Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease) - Coggle Diagram
โรคมือ เท้า ปาก (Hand Foot Mouth Disease)
พยาธิ
เกิดจากเชื้อไวรัสที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของคน Human Enterovirus ซึ่งไวรัสชนิดนี้จะถูกขับออกจากร่างกายมากับอุจจาระ และสามารถแพร่กระจายไปสู่คนอีกคนหนึ่งได้โดยการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสที่มาจากอุจจาระ ส่วนสัตว์อื่นๆ ไม่สามารถที่จะแพร่กระจายเชื้อไวรัสนี้ได้สำหรับเชื้อเอนเทอโร
จะพบในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี เด็กจะมีความเสี่ยงสูงที่สุดเพราะมักจะไม่สามารถรักษาความสะอาดส่วนตัวได้ดี จึงมักแพร่เชื้อไวรัสไปสู่เด็กอื่นๆ ได้ง่าย(อุจจาระ-ผิวหนัง-มือ-ใส่ปาก) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่อยู่รวมกันมากๆอย่างโรงเรียนอนุบาล หรือสถานรับเลี้ยงเด็กและโดยเฉพาะที่อยู่ร่วมกันอย่างแออัด จะแต่จะเพิ่มมากขึ้นในฤดูฝน ซึ่งเป็นอากาศเย็นและชื้น
อาการ
ระยะฟักตัว
อาการแสดงของโรคจะเกิดภายหลังจากได้รับเชื้อไวรัสประมาณ 3 – 6 วันจะเริ่มแสดงอาการ
มีอาการคล้ายหวัด น้ำมูกไหล ต่อมน้ำเหลือโต ใต้คางโตและอักเสบ ท้องร่วง ถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน
ระยะแพร่เชื้อ หลังจากนั้นประมาณ 1-2 วัน ก็จะพบผื่นที่เยื่อบุในปาก มักจะเกิดที่บริเวณลิ้นและในช่องปาก จะมีอาการเจ็บปาก กลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่ยอมทานอาหารเนื่องจากจะพบตุ้มแดงที่ลิ้น เหงือก กระพุ้งแก้ม
เริ่มมีไข้ต่ำๆ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย คอเจ็บ
ผื่นจะกลายเป็นแผลเล็กๆ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-8 มิลลิเมตร
สุดท้ายจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ และแตกเป็นแผล
จากนั้นอีกไม่กี่วันก็จะเป็นผื่นผิวหนังมีขนาด 3-7 มิลลิเมตร ที่มักจะเกิดที่มือมากกว่าที่เท้า โดยเฉพาะหลังมือและหลังเท้ามากกว่าฝ่ามือและฝ่าเท้าผื่นจะกลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ และในตุ่มน้ำใสๆ นี้ก็มีเชื้อไวรัสอยู่ด้วย
ซึ่งจะยุบแห้งไปเองภายในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ไม่แตกเป็นแผลเหมือนในปาก ทั้งนี้บางครั้งจะเจอบริเวณสะโพกด้วย แต่จะไม่กลายเป็นตุ่มน้ำใสๆ จะเป็นเพียงผื่นแดง นูนๆ เท่านั้น โดยเด็กบางคนอาจจะเป็นโรคมือเท้า ปากซ้ำๆ ได้หลายครั้ง
ติดต่อโดย
การสัมผัสกับสารคัดหลั่งจากจมูก ลำคอ น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใส
สามารถติดต่อโดยอ้อมจากการสัมผัสของเล่น
สัมผัสที่มีการปนเปื้อนของเชื้อ อาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ
การแพร่ติดต่อเกิดขึ้นค่อนข้างง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย ไวรัสจะติดมา กับมือหรือของเล่นที่เปลื้อนน้ำลาย น้ำมูก หรืออุจจาระของผู้ป่วย
การรักษา
การรักษาตามอาการ และการรักษาประคับประคอง
เฝ้าระวังอาการที่รุนแรงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยบางราย
การป้องกัน
ไม่มีวัคซีน แต่ป้องกันได้โดยรักษาสุขอนามัย
แนะนำให้ล้างมือให้สะอาดก่อน หลังรับประทานอาหาร หรือเข้าห้องน้ำ
เลี่ยงการใช้สิ่งของร่วมกันเช่น ผ้าเช็ดหน้า หลอดดูดน้ำ ผ้าเช็ดมือ
ถ้ามีเด็กป่วยมากก็ปิดรรชั่วคราวประมาณ 5-7 วัน
เลี่ยงการผ้าเด็กไปที่ๆมีคนเยอะจนกว่าตุ่มจะแห้ง ประมาณ 5-7 วัน
เป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้เนื่องจากมีไวรัสหลายสายพันธุ์
จัดเด็กให้อยู่ในห้องแยกเฉพาะโรคเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและอธิบายให้เด็กและญาติเข้าใจเรื่องระยะการติดต่อของโรคคือ 1 วันก่อนผื่นขึ้นจนถึง 7
วัน หลังผื่นขึ้นแล้ว หรือจนกว่าจะตกสะเก็ด
ให้รับประทานอาหารเย็นเช่น น้ำเย็น
การวินิจฉัย
ตรวจร่างกาย
การ Swab ในลำคอกับจมูก
อุจจาระเพื่อหาเชื้อไวรัส