Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 10 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหา เซลเจริญผิดปกติ, นางสาว บุศกร ชุ่มจิตร…
บทที่ 10 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหา
เซลเจริญผิดปกติ
มะเร็งเม็ดเลือดขาว
เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก
พบมากในช่วงอายุ 2-5 ปี
ความหมาย
Leukemia หมายถึง มะเร็งของระบบโลหิต เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ต้นกำเนิด(Stem cell) ที่อยู่ในไขกระดูก(Bone Marrow) เกิดการแบ่งตัวที่ผิดปกติ ไม่สามารถ differentiate ไปเป็นเซลล์ตัวแก่ได้
ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด ALL (Acute lymphoblastic leukemia หรือ Acute lymphocytic leukemiaหรือ Acute lymphoid leukemia หรือเรียกย่อว่า ALL)
เป็นชนิดที่พบได้ในทุกช่วงอายุ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ แต่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กอายุ 2-5 ปี
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด AML (Acute myelogenous leukemia หรือ Acute myeloid leukemia หรือเรียกย่อว่า AML
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดนี้จึงพบได้ในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก และพบในผู้ชายบ่อยกว่าผู้หญิง
มะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิด CLL (Chronic lymphocytic eukemia หรือเรียกย่อว่า CLL)
เป็นชนิดที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ และมีความชุกของโรคมากขึ้นตามอายุ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวรื้อรังชนิด CML (Chronic myelogenous leukemia หรือ Chronic myeloid leukemia หรือ Chronic myelocytic leukemia หรือเรียกย่อว่า CML)
เป็นชนิดที่พบได้น้อย พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ในผู้ป่วยเด็กนั้นประมาณ 80% มักพบในเด็กอายุมากกว่า 4 ปี
สาเหตุ
ปัจจัยทางด้านพันธุกรรม
เด็กที่เป็นดาวน์ชินโดรม (Down's syndrome) ซึ่งเป็นโรคผิดปกติทางพันธุกรรม พบว่าจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด ALL และ AML มากกว่าคนปกติ
ครอบครัวที่มีสมาชิกเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด ALLพบว่าจะมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้สูงกว่าคนทั่วไปประมาณ 2-4 เท่า
ในฝาแฝดที่เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเฉียบพลันชนิด ALL โดยเฉพาะเมื่อเป็นโรคตั้งแต่อายุยังน้อย พบว่าจะทำให้ฝ่าแฝดอีกคนหนึ่งมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้ประมาณ 25%
ปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม
การมีประวัติได้รับสีไออนไนซ์ (lonizing radiation) ซึ่งเป็นรังสีที่ใช้ในการตรวจและรักษาในปริมาณสูง เช่น ในเด็กที่รับรังสีรักษาในขณะอยู่ในครรภ์จากการตรวจโรคของมารดา
การมีประวัติได้รับยาเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นมาก่อน
การสัมผัสสารเคมีที่เป็นพิษบางชนิด โดยเฉพาะสารเบนซิน (Benzene) สารฟอร์มาลดีไฮด์ (Formaldehyde) พบว่าคนกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้สูงกว่าคนทั่วไป
อาจเกิดจากการได้รับสารเคมีต่างๆ ที่เป็นพิษจากสิ่งแวดล้อมหรือจากควันบุหรี่และการสูบบุหรี่
อาการ
อาการแรกที่เป็น คือ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ซีด อ่อนเพลีย
เลือดออกง่าย จากเกร็ดเลือดต่ำ เช่น ออกตามไรฟัน มีจำเขียวขึ้นบนตามตัว หรือมีประจำเดือนมากผิดปกติมีเม็ดเลือดขาวปริมาณมากแต่เป็นชนิดตัวอ่อน ต่อสู้เชื้อโรคไม่ได้ผู้ป่วยจึงติดเชื้อง่าย
มีไข้ เป็นอาการสำคัญที่มักจะมารับการรักษาเม็ดเลือดขาวไปเบียดบังอวัยวะต่างๆ หรือไปสะสมตามอวัยวะ ต่างๆทำให้มีก้อนขึ้นที่ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลือง ขา คอ หรือมีตับม้ามโต
มะเร็งไต
Wilm Tumor หรือ Nephroblastoma
หมายถึง
ภาวะที่เนื้อไตชั้นพาเรนไคมา(Parenchyma) มีการเจริญผิดปกติจนกลายเป็นก้อนเนื้องอกภายในเนื้อไต ส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ และคลำได้ทางหน้าท้อง และมักจะเป็นที่ไตข้างใดข้างหนึ่ง
*
จะไม่ให้คลำบ่อย เพราะอาจทำให้ก้อนแตก หรืออาจเกิดการแพร่กระจายของมะเร็ง
นิวโรบลาสโตมา.
Neuroblastoma
เป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงที่พบได้บ่อยในเด็กอายุน้อยกว่า 5 ปี
เป็นเนื้องอกที่มีต้นกำเนิดมาจากเซลล์ของระบบประสาท(Neural crest)สามารถเกิดบริเวณใดก็ได้ที่มีเนื้อเยื่อ Sympathetic nerve ได้แก่ ต่อมหมวกไต(adrenal land) ในช่องท้อง
อาการ
มีก้อนในท้อง ท้องโต ปวดท้อง อาการอื่นๆได้แก่ ตาโปนมีรอยช้ำรอบตา(raccoon eyes) มีไข้ ปวดกระดูก ตำแหน่งที่พบก้อนครั้งแรกมากที่สุดคือต่อมหมวกไต
การตอบสนองต่อการรักษาจะไม่ดี
มีอัตราการตายสูง
มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
ตำแหน่งที่พบบ่อย คือต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ(Cervical Lympnode)
ชนิด
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดฮอดจ์กิน (Hodgkin Lymphoma)
พบต่อมน้ำเหลืองจะโตมาป็นปี ไม่มีอาการเจ็บปวดมีลักษณะเฉพาะ คือจะพบ Reed-Sternberg cell ซึ่งไม่มีในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดอื่น
มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดนอนฮอดจ์กิน (Non-Hodgkin Lymphoma)
อาการจะเร็วและรุนแรง มักจะมาโรงพยาบาลเมื่อมีการกระจายไปทั่วร่างกายแล้ว อาจมี่ก้อนที่ช่องท้อง ช่องอกหรือในระบบประสาท
Burkitt Lymphoma
มีลักษณะพิเศษคือ มีต้นกำเนิดมาจาก B-cell( B lymphocyte) มีการแทรกกระจายในเนื้อเยื่อ มีก้อนเนื้องอกที่โตเร็วมากมักพบเฉพาะที่ เช่น ในช่องท้อง รอบกระดูกขากรรไกร
อาการ
อาการเริ่มต้นที่พบบ่อย
จะคลำพบก้อนที่บริเวณต่าง ๆ เช่น คอ รักแร้ขาหนีบ หรือเต้านม แต่จะไม่มีอาการเจ็บ ซึ่งต่างจากการติดเชื้อที่มักจะมีอาการเจ็บที่ก้อน
มีไข้ หนาว สั่น เหงื่อออกมากตอนกลางคืน คันทั่วร่างกายเบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลียไม่ทราบสาเหตุ
ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก ต่อทอนซิลโต
ปวดศีรษะ (พบในมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท)
อาการในระยะลุกลาม
ซีด มีเลือดออกง่าย เช่น จุดเลือดออกตามตัว จ้ำเลือด
มีอาการแน่นท้อง หรืออาหารไม่ย่อย ท้องโตขึ้นจากการมีน้ำในช่องท้อง
แนวทางการรักษาในปัจจุบัน
การใช้ยาเคมีบำบัด (Chemotherapy)
การฉายรังสี (Radiation Therapy) คือการรักษาด้วยรังสีปริมาณสูง เพื่อทำลายเชลล์มะเร็ง
การรักษาด้วยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นเนิด (Transplantation)
การรักษาด้วยยาเคมีบําบัด
Chemotherapy
ระยะการรักษาเคมีบำบัด
ระยะให้ยาแบบเต็มที่ (intensive or consolidation phase)
เป็นการให้ยาหลายชนิดร่วมกันภายหลังที่ผู้ป่วยอยู่ในระยะโรคสงบแล้ว เพื่อให้ยาทำลายเซลล์มะเร็งให้เหลือน้อยที่สุดระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 4 สัปดาห์ ยาที่ใช้ ได้แก่Metrotrexate, 6 - MP และ Cyclophosephamide
ระยะป้องกันโรคเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง (CNS prophylaxis phase)
เป็นการให้ยาเพื่อป้องกันไม่ให้โรคลุกลามเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลาง เพราะผู้ป่วยโดยทั่วไปหลังการให้ยา มักมีโอกาสกลับเป็นโรคอีกครั้ง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ ตับม้ามโต ยาที่ใช้ ได้แก่ Metrotrexate, Hydrocortisoneและ ARA - C
ระยะควบคุมโรคสงu (maintenance phase or continuation therapy)
เป็นการให้ยาเพื่อควบคุม และรักษาโรคอย่างถาวร ยาที่นิยมใช้ คือ การให้ 6 - MP โดยการรับประทานทุกวันร่วมกับการให้ Metrotrexate
ระยะชักนำให้โรคสงบ (induction phase)
เป็นการให้ยาเพื่อทำลายเซลล์ในเวลาอันสั้นให้มากที่สุดและมีอันตรายต่อเซลล์ปกติให้น้อยที่สุด ทำให้ไขกระดูกสามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวได้ตามปกติ ระยะนี้ใช้เวลา4 - 6 สัปดาห์ ยาที่ใช้ ได้แก่ Vincristine, Adriamycin,L - Asparaginase และ Glucocorticoid
การรักษาประคับประคอง
แบ่งเป็น 2 แนวทาง
การรักษาทดแทน (Replacement therapy)
ด้วยการให้เลือดเพื่อให้ระดับฮีโมโกลบินไม่น้อยกว่า 7-8 กรัม/ดล.ในระยะแรกก่อนโรคสงบ
การรักษาด้วยเกร็ดเลือด
หากผู้ป่วยมีเลือดออกจากจำนวนเกร็ดเลือดต่ำ จำเป็นต้องให้เกร็ดเลือดก่อน ก่อนการให้ยา ซึ่งวิธีนี้จะช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยได้สูง เพราะมีเกร็ดเลือดต่ำมากจะทำให้ผู้ป่วยถึงเสียชีวิตได้รวดเร็วไม่เกิน 24 ชั่วโมง
วิธีการให้ยาเคมีบำบัด IT IM IV
ทางช่องไขสันหลัง intrathecal
ทางกล้ามเนื้อ หลังฉีดต้องระวังเลือดออก
ทางหลอดเลือดดำ vein ต้องระวังการรั่วของยาออกนอกหลอดเลือด ที่ทำให้เกิดกาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
ตัวอย่าง ยาเคมีบำบัดที่ใช้บ่อย
Cyclophosphamide
และ Ifosfamide
รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวโดยออกฤทธิ์จับหรือรวมตัวกับดีเอ็นเอของเซลล์มะเร็ง (Cross link)ส่งผลทำให้เพิ่มจำนวนไม่ได้
ผลข้างเคียงที่ต้องระวังคือ การตกค้างของยาในกระเพาะปัสสาวะทำให้เกิด Hemorrhagic cystitis คือเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะ หลังให้ยาจะมีแผนการรักษาให้ตรวจ U/A เพื่อดู RBC ในปัสสาวะ แพทย์จึงมีแผนการรักษา โดยการให้ผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำที่มากพอ Hydration ร่วมกับการให้ยา Mesnaเพื่อป้องกันการเกิดเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะ
Methotrexate
รักษามะเร็ง Acute leukemia โดยยับยั้งการสร้าง DNAและ RNA และมีฤทธิ์กดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ผลข้างเคียง
ภาวะแทรกซ้อนที่ตับ แพทย์จะติดตามค่า Liver function Test
ภาวะแทรกซ้อนที่ไต Acute renal failure(ARF) แผนการรักษาจึงจำเป็นต้องติดตามการทำงานของไต BUN Cr
ทำให้เกิดอาการเคลื่นไส้ Nausea อาเจียน
Vomiting และ เยื่อบุช่องปากอักเสบ Stomatitis
Mercaptopurine(6-MP)
รักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันโดยยับยั้งการสร้าง Purine ยับยั้งการสร้างกรดนิวคลีอิคของ cell มะเร็งยาตัวนี้ ผู้ป่วยจะได้รับกลับไปรับประทานต่อที่บ้าน
L-asparaginase
เป็นยารักษาโรคมะเร็ง ALL ที่มีโอกาสเกิดการแพ้ยาสูงมาก Anaphylaxis จึงต้อง Test dose ก่อนให้ยานอกจากนี้ยายังมีผลต่อตับอ่อนในการรั่ง Insulin มีผลให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแพทย์จึงมีแผนการรักษาให้ตรวจดูน้ำตาลในปัสสาวะ
การดูแลเด็กที่ได้รับยาเคมีบำบัด
การเกิดการรั่วซึมของยาเคมีบำบัดออกนอกหลอดเลือด (Extravasation of Cytotoxic agent) เด็กจะมีอาการ ปวด แสบร้อน บวม มีการทำลายเนื้อเยื่อบริเวณรอบๆเส้นเลือด การทำลายเนื้อเยื่อจะรุนแรงมากน้อย ขึ้นกับชนิด และความเข้มข้นของยาเคมีบำบัด และปริมาณยาที่รั่ว
การปะคบเย็น ครั้งละประมาณ 20 นาที ทำซ้ำอย่างน้อยวันละ 4 ครั้ง ในช่วง 1-2 วันแรก หรือตามแผนการรักษาของแพทย์
Ondasetron(onsia)
ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน
ในผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด
Bactrim
ป้องกันการติดเชื้อฉวยโอกาส เนื่องจาก
ผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่ำ
นางสาว บุศกร ชุ่มจิตร เลขที่ 42
62111301044