Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Twin Pregnancy - Coggle Diagram
Twin
Pregnancy
ชนิดของการตั้งครรภ์แฝด
Monozygotic twins pregnancy
แฝดที่เกิดจากไข่ใบเดียวกันหรือแฝดเหมือน เป็นครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิแล้วใบเดียว ทารกแฝดจะมีรูปร่างหน้าตา เพศ ลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกัน
Dizygotic twins pregnancy
แฝดที่เกิดจากไข่คนละใบ เป็นครรภ์แฝดที่เกิดจากไข่ที่ปฏิสนธิ 2 ใบ ทารกแฝดชนิดนี้จะมีรูปร่างหน้าตา ลักษณะทางพันธุกรรมต่างกัน ส่วนเพศอาจเหมือนหรือต่างกันก็ได้
ภาวะแทรกซ้อนของหญิงตั้งครรภ์
ภาวะความดันโลหิตสูง
เสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ
เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอื่น ๆ กับมารดาและทารกในครรภ์
ภาวะโลหิตจาง
ส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียและอ่อนแรงลง
โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์
มากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ
ภาวะตกเลือด
ทั้งระยะก่อนคลอดและหลังคลอด
จำเป็นต้องคลอดโดยใช้เครื่องมือช่วยคลอด
อาการแพ้ท้องรุนแรงกว่าปกติ
คลื่อนไส้ อาเจียน
หายใจลำบาก
แสบร้อนกลางอก
ครรภ์แฝดน้ำ
มารดาตั้งครรภ์แฝดมีโอกาสเสี่ยงเสียชีวิตได้มากกว่าการตั้งครรภ์ปกติถึง 2 เท่า
ภาวะซึมเศร้าหลังคลอด
การวินิจฉัย
การตรวจที่แม่นยำที่สุด
การตรวจอัลตราซาวด์
ซักถามประวัติทางการแพทย์กับผู้ป่วย
ตรวจหาค่า AFP (Alphafetoprotein)
การตรวจร่างกาย ตรวจครรภ์
ขนาดมดลูกโตกว่าอายุครรภ์
ตรวจได้ส่วนต่างๆของทารก มากผิดปกติ
ฟังได้ยินเสียงหัวใจทารกมากกว่า 1 ตำแหน่ง
ผลกระทบต่อมารดาและทารก
ต่อมารดา
การคลอดก่อนกำหนด พบร้อยละ 60 ของครรภ์แฝดสอง
ภาวะรกเกาะต่ำ หรือภาวะรกลอกตัวก่อนกำหนด
เกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด เนื่องจากมี Uterine Overdistention
โอกาสผ่าตัดคลอดสูงขึ้น
จากการที่ทารกไม่ใช่ท่าศีรษะ หรือ ส่วนนำของทารกขัดกันทำให้ลงสู่อุ้งเชิงกรานไม่ได้
ต่อทารก
Twin to Twin Transfusion Syndrome : TT TS
เกิดจากการมีการเชื่อมต่อและถ่ายเทเลือดที่ไม่สมดุลระหว่างทารกทั้งสอง ทารกที่เสียเลือดให้อีกคน จะเกิดภาวะโลหิตจาง โตช้าในครรภ์ น้ำคร่ำน้อย ส่วนทารกที่ได้รับเลือดจะเกิด ภาวะหัวใจล้มเหลว บวมน้ำ น้ำคร่ำมาก
คลอดก่อนกำหนด หรือ สายสะดือย้อย
สาเหตุของการเกิดการตั้งครรภ์แฝด
กรรมพันธุ์
คนในครอบครัวมีประวัติการตั้งครรภ์แฝด
ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ทางฝ่ายคุณแม่มากกว่าทางฝ่ายคุณพ่อ
เสี่ยงต่อการแท้งบุตรและเสียบุตรในครรภ์
เชื้อชาติ
คนผิวเหลือง เช่น คนไทย จะมีโอกาสเกิดครรภ์แฝดได้น้อยกว่าคนผิวขาวและผิวดำ
ชนชาติแอฟริกันจะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้มากกว่าคนผิวขาว
อายุของคุณแม่ในขณะตั้งครรภ์
อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้มากขึ้น
จำนวนการตั้งครรภ์ :
การเคยคลอดบุตรมาแล้วหลายคน
เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์แฝดได้มากขึ้น
หรือเป็นครรภ์หลัง หรือมารดาตัวใหญ่
การใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
การทำเด็กหลอดแก้ว
การใช้ยากระตุ้นให้ไข่สุกและตกไข่ครั้งละหลาย ๆ ใบ
การพยาบาล
มารดาไม่สุขสบายแน่นท้อง หายใจอึดอัดเนื่องจากกระบังลมมารดาครรภ์ แฝดถูกเบียด
จัดให้มารดานอนท่านอนตะแคงซ้าย หรือนอนหัวสูงเล็กน้อย
ประเมินอัตราการเต้นของหัวใจทารกทุก 30 นาที
ประเมินภาวะ fetal distress
ดูแลให้ O2 mask with bag 8-10 ลิตร/นาที
สังเกตอาการน้ำเดินและเฝ้าระวังภาวะสายสะดือพลัดต่ำ
ทารกมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนในระยะคลอด เนื่องจากครรภ์แฝดเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
ตรวจและบันทึก อัตราการเต้นของหัวใจทารกอย่างสม่ำเสมอทุก 30 นาทีประเมินการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อเฝ้าระวังการคลอดก่อนกำหนด
จัดท่าให้มารดานอนตะแคงซ้ายเพื่อให้เลือดมาเลี้ยงมดลูกและบริเวณรกมากขึ้นเพื่อป้องกันทารกในครรภ์เกิดภาวะขาดออกซิเจน
อธิบายให้มารดาเข้าใจแผนการรักษาพยาบาลที่จะต้องลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาระงับปวดในการคลอดเพราะ จะมีผลกดศูนย์การหายใจของทารก
แนะนำให้หายใจเข้าลึกๆยาวๆแล้วหายใจออกทางปากช้าๆ เมื่อมดลูกเริ่มหดรัดตัว เมื่อมดลูกคลายตัวให้หายใจธรรมดา
ประเมินสภาพทารกในครรภ์ด้วยเครื่อง Fetal monitor ถ้าพบผลผิดปกติรายงานแพทย์ทราบทันที
จัดเตรียมความพร้อมโดยให้การคลอดดำเนินไปโดยมารดาและทารกได้รับความปลอดภัย โดยเตรียมอุปกรณ์และทีมช่วยฟื้นคืนชีพทารกตลอดจนกุมารแพทย์ให้พร้อมตลอดเวลา
ส่งเสริมให้สามีและญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลมารดาในระยะเจ็บครรภ์คลอด โดยแนะนำให้ช่วยนวดหลังเพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวด และอยู่เป็นกำลังใจจนกว่าจะย้ายเข้าห้องคลอด
มารดาเสี่ยงต่อการตกเลือดในระยะคลอดและหลัง คลอดเนื่องจากมดลูกหดรัดตัวไม่ดี
ฝ้าระวังสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิดและสม่ำเสมอเช่น การหดรัดตัวของมดลูก การสูญเสียเลือด สัญญาณชีพ
ตรวจสอบความผิดปกติต่างๆได้แก่ การหดรัดตัวของมดลูก และการแตกของถุงน้ำคร่ำประเมินความก้าวหน้าของการคลอดในกรณีที่มีการคลอดทางช่องคลอดตรวจสอบการคลอด และการแตกของถุงน้ำคร่ำทารกคนที่สองอย่างใกล้ชิดและระมัดระวัง
ทำคลอดรกโดยวิธี Control cord tractionและให้ยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกคือ Syntocinon 10 ยูนิต ตามแผนการรักษาเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการช่วยเหลือภาวะตกเลือดให้พร้อมใช้งานได้ตลอด เวลา
ประเมินการเสียเลือดของมารดาหลังคลอดจากแผลฝีเย็บและช่องคลอด หากพบว่ามีการเสียเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 500 CC. ให้รายงานแพทย์
ประเมินการหดรัดตัวของมดลูก หากไม่พบว่ามดลูกหดรัดตัวเป็นก้อนแข็ง ดูแลคลึงมดลูก พร้อมกับการไล่ก่อนเลือดออกจากโพรงมดลูกออกให้หมดเพื่อให้มดลูกสามารถหดรัดตัวได้ดี
แนะนำมารดาสังเกตการหดรัดตัวของมดลูกและสอนการคลึงมดลูกเพื่อกระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูกติดตามสัญญาณชีพเพื่อประเมินภาวะ shock
ดูแลกระเพาะปัสสาวะให้ว่างโดยการกระตุ้นให้มารดาปัสสาวะบ่อยๆ ไม่กลั้นปัสสาวะ เพื่อลดการขัดขวางการหดรัดตัวของมดลูก หากไม่สามารถปัสสาวะได้เองให้สวนปัสสาวะให้
อาการแสดงของการตั้งครรภ์แฝด
น้ำหนักขึ้น
ในช่วงไตรมาสแรก
จากปริมาณเลือดที่เพิ่มขึ้นและขนาดมดลูก
สิ้นสุดไตรมาสที่สอง
มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นสิบห้าถึงยี่สิบห้าปอนด์
ซึ่งตั้งครรภ์ปกติมักมีน้ำหนักขึ้นสิบถึงยี่สิบปอนด์
วัดขนาดครรภ์ได้ใหญ่กว่าอายุครรภ์
อาการแพ้ท้องที่รุนแรง
รู้สึกว่าลูกดิ้นได้เร็วขึ้น
ค่า AFP (Alphafetoprotein) ที่สูงกว่าปกติ
การวัดค่าโปรตีนที่หลั่งจากตับของทารก
เหนื่อยมากเป็นพิเศษซึ่งไม่สัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ
ผลการตรวจร่างกาย หรือการตรวจพิเศษ
การตรวจร่างกาย
ขนาดมดลูกโตกว่าอายุครรภ์จาก LMP (Size > Date)
คลำพบ Ballottement ของศีรษะได้มากกว่า 1 ตำแหน่ง
คลำได้ small part มากกว่าปกติ
ยังคลำทารกได้ที่มดลูก หลังจากที่ทารกคนหนึ่งคลอดแล้ว
ฟังเสียงหัวใจทารกได้ 2 ตำแหน่งซึ่งมีช่วงอัตราการเต้นของหัวใจต่างกันชัดเจน
FHS ห่างกันอย่างน้อย 20 bpm
การตรวจพิเศษ
การอัลตราซาวน์ (Ultrasonography)
การประเมินรกและถุงน้ำคร่ำ (Chorionicity and amnionicity)
1.หากพบว่าการตั้งครรภ์เป็นชนิด Monochorion monoamnion จะต้องมีการติดตามเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนอย่างใกล้ชิด
2.แม่นยำที่สุดหากตรวจในไตรมาสแรกหรือต้นไตรมาสที่ 2
การประเมินอายุครรภ์
ระยะแรกของการตั้งครรภ์
คำนวณได้จากค่าเฉลี่ยของ Crown-rump length (CRL)
มีความแม่นยำเหมือนครรภ์เดี่ยว
ระยะหลังของการตั้งครรภ์
หลังจาก 28-30 สัปดาห์ Biparietal diameter (BPD) และ Abdominal circumference (AC) จะเจริญช้ากว่าในครรภ์เดี่ยว
Femur length (FL) จะเจริญได้ใกล้เคียงครรภ์เดี่ยว
การตรวจติดตามการเจริญเติบโตของทารก
การติดตามการเจริญของทารกจะใช้ค่ามาตรฐานของ FL และ AC ของทารกในครรภ์แฝดมาเปรียบเทียบ
โดยประเมินเป็นอัตราส่วน FL:AC เนื่องจากจะเป็นอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นมากกว่าครรภ์เดี่ยวไปเรื่อยๆ จนครบกำหนดคลอด
Dizygotic twins อาจมีขนาดต่างกันเล็กน้อย
เนื่องจากสารพันธุกรรมที่ต่างกัน
Monozygotic twins ควรมีขนาดใกล้เคียงกัน
เนื่องจากมีสารพันธุกรรมเหมือนกัน