Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Nursing Care of the Child with Hematologic and Neoplasm, ไขกระดูกฝ่อ…
Nursing Care of the Child with Hematologic and Neoplasm
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยา
Anemia โลหิตจาง
การวินิจฉัย: ประวัติและการตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (CBC, Bone marrow)
การรักษา: แบบประคับประคอง การรักษาเฉพาะ การปลูกถ่ายไขกระดูก การใช้สารกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด
อาการและอาการแสดง: เลือดออกจากPlatelet ต่ำ, ติดเชื้อจากWBC ต่ำ, ซีดจาก RBC ต่ำ
พยาธิสภาพ: มีความผิดปกติในไขกระดูก ไขกระดูกมีเซลล์น้อยลง (Hypoplasia) หรือไม่มีเซลล์เลย (aplasia) มีเซลล์ไขมันเข้าไปเบียดแทรกในไขกระดูกแทน ทำให้สร้างเม็ดเลือกได้น้อยลงส่งผลให้เม็ดเลือดทุกชนิดต่ำ (pancytopenia) RBC, WBC, Platelet
สาเหตุ : ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด อาจเป็นมาแต่กำเนิด (Fancon’sanemia) หรือเกิดขึ้นภายหลัง เช่น ยาที่มีฤทธิ์กดไขกระดูก, รังสี สารเคมี และสารพิษ, การติดเชื้อ เป็นต้น
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากภาวะซีดจากไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงไม่ได้หรือสร้างได้ลดลง
เลือดออกได้ง่าย เนื่องจากกลไกการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ จากเกล็ดเลือดต่ำ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายลดลงจากจำนวนเม็ดเลือดขาวลดลงและได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
เด็กและครอบครัวมีความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังต้องเข้ารับการรักษาในรพ.บ่อยครั้ง ขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวและมีการเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์จากการได้รับยา
การพยาบาล
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเลือดออก
หากมีเลือดกำเดาไหลให้ประคบเย็นที่ดั้งจมูกหรือชุบก๊อซชุบ adrenaline1% อุดในรูจมูกข้างที่เลือดกำเดาออก
สังเกตอาการแสดงของการมีเลือดออกทั้งทางผิวหนัง และภายใน เช่น จ้ำเลือด อุจจาระและปัสสาวะมีเลือดปน ระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ปวดศีรษะ ตามัว แสดงถึงการมีเลือดออกในสมอง
สังเกตุอาการติดเชื้อเช่นมีไข้จากการมีภูมิคุ้มกันของร่างกายต่ำและได้ยากดภูมิ
ดูแลให้ได้รับยา Prednisolone ฮอร์โมน androgen หรือยากดภูมิต้านทาน สังเกตพิษจากยา ตาตัวเหลือง บวม มีผื่นแดง 03/04/64 9
Thalassemia ธาลัสซีเมีย
พยาธิสภาพ : อัลฟ่าธาลัสซีเมีย (∞ -Thalassemia) เบต้าธาลัสซีเมีย (ß -Thalassemia)
การวินิจฉัยโรค
ประวัติและการตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจวินิจฉัยทารกก่อนคลอด
อาการและอาการแสดง
เม็ดเลือดแดงแตกเรื้อรัง ; โพรงกระดูกขยายตัว ; ตับม้ามโต ; การ เจริญเติบโตช้า ; ผิวหนังสีเทาอมเขียว ; หัวใจโต ; Hemolysis crisis ; ภาวะแทรกซ้อน
การรักษา
-การให้เลือด ควรให้ PRC หรือ เม็ดเลือดแดงเข้มข้นที่แยกเม็ดเลือดขาวออก
-การให้ยาขับเหล็ก ได้แก่ desferrioxamine (desferal) ให้ sc หรือกิน Deferiprone (ปัสสาวะจะมีสีน้ําตาลแดง)
-การปลูกถ่ายไขกระดูก จะช่วยให้หายอึดอัดท้อง ผ่าเมื่อม้ามโต > 6 ซม. เพื่อลด อัตราการให้เลือด แต่ข้อเสียทําให้ติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี
-การให้คําปรึกษาทางพันธุ์ศาสตร์(ก่อนตั้งครรภ์)
• ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีภาวะซีดจากมีการแตกของเม็ดเลือด
แดง
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากเนื้อเยื่อขาดออกซิเจนเรื้อรังทําให้กระบวนการสร้างภูมิ ต้านทานของร่างกายลดลง และการทํางานของม้ามในการกําจัดเชื้อโรคลดลง
มีภาวะเหล็กเกินเนื่องจากมีการแตกของเม็ดเลือดแดง การได้รับเลือดบ่อยและลําไส้มีการดูดซึมธาตุเหล็กมากขึ้น ทําให้เหล็กไปจับตามอวัยวะต่างๆ ประสิทธิภาพการ ทํางานลดลง
เด็กและญาติมีความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังขาดความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง และมีการเปลี่ยนแปลงของภาพลักษณ์
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีประโยชน์ต่อการสร้างเม็ดเลือด เช่น โปรตีน วิตามินซี และ อาหารที่มีโฟเลตสูงมีมากในผักต่าง ๆ และผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
สอนผู้ป่วยเด็กและครอบครัวเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่ การรักษาความสะอาดร่างกาย ปากฟัน และสิ่งแวดล้อม
ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยม ได้แก่ นม ปลาเล็กปลาน้อย และ ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุ เลือกกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อป้องกันกระดูกหัก
ดูแลการได้รับยา Folic acid เพื่อช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
ภายหลังได้รับยาขับเหล็กให้สังเกตลักษณะสีของปัสสาวะจะน้ําตาลแดง
Hemophilia ฮีโมฟีเลีย
อาการและอาการแสดง: ชนิด A จะคล้ายกับ ชนิด B คล้ายกัน เลือดออกง่ายและหยุดยาก
การตรวจวินิจฉัย: ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น VCT, PTTนานกว่าปกติ (5-15 นาที), Clotting activity ของ factor VIII, IX ต่ำกว่าปกติ, CBC
การรักษา
ให้ส่วนประกอบของเลือด (Replacement Therapy) : FFP, cryoprecipitate
(Factor 8 แยกส่วน ใช้กับ ผู้ป่วย Hemophilia A), FDP, Plasma etc.
รักษาอาการเลือดออกเฉพาะที่
ให้Corticosteroid ในรายที่มีเลือดออกในข้อ ช่วยลดการอักเสบ
ให้คำปรึกษาทางด้านพันธุกรรม
ปลูกถ่ายตับ
พยาธิสภาพ : ยีนควบคุมการสร้าง factor ผิดปกติ ทำให้สร้างน้อยลงหรือสร้างไม่ได้เลย-->ไม่สามารถสร้างไฟบรินได้ ทำให้เลือดไม่แข็งตัว เลือดออกง่าย และหยุดยาก
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีภาวะเลือดออกง่ายหยุดยาก เนื่องจากกระบวนการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
เสี่ยงต่อการเกิดข้อพิการ เนื่องจากมีเลือดออกในข้อทำให้เกิดการเจ็บปวด ข้ออักเสบของกระดูกและเอ็นรอบๆ ข้อ เกิดพังผืด และการดึงรั้ง
เด็กและครอบครัวมีความเครียด วิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังต้องเข้ารับการรักษาในรพ.บ่อยครั้ง และถูกจำกัดกิจกรรมการเคลื่อนไหว และขาดความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษา การดูแลตนเอง
การพยาบาล
ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อข้อบวมให้ใช้ผ้ายืด พันรอบข้อที่มีอาการปวดบวม และจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อ หากปวดมากดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดพาราเซตามอล ไม่ควรใช้แอสไพริน หรือBufenเพราะจะทำให้เลือดออกมากขึ้น วันแรกให้ประคบเย็นทุก 1-2 ชั่วโมง ครั้งละ 15-30 นาที ใน 48 ชั่วโมง วันต่อมาประคบร้อนทุก 4ชั่วโมง ครั้งละ 15-30นาที แต่เมื่ออาการปวดทุเลา กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวข้อส่วนนั้น ป้องกันการเกิดข้อติดแข็ง
แนะนำการปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันการมีเลือดออก ได้แก่ แปรงฟันเบา ๆ ด้วยแปลงที่อ่อนนุ่ม และออกกำลังกายที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้อ้วนเพราะน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้นทำให้ข้อต่าง ๆ รับน้ำหนักมากจะเกิดเลือดออกในข้อ ลดการเล่นกีฬาที่เสี่ยงต่ออุบัติเหตุ เช่น ฟุตบอล ยิมนาสติก ชกมวย แข่งจักรยานเป็นต้น ควรเลือกกีฬาว่ายน้ำ การเดิน เป็นต้น
แนะนำให้ทำบัตรผู้ป่วยฮีโมฟิเลีย หมู่เลือด และโรงพยาบาลที่รักษาประจำพกติดตัวเพื่อให้เด็กได้รับการรักษาที่เหมาะสม และถูกต้อง เมื่อเกิดอุบัติเหตุ
Idiopathic Thrombocytopenic Purpura: ITP เกล็ดเลือดต่ำ
พยาธิสภาพ : ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง, มีการทำลายเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น เนื่องจาก antiplatelet antibody จากการมีภูมิคุ้มกันต่อตนเอง (autoimmune)
อาการและอาการแสดง : จะมีอาการแสดงของโรคติดเชื้อไวรัส เช่น Measles, Rubella,URI, Mumps, Chickenpox/Varicella นำมาก่อนจะมีอาการเลือดออก นานประมาณ 2 wks. เลือดออกที่ผิวหนัง รอยจ้ำเลือด เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน มีเลือดออกในสมอง จะมีอาการปวดศีรษะ อาเจียน ชัก หมดสติ และทำให้เสียชีวิตได้
การวินิจฉัยโรค : ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ: Platelet<100,000 เซลล์/ลบ.มม. หรือบางราย < 50,000 เซลล์/ลบ.มม., Giant platelets
การักษา: รักษาแบบประคับประคอง
การรักษาทั่วไป : หลีกเลี่ยงยาที่มีผลยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือด เช่น ASA, Ibuprofen, N-SAID, ให้เลือดในกรณที่จำเป็นเท่านั้น
การรักษาด้วยยา : ให้ corticosteroid, IVIG, Anti-D antibody, ตัดม้าม, รักษาภาวะฉุกเฉิน
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย เนื่องจากกลไกการแข็งตัวของเลือดผิดปกติจากเกล็ดเลือดต่ำ
เด็กและครอบครัวมีความเครียดและความวิตกกังวลเกี่ยวกับโรค และขาดความรู้ในการดูแลเด็กที่บ้าน
การพยาบาล
1.หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดออก เช่น หลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเจาะเลือด ห้ามใช้ยาแอสไพริน หรือ Bufenซึ่งรบกวนการทำงานของเกร็ดเลือด
2.แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินซี จะช่วยเพิ่มจำนวนเกร็ดเลือด และช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
Glucose-6-Phoaphate Dehydrogenase Deficiency : G-6-PD Deficiency
อาการและอาการแสดง : หากเกิดใน 24-48 ชม.แรก จะเริ่มปวดท้อง อาเจียน อุจาระร่วง และ ปัสสาวะเป็นสีน้ําปลาหรือสีดํา(hemoglobinuria) จากนั้นจะตัวเหลือง และซีด ภาวะแทรกซ้อน : เด็กอาจมีภาวะ CHF จากซีดมาก, K สูง, ไตวายเฉียบพลัน
พยาธิสภาพ: : ภาวะพร่อง G-6-PD เกิดจากการยีนผิดปกติในโคโมโซม X ที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ G-6-PD ทำให้เอนไซม์ลดลง จะไม่สามารถสร้าง NADPH ได้เพียงพอทำให้ระดับ GSH ลดลง ทำให้มีการเลื่อมของฮีโมโกลบิน เกิดการตกตะกอนในเม็ดเลือดแดง (Heinz body) เม็ดเลือดเสียความยืดหยุ่น และมีการแตกของเม็ดเลือดแดง ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการแตกในหลอดเลือด (Intravascular hemolysis) RBC ที่ขาด G6PD จะมีอายุเฉลี่ย 90-100วัน
การวินิจฉัยโรค: ซักประวัติ ตรวจร่างกาย และตรวจทางห้องปฏิบัติการ: Hctต่ำ, Indirect hyperbilirubinemia, G-6-PD ต่ำ และพบHeinz body ของเม็ดเลือดแดง
การรักษา: -ตามสาเหตุ: หยุดยาหรือสารเคมีที่เป็นสาเหตุ และรักษาโรคติดเชื้อที่เป็นสาเหตุ -ให้เลือดถ้ามีอาการซีดมาก-ส่องไฟหรือเปลี่ยนถ่ายเลือด-รักษาภาวะไตวาย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีตัวนำออกซิเจนลดลงจากการแตกของเม็ดเลือดแดง
มีการคั่งของบิลิรูบิน กรดยูริก และโพแทสเซียมในร่างกาย เนื่องจากมีการแตกของเม็ดเลือดแดง3. มีโอกาสปฏิบัติตัวไม่ถูกต้อง เนื่องจากขาดความรู้ในการปฏิบัติตัว
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีประโยชน์ต่อการสร้างเม็ดเลือด เช่น โปรตีน วิตามินซี และอาหารที่มีโฟเลตสูงมีมากในผักต่าง ๆ และผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
อธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจโรค สาเหตุ อาการ และหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง แจ้งแพทย์ทุกครั้งเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ทำบัตรประจำตัวผู้ป่วย ระบบหมู่เลือด และโรงพยาบาลประจำ
แนะนำให้สังเกตอาการที่ควรมาพบแพทย์ ได้แก่ ซีดลงอย่างรวดเร็ว อ่อนเพลีย ปัสสาวะมีสีโคล่า ควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอก่อนส่งโรงพยาบาล
Von Willebrand’s Disease
พยาธิสภาพ : VWD มีหน้าที่เชื่อให้ Platelet จับตัวกับเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด และทำหน้าที่เป็น Carrier protein ของ factor VIII เมื่อสร้างได้น้อยลงกลไกการแข็งตัวของเลือดจึงผิดปกติไป
•อาการและอาการแสดง: เลือกออกง่ายหยุดยาก มักจะไม่รุนแรง ประจำเดือนออกมากและนานกว่าปกติทุเลาลงเมื่ออายุมากขึ้น
•การวินิจฉัยโรค: ซักประวัติ ตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
•การรักษา: FFP หรือ cryoprecipitate, factor 8 เข้มข้นที่มี VWD เช่น Humate P, DDAVP, รักษาอาการเลือดออกเฉพาะที่และการรักษาอื่นๆ และการพยาบาลคล้ายคลึงกับฮีโมฟีเลีย
Acquire Prothrombin complex
Deficiency
สาเหตุ: ขาด Vitamin K มักเกิดจากทารกที่ดื่มนมมารดามากกว่านมผสม ไม่ได้รับ Vit.Kแรกเกิด หรือทารดคลอดก่อนกำหนด
•พยาธิสภาพ: การสังเคราะห์ Prothrombin complexเริ่มจาก Vitamin Kในอาหารและแบคทีเรียในลำไส้ ช่วยในการปฏิกิริยาการแข็งตัวของเลือด เมื่อขาด Vitamin Kจึงมีผลต่อการสังเคราะห์ Prothrombin complexทำให้การแข็งตัวของเลือดผิดปกติ
•อาการและอาการแสดง:เลือดออกในกะโหลกศีรษะ ทำให้มีอาการทางระบบประสาท ซีด ตับโต อื่นๆ
•การวินิจฉัยโรค: ซักประวัติ ตรวจร่างกาย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การรักษา
-ให้ Vitamin K -ให้ plasma หากซีดจากการเสียเลือด-กรณีมีเลือดออกในกะโหลก เช่น ชัก ให้ยากันชัก,
ให้ Dexamethasoneลดสมองบวม, เจาะกระหม่อม, การเจาะหลัง (Lumbar puncture) เพื่อเอาเม็ดเลือดที่ค้างอยู่ออก, Craniotomy
-การช่วยหายใจ ให้ออกซิเจน เนื่องจากศูนย์การหายใจอาจถูกกดจากเลือดออกในสมอง
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
-ความดันในกะโหลกศีรษะสูง เนื่องจากมีเลือดออกในสมอง
-เลือดออกง่าย เนื่องจากขาดโปรธอมบิน คอมเพล็กซ์
-บิดามารดามีความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากมีความพิการของสมองบางส่วนภาวร
การพยาบาล
1.ป้องกันไม่ให้เลือดออก หลีกเลี่ยงการเจาะเลือด และฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้หลังฉีดกดตำแหน่งที่ฉีดยานาน 5นาที
2.พักอวัยวะที่มีเลือดออก ยกส่วนนั้นให้สูงกว่าระดับหัวใจ
3.การใช้ tourniquets รัดระหว่างตำแหน่งที่มีเลือดออกกับหัวใจ
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางนีโอพลาสซึม
Leukemia มะเร็งเม็ดเลือดขาว
สาเหตุ:ไม่ทราบแน่ชัด ปัจจัยส่งเสริมคือ รังสี ยาหรือสารเคมีบางอย่าง กรรมพันธุ์ และการติดเชื้อ ผู้ที่มีความผิดปกติของโครโมโซม เช่น Down ‘syndrome มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น 20 เท่า
พยาธิภาพ
เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเกิดจากเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell)ในไขกระดูก เมื่อเม็ดลือดขาวซึ่งเป็นตัวอ่อน (Blast cell)เกิดขึ้นก็จะถูกส่งเข้ากระแสเลือด ไปสะสมในเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆในร่างกาย ผลจากการสร้างเซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวจำนวนมาก ทำให้ไขกระดูกทำงานผิดปกติ คือ มีการสร้างเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือดลดลง
อาการและอาการแสดง
-อาการที่เกิดจากไขกระดูกถูกกด
1.ซีด จากการที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงน้อย ผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลีย หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว
2.เลือดออกจากการที่ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดลดลง ได้แก่ มีจุดเลือด จ้ำเลือดบริเวณผิวหนัง เลือดกำเดาไหล ปวดท้อง ถ่ายเป็นสีดำ
3.ติดเชื้อ เช่น มีไข้ หรือแผลติดเชื้อจากการที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดขาวปกติลดลง
-อาการและอาการแสดงที่เกิดจากเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวลุกลามไปในอวัยวะอื่นๆ
1.ตับโต ม้ามโต ต่อมน้ำเหลืองโต และปวดกระดูกจากการที่เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวไปแทรกอยู่ตามเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ
2.มีอาการทางระบบประสาท เช่น ปวดศีรษะ อาเจียนพุ่งจากการที่เซลล์มะเร็งแพร่ไปที่ระบบประสาทอัตโนมัติ
3.น้ำหนักลด เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน
การวินิจฉัยโรค
1.ประวัติการได้รับยา รังสี หรือสารเคมีต่างๆ และประวัติการเป็นมะเร็งในครอบครัว
2.การตรวจร่างกาย ตรวจพบมีไข้ ซีด มีจุดเลือดออก และคลำได้ก้อน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การรักษา
-โดยใช้ยาเคมีบำบัด : การชักนำให้โรคสงบ ให้การรักษาเข้มข้น การป้องกันการเกิดมะเร็งเม็ดเชือดขาวใน CNS การรักษาเพื่อให้โรคสงบอยู่ต่อไป การหยุดการรักษา
-การปลูกถ่ายไขกระดูก
-การรักษาแบบประคับประคอง
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
เนื้อเยื่อได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากมีเม็ดเลือดแดงต่ำจากเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเข้าไปกดการทำงานของไขกระดูก
เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากภูมิต้านทานของร่างกายลดลงจากไขกระดูกถูกกดการทำงานทำให้สร้างเม็ดเลือดขาวลดลง และผลข้างเคียงจากการได้รับยาเคมีบำบัด
เสี่ยงต่อการมีเลือดออกง่าย เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำจากไขกระดูกถูกกดการทำงานจากเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวลุกลามเข้าไปในไขกระดูก และจากการได้รับยาเคมีบำบัด
ภาวะโภชนาการเปลี่ยนแปลงได้รับสารอาหารน้อย เนื่องจากมีการเผาผลาญอาหารมากขึ้นจากการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง มีเยื่อบุในปากอักเสบ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน จากการได้รับยาเคมีบำบัด
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับยาเคมีบำบัด
เด็กและครอบครัวมีความเครียด วิตกกังวล เนื่องจากการเจ็บป่วยเป็นโรคคุกคามต่อชีวิต ขาดความรู้เกี่ยวกับการดำเนินของโรค การรักษาและการดูแล และภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลงจากการได้รับยาเคมีบำบัด
Lymphoma มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
สาเหตุ : ไม่ทราบแน่นอน แต่พบว่าภาวะติดเชื้อไวรัส Ebstein-Bar Virus (EBV) ทำให้เป็น Burkitt’s Lymphoma, ได้รับยากดภูมิเป็นระยะเวลานาน
พยาธิสภาพ : ตำแหน่งที่พบบ่อย คือ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ (Cervical Lymph Node)
•อาการและอาการแสดง
-Hodgkin’s Disease มีการต่อมน้ำเหลืองโตมาเป็นปี ไม่มีอาการเจ็บปวด
-Non-Hodgkin’s Disease มีอาการรวดเร็วและรุนแรงกว่า Hodgkin มักมา รพ.เมื่อมีการกระจายไปทั่วร่างกายแล้ว อาจมีก้อนที่ช่องท้อง ช่องทรวงอก หรือในระบบประสาท
-Burkitt’s Lymphoma มีลักษณะพิเศษ คือ มีต้นกำเนิดจาก B-cell (B Lymphocyte) มีการแทรกกระจายในเนื้อเยื่อ มีก้อนเนื้องอกโตเร็วมากมักพบเฉพาะที่ เช่น ช่องท้อง รอบกระดูกขากรรไกร
•การแบ่งระยะของโรค
Stage I : เป็นกับต่อมน้ำเหลืองต่อมเดียว หรือ กลุ่มเดียว
Stage II : เป็นกับหลายต่อมน้ำเหลือง แต่อยู่ด้านเดียวกับกระบังลม
Stage III : เป็นกับต่อมน้ำเหลืองสองทั้งข้างของกระบังลม หรือเป็นที่ต่อมน้ำเหลืองและอวัยวะอื่นอีก 1แห่ง
Stage IV : เป็นที่อวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย ทั้งในต่อมน้ำเหลือง และนอกต่อมน้ำเหลือง เช่น ตับ ปอด ไขกระดูก ระบบประสาทส่วนกลาง เป็นต้น
การรักษา
ขึ้นกับระยะของโรค
-Stage I, II, III ให้รังสีรักษาเป็นหลักและถ้าผู้ป่วยกลับมาอีกครั้งจะให้เคมีบำบัด หรืออาจให้เคมีบำบัดสลับกับรังสีรักษา หรือเคมีบำบัดและทำการปลูกถ่ายไขกระดูก
-Stage IV จะให้ยาเคมีบำบัดเป็นหลัก ร่วมกับรังสีรักษาในบริเวณที่ก้อนโตมาก เพื่อบรรเทาอาการ
Wilm’s tumor มะเร็งของไตที่พบในเด็ก
สาเหตุ :ไม่แน่นอน แต่เชื่อว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อผิดปกติตั้งแต่ระยะที่ทารกเป็นตัวอ่อน (Embryo)
•พยาธิสภาพ :ก้อนจะใหญ่มาก และโตเร็วอยู่ภายในเนื้อไต ฉีกขาดง่าย และลามไปหลอดเลือดในไตได้ (ปัสสาวะมีเลือดออก)
•อาการและอาการแสดง : คลำพบก้อนที่ท้อง (พบบ่อย) ปัสสาวะเป็นเลือดโดยไม่เจ็บปวด ซีด ปวดท้อง มีไข้ เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตสูง
การวินิจฉัย
-ซักประวัติ : ปัสสาวะเป็นเลือดสด น้ำหนักลด เบื่ออาหาร
-ตรวจร่างกาย : คลำได้ก้อนที่ท้อง
-ตรวจทางห้องปฏิบัติการ : WBC ต่ำ
-ตรวจ IVP (Intravenous pyelogram) พบไตข้างที่เป็นจะใหญ่กว่าปกติ กรวยไต (Calyx) บิดเบี้ยวหรืออยู่ผิดที่ หรือพบสารที่ฉีดเข้าไปไม่ถูกขับออกมาเนื่องจากก้อนเนื่องงอกอุดกั้นอยู่
•การรักษา หายได้ประมาณ 75-80% ขึ้นอยู่กับระยะของโรคและการตอบสนองต่อการรักษา
-ผ่าตัดเอาก้อนออก
-รังสีรักษา
-เคมีบำบัด
Neuroblastoma โรคมะเร็งของเนื้อเยื่อประสาท
สาเหตุ : ไม่ทราบแน่นอน แต่สันนิษฐานว่าอาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
•พยาธิสภาพ : เกิดจากการแบ่งตัวผิดปกติของเซลล์ประสาทอ่อน (Neural Crest) มักพบที่บริเวณต่อมหมวกไตชั้นเมดัลลา
•อาการและอาการแสดง
-มีก้อนที่ช่องท้อง หรือส่วนอื่นๆ เช่น ในช่องอก ก้อนบริเวณหลังลูกตา (ทำให้ความดันในลูกตาสูง ตาโปน)
-อาการทั่วไป มีไข้ น้ำหนักลด
•การวินิจฉัย
-การเจาะไขกระดูก พบเซลล์มะเร็ง มีการรวมตัวเฉพาะเรียกว่า “Rosette Formation”
-ตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบ เม็ดเลือดแดงต่ำ (ซีด) เกล็ดเลือดต่ำ
-ตรวจปัสสาวะ 24 ชม. พบสาร VMA สูง
-VMA (VanilmandelicAcid) เป็นเมตาบอไลท์ของฮอร์โมนอีพิเนฟริน (Epinephrine) และ นอร์อีพิเนฟริน (Norepinephrine) มีประโยชน์ในการช่วยวินิจฉัยโรคเนื้องอกของอะดรีนาลเมดุลลา
-IVP พบขนาดของไตข้างที่เป็นมะเร็งปกติ กรวยไตปกติ การขับสารทึบแสงออกปกติ แต่จะพบไตจะถูกดันต่ำลงมา
การรักษา
การผ่าตัดทำระยะที่ 1-2ถ้าผ่าตัดได้หมด /ไม่แน่ใจว่าหมด + รังสีรักษา + เคมีบำบัด
รังสีรักษา เนื้องอกจะไวต่อรังสีรักษา ยกเว้นระยะที่ 1 (ผ่าตัดออกได้หมด) ถ้าก้อนโตมากใช้รังสีรักษาเพื่อให้ก้อนเล็กลงก่อนการผ่าตัด / รักษารายที่มีก้อนกดเส้นประสาทเกิดอัมพาต /รังสีรักษาลดปวดจากเนื้องอกในกระดูก
เคมีบำบัด + การผ่าตัด /รังสีรักษา รักษาเมื่อมีการกระจายของโรคไปอวัยวะอื่นๆแล้ว
ปลูกถ่ายไขกระดูก ทำในรายที่การพยากรณ์โรคไม่ดี + เคมีบำบัด
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
มีภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจน เนื่องจากภาวะซีด
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออกง่าย เนื่องจากเกล็ดเลือดต่ำ
เสี่ยงต่อการติดเชื้อในระบบต่างๆ ของร่างกายเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำเพราะมีปริมาณเลือดขาวต่ำ
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการได้รับเลือด เช่น อาการไข้ หนาวสั่น อาการแพ้เลือด การติดเชื้อที่ปนมากับเลือด
ไขกระดูกฝ่อ (Aplastic Anemia)