริมาณน้ำคร่ำ(amniotic fluid index, AFI)
ผลรวมของค่าที่ได้จากการวัดแอ่งน้ำคร่ำที่ลึกที่สุดจากการแบ่งหน้าท้องมารดาเป็น 4 ส่วน เท่า ๆ กันโดยอาศัยแนวของสะดือและ linea nigra
ถ้าน้อยกว่า 5 ซม.ถือว่ามีภาวะน้ำคร่ำน้อย
ถ้ามากกว่า 25 ซม.ถือว่าเป็นครรภ์แฝดน้ำ
การรักษา
ในกรณีที่ปริมาณน้ำคร่ำไม่มาก และตรวจไม่พบความผิดปกติของทารก
การรักษามักเป็นแบบรักษาประคับประคองตามอาการ
ให้ควบคุมน้ำหนัก
ควบคุมอาหาร
ให้พักผ่อนให้มาก
หากมีปริมาณน้ำคร่ำมากจนมีผลต่อการหายใจของมารดา
ให้ยาลดการสร้างน้ำคร่ำ เช่น ยากลุ่ม Indomethacin
ให้ยาป้องกันการคลอดก่อนกำหนด
รักษา ควบคุม โรคเบาหวาน
การดูดน้ำคร่ำออกเพื่อลดปริมาณน้ำคร่ำ ซึ่งจะช่วยให้มารดาสามารถหายใจได้สะดวกขึ้น
หากสงสัยทารกมีความผิดปกติ
อาจต้องมีการเจาะน้ำคร่ำ เพื่อตรวจโครโมโซมของทารกด้วย เพื่อช่วยเป็นแนวทางการรักษา
ผลกระทบต่อการตั้งครรภ์
ผลกระทบต่อมารดา
สายสะดือย้อย
มารดาหายใจลำบาก
คลอดก่อนกำหนด
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
เป็นต้น
ผลกระทบต่อทารก
อัตราตายปริกำเนิด จะเพิ่มขึ้น 2-5 เท่า ในรายที่น้ำคร่ำเยอะโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะในรายที่ทารกตัวโต
พยาธิสรีรวิทยา
ความสมดุลของน้ำคร่ำสัมพันธ์กับปริมาณของเหลวที่เข้าและออกจากถุงน้ำคร่ำ จะแตกต่างกันตามช่วงอายุครรภ์ ในช่วงหลังของการตั้งครรภ์จะสัมพันธ์กับปริมาณปัสสาวะของทารก การสร้างของเหลวจากปอด การกลืน และการดูดซึมผ่านทางเนื้อเยื่อของทารก ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ ในช่วงครึ่งหลังน้ำคร่ำจะมาจากปัสสาวะร้อยละ 30 ของน้ำหนักตัว จากการกลืน ร้อยละ 20-25 และสร้างจากปอด ร้อยละ 10 ดังนั้นความผิดปกติของปริมาณน้ำคร่ำจะสัมพันธ์กับความผิดปกติของสมดุลจะมากหรือน้อยขึ้นกับความรุนแรงที่เกิดขึ้น
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยจากประวัติ
การโตเร็วของมดลูก อาการผิดปกติที่เกิดจากการกดเบียด หรือ ผลจากการตึงตัวของมดลูกจาก over distension ต่ออวัยวะใกล้เคียงเช่น ผลต่อระบบการหายใจทำให้หายใจลำบาก หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ ต้องนอนหนุนหมอนหลายใบ หรือ อยู่ในท่า upright เป็นต้น
การวินิจฉัยจากการตรวจร่างกาย
ขนาดมดลูกใหญ่กว่าอายุครรภ์ ร่วมกับการที่คลำส่วนของทารกในครรภ์ได้ยาก ฟังเสียงหัวใจทารกได้ยาก
การวินิจฉัยด้วยอัลตราซาวด์
การวัดแอ่งที่ใหญ่ที่สุด (SDP) และ AFI โดยมีเกณฑ์วินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรง ควรตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ที่สัมพันธ์กับภาวะครรภ์แฝดน้ำ
วินิจฉัยอื่น ตรวจคัดกรองเบาหวานในช่วงตั้งครรภ์ (glucose challenge test) ตรวจหาภาวะเลือดออกของทารกในครรภ์เข้าไปสู่กระแสเลือดแม่ (fetomaternal hemorrhage) ตรวจหาสาเหตุของภาวะซีด
สาเหตุ
สาเหตุที่เกี่ยวกับทารก
ความพิการของทารก
ความผิดปกติอื่น ๆ เช่น trisomy 18, ทารกบวมน้ำ (hydrops fetalis)
ครรภ์แฝด
สาเหตุที่เกี่ยวกับมารดา
มารดาเป็นเบาหวาน
สาเหตุที่เกี่ยวกับรก
เนื้องอกของรก chorioangioma
ไม่ทราบสาเหตุ
อาจเป็นความแปรปรวนของครรภ์ปกติ