Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การคุมกำเนิด - Coggle Diagram
การคุมกำเนิด
ห่วงอนามัย
ห่วงอนามัยชนิดแบบเคลือบฮอร์โมน
เป็นห่วงอนามัยชนิดที่เคลือบฮอร์โมนโพรเจสตินไว้บริเวณส่วนที่เป็นรูปตัวที ฮอร์โมนดังกล่าวจะส่งผลให้ร่างกายผลิตมูกในช่องคลอดเพิ่มมากขึ้น ทำให้สเปิร์มและไข่ปฏิสนธิกันได้ยากขึ้น
ห่วงอนามัยชนิดแบบไม่เคลือบสาร
คือ ห่วงลิปปีส (Lippes loop) ห่วงชนิดนี้จะทำด้วยพลาสติกหรือสเตนเลสที่อาบด้วยสารแบเรียมซัลเฟต (เพื่อให้มองเห็นได้จากการถ่ายภาพเอกซเรย์)
ตัวห่วงจะมีลักษณะคล้ายรูปตัวเอส (S) ซ้อนกัน 2 ตัว เอสตัวบนจะมีขนาดใหญ่กว่าเอสตัวล่าง จึงทำให้ห่วงมีลักษณะและขนาดที่เหมาะกับโพรงมดลูกพอดี ที่ปลายด้านล่างของห่วงจะมีเอ็นไนลอนที่ผูกติดกันอยู่ เมื่อใส่เข้าไปในโพรงมดลูกแล้วจะกลับคืนรูปร่างเหมือนเดิม
เอ็นไนลอนที่ผูกติดไว้กับปลายห่วงด้านล่างก็จะโผล่ออกมาทางปากมดลูกให้มองเห็นได้ในช่องคลอด (มีไว้สำหรับตรวจเช็กห่วงและใช้สำหรับดึงห่วงออกมา)
-
ข้อดีของการใส่ห่วงอนามัย
-
-
3.สามารถถอดห่วงอนามัยได้ทันที เมื่ออยากตั้งครรภ์ ไม่ต้องคอยให้ยาหมดฤทธิ์เหมือนวิธีการใช้ยาคุมกำเนิด ทั้งแบบทานและแบบฝัง
-
ห่วงอนามัยชนิดแบบไม่มีโครง
เป็นห่วงอนามัยชนิดที่ไม่มีโครงพลาสติกตรงกลางสำหรับพันขดลวดทองแดง ทำมาจากแท่งทองแดงทรงกระบอกร้อยอยู่ในเส้นไหม
ซึ่งในอดีตพบว่าห่วงชนิดนี้มีโอกาสเลื่อนหลุดสูงมาก ในภายหลังจึงได้มีการปรับปรุงให้ตัวห่วงมีตะขอสำหรับเกี่ยวยึดไว้กับชั้นกล้ามเนื้อมดลูก แพทย์ผู้ใส่ห่วงจึงต้องมีทักษะและได้รับการฝึกฝนในการใส่มาแล้ว ส่วนข้อดีของห่วงชนิดนี้คือจะมีขนาดเล็ก มีประสิทธิภาพเทียบเท่า และผู้ใช้สามารถทนต่อผลข้างเคียงต่าง ๆ ได้ดีกว่า
ห่วงอนามัยชนิดแบบหุ้มทองแดง
-
-
-
การผ่าตัดทำหมันชาย
-
-
โดยการเจาะรูผนังถุงอัณฑะ ดึงท่อน้ำอสุจิขึ้นมาทำการตัดท่ออสุจิ และทำการผูกปลายท่ออสุจิทั้ง 2 ข้าง เพื่อเป็นการปิดทางที่อสุจิออกมา เป็นการทำหมันแบบถาวร
ข้อดีของการทำหมันชาย
การทำหมันชายเป็นวิธีการผ่าตัดที่สามารถทำได้โดยง่าย ไม่จำเป็นต้องดมยาสลบ ใช้เวลาในการผ่าตัดน้อย มีความปลอดภัยกว่าการทำหมันหญิง
ช่วยเพิ่มความสุขทางเพศหลังการทำหมัน คู่สมรสรู้สึกมีอิสระในการร่วมรักกันมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากคู่สมรสไม่ต้องกังวลเรื่องการตั้งครรภ์
-
ไม่มีผลต่อสมรรถภาพทางเพศของเพศชาย เนื่องจากการผ่าตัดไม่เกี่ยวข้องกับเส้นประสาทหรือเกี่ยวกับการสร้างหรือการใช้ฮอร์โมนเพศของร่างกายแต่อย่างใด
ไม่มีผลต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โรคมะเร็งอัณฑะ หรือโรคมะเร็งชนิดอื่น ๆ รวมทั้งของอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งของผู้ทำหมันและของภรรยา
ข้อเสียของการทำหมันชาย
ในบางรายอาจพบภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดทำหมันชายได้ตามที่กล่าวไป แต่ก็พบได้น้อยมาก หรืออาจมีการติดเชื้อบริเวณแผลที่ผ่าตัดได้
-
-
-
การนับระยะปลอดภัย
-
อาศัยหลักการที่ว่าในช่วง หลังจากการมีประจำเดือนของเดือนนั้นแล้ว นับไป 7 วัน จะเป็นช่วงที่มีการไข่ตกของฝ่ายหญิง (หรือประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน)
-
สรุปในอีกทางหนึ่งได้ว่า ในระยะ 7 วัน ก่อนการมีประจำเดือน และ ในระยะ 7 วัน หลังจากฝ่ายหญิงเลือดประจำเดือน หยุดไหล เป็นระยะที่ไม่มีการตกไข่ และเป็นช่วงที่เป็นระยะปลอดภัยสำหรับการมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ต้องการมีบุตร
-
-
-
ยาเม็ดคุมกำเนิด (Oral contraceptive pill)
เป็นหนึ่งในวิธีการคุมกำเนิดด้วยการรับประทานยาเม็ดซึ่งบรรจุฮอร์โมนเพศหญิงไว้ ออกฤทธิ์ต่อการทำงานของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง ทั้งปากมดลูก ผนังมดลูก และรังไข่ ผู้หญิงที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดอย่างถูกวิธีจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ แต่ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อจากการมีเพศสัมพันธ์ได้
ชนิดของยาเม็ดคุมกำเนิด
-
ฮอร์โมนเดี่ยว (Minipill)
-
ข้อเสีย
มีประสิทธิภาพน้อยกว่ายาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม จำเป็นต้องรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดตรงเวลาเป็นประจำทุกวัน หากลืมรับประทานต้องใช้วิธีการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นร่วมด้วย และอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก น้ำหนักขึ้น เป็นต้น
จะมีฮอร์โมนโพรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว ยาคุมชนิดนี้ในหนึ่งแผงจะมีทั้งหมด 28 เม็ด รับประทานได้ทุกวันโดยไม่ต้องหยุด เมื่อรับประทานหมดแล้วก็สามารถรับประทานแผงใหม่ต่อได้เลย เป็นชนิดที่ผลิตออกมาเพื่อลดอาการข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน
-
อาการข้างเคียง
คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคัดเต้านม ท้องอืด ปวดศีรษะ มีน้ำสะสมมากในร่างกาย (ตัวบวมน้ำ) มีเลือดคล้ายประจำเดือนออกกะปริบกะปรอย ตลอดจนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ (จึงห้ามใช้ในผู้ที่มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำหรือมีประวัติของความผิดปกตินี้)
-
-
ยาฉีด
การออกฤทธิ์
ฮอร์โมนทั้งประเภทเอสโตรเจนและโพรเจสตินออกฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการป้องกันการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ยังมีการออกฤทธิ์อย่างอื่นเสริมอีก หากเป็นฮอร์โมนประเภทเอสโตรเจนยังสามารถเพิ่มการบีบตัวของท่อนำไข่และเพิ่มการบีบตัวของมดลูก ทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว มาถึงโพรงมดลูกในเวลาที่ไม่เหมาะสมในการฝังตัว ส่วนฮอร์โมนประเภทโพรเจสตินขัดขวางการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิ โดยทำให้มูกปากมดลูกข้นหนืด อีกทั้งยังลดการโบกพัดของขนอ่อนในท่อนำไข่ และยังลดขนาดและลดจำนวนต่อมซึ่งทำหน้าที่สร้างสารคัดหลั่งที่เยื่อบุมดลูก ตลอดจนทำให้คอร์พัสลูเทียม (corpus luteum) สลายเร็วเกินโดยยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ สิ่งเหล่านี้ทำให้สภาวะภายในมดลูกไม่พร้อมสำหรับการฝังตัวของไข่ที่ปฏิสนธิแล้ว (หากสามารถปฏิสนธิได้) จึงไม่เกิดการตั้งครรภ์
ยาคุมกำเนิดชนิดฉีดที่มีฮอร์โมนโพรเจสตินอย่างเดียว (progestin-only injectable contraceptives) ใช้ได้กับผู้หญิงทุกรายที่ต้องการคุมกำเนิดและไม่เข้าข่ายเป็นผู้ที่ห้ามใช้ (ดูหัวข้อ ยาคุมกำเนิดชนิดฉีดเหมาะกับใคร?) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะกับผู้ที่ไม่อาจใช้เอสโตรเจนได้ แบ่งออกเป็นยาคุมกำเนิดชนิดฉีดแบบ 3 เดือนและแบบ 2 เดือน
ยาคุมกำเนิดชนิดฉีดที่มีฮอร์โมนรวม (combined injectable contraceptives) ซึ่งมีฮอร์โมนในกลุ่มเอสโตรเจนผสมกับฮอร์โมนในกลุ่มโพรเจสติน ฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 1 เดือน การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกเกิดคล้ายกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดแผงที่รับประทานทุกวัน เยื่อบุมดลูกมีการหลุดลอกทุกเดือนเหมือนปกติ ทำให้ประจำเดือนมาทุกเดือน จึงลดความกังวลเรื่องตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว
ผลข้างเคียง
-
-
-
-
อาจมีการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะ มึนงง ใจสั่น อารมณ์เปลี่ยนแปลง หงุดหงิด อ่อนเพลีย อึดอัดในท้อง ปวดท้อง
ข้อดี
ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก เพียงไปตามกำหนดที่แพทย์นัดหมาย อาจช่วยคุมกำเนิดได้สูงสุด 1 ปี นับจากการฉีดยาคุมกำเนิดครั้งสุดท้าย ขึ้นอยู่กับชนิดของยาคุมกำเนิดที่ใช้
ข้อเสีย
-
-
ประจำเดือนอาจเปลี่ยนแปลง มาไม่สม่ำเสมอ มากะปริดกะปรอย หรือไม่มีประจำเดือน และหลาย ๆ รายอาจมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น
-
ยาคุมแบบฝัง
วิธีการคุมกำเนิดแบบชั่วคราวชนิดหนึ่ง โดยเป็นการใช้ฮอร์โมนชนิดเดียว คือ โปรเจสติน (Progestin) ที่บรรจุเอาไว้ในหลอดหรือแท่งพลาสติกเล็ก ๆ ขนาดเท่าไม้จิ้มฟันชนิดกลม นำมาฝังเข้าไปที่ใต้ผิวหนังบริเวณใต้ท้องแขนด้านที่ไม่ถนัด ซึ่งฮอร์โมนจะค่อย ๆ ซึมผ่านออกมาจากแท่งยาเข้าสู่ร่างกายและไปยับยั้งการเจริญเติบโตของฟองไข่ ส่งผลทำให้ไม่มีการตกไข่ตามมา จึงช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ได้
การออกฤทธิ์
ประกอบไปด้วยฮอร์โมนโปรเจสติน (Progestin) เพียงชนิดเดียว จึงทำให้ไม่มีผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) เหมือนกับการใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด (ฮอร์โมนรวม) โดยฮอร์โมนที่ปล่อยออกมาจากแท่งยาฝังคุมกำเนิดจะมีผลทำให้ฟองไข่ไม่พัฒนา จึงไม่สามารถโตต่อไปจนตกไข่ได้ เมื่อไม่มีไข่ที่จะรอผสมกับเชื้ออสุจิ จึงไม่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ นอกจากนี้ ฮอร์โมนโปรเจสตินที่ปล่อยออกมายังทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ส่งผลให้เชื้ออสุจิว่ายผ่านเข้าไปยาก จึงช่วยลดโอกาสเกิดการผสมกับไข่ได้อีกทางหนึ่ง โดยยาฝังคุมกำเนิดที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด
-
-
ข้อดีของยาฝังคุมกำเนิด
-
-
ไม่ต้องรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดทุกวัน จึงช่วยลดโอกาสการลืมกินยา หรือลดโอกาสฉีดยาคุมคลาดเคลื่อนไม่ตรงกำหนด ที่ต้องไปฉีดยาทุก ๆ 1-3 เดือน
ไม่ได้รับผลข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจนเหมือนการคุมกำเนิดรูปแบบอื่น
เช่น คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ เป็นฝ้า ฯลฯ
-
-
-
หลังจากถอดออกจะสามารถมีลูกได้เร็วกว่าการฉีดยาคุมกำเนิด เนื่องจากฮอร์โมนกระจายออกในปริมาณน้อยและไม่มีการสะสมในร่างกาย
-
ผลข้างเคียง
ระยะเวลา 2-3 เดือนแรก ประจำเดือนอาจมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมาแบบกะปริดกะปรอย หรือตกขาวมาก ซึ่งเป็นอาการพบได้มากที่สุด แต่ก็พบได้ไม่มาก หรือในบางรายประจำเดือนมามากติดต่อกันหลายวัน
-
-
-
-
-
-
-
-