Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 4 การจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนา -…
หน่วยที่ 4
การจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตรเพื่อการส่งเสริมและพัฒนา
แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตร
ความหมายและความสำคัญ
การจัดการทั้งด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรมนุษย์ และทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ด้านการเกษตร ได้แก่
การจัดการทรัพยากรดิน ที่ดิน น้ำ ภูมิอากาศและการจัดการการเกษตร ปัจจัยการผลิต การเงิน และการจัดการมลพิษและสิ่งแวดล้อมทางการเกษตร เพื่อให้มีอาหารเพียงพอกับความต้องการ เพื่อรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรให้คงอยู่ และเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ภายใน
ตัวเกษตรกรและครอบครัว ลักษณะของระบบเกษตรหรือระบบฟาร์ม
ภายนอก
แรงขับทางด้านสังคม การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม เทคโนโลยี
แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
แนวคิดในมิติของการอนุรักษ์
การใช้ทรัพยากรต้องใช้อย่างสมเหตุสมผล ใช้อย่างชาญฉลาด
การประหยัดของที่หายากและกำลังจะสูญพันธุ์
การปรับปรุงซ่อมแซมสิ่งที่เสื่อมโทรมให้คืนสภาพก่อนนำไปใช้
แนวคิดในมิติของการผลิต
ภูมิปัญญาชาวบ้านและวัฒนธรรมชุมชน
สิทธิและกรรมสิทธิ์
ระบบการผลิตและระบบการเกษตรที่มีต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ
การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตรเพื่อความยั่งยืน
แนวคิด
มองถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ ธุรกิจเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และชาวบ้าน ในการร่วมมือกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การมีส่วนร่วม การสร้างองค์กรชาวบ้าน ไตรภาคี และพหุภาคี
ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ภายใน
ผู้นำชุมชน
สมาชิกชุมชน
ความเข้มแข็งของชุมชน
ปัจจัยเกี่ยวกับตัวบุคคล
ปัจจัยส่วนบุคคล
เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์
ปัจจัยด้านการสื่อสาร
ความถี่ในการรับรู้ขาวสาร และแหล่งที่มา
ภายนอก
งบประมาณสนับสนุน
ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการ
แนวทางการจัดการ
รัฐสนับสนุนให้ชุมชนจัดการทรัพยากรของตนเอง
ยอมรับภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการทรัพยากร กระจายอำนาจการตัดสินใจให้ชุมชน
จัดการทรัพยากรโดยชุมชนภายใต้การสนับสนุนของรัฐ
การรับรองสิทธิ์ กรรมสิทธิ์ที่ดิน สนับสนุนให้จัดการทรัพยากร ดิ น้ำ ป่า
แนวทางการจัดการทรัพยากรการผลิตทางการเกษตรอย่างยั่งยืน
การส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรการเกษตรและโครงสร้างพื้นฐานการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
สนับสนุนและผลักดันให้เกษตรกรมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร
เตรียมพร้อมรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
วางระบบป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยธรรมชาติ
พัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้ทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสมและยั่งยืน
ทำความเข้าใจถึงทิศทางการเกษตรของไทยในอนาคต
การใช้ทรัพยากรภายในฟาร์มให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดการพึ่งพิงปัจจัยภายนอก และเน้นการผลิตที่มีกิจกรรมเกื้อกูลกันและกัน
ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการผลิตให้น้อยที่สุด
น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่มาใช้
การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ
การเตรียมพร้อมระดับครัวเรือน
การเตรียมพร้อมระดับชุมชน
การเตรียมพร้อมระดับเครือข่ายหรือประเทศ