Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะซึมเศร้า - Coggle Diagram
ภาวะซึมเศร้า
อาการ
ต้องเป็นมาอย่างน้อย 2 สัปดาห์
รู้สึกซึม เศร้า รู้สึกร้าย ๆ กับตัวเองกับอนาคต
เริ่มไม่ทำกิจกรรมที่เราเคยทำเคยสนใจ
เริ่มไม่ทำกิจวัตรประจำวัน
นอนไม่หลับ หรือนอนเยอะผิดปกติ
เริ่มมีความคิดว่า ชีวิตนี้ไร้ค่า เกิดขึ้นมาทำไม
กินเยอะ หรือกินน้อยผิดปกติ
อาการหลักคือ 2 อันแรก นอกนั้นเป็นอาการที่สอดแทรกมา
แบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า 2Q 9Q
ต้องไม่วินิจฉัยเอง
ถ้าได้ผลคะแนนสูง ควรไปพบจิตแพทย์
การจัดการภาวะซึมเศร้า / วิตกกังวล
ใช้ใจรับฟังเรื่องราวของเขา ที่เป็นเรื่องราวของเขาจริง ๆ
ชวนให้เขาเล่าเรื่องราว ด้วยคำถามปลายเปิด
Restatement ทวนสิ่งที่เขาเล่า ... ให้รู้ว่าเรารับฟังเขาอย่างเข้าใจ
Reflection สะท้อนความรู้สึกของเขา
สร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีกับเขา รับฟัง โดยไม่เอาตัวเราเข้าไปตัดสิน
ฟังสัก 20-30 นาที แล้วแต่คน แล้วแต่ปัญหา
สำคัญมาก ควรทำให้ดี
ประเมิน
ถามเพิ่มเติมเพื่อประเมินภาวะ
จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ส่งผลอย่างไร (Physical Factors)
คิดอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น (Negative thoughts regarding self/others/future)
มีความรู้สึกอย่างไรกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
มีความคิดแบบนี้มานานแค่ไหนแล้ว บ่อยแค่ไหนในแต่ละวัน
การประเมินความเสี่ยงการฆ่าตัวตาย
แบ่งเป็น 3 ระดับ
ถามจริง ๆ ว่ารู้สึกว่าไม่อยากอยู่ต่อรึเปล่าชีวิตนี้
ถ้าไม่มี ก็สบายใจได้
ถ้ามีบ้าง นาน ๆ ครั้ง ก็ควรพยายามชวนเด็กไปหานักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์
ถ้าคิด และบ่อยด้วย ควรพาไปหานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ทันที
Interventions : Behavioral Techniques
ชวนทำกิจกรรมที่เด็กชอบและเคยทำ
เล่าวงจรของภาวะให้ฟัง ถามว่าตรงกับที่เป็นไหม
ชวนร่วมกันเปลี่ยนแปลงวงจร คิดว่ายังไง
มีกิจกรรมอะไรที่ทำแล้วมีความสุข ชวนทำ
มีอุปสรรคอะไรที่จะขัดขวงให้ไม่สามารถทำกิจกรรมนั้นได้ไหม
ลงตาราง
เลือกกิจกรรมเพิ่ม
สำหรับภาวะซึมเศร้า
Interventions : Behavioral Techniques สำหรับคนที่มีความวิตกกังวล
ฝึกลมหายใจเพื่อ Relaxation
ให้หายใจเข้าน้อยกว่าหายใจออก 1 จังหวะ
ฝึกทำ 5 นาที เช้า กลางวัน เย็น ก่อนนอน
Interventions : Behavioral Techniques - ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด
ใช้การตั้งคำถาม เพื่อช่วยลดความคิดด้านลบ ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น
คนเราถ้าได้ระบายความในใจมาสัก 20-30 นาทีแล้ว เราสามารถชวนคิดถึงความเป็นไปได้อย่างอื่น
ดูปฏิกิริยาทางกายว่าสงบลงแล้วหลังจากเล่า
ใช้การถาม ให้เขาได้ตระหนักว่ามันสามารถเป็นไปในทางอื่นที่ไม่ใช่ความคิดเชิงลบที่เขาคิดอยู่
Interventions : Cognitive Techniques
เพิ่มแรงใจในการดำเนินชีวิต
ได้เรียนรู้อะไรจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
พอจะทำอะไรได้บ้างตอนนี้ (ที่อารมณ์พลุ่งพล่านได้หายไปแล้ว)
ความวิตกกังวล (Anxiety)
เป็นอีกภาวะหนึ่งที่พบได้บ่อย
รู้สึกกังวลมากจนมีอาการทางกายร่วมด้วย
ความดันเลือดสูง ท้องไส้ปั่นป่วน ตัวสั่น ใจเต้นแรง ลุกลี้ลุกลน หงุดหงิด
Cognitive + Physical + Behavioral Factors
พยายามหลีกหนีสิ่งที่ตนเองกลัว (ช่วยลดความวิตกกังวลชั่วคราว แต่จะทำให้วิตกกังวลมากขึ้นในครั้งต่อ ๆ ไป)
การแก้ไข ควรส่งเสริมให้ทำ ฝ่าฝันสิ่งที่กลัว
มักจะจินตนาการว่าสิ่งเลวร้ายที่สุดจะเกิดขึ้นกับเขา ซึ่งจะทำให้อาการทางกายเกิดขึ้น
คนที่วิตกกังวลสูง ใจจะพยายามควบคุมสิ่งต่าง ๆ รอบตัว แต่ไม่สามารถทำได้ จึงไม่มีสมาธิในการทำงาน
เป็นมากเข้าจะนอนไม่หลับ ปวดหลัง ปวดบ่า ปวดไหล่ ปวดต้นคอ
Panic disorder
Generalized anxiety disorder (GAD)
กังวลหลาย ๆ เรื่องปน ๆ กัน
Social anxiety
เช่น การพูดหน้าชั้น (คิดว่าคนอื่นจะมองว่าไม่ดี จะตำหนิ)
มีอาการทางกายเกิดขึ้น เช่น เหงื่อแตก ท้องไส้ปั่นป่วน
Obsessive-compulsive disorder (OCD)
ย้ำคิดย้ำทำ
เป็นมาก ๆ จะเริ่มมีปัญหากับการใช้ชีวิตประจำวัน
Posttraumatic stress disorder
ความเครียดจากความกลัวจากเหตุการณ์ร้าย ๆ ที่เคยเผชิญมาก่อน
Specific phobias
ความกลัวที่เฉพาะเจาะจง เช่น กลัวฟ้าร้อง กลัวแมงมุม กลัวที่แคบ กลัวที่มืด
ถ้าสิ่งที่กลัว ไม่ได้ส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ก็บอกให้เลี่ยง ๆ เอา
วงจรของการ Panic
เจอสิ่งที่กลัว
กังวล
มีอาการทางกาย
ตีความว่าเรื่องร้าย ๆ จะเกิดขึ้น
วิตกกังวล
การแก้ไข ตัดทำลายวงจรนี้ซะ
คนวิตกกังวล มักคิดถึงอนาคตมาก ๆ
มีความคิด negative self เกิดขึ้นเป็นตัวแรก
มีคำพูดตำหนิตัวเองอย่างรุนแรง เช่น เฮงซวย ไม่ได้เรื่องเลย (แต่ถ้าแค่ไม่ค่อยเก่ง ยังไม่รุนแรง)
มีความคิด negative environment เป็นตัวที่ 2
ตำหนิสิ่งแวดล้อม
ตำหนิคนรอบข้าง
มีความคิด negative ต่ออนาคต
อนาคตแย่ หมดอนาคต
วงจรของภาวะซึมเศร้า
เป็นเหตุที่ทำให้ภาวะซึมเศร้าอยู่กับเรานาน
การแก้ไขต้องทำลายวงจรนี้ให้ได้
ต้องฝืน ลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่าง
เริ่มจากมีเหตุการณ์ร้าย ๆ เกิดขึ้น
มีความรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำอะไร
นานไป รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า ไร้ความสามารถ
ลดกิจกรรมต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต
ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า
คนที่มีภาวะซึมเศร้าแบบปานกลาง มักฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าคนที่มีภาวะซึมเศร้างแบบรุนแรง