Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลเด็กเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล - Coggle Diagram
การดูแลเด็กเมื่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
ชนิดของการเจ็บป่วย
Chronic illness การเจ็บป่วยเรื้อรัง
เป็นการเจ็บป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างถาวร มีความพิการหลงเหลืออยู่ ไม่สามารถกลับสู่ภาวะปกติ
Crisis:ภาวะเจ็บป่วยวิกฤต
เป็นการเจ็บป่วยที่มีความรุนแรง จากการสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะสำคัญที่เกิดขึ้นอย่าง เฉียบพลันและมีการดำเนินโรคที่ไม่แน่นอน ทำให้มีโอกาส เกิดภาวะแทรกซ้อนและสูญเสียชีวิต
Acute illness การเจ็บป่วยเฉียบพลัน คือ การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเร็ว อาการรุนแรงพอที่จะจำกัดกิจกรรมหรือต้องการการรักษาทางยา และเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น
การเจ็บป่วยไม่รุนแรง เด็กมักไม่แสดงปฏิกิริยาด้านจิตใจมากนัก เช่น ร้องไห้ กวน
การเจ็บป่วยรุนแรง เด็กจะมีปฏิกิริยาด้านจิตใจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอารมณ์ อุปนิสัย อายุ ระดับพัฒนาการ อวัยวะที่เกิดความเจ็บป่วย
Death & Dying: ความตายและภาวะใกล้ตาย
Dying (ภาวะใกล้ตาย ) เป็นภาวะเจ็บป่วยที่สิ้นหวังจะคืนสู่สภาพปกติหรือหายจากโรค
Death (ตาย): การสิ้นสุดของชีวิต แสดงออกโดยหัวใจหยุดเต้นและหยุดหายใจ อวัยวะต่างๆของร่างกายทั้งหมดหยุดทำงานอย่างถาวร
การพยาบาลเด็กป่วยเฉียบพลันและระยะวิกฤติ
การพยาบาลเด็กป่วยเฉียบพลัน
ความต้องการบริการสุขภาพ
บิดามารดาต้องการคำยืนยันเกี่ยวกับความถูกต้องในการดูแลบุตร ต้องการข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยและวิธีการดู
การรับรู้และการตอบสนองของบิดามารดาเกี่ยวกับการเจ็บป่วยเฉียบพลัน
-บิดามารดารับรู้ว่าการเจ็บป่วยเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็ก
-มารดาติดตามอาการป่วยโดยการประเมินพฤติกรรมเด็กที่เปลี่ยนแปลง
-อาการป่วยที่ทำให้มารดาวิตกกังวลคือ ไอติดต่อกันหายวัน ไข้สูง อาเจียน ปวดท้องรุนแรง
-บิดามารดาจะพาเด็กมาพบแพทย์เมื่อเด็กมีอาการไอ และการเปลี่ยนแปลงของการหายใจ
การพยาบาลเด็กระยะวิกฤติ
ภาวะเจ็บป่วยวิกฤตเป็นการเจ็บป่วยที่มีความรุนแรง จากการสูญเสียหน้าที่ของอวัยวะสำคัญที่เกิดขึ้นอย่าง เฉียบพลันและมีการดำเนินโรคที่ไม่แน่นอน ทำให้มีโอกาส เกิดภาวะแทรกซ้อนและสูญเสียชีวิต
ปฏิกิริยาของเด็กและพ่อแม่ต่อภาวะเด็กป่วยวิกฤต
พฤติกรรมถดถอย (Regression)
โกรธและก้าวร้าว (Anger and Aggression)
แยกตัวและสิ้นหวัง (Detachment and Despair)
ปฏิเสธ (Denial)
วิตกกังวลจากการแยกจาก (Separate anxiety)
กลุ่มอาการไอซียู จะมีอาการทางจิตชั่วคราว (ICU syndrome)
อื่นๆ เช่น ร้องไห้ กระสับกระส่าย เหนื่อยล้า
นอนหลับไม่เพียงพอ (Sleep deprivation)
การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่เน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
ขั้นที่ 3 จัดโปรแกรมฝึกหัดกิจกรรมการดูแล ผู้ป่วยของครอบครัว ตามขีดความสามารถของแต่ละ ครอบครัว เช่น การเช็ดตัวผู้ป่วย การจัดสิ่งแวดล้อมให้สะอาด และการสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
ขั้นที่ 4 การให้ความสำคัญกับการกระตุ้นและ การอำนวยความสะดวกแก่ ครอบครัว เป็นการแสดงน้ำใจไมตรี ระหว่างสมาชิกในครอบครัว เพื่อให้กำลังคลายเครียด หรืออาจแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกัน
ขั้นที่ 2 พยาบาลประจำแผนกผู้ป่วยหนักได้ จัดทำเอกสารแนะนำครอบครัวผู้ป่วยซึ่งการเริ่มลักษณะนี้ช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นและความรอบคอบในการตัดสินใจในสิ่งต่างๆ ทั้งของครอบครัว
ขั้นที่5 การให้ความสำคัญต่อความเป็นครอบครัวที่แท้จริง สมาชิกแต่ละคนในครอบครัวมีความแตกต่างในเรื่องความแข็งแรงของร่างกาย ความคิดความวิตกกังวล อารมณ์ และแรงบันดาลใจ
ขั้นที่ 1 ครอบครัวควรได้ระบายความเศร้าผ่าน การใกล้ชิดผู้ป่วย เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงอยู่ใน ระยะวิกฤต
ปฏิกิริยาตอบสนองของเด็กที่ป่วยและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
1 Separation anxietyความวิตกกังวลเนื่องจากการแยกจาก
พฤติกรรมที่พบในวัยเรียน เด็กวัยนี้เผชิญความเครียดได้ดีกว่าเด็กเล็ก
พฤติกรรมที่พบในวัยรุ่น การแยกจากเพื่อนเป็นสิ่งที่คุกคาม เนื่องจากเสียสถานะและการยอมรับในกลุ่มเพื่อน
พฤติกรรมที่พบในเด็กเล็กวัยเตาะแตะและวัยก่อนเรียน
ระยะหมดหวัง(Despair) เด็กหยุดร้องไห้ มีความตื่นตัวน้อยลง ไม่สนใจอาหารและการเล่น เด็กจะเศร้า เหงา แยกตัว
ระยะปฏิเสธ(Denial or Detachment) เกิดขึ้นเมื่อเด็กแยกจากครอบครัวเป็นเวลานานเด็กดูเหมือนจะปรับตัวได้
ระยะประท้วง(Protest) เด็กจะร้องไห้เสียงดัง กรีดร้องเรียกมารดาโดยไม่สนใจผู้อื่น
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง: ทฤษฎีความผูกพัน
2 Pain ความเจ็บปวด
กลไกและสรีรวิทยาการเกิดความปวด
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความปวด
ทฤษฎีอารมณ์ (Affect Theory)
ทฤษฎีแบบแผน(Pattern Theory)
ทฤษฎีเฉพาะ(Specificity Theory)
ทฤษฎีประตูควบคุมความปวด(Gate-Control Theory)
ชนิดของความปวดที่พบบ่อยในเด็ก
3 Stress and Copingความเครียดและการเผชิญความเครียด
Stress : ความเครียด
เป็นการที่บุคคลรับรู้ว่าสัมพันธภาพระหว่างตนเองกับสิ่งแวดล้อมนั้น
เปลี่ยนแปลงไปในทางที่กำลังจะเกิดอันตรายขึ้นกับความผาสุกหรือสภาวะสมดุลของตนเอง
Coping : การเผชิญความเครียด
การที่บุคคลพยายามใช้สติปัญญาและการแสดงออกทางพฤติกรรมในการลดหรือ เอาชนะปัจจัยหรือสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดความเครียด หรืออิทธิพลจากสิ่งเร้านั้นโดยจัดการกับทั้งปัญหาหรือสาเหตุ และสภาวะอารมณ์ของตนเอง
การพยาบาลเด็กป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย
การพยาบาลเด็กป่วยระยะสุดท้าย
2.ระยะโกรธ (Anger)
โกรธตัวเอง บุคคลรอบข้าง โยนความผิด กล่าวโทษคนอื่นหงุดหงิด แสดงอาการไม่พอใจ หรืออาจนิ่งเฉย และอาจมีอารมณ์อื่นร่วมด้วย เช่น คับข้องใจ กลัว ช่วยเหลือโดยการรับฟัง
3.ระยะต่อรอง (Bargaining)
จะเริ่มยอมรับและตระหนักถึงความจริงที่หลีกหนีไม่ได้ แต่จะขอต่อรองยืดเวลาตายออกไป ขอเวลาตั้งหลักหรือเวลาทำใจ และหาที่พึ่งทางใจ พึ่งไสยศาสตร์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ระยะตกใจและปฏิเสธ (Shock & denial)
-มักเริ่มด้วยตกใจ ตัวชา ไม่เชื่อกับสิ่งที่ได้รับทราบ งง พูดไม่ออก ทำอะไรไม่ถูก ใจสั่น อ่อนแรง ร้อนวูบวาบ ตัวชา
-เมื่อมีสติจะรู้สึกเป็นทุกข์เกินกว่าจะทำอะไรได้ จึงปฏิเสธความจริง ลืมเรื่องที่ได้รับทราบไว้ก่อน ช่วยเหลือระยะนี้โดยการให้เวลา
4.ระยะซึมเศร้า (Depression)
เกิดจากความเสียใจ ทุกข์กับสิ่งต่างๆ ที่ต้องสูญเสียจะแสดงอาการเสียใจ ร้องไห้ ซึม ไม่สนใจดูแลตนเอง หมดหวัง ชอบอยู่คนเดียวเงียบๆ รู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยว
5.ระยะยอมรับ (Acceptance)
เป็นการยอมรับความจริงในธรรมชาติแห่งชีวิตไม่ใช่ยอมรับข่าวว่าเป็นจริง แต่เป็นการยอมรับการสูญเสียโดยสมบูรณ์ ไม่เศร้าโศกหรือกลัวสิ่งใดอีก มีบางคนอาจถึงระยะยอมรับก็ทุกข์ทรมานกับระยะซึมเศร้า
เป้าหมายการดูแลเมื่อเด็กเข้าสู่ระยะสุดท้ายของชีวิต
บรรเทาความทุกข์ต่างๆ จากการเจ็บป่วย จัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนตัว เอื้อต่อการแสดงความรัก ห่วงใยระหว่างเด็กพ่อแม่และญาติ กิจกรรมการรักษาพยาบาลไม่ควรก่อหรือเพิ่มเติมความทุกข์ทรมาน
การปรับเปลี่ยนวิธีการบำบัด แทนที่จะมุ่งเน้นยืดชีวิตให้ยาวนานขึ้น หรือบำบัดโรคให้หาย เป็นการดูแลที่คงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ได้รับการดูแลเยี่ยงบุคคลที่ดีที่สุด
การดูแลที่เหมาะสม
3) การดูแลพ่อแม่ เมื่อลูกจะต้องเสียชีวิต พ่อแม่จะมีความทุกข์มากมาย การสูญเสียลูกเป็นการสูญเสียสิ่งที่เป็นที่รักยิ่ง สูญเสียความหวัง ความใฝ่ฝันในอนาคต
4) การดูแลพี่น้องเด็ก ต้องคำนึงถึงพัฒนาการของเด็ก ความสัมพันธ์กับผู้ป่วย พี่น้องเด็กอาจรู้สึกโดดเดี่ยว โกรธ น้อยใจที่ถูกทอดทิ้ง แบบแผนการดำเนินชีวิตพ่อแม่ที่เปลี่ยนไป
2)การดูแลด้านจิตใจ
ทำให้เด็กรู้สึกสบาย โดยการอุ้ม กอด สัมผัส ให้อยู่กับสิ่งของ คนที่คุ้นเคย ให้เด็กได้แสดงความรู้สึกเกี่ยวกับความตาย เด็กมักระลึกถึงกิจกรรมหรือวันสำคัญที่มีกับพ่อแม่ ไม่อยากให้พ่อแม่ลืมเขา
5) การให้ข้อมูลข่าวสาร
ผู้ที่แจ้งข่าวร้าย ควรเป็นผู้ที่รับผิดชอบดูแลเด็ก มีความใกล้ชิด มีความสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กและพ่อแม่ ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล
1) การดูแลด้านร่างกาย
จัดการกับความเจ็บปวด อาการที่ไม่สุขสบายต่างๆ ในระยะสุดท้ายของชีวิต เช่น การช่วยหายใจ การให้อาหารและน้ำ การดูแลการขับถ่าย
6) การดูแลหลังเด็กเสียชีวิต
พยาบาลควรยืนนิ่งสงบเคารพสักระยะหนึ่ง แสดงความเสียใจกับพ่อแม่ให้เวลากับพ่อแม่อยู่กับศพเด็ก แล้วจึงค่อยทำความสะอาดและจัดสภาพศพให้เหมือนคนนอนหลับ
ภาพลักษณ์ Body image
ความรู้สึกรับรู้ของบุคคลต่อร่างกายของตนเอง รวมทั้งทัศนคติต่อบุคลิกภาพ ความสามารถของตนเอง
องค์ประกอบของภาพลักษณ์
องค์ประกอบเชิงตระหนักรู้ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นหลังจากการสังเกตจนมีการรับรู้ สามารถตระหนักและได้รับความรู้อันเกิดขึ้นจากการสังเกตในสิ่งต่างๆ
องค์ประกอบเชิงความรู้สึก เมื่อได้รับรู้ เรียนรู้ ภายใต้ความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจของแต่ละบุคคล สามารถที่จะยอมรับหรือไม่ยอมรับ
องค์ประกอบเชิงการกระทำ การนำไปสู่แนวทางปฏิบัติ โดยมีเจตนาหรือมีเป้าหมายที่เกิดจากผลการเรียนรู้ การรับรู้ผ่านความรู้สึก ให้เกิดเป็นผลในการสร้างภาพลักษณ์ต่อไป
องค์ประกอบเชิงการรับรู้ ภาพลักษณ์ที่แต่ละคนสร้างจินตภาพในใจผ่านการรับรู้
ภาพลักษณ์ของแต่ละช่วงวัย
วัยก่อนเรียน เด็กมีความสนใจและรับรู้เกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจน บิดามารดาและเพื่อนมีอิทธิพลต่อเด็กวัยนี้อย่างมากที่ให้เด็กรับรู้ว่าตัวเองเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย
วัยเรียน
เด็กมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์และสังคมอย่างมากและเพื่อนมีส่วนเกี่ยวข้องในภาพลักษณ์ของเด็กวัยนี้ เด็กอายุ 7 ปี จะเริ่มมีบุคลิกลักษณะเป็นของตนเอง
วัยหัดเดิน
ระยะการขับถ่ายทำให้เริ่มมีการควบคุมการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะทำให้เป็นภาพลักษณ์ของเด็กวัยนี้ ซึ่งบิดามารดาและผู้เลี้ยงดูจะต้องฝึกหัดการควบคุมการขับถ่ายของเด็กให้เด็กเกิดความมั่นใจต่อไป
วัยรุ่น
มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์และสังคมอย่างรวดเร็วมีการพัฒนาการทางเพศมีผลต่อภาพลักษณ์ของตนเองอย่างมาก เช่น อ้วนมากเกินไป ผอมเกินไป ไม่สวย เป็นต้น
การพยาบาลเด็กป่วยเรื้อรัง
วัยก่อนเรียน
จะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เมื่อเจ็บป่วยทำให้ขาดโอกาสในการสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม การเรียนรู้สิ่งแวดล้อม และพัฒนาความมั่นใจต่างๆ ขาดทักษะทางสังคมที่โรงเรียน
วัยเตาะแตะ
จะพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง การควบคุมตนเอง เรียนรู้ทักษะ
ทางด้านภาษา
เมื่อเจ็บป่วยจะถูกจำกัดกิจวัตรประจำวัน และขัดขวางทักษะต่างๆ อาจมีผลให้เด็กเกิดพฤติกรรมถดถอยได้
วัยเรียน
เด็กเรียนรู้สิ่งแวดล้อมและความอิสระ การเจ็บป่วยเรื้อรังอาจทำให้เด็กขาดเรียน ทำให้รู้สึกต่ำต้อย
วัยทารก
สร้างความไว้วางใจและเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัส
การเจ็บป่วยเรื้อรังทำให้การทำกิจวัตรประจำวันไม่สม่ำเสมอ ขาดความสุขสบายทางกาย อันจะนำไปสู่การพัฒนาความไม่ไว้วางใจได้
วัยรุ่น
เด็กจะสร้างความเป็นเอกลักษณ์แห่งตน สร้างระบบความเชื่อและค่านิยมของตนเอง
เมื่อเจ็บป่วยและอยู่โรงพยาบาล ทำให้หยุดเรียน ความเครียดต่างๆ อาจทำให้เด็กวิตกกังวล กลัว และมีความรู้สึกสูญเสีย ความกังวลเกิดจากการสูญเสียความสมบูรณ์ของร่างกาย
การส่งเสริมการเผชิญความเครียดในการดูแลเด็กที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
พยาบาลจะต้องสังเกตปฏิกิริยาต่อความเจ็บป่วย พฤติกรรมการปรับตัว ความเข้าใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วย เพื่อให้การสนับสนุนการเผชิญความเครียดด้วยการคิดเชิงบวก มีความสามารถและร่วมมือ
Death & Dying
ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความตายของเด็กตามขั้นพัฒนาการ
วัยเตาะแตะ
เด็กจะมีความวิตกกังวลกับการพลัดพรากจากบิดามารดาหรือคนคุ้นเคย กลัวความเจ็บปวด ความไม่สุขสบาย และการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมมากกว่า
วัยก่อนเรียน
พัฒนาการด้านสติปัญญาและจิตสังคมของเด็กวัยก่อนเรียนมีผลต่อแนวความคิดเกี่ยวกับความตาย
วัยทารก
ยังไม่มีมโนทัศน์ของความตาย เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถแยกตนเองออกจากผู้อื่นได้
วัยเรียน จะเข้าใจเหตุและผล ยึดตนเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง และมีการรับรู้เกี่ยวกับเวลาดีขึ้น พัฒนาการทางสติปัญญาที่สูงขึ้น ทำให้เข้าใจการอธิบายที่เป็นเหตุเป็นผลและเรียนรู้คำต่างๆ ได้ดีขึ้น
วัยรุ่น
จะมีความเข้าใจความตายเหมือนผู้ใหญ่ เข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับความตาย ว่าเป็นการสิ้นสุดของชีวิต เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกช่วงชีวิตของมนุษย์มีปฏิกิริยา ทำให้เด็กมีคำถามเกี่ยวกับความตายและเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความหมายหลังตาย
การพยาบาลเด็กและวัยรุ่นในภาวะใกล้ตาย
-การสื่อสารกับเด็กและครอบครัว
-การตอบสนองความเชื่อและการปฏิบัติตามความเชื่อของครอบครัว
-การบรรเทาความปวด ความทุกข์ทรมานทางกายของผู้ป่วย(Pain Control)
-การดูแลผู้ป่วยในวาระสุดท้าย(Hospice Care)
การพยาบาลครอบครัวของเด็กที่อยู่ในภาวะใกล้ตาย
-ให้บิดามารดามีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และมีส่วนร่วมในการดูแลเด็กให้มากเท่าที่จะทำได้
-ช่วยเหลือบิดามารดาและครอบครัวให้สามารถเผชิญกับความเศร้าโศกเสียใจ
นิยามนิยามของการดูแลรักษาแบบประคับประคอง การกระทำใดๆ ให้คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น แม้โรคจะลุกลามเกินเยียวยา
แต่เราสามารถช่วยผู้ป่วยและญาติให้รู้สึกสบายขึ้น ทุกข์น้อยลงได้
Family Center Care
การดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
เป็นแนวคิดการดูแลสุขภาพเด็กร่วมกันระหว่างเด็ก ครอบครัวและทีมสุขภาพ
โดยตระหนักว่าครอบครัวเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเด็ก มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการร่วมมือกันเพื่อตอบสนองความต้องการของเด็กทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
เสริมสร้างพลังอำนาจให้แก่ครอบครัว
องค์ประกอบของการดูแลโดยให้ครอบครัวเป็นศูนย์กลาง
Collaboration การร่วมมือกันระหว่างเด็ก ครอบครัว และบุคลากรทางสุขภาพ
Information Sharing การสื่อสารและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างครอบครัว และบุคลากรทางสุขภาพ
Family Strengths การดูแลที่ตระหนักในความสำคัญของครอบครัว ค้นหาจุดแข็งของครอบครัว
Respect การดูแลที่ให้เกียรติและยอมรับความแตกต่างระหว่างครอบครัว เช่น ศาสนา การศึกษา ความต้องการ การเผชิญความเครียด
Empowerment การเสริมสร้างศักยภาพและแหล่งประโยชน์ของครอบครัว
Support การตอบสนองความต้องการของเด็กและครอบครัว
Flexibility มีความยืดหยุ่น
Choice ให้ทางเลือกและโอกาสตัดสินใจ