Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart disease) - Coggle Diagram
โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (congenital heart disease)
เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของหัวใจ และ/หรือส่งผลให้การทำหลอดเลือดที่เกิดขึ้นตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาหน้าที่ของระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ มีความสัมพันธ์กับโครโมโซมที่ผิดปกติ
สาเหตุ
สาเหตุจากเด็ก
มีความผิดปกติของพันธุกรรม
สาเหตุจากมารดาขณะตั้งครรภ์
การติดเชื้อ
2.การได้รับยาบางชนิด
3.การใช้สารเสพติด
4.การได้รับรังสี
5.การตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมาก
ชนิดโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
แบ่งตามอาการทาง
คลินิก
1.ชนิดมีอาการเขียว (cyanotic type)
1.1 Tetralogy of fallot: TOF
1.2 Transposition of the great
arteries: TGA
2.ชนิดไม่มี
อาการเขียว (acyanotic type)
2.1 ความผิดปกติ
ของผนังกั้นหัวใจห้องบนมีรูรั่ว (atrial septal defect: ASD)
2.2 ความผิดปกติของผนังกั้นหัวใจห้องล่างมีรูรั่ว (ventricular septal: VSD)
VSD รูรั่วขนาดเล็กสามารถ
ปิดเองได้ภายในอายุ 1 ปี
2.3 การมีรูเปิดระหว่างหลอดเลือดแดงเอออร์ต้ากับ
หลอดเลือดแดงพัลโมนารี่ (patent ductus arteriosus: PDA)
แบ่งตามการมีเลือดไปปอด
ชนิดมีเลือดไปปอดมาก
(increased pulmonary blood flow)
โรคหัวใจพิการ
แต่กำ เนิด VSD, ASD, PDA
พบได้มากในเด็กอายุน้อยกว่า
2 ปี
ชนิดมีเลือดไปปอดน้อย (decreased pulmonary
blood flow)
โรคหัวใจพิการแต่กำ เนิด TOF, หลอดเลือดพัลโมนารี่ตีบหรือตัน (pulmonary stenosis: PS), ลิ้นไตรคัสปิดตัน (tricuspid atresia: TA)
อาการ
อาการเขียว (cyanosis)
เกิดมีเลือดลัดวงจรจาก
หัวใจห้องขวาไปหัวใจห้องซ้าย
ระดับของออกซิเจนในเลือดต่ำ
มีความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน 5 กรัม/เดซิลิตร
2.ค่าความอิ่มตัว
ของออกซิเจน 80-85%
2.1 อาการเขียวทั่วตัว
(central cyanosis)
เกิดจากเลือดที่ออกจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายมีปริมาณออกซิเจนต่าขณะที่ปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจปกติ
พบได้บ่อยใน
เด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด TOF
2.2 รเขียวของอวัยวะส่วน
ปลาย (peripheral cyanosis)
เกิดจากการไหลเวียนเลือดไป
เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายลดลง
พบในโรคหัวใจพิการแต่กำ เนิดชนิด PS, TA
2.ภาวะขาดออกซิเจนเฉียบพลัน (hypoxic spell)
พบบ่อยในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำ เนิดชนิดเขียว โดยเฉพาะ
โรคหัวใจพิการแต่กำ เนิด TOF และ TGA
เป็นภาวะที่สมองขาด
ออกซิเจนอย่างเฉียบพลัน จากการมีกิจกรรม
ร้องไห้มีกิจกรรมการเล่น ออกกำลังกาย การดูดนมของทารก หลังรับประทานอาหาร และหลังถ่ายอุจจาระ
ทำ ให้มีแรงต้านทานในหลอดเลือดแดงร่างกายสูงขึ้น กระตุ้นการหลั่ง cathecholamine ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีการบีบตัวมากขึ้น
เกิดการอุดกั้นของลิ้นหัวใจพัลโมนิคเลือดดำ ไปที่ปอดลดลง เลือดไหลลัดวงจรจากหัวใจห้องขวาไปซ้ายมากขึ้น
ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
มีออกซิเจนต่า เนื้อเยื่อร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจนเฉียบพลัน
ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition)
ความอยากอาหารลดลง ใช้ระยะเวลาในการรับประทานอาหารนาน มีความต้องการสารอาหารมากกว่าเด็กปกติทั่วไป
เนื่องจากการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายและการมีอัตราการเผาผลาญพลังงานสูง ความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหารมีความสัมพันธ์กับชนิดของโรคและความผิดปกติของหลอดเลือด
ภาวะหัวใจวาย (congestive heart failure)
เป็นภาวะผิดปกติเกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในขณะที่เลือดเข้าสู่หัวใจเพียงพอ
เป็นผลทำ ให้มีการคั่งของ
เลือดที่ไปเลี้ยงร่างกายและปอด
ภาวะหัวใจวายแบ่งออกเป็น
2 ชนิด
หัวใจซีกขวาวาย (right-side heart failure)
พบได้ในโรคหัวใจพิการแต่กำ เนิด ASD, VSD, PDA
2.หัวใจซีกซ้ายวาย (left-side heart failure)
อาจพบได้ในโรคลิ้นหัวใจรั่ว และโรคหัวใจที่มีการตีบบริเวณหลอดเลือดแดงเอออร์ต้า (aorta)
อาการเหนื่อยง่าย (dyspnea)
ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอกับหัวใจสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย
นิ้วมือนิ้วเท้าปุ้ม (clubbing of fingers and
toes)
พบในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว
เกิดจากภาวะขาดออกซิเจนเรื้อรังนาน 1-2 ปี ทำ ให้มีการเพิ่มของหลอดเลือดฝอยเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงนิ้วมือ และเท้ามากขึ้น
ทำให้เกิด
การหนาตัวของเนื้อเยื่อบริเวณนิ้วมือ และนิ้วเท้า
ภาวะที่มีเม็ดเลือดแดงในร่างกายมากกว่าปกติ
(polycythemia)
ร่างกายมีระดับฮีมาโตคริตมากกว่าร้อยละ 65
เนื่องจากการขาดออกซิเจนเรื้อรังซึ่งไปกระตุ้น
ให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงออกมามากกว่าปกติ
ทำให้เลือดมีปริมาณเม็ดเลือดแดงมากกว่าปกติเกิดภาวะเลือดข้นและลิ่มเลือดได้ง่าย
มักพบในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
ชนิดเขียว
การตรวจวินิจฉัย
1.ตรวจเอ็กซเรย์ปอด
เพื่อประเมินภาวะหัวใจโต และเงาของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงยังปอดทั้ง 2 ข้าง
2.การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
เพื่อดูการเคลื่อนไหวและความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ ผนังหัวใจ และลิ้นหัวใจ มักใช้ตรวจหลังจากทารกคลอดออกมาแล้ว
3.การถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ทรวงอก
เพื่อตรวจดูว่าหัวใจของผู้ป่วยมีขนาดโตขึ้นหรือมีน้ำคั่งในปอดหรือไม่
4.การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
เป็นวิธีวินิจฉัยความผิดปกติของหัวใจและจังหวะการเต้นของหัวใจ
5.การสวนหัวใจและหลอดเลือด
แพทย์จะใช้ท่อขนาดเล็กที่โค้งงอได้สอดผ่านหลอดเลือดบริเวณแขนหรือขาไปยังหัวใจ จากนั้นจึงใส่สารย้อมสีผ่านท่อ ก่อนจะเอกซเรย์ดูภาพภายในหัวใจ เพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
6.การวัดออกซิเจนในเลือดและชีพจร Pulse Oximet
เป็นการทดสอบเพื่อวัดปริมาณออกซิเจนในเลือดของเด็ก
การรักษา
1.การใช้สายสวน
เป็นการผ่าตัดโดยใช้ท่อที่คล้ายกับท่อสำหรับการวินิจฉัย สอดเข้าไปในหัวใจ และใช้เครื่องมือลอดผ่านสายสวนเข้าไปแก้ไขความผิดปกติในหัวใจ
2.การผ่าตัดเปิดหัวใจ
สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจผิดปกติร้ายแรง
ระหว่างการผ่าตัดเปิดหัวใจจะมีการทำให้หัวใจหยุดเต้นก่อน โดยใช้เครื่องจักรในการสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายของเด็กแทน (Bypass Machine) จากนั้นจะมีการกรีดเปิดหน้าอกของเด็ก เพื่อให้แพทย์ดำเนินการผ่าตัดแก้ไขต้นตอของโรค เช่น การเปลี่ยนลิ้นหัวใจ
3.การปลูกถ่ายหัวใจ
รักษาในกรณีของผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดรุนแรง
การรักษาด้วยยา
ชนิดไม่มี
อาการเขียว (acyanotic type)
ยาในกลุ่ม Digitalis
ยาขับปัสสาวะ
Indomethacin
การพยาบาล
1.ประเมินสภาพการกำซาบของเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ
2.จัดให้เด็กนอนท่าเข่าชิดอก (Knee Chest Position)
3.ลดการใช้ออกซิเจนของเนื้อเยื่อต่างๆ
4.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจให้ดีขึ้น
5.ลดภาระการทำงานของหัวใจ