Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรไม่สามารถจัดการหนี้ได้ครัวเรือนได้ : -…
ปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกษตรกรไม่สามารถจัดการหนี้ได้ครัวเรือนได้ :
สาเหตุการก่อหนี้ของเกษตรกร
พึ่งเทคโนโลยีในการผลิตมากเกินไป เช่น ปุ๋ยและการบริโภครวมไปถึงค่านิยมในการแต่งตัวข้าวของเครื่องใช้ ทำให้เกิดแรงจูงใจเพื่อบริโภคและศูนย์เปล่าประโยชน์
รายได้ไม่พอกับรายจ่ายและยังใช้เงินเกินตัวติด หวย เหล้า
ใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ นำมาซื้อที่ดิน ซื้อเครื่องมือการเกษตร
ขาดการบริหารจัดการที่ดีไม่มีการวิเคราะห์การใช้หนี้และการรับข้อมูลที่ไม่เสถียรข้อมูลจากสื่อของรัฐ และสิ่งแวดล้อม
เกษตรที่ผันตัวเป็นผู้ประกอบการกู้เงินมาลงทุนเจอผู้ประกอบการใหญ่กดราคาขายตลาดสู้ทุนใหญ่ไม่ไหว จึงจำเป็นหาเงินเพื่อมาหมุนในกิการมากขึ้น
เกิดจากภัยธรรมชาติซึ่งเกษตรกรไม่สามารถควบคุมได้
ความสามารถในการจัดการหนี้ของเกษตรกร
เนื่องจากผลผลิตมีราคาถูก และลดลงอย่างต่อเนื่องจากที่เคยทำทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดลงและไม่สามารถจัดการหนี้ได้จากเดิมที่ลงทุนไปเยอะแล้วยังต้องมาขาดทุนเพราะรายได้จากผลผลิตอีก
ไม่สามารถที่จัดการหนี้ได้และความสามารถในการจัดการหนี้อยู่ในระดับต่ำ มีการเวียนหนี้ เอาเงินกองทุนหมู่บ้านนั้นนำไปใช้หนี้ยังกองทุนหนึ่ง เช่น ออมทรัพย์หมู่บ้าน กองทุนเงินล้าน ไม่ยอมชำระหนี้
เกษตรกรที่มีความสามารถในการจัดการหนี้ มีวิธีการปฏิบัติ
ใช้วิธีทำการชำระเป็นประจำทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง หากมีก็จะรับชำระ (มีวินัย) เกษตรกรบางคนส่งหนี้เฉพาะดอกเบี้ย
เกษตรกรนำเงินมาจากการขายสินค้าทางการเกษตรมาชำระหนี้บางคนนำเงินของลูกหลานมาชำระ และขายทรัพย์สินที่ดินของตนเองเพื่อนำมาชำระหนี้ด้วย
ใช้วิธีการทำการเกษตรแบบง่ายที่สุดใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดและพึ่งพาอย่างอื่นสามารถชำระหนี้ได้จนหมดสิ้น
แนวทางการจัดการหนี้ของเกษตรกรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรเป็น
ด้านความพอประมาณ
ในปัจจุบันนี้ชุมชนในเมืองค่อนข้างฟุ่มเฟือยแต่ในชนบทยังมีความพอประมาณ ชาวบ้านมีความรู้ แต่ด้วยความจำเป็นจึงต้องมีการกู้ ด้วยภาระความจำเป็นต่างๆ แต่จะมีส่วนน้อยที่จะนำไปใช้ผิดที่ผิดทาง การเพิ่มมูลค่าของทรัพย์สินและการเพิ่มของหนี้สินมีสัดส่วนที่เท่ากัน และมูลค่าในเชิงประมูลของภาครัฐกับราคาจริง ต่างกันเนื่องจากราคาประมูลจะถูกกว่าราคาขายตามท้องตลาด
เกษตรกรเน้นปลูกกินเอง เรากินเองส่วนที่เหลือก็นำไปแบ่งปันเพื่อนบ้าน และนำไปขาย
ด้านความมีเหตุผล
ต้องเพิ่มความมีเหตุผลของเกษตรกรในหลักเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องความมีเหตุมีผล เพราะบางที่เกษตรกรก็ไม่เข้าใจเหตุผลหลายอย่าง รับฟังข่าวสารต่างๆเพียงด้านเดียว แต่ไม่ได้สร้างความเข้าใจ เมื่อใดก็ตามที่ชาวบ้านฟังได้เข้าใจโดยละเอียดก็ต่อเมื่อหลายๆภาคส่วนเข้าไปทำความเข้าใจ ถ้ากู้มาแล้ว ใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ และให้เกิดความคุ้มค่า สามารถชำระคืนได้
ด้านมีภูมิคุ้มกัน
ควรมีทุนของตนเองเริ่มต้นก่อน หรือให้มีทุนเป็นวัตถุดิบ ทุนที่เป็นทรัพยากรให้คุ้มค่า เป็นไปได้ไม่ควรกู้ควรมีความยับบยั่งช่างใจ ไม่ควรตามกระแสมากจนเกินไป
มีการบำรุงรักษา สิ่งไหนเสียก็ซ่อมแซมไม่จำเป็นต้องฟุ่มเฟือย อะไรที่สามารถใช้ทดแทนกันได้คก็ควรนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ให้สูงสุด
ด้านความรู้
เกษตรกรส่วนน้อยที่จะมีความรู้ความสารถในการบริหารจัดการต่างๆ ขาดความรู้ ปุ๋ยยา ศัตรูพืช และคนที่รู้จะเป็นคนที่อยู่ในกลุ่มใหญ่ ที่รู้จักคนที่จะช่วยแก้ปัญหาหรือบุคคลที่ให้คำปรึกษาได้
หน่วยงานรัฐมีน้อยที่จะจบทางด้านเกษตรมาโดยตรงทำให้ช่วยเหลือเกษตรได้ม่เต็มที่ เพราะเกษตรกรเองต้องการความรู้อยู่ตลอดในเรื่องของการทำการเกษตร รวมไปถึงเรื่องอื่นด้วย
ด้านคุณธรรม
มีวินัยทางการเงินใช้เงินให้ถูกกับวัตถุประสงค์ที่กู้มาหากรายรับน้อยกว่ารายจ่ายก็ให้ลดในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น สุรา, หวย
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดหนี้ของเกษตรกรมีปัจจัย
ด้านโครงสร้างทางเศรษฐกิจ
การผลิตจำนวนมากและสินค้าผลผลิตล้นตลาด
เกษตรกรขาดสิทธิในที่ดินจึงไม่สามารถทำการกู้เงินได้
ประเทศไทยใช้ระบบทุนนิยมทำให้เกษตรกรเป็นหนี้เพิ่มขึ้น เกิดการบริโภคนิยม ขาดความรู้เท่าทันเกี่ยวกับระบบทุนนิยม ทุนใหญ่ครอบงำทุนเล็ก ทำให้รายได้ไม่ถึงเกษตร ทุนใหญ่สร้างเกณฑ์ มาตรฐานใหม่เพื่อกดราคา
ด้านโครงสร้างทางสังคมและวัฒนธรรม
ในปัจจุบันคนในสังคมกลัวเสียหน้าจึงต้องรักษาหน้าตนเองและแข่งขันกันเองรวมไปถึงค่านิยมในสังคมทัสนคติ การดำเนินชีวิตและให้ความสำคัญกับสิ่งของที่เกินความจำเป็นในการใช้ชีวิต
ด้านนโยบายการเมือง
มีการลดดอกเบี้ยถูกลงทำให้มีผลดีกับเกษตรกรทำให้มีรายได้กลับมา แต่ขาดความยั่งยืน
ไม่เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น
นโยบายการเมืองเปลี่ยนบ่อยครั้งและบางครั้งนโยบายไม่สอดคล้องกับบริบท และไม่เปิดโอกาสให้กับเกษตรได้แสดงความคิดเห็น
ด้านความรู้และทักษะในการประกอบการชีพ
เกษตรกรยังขาดความรู้และทักษะการประกอบอาชีพของเกษตรยังน้อย ขาดความเข้าใจที่ลึกซึ่ง ไม่เข้าใจในระบบต่างๆอีกและอีกส่วนออกไปให้ความรู้แต่ยังไม่ตอบโจทย์ชาวบ้านได้เต็มที่ มองไม่เห็นตัวอย่างที่ชัดเจน นำเสนอองค์ความรู้ใหม่ๆการบริหารจัดการศัตรูพืชขาดความเข้าใจ
ด้านความสามารถในการปรับตัว
ความต้องการในแหล่งเรียนรู้เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้ได้เห็นและนำไปปฎิบัติใช้จริง เกษตรกรทำไปปรับใช้ให้เข้ากับตัวเองได้ และการปรับตัวในปัจจุบันเองรัฐบาลไดนำเทคโนโลยีต่างๆนำมาใช้ เช่น การลงทะเบียนต่างๆ แอพพลิเคชั่น ชาวก็สามารถปรับตัวได้ เพราะได้ใช้ในชีวิตประจำวัน
ด้านความสามารถในการบริหารจัดการ
ความสามารถในการจัดการของชาวบ้านอยู่ในระดับปานกลาง ชาวบ้านสามารถเขียนรายรับ รายจ่ายของตัวเองแต่ยังขาดความรู้ในด้านการวิเคราะห์รายรับรายจ่ายซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ
นโยบายและยุทธศาสตร์ของภาครัฐมีส่วนเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการหนี้ของเกษตรกร
ในปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายของภาครัฐช่วยช่วงโควิดทำให้มีโครงการพักชำระหนี้และมีการลดดอกเบี้ยให้ถูกขึ้น แต่ก็ยังมีงมีกองทุนต่างๆ ที่สามารถให้พักชำระหนี้ได้แต่ เมื่อพักชำระหนี้ก็ไม่สามารถที่จะกู้ใหม่ได้จึงเป็นปัญหาในเรื่องของเงินหมุนเวียนไม่พอจึงต้อไปกู้เงินนอกระบบเพื่อมาใช้จ่าย
นโยบายและยุทธศาสตร์ของภาครัฐมีส่วนเอื้อประโยชน์ต่อการจัดการหนี้ของเกษตรกร
มีส่วนช่วยประมาณ ๖๐% แต่ยังมีเกษตรกรบางส่วนที่ไม่เข้าใจนโยบาย จึงไม่เก็บเงินเพื่อนำไปชำระหนี้ที่เหลือ
ตามตำแหน่งหน้าที่ของท่าน ท่านมีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรในการจัดการหนี้
สามารถนำประยุความรู้ไปให้ชาวบ้านได้มากขึ้น และการเป็นข้อมูลชาวบ้านก็ใช้คิวอาร์โค้ด แทน แบบสอบถามเพื่อให้วิเคราะห์ข้อมูลได้ทันที สามารถสอบถามความพึงพอใจของเกษตรกรได้ ส่วน สลาก ธกส.เกษตรกรให้ความสนใจน้อย เพราะส่วนมากจะเป็นผู้ฝากหรือนักลงทุน
สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับเกษตรกรหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ในการสแกนคิวอาร์โค้คเพื่อตอบแบบตอบถามความพึ่งพอในนในการบริการต่างๆ
ทำให้โอกาสเกิดกับเกษตรกรการถ่ายรูป การขายออนไลน์ มีการติดต่อว่าเอาทำอย่างไรและมีประโยชน์มาก ด้านข้อมูลข่าวสาร การเตือนภัยการเกษตร