Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารกเพศชาย อายุ 19 วัน GA 32+3 wks - Coggle Diagram
ทารกเพศชาย
อายุ 19 วัน
GA 32+3 wks
ปอดยังทำงานไม่ดี
สาร surfactant มีน้อย
ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยน gas ลดลง
เสี่ยงต่อการขาด oxygen เนื่องจากปอดยังทำงานได้ไม่ดีและสาร surfactant มีน้อย
ดูแลทารกให้ได้รับ HHHFNC 5 LPM Fio2 0.3 เพื่อให้เนื้อเยื่อต่างๆได้รับ O2 เพียงพอ และ On spont Ps 15 PEEP 3 Fio2 0.3 try spont 1 hr if ไม่เหนื่อย Extubate then on LFN 1 LPM Fio2 0.4
ประเมิน V/S และ O2 sat q 2 hr ร่วมกับสังเกตลักษณะและอัตราการหายใจอย่างสม่ำเสมอ ถ้ามี Retraction หายใจออกมีเสียงดัง ต้องรีบให้การช่วยเหลือด้านการหายใจ
ใช้หมอนเล็กๆ หรือผ้าอ้อมม้วนเล็กๆหนุนใต้ไหล่ เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
ให้ทารกนอนตะแคงหน้าเสมอ เพื่อให้น้ำลาย เสมหะไหลออกจากปาก จมูก สะดวก เพื่อป้องกันการสูดสำลัก
คอยกระตุ้นทารก เช่น ดีดฝ่าเท้า เมื่อกลั้นหายใจ เพื่อป้องกันการหยุดหายใจ
ถ้าหยุดหายใจนานเกิน 20 วินาที เขียวนาน ต้องรายงานแพทย์ เพื่อปรับ mode เครื่อง Ventilator
7.ให้ oxygen ถ้ามีอาการเขียว โดยให้ความเข้มข้นน้อยที่สุด ไม่เกิน 40%ในทารกเกิดก่อนกำหนดที่ได้รับ Oxygen ขนาดสูง อาจทำให้เกิดการทำลายของ Retina เกิด Retinopathy of prematurity ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้ (วนพร อนันตเสรี,ม.ป.ป)
ดูแลให้ความอบอุ่นทารก เพื่อลดการใช้ออกซิเจน
ระมัดระวังขณะให้นมทารก เพื่อป้องกันการสูดสำลักนม ทำให้ทารกมีภาวะแทรกซ้อนของปอด
การพยาบาลผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
(พว.ภัทร์ธีรนันท์ ศุทธิธนวัชร์,2559)
1.ดูแลทางเดินหายใจให้โล่ง จัดท่าผู้ป่วยให้อยู่ในท่านอนตะแคงหรือศีรษะสูง 15-30 องศา และเปลี่ยนท่านอนทุก 2 ชั่วโมง
ประเมินการดูดเสมหะโดย
ฟังเสียงทารกไอได้ยินเสมหะครืดคราด
สังเกตอัตราการหายใจเร็วขึ้นไม่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ
สังเกตอัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้น
ประเมินอาการของภาวะพร่องออกซิเจนโดยสังเกตพบทรวงอกมี Retraction ทารกกระสับกระส่าย เขียว
แนวปฏิบัติการดูดเสมหะ
ล้างมือก่อนและหลังดูดเสมหะทุกครั้ง
เลือกขนาดสายยางปราศจากเชื้อสำหรับดูดเสมหะที่เหมาะสมกับขนาดของท่อช่วยหายใจ
ดูดเสมหะโดยใช้หลัก aseptic technique
ในรายที่เสมหะเหนียวมาก อาจจะหยอด 0.9 %NSS ปราศจากเชื้อในปริมาณ 3-5 หยด ผู้ป่วยทารก
Hyperventilate 3-5 ครั้งโดยใช้ ออกซิเจน ก่อนดูดและหลังดูด
สอดสายดูดอย่างรวดเร็ว สอดจนปลายกระทบ carina จึงถอยสายดูดเสมหะออก 1 cm แล้วเริ่มดูด เวลาที่ใช้ดูดไม่เกิน 10 วินาที
ใช้แรงดันในการดูดเสมหะที่เหมาะสม 60 - 80 mmHg
*ระหว่างดูดเสมหะควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ภาวะหายใจลำบาก สีผิว
ตรวจสอบเครื่อง ventilator setting ที่ตั้งไว้ให้ถูกต้องตรวตามแผนการรักษา
ตรวจสอบการทำงานของ humidifier ให้มีค่าอุณหภูมิที่ 39 องศาเซลเซียส
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพทุก 1 ชั่วโมง
ตรวจสอบ circuit ของเครื่องช่วยหายใจไม่ให้มีน้ำขัง ซึ่งอาจทำให้เครื่องช่วยหายใจทำงานไม่ตรงตามที่ตั้งค่าไว้ และอาจเพิ่มปัญหาการติดเชื้อให้กับผู้ป่วย
เปลี่ยนพลาสเตอร์ติดท่อช่วยหายใจทุกวันหรือเมื่อพลาสเตอร์เปื้อน
ตรวจดูว่าท่อช่วยหายใจอยู่กับที่ไม่เลื่อนไปมา อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่กดทับบริเวณมุมปากมากเกินไป ยึดท่อช่วยหายใจอยู่กับที่
9.จัดสายเครื่องช่วยหายใจให้อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดึงรั้งท่อช่วยหายใจ
ตรวจสอบบริเวณรอยต่อทุกตำแหน่งภายหลังการดูดเสมหะ หรือเมื่อเครื่องช่วยหายใจส่งเสียง Alarm
ในการเปลี่ยนท่าผู้ป่วย ให้จับท่อช่วยหายใจและสายเครื่องช่วยหายใจและสายเครื่องช่วยหายใจให้ติดตามไปกับผู้ป่วย ป้องกันการดึงรั้งและการเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจ
ทารกหายใจเร็ว
ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด⬇️
เกิด Respiratory alkalosis
RR = 60-68 bpm
ทารกแรกเกิดมีการสร้างภูมิคุ้มกันไม่ดี
ไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้
เสี่ยงต่อการติดเชื้อในร่างกายเนื่องจากภูมิต้านทานของทารกต่ำ
ให้ยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา โดยให้ Ampicilin 185 mg IV q 12 hr ร่วากับGentamycin 7.5 mg IV q 24 hr และ Gentamicin 7.5 mg IVq 36 hr ระหว่างรอผลตรวจ sepsis
สังเกตและประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อของทารก ,ประเมินโดย Systemic inflamatory response Syndrome (SIRS) ในทารก (CPG รพ. มหาราชนครศรีธรรมราช,2561)
ล้างมือก่อนและจับทารก หรือให้การพยาบาลทุกครั้ง เนื่องจากผู้ป่วยทารกมีความต้านทานต่ำเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ผิวหนังบอบบางติดเชื้อง่าย (คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,ม.ป.ป)
แยกทารกไว้ในห้องแยก,แยกของเครื่องใช้ของแต่ละคน
ให้การพยาบาลแบบ Aseptic technique
พยาบาลและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติที่จะป้องกันการติดเชื้อในหน่วยทารกแรกเกิด
ทารกมี Brown fat น้อย
มีการสลาย brown fat น้อย
สร้างความร้อนโดย chemical thermogenesis method ⬇️
การควบคุมอุณหภูมิกายไม่เหมาะสมเนื่องจากศูนย์ควบคุมความร้อนใต้สมองส่วน Hypothalamus พัฒนาไม่สมบูรณ์
ดูแลให้ทารกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิที่ทำให้ทารกมีการใช้ O2 และการเผาผลาญสารอาหารน้อยที่สุดโดยให้ทารกอยู่ในตู้อบหรือ Radiant warmer
หลีกเลี่ยงภาวะเสี่ยงที่อาจทำให้ทารกสูญเสียความร้อน เช่น หลีกเลี่ยงการวางทารกไว้บนที่นอนเย็น รวมถึงนำ plastic shield มาครอบตัวทารกเพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อน
สังเกตอาการ Hypothermia เช่น เขียวปลายมือ ปลายเท้า ซึม กระสับกระส่าย ผิวหนังซีด เย็น หายใจเร็ว รับนมไม่ได้ น้ำหนักไม่เพิ่ม เมื่อพบว่ามีภาวะ Hypothermia ควรให้การดูแลโดยการเพิ่มอุณหภูมิของตู้อบ หรือวางทารกไว้ใต้ Radiant warmer หรือห่อตัวทารกให้อุ่น ติดตามและบันทึกอุณหภูมิทางรักแร้ทุก 15 - 30 นาที
สังเกตอาการของภาวะ Hyperthermia เช่นผิวหนังแดงขึ้น และอุ่น หายใจเร็ว จากนั้นแก้ไขตามสาเหตุ โดยนำทารกออกจาก Radiant warmer
สวมหมวกหรือใช้ผ้าคลุมศีรษะ มีส่วนช่วยให้ร่างกายทารกอบอุ่นขึ้น จากรายงานทบทวนอุณหภูมิของทารกแรกเกิด กล่าวว่า การสวมหมวกที่มีความหนา 2 ชั้นขึ้นไปให้ทารกและการใช้ผ้าขนหนูที่หนาห่อตัวทารก ร่วมกับปรับอุณหภูมิสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับทารก จะช่วยควบคุมอุณหภูมิกายทารกได้
แนะนำการสัมผัสแบบเนื้อแนบเนื้อเพื่อให้ทารกได้รับความอบอุ่นจากมารดา ส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้น จากงานวิจัยเรื่อง ผลของการให้แม่โอบกอดลูกแบบเนื้อแนบเนื้อต่ออุณหภูมิร่างกายและความอิ่มตัว o2 ของทารกแรกเกิดโรงพยาบาลรามาธิบดี(ปิยภรณ์ ปัญญาวชิร , ยิ่งขวัญ อยู่รัตน์,2559) พบว่าการโอบกอดลูก แบบเนื้อแนบเนื้ออุณหภูมิร่างกายทารกจะอยู่ในระดับปกติใน 30 นาทีแรก
ปฏิบัติการพยาบาลอย่างนุ่นนวลและรวดเร็ว เพื่อป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการเปิดตู้อบนานๆหรือคล้ายผ้าห่อตัว
มีอัตราการเผาผลาญดีขึ้น
ร่างกายดึงน้ำตาลออกจาก cell ไปใช้มากขึ้น
เสี่ยงต่อภาวะระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เนื่องจากอุณหภูมิต่ำทำให้ทารกมีอัตราเผาผลาญดีขึ้น
1.ดูแลให้ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ 15% DW 500 ml IV 2.5 ml/hr ตามแผนการรักษาของแพทย์
สังเกตอาการและลักษณะของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำอย่างใกล้ชิด อาการผิดปกติของภาวะ hypoglycemia เช่น ซึม ดูดนมไม่ดี อาเจียน active น้อย ร้องไห้ผิดปกติ , สั่น , mororeflex มากกว่าปกติ,ตอบสนองต่อสิ่งเร้าง่าย ง่วง ซึม กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชัก ผิวซีด เลือดขาด o2, tachycardia,หยุดหายใจชั่วขณะ(จุฑามาศ โชติบาง,2549)
หลีกเลี่ยงการเกิดภาวะอุณหภูมิต่ำ โดยพยายามรักษาระดับอุณหภูมิของทารกให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อลดอัตราการเผาผลาญที่นำไปสู่การดึงน้ำตาลออกจาก Cell ทำให้เกิดภาวะ hypoglycemia
ดูแลให้ได้รับนม หรือ สารอาหารเพียงพอโดยให้ BM 15 ml*8 Feeds โดยกระตุ้นให้รับนมแม่ เนื่องจากนมแม่ช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีกว่านมผสม(เปี่ยมกมล วัชโรทยางกูร,2564)
เจาะ DTX q 6 hr keep 50-150 mg% ตามแผนการรักษา
Body surface area เมื่อเทียบกับน้ำหนักตัวมีมาก
สูญเสียความร้อน⬆️
การสูญเสียความร้อน 4 ทาง
การระเหย ( Evaporation)
น้ำคร่ำที่เปียกตัวทารก,อาบน้ำตัวเย็น
การนำ(conduction)
เตียงนอนไม่มีผ้าปูที่อุ่น การแช่ผ้าอ้อมเปียก
การพา(Convection)
อาการเย็นหรือ ลมที่พัดผ่าน
การแผ่รังสี(Radiation)
การแผ่รังสีให้กับฝาผนังและฝาตู้อบที่เย็นกว่า
BT = 36.6 องศาเซลเซียส
ความต้องการพลังงานทารก preterm อยู่ที่ 120 - 150 Kcal/kg/day ทารกรายนี้ต้องการพลังงาน 234 Kcal/kg/day ทารกรายนี้ได้รับพลังงานจาก 15% DW 500 ml rate 2.5 cc/hr คิดเป็นพลังงาน 36 Kcal/kg/day และจาก BM 15 ml*8 Feeds คิดเป็นพลังงาน 120 Kcal/kg/day รวมแล้วมารกรายนี้ได้พลังงาน 156 Kcal/kg/day
ทารกได้รับสารน้ำ และสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย
ดูแลให้ได้รับสารอาหารและน้ำอย่างเพียงพอในกรณีที่ได้รับสารน้ำทางโลหิตดำต้องควบคุมอัตราการหยุดให้ตรงตามจำนวนและเวลาที่กำหนด
บันทึกอาการเปลี่ยนแปลงและสัญญาณชีพ และสังเกตอาการแสดงของภาวะสารน้ำและสารอาหาร เช่น ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ตึงตัวไม่ดี เหี่ยวย่น กระหม่อมบุ๋ม
ดูแลชั่งน้ำหนักตัวทารกทุกวัน เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว
สังเกตและบันทึกสารน้ำ เข้า-ออก จากร่างกายทุก 8 ชั่วโมง ถ้าไม่สมดุลให้รายงานแพทย์
สังเกต Reflex การดูด การกลืน และ bowel sound เพื่อประเมินความพร้อมของทารกที่รับนม
ดูแลให้ทารกได้รับนมทางสายยางตามจำนวน (ซี.ซี) และมื้อตามแผนการรักษาของแพทย์
ก่อนให้นมผสมทางสายยางทุกครั้ง ต้องทดสอบให้แน่ใจว่าสายยางอยู่ในกระเพาะอาหารและดูลักษณะ จำนวน content ในกระเพาะอาหาร และการดูดซึมมี content มากกว่า 50% ของนมที่ให้รายงานแพทย์
เกิดจาก PreCipitating stressors จากการที่ทารกป่วย
เป็นสิ่งเร้าให้บุคคลรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคาม
บุคคลต้องใช้พลังอย่างมากในการจัดการ
Stress
มารดามีภาวะเครียด เกี่ยวกับความเจ็บป่วยทารก
ส่งเสริมสัมพันธภาพภายในครอบครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทัศนคติที่ดีของมารดา บิดา หรือสมาชิกในครอบครัวที่มีต่อทารก
เปิดโอกาสให้บิดามารดา ได้พูดระบายความรู้สึก ความวิตกกังวล ปลอบโยนและอธิบายให้คำแนะนำในสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด แนวทางการแก้ไข และแนะนำผู้ที่ช่วยเหลือได้
อธิบายแนะแนวทางให้ครอบครัวสามารถให้การดูแล ตอบสนองความต้องการของสมาชิกในครอบครัวได้ การแบ่งเวลาในการดูแลสมาชิกในครอบครัว
แนะนำ 9 วิธีการจัดการความเครียด (กรมสุขภาพจิต,2562) สรุปได้ดังนี้ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม เพื่อรู้เท่าทันความเครียดผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีที่คุ้นเคย เช่น ฟังเพลงเบาๆ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น,จัดสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวให้น่าอยู่ หากิจกรรมที่ชื่นชอบทำ หากพบว่ามีความเครียดมากสามารถขอรับบริการที่คลินิคคลายเครียดหรือบริการให้คำปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323
เสริมแรงทางบวกและให้กำลังใจ เพื่อให้ความรู้สึกในทางบวกต่อตัวเองเพิ่มมากขึ้น มีความมั่นใจต่อเหตุการณ์ข้างหน้า สามารถปรับตัวต่อความเครียดโดยการเสริมแรงทางบวกควรเน้นถึงพฤติกรรมที่เป็นรูปธรรม ข้อดี และศักยภาพของผู้ป่วยอย่างแท้จริง (พรพรรณ ศรีโสภา,ธนวรรณ อาณารัฐ,2560)(บทบาทพยาบาลในการป้องกันและการจัดการความเครียด
แนะนำการฝึกหายใจ โดยใช้กล้ามเนื้อกระบังลมบริเวณหน้าท้องแทนการหายใจโดยใช้กล้ามเนื้อหน้าอก เมื่อหายใจเข้า หน้าท้องจะพองออก และเมื่อหายใจออก หน้าท้องจะยุบลง กลั้นไว้ชั่วครู่แล้วจึงหายใจออก ลองฝึกเป็นประจำทุกวันช่วยให้ร่างกายได้รับ O2 มากขึ้น ทำให้สมองแจ่มใส ร่างกายสดชื่น (วันทนา เนาว์วัน,อารมณ์ เอี่ยมประเสริฐ,2563)(การจัดการความเครียดแบะปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการคุณภาพชีวิตในการทำงาน,วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์)