Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (Total Hip Replacement: THR), นางสาวศศิธร …
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (Total Hip Replacement: THR)
การพยาบาลก่อนผ่าตัด
สร้างสัมพันธภาพโดยการเข้าไปพูดคุยซักถามและเปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึกที่ทำให้
ไม่สบายใจ และรับฟังอย่างตั้งใจ
ประเมินภาวะความวิตกกังวลของผู้ป่วยจากสีหน้าท่าทางและคำบอกเล่า
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ป่วยวิตกกังวล พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามปัญหาจน
เข้าใจ ให้กำลังใจ พูดคุยให้ความเป็นกันเองกับผู้ป่วย สร้างความมั่นใจให้ผู้ป่วย ยกตัวอย่างหรือ
แนะนำให้พูดคุยกับผู้ป่วยกลุ่มโรคเดียวกัน
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติของโรงพยาบาล ขณะอยู่โรงพยาบาลเพื่อให้
ผู้ป่วยและญาติเข้าใจและคลายความกังวล
5.ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตนก่อนและหลังผ่าตัดแก่ผู้ป่วยและญาติ อธิบายเกี่ยวกับ โรคและการผ่าตัดให้ผู้ป่วยทราบ โดยการสอนข้างเตียง เปิดวีซีดีให้ดู และแจกคู่มือเรื่องการปฏิบัติตนก่อนและหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม พร้อมให้แผ่นคำแนะนำการปฏิบัติตนหลังผ่าตัดเปลี่ยน
ข้อสะโพกเทียม โดยสอนแนะนำ กระตุ้นให้ผู้ป่วยบริหารร่างกาย ได้แก่ กล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อรอบสะโพกให้แข็งแรง โดยบริหารสม่ำเสมอต่อเนื่องอย่างน้อย 6 สัปดาห์ เมื่อกล้ามเนื้อแข็งแรงแล้ว เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยป้องกันการเคลื่อนหลุดของข้อสะโพกเทียมได้ ดังต่อไปนี
5.1 วันแรกหลังผ่าตัด บริหารร่างกายในท่านอน ควรเริ่มออกกำลังกายให้เร็วที่สุดตั้งแต่หลังผ่าตัดวันแรก เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ และปอดอักเสบ ให้หายใจเข้า-ออกลึกๆ ช้าๆ โดยหายใจเข้าลึกๆ ค้างไว้ 30 วินาที แล้วผ่อนลมหายใจออกช้าๆ ทำซ้ า 5-10 ครั้ง แล้วหายใจตามปกติ
5.2 วันที่ 1-2หลังผ่าตัด บริหารร่างกายกล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อรอบสะโพกในช่วงแรกหลังผ่าตัดจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปบริเวณขาและเท้าเพื่อป้องกันการเกิดก้อนเลือดอุดตันอีกทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก การบริหารร่างกายนี้สามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่อยู่ในห้องพักฟื้นในโรงพยาบาล ช่วงแรกหลังการผ่าตัด ในช่วงเริ่มต้นอาจจะ
รู้สึกไม่ค่อยสบาย แต่การบริหารจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้นและลดอาการปวดหลังการผ่าตัด
ท่าที่ 1 ค่อยๆกระดกเท้าลงและขึ้นช้าๆ ท่านี้ควรทำบ่อยๆทุก 5 หรือ 10 นาที โดยสามารถเริ่มทำได้ตั้งแต่หลังผ่าตัดจนกระทั่งฟื้นตัวเต็มที่
ท่าที่ 2 หมุนเท้าเข้าหาเท้าอีกข้าง แล้วค่อยๆหมุนออกไกลจากเท้าอีกข้างทำซ้ำ 5 ครั้ง ในแต่ละทิศทาง ทำท่านี้ 10 ครั้ง ทำบ่อย 3-4 รอบต่อวัน
ท่าที่ 3 เลื่อนส้นเท้าเข้าหาสะโพก งอเข่า พยายามยึดส้นเท้าให้วางบนเตียงตลอดเวลา ระวังอย่าให้หัวเข่าหมุนเข่าด้านใน
ท่าที่ 4 เกร็งกล้ามเนื้อสะโพกพยายามค้างไว้นับ 1-5
ท่าที่ 5 เลื่อนขากางออกให้กว้างที่สุดเท่าที่จะทำได้และเลื่อนกลับ
ท่าที่ 6 เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาและพยายามยืดเข่าให้ตรงที่สุด ค้างไว้ 5-10 วินาที ทำท่านี้ซ้ำ 10 ครั้ง ในช่วงเวลา 10 นาที ทำต่อเนื่องไปจนกระทั่ง รู้สึกกล้ามเนื้อต้นขาล้า
ท่าที่ 7 เกร็งกล้ามเนื้อต้นขาและพยายามยืดเข่าให้ตรงที่สุดบนเตียง ในขณะที่เกร็ง ต้นขาค่อยๆยกขาขึ้นจากเตียงสูง 2-3 นิ้วค้างไว้ 5-10 วินาที แล้วค่อยๆวางลง ทำต่อเนื่องไปจนกระทั่งรู้สึกกล้ามเนื้อต้นขาล้า
5.3 วันที่ 3-7 หลังผ่าตัด บริหารร่างกายและกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกในท่ายืน (standingexercise) ตามแผนการรักษาทันที หลังการผ่าตัดควรลุกจากเตียงและสามารถยืนได้ อาจจำเป็นต้องมีคนช่วยเนื่องจากอาจยังรู้สึกเวียนศีรษะในครั้งแรกๆที่ยืน หลังจากที่แข็งแรงขึ้นจะสามารถยืนได้เองโดยไม่จำเป็นต้องมีคนช่วยแต่การยืนควรมีที่ยึดจับที่มั่นคงเสมอ
่ท่าที่ 1 ยืนเกาะพนักเก้าอี้หรือราวจับที่มั่นคงยกขาข้างที่ผ่าตัดขึ้นเข้าหาอกโดยยกไม่สูงเกินระดับเอว นับถึง 3แล้วลดขาลง
ท่าที่ 2 ยืนเกาะพนักเก้าอี้หรือราวจับที่มั่นคงโดยจัดท่าให้สะโพกเข่าและเท้าชี้ไปด้านหน้ายืนตัวตรง ยืดเข่าให้ตึงในขณะที่ยกขาหนึ่งข้างขึ้นไปด้านข้างแล้วค่อยๆลดลงจนเท้ากลับมาแตะพื้น
ท่าที่ 3 ยืนเกาะพนักเก้าอี้หรือราวจับที่มั่นคง ยกขาข้างที่ผ่าตัดขึ้นไป ทางด้านหลัง พยายามยืดหลังให้ตรง ยกค้างไว้นับถึง 3แล้วค่อยๆลดขาลงมาแตะพื้น
5.4 การบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกต้องปฏิบัติต่อเนื่องทุกวัน เพื่อให้เกิดทักษะในการดูแลตนเองในแต่ละวันโดยพิจารณาตามอาการและตามแผนการรักษาของแพทย์
ทบทวนติดตาม และประเมินผลเป็นระยะ
เปิดโอกาสให้ซักถาม และตอบข้อสงสัย
การพยาบาลหลังผ่าตัด
ให้คำแนะนำกับผู้ป่วยว่าหลังผ่าตัด 6 สัปดาห์แรก ควรหลีกเลี่ยงการงอข้อสะโพก (flexion)มากกว่า 90องศา การบิดหรือหมุนข้อสะโพกออกนอกและเข้าในมากเกินไป (external and internalrotation)
ดูแลจัดท่านอนให้ผู้ป่วยดังนี้
นอนราบหัวสูง 30 องศา ขาข้างที่ผ่าตัดกางออก(abduction) ประมาณ 15-30องศา โดยใช้หมอนวางระหว่างขาทั้งสองข้างเพื่อป้องกันข้อสะโพกเคลื่อนหลุด ขาอยู่ในท่าเหยียดตรง
หลีกเลี่ยงการงอขาทันที การบิดหรือหมุนข้อสะโพกออกนอกและเข้าในมากเกินไป(excessive external rotation and internal rotation)
นอนตะแคงไปข้างที่ไม่ทำผ่าตัด ขณะพลิกตะแคงตัวต้องวางหมอนไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างพร้อมกับระวังไม่ให้ขาข้างที่ทำผ่าตัดหุบเข้า
ดูแลช่วยเหลือในการพลิกตะแคงตัวให้ผู้ป่วยดังนี้
เมื่อผู้ป่วยต้องการพลิกตะแคงตัว พยาบาลควรจัดตัวผู้ป่วยและขาข้างผ่าตัดเหยียดตรงขณะเดียวกันระวังขาตกหรือหุบเข้า หลังจากนั้นพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยไปยังขาข้างที่ไม่ผ่าตัด ขณะพลิกตะแคงตัวต้องมีหมอนวางไว้ระหว่างขาทั้งสองข้างเพื่อป้องกันขาหุบเข้า
สอนและให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการบริหารร่างกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและดูแลให้ผู้ป่วยบริหารร่างกาย
ดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยให้ยืน เดิน นั่งอย่างปลอดภัยโดยให้ความรู้กับผู้ป่วยดังนี้
5.1 การลงจากเตียง
เขยิบลงจากเตียงไปยังด้านเดียวกับขาข้างที่ผ่าตัด เลื่อนสะโพกโดยใช้ข้อศอกช่วยดัน ขณะที่เขยิบขาข้างที่ผ่าตัดลงมาข้างๆ เตียง พยายามทำให้ลำตัวตรงและห้ามบิดหรือหมุนขา
เคลื่อนขาข้างที่ไม่ผ่าตัดมาไว้ข้างๆขาข้างที่ผ่าตัด และนั่งลงบนขอบเตียงพยายามให้ขาข้างที่ผ่าตัดเหยียดตรง จับ pick up walker เพื่อช่วยรองรับน้ำหนักขณะยืนขึ้น และหลีกเลี่ยงการงอขาหรือพับขาไปด้านหลังขณะที่พยายามยืนขึ้น
5.2 การนั่ง ท่านั่งที่มั่นคงคือ หลังแนบพนักพิง มือจับพนักเท้าแขนทั้งสองข้าง ควรหลีกเลี่ยงเก้าอี้ที่เตี้ยมากๆ หรือเก้าอี้ที่บุนวมหนาเป็นพิเศษ
5.3 การเดิน หลังจากผ่าตัดระยะหนึ่ง จะสามารถยืนขึ้นได้โดยใช้pick up walkerช่วยในการทรงตัว ขณะที่ฝึกเดินให้ลงน้ำหนักขาข้างที่ผ่าตัดได้เล็กน้อย เมื่อแข็งแรงขึ้นสามารถลงน้ำหนักมากขึ้นตามแผนการรักษา
สอนแนะนำให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติเพื่อป้องกันภาวะข้อสะโพกเทียมเคลื่อนหลุดดังนี้
6.1 การทำกิจกรรม ไม่เอื้อมไปหยิบของใต้เตียง การใส่รองเท้า ให้ใช้ช้อนตักรองเท้าด้ามยาวช่วยใส่รองเท้า อย่าพยายามโน้มตัวหรืองอสะโพกขึ้นมาเพื่อใส่รองเท้า ถุงเท้า หรือผูกเชือกรองเท้า
6.2 การเดินทาง ไม่ควรนั่งรถติดต่อกันนานมากกว่า 1 ชั่วโมง ควรนั่งบนที่นั่งแข็งเพื่อป้องกันการงอข้อสะโพกมากกว่า 90 องศา อย่าให้น้ำหนักตัวมากเกินไป จะทำให้ข้อสะโพกรับน้ำหนักไม่ไหวและอาจมีอาการปวดตามมา
6.3 การเล่นกีฬาสามารถเล่นกีฬาเบาๆ ได้ เช่น กอล์ฟหรือเทนนิสได้ หลังการผ่าตัด 6 เดือนถึง 1 ปี และไม่ควรเล่นกีฬาที่เข้าปะทะกัน
ดูแลแผลโดยใช้หลัก aseptic techniqueและสังเกตอาการผิดปกติของแผล เช่น แผลผ่าตัด
บวม แดง ร้อน มีหนองหรือเลือดซึมออกจากแผล ถ้ามีอาการดังกล่าวให้รายงานแพทย์ทันที
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ ทุก 4 ชั่วโมง เมื่อพบว่ามีไข้ให้รายงานแพทย์
ดูแลให้คำแนะนำกับผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับการดูแลแผลผ่าตัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดดังนี้
-ระวังไม่ให้แผลผ่าตัดเปียกน้ำ
-ผู้ป่วยไม่ควรสัมผัสหรือเกาแผล
สังเกตอาการของการติดเชื้อ ดังนี้ แผลผ่าตัดบวม แดง ร้อน มีอาการปวดแผลผ่าตัดเพิ่มขึ้น
มีไข้ T >37.5 ีหนองหรือเลือดซึมออกจากแผลถ้ามีอาการดังกล่าวควรรีบมาพบแพทย์ทันที
แนวทางการฟื้นฟูสภาพเมื่อผู้สูงอายุกลับบ้าน
ให้คำแนะนำการปฏิบัติตนภายหลังกลับบ้านดังนี้
ข้อควรปฏิบัติ
ขาข้างที่ทำผ่าตัดต้องอยู่ในท่ากางตลอดเวลา
บริหารกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง นอนตะแคงไปทางขาข้างดี และต้องมีหมอนรองระหว่างขาให้ข้อสะโพกข้างที่ทำผ่าตัดกางประมาณ 30องศา ตลอดเวลา
การลงจากเตียงให้เคลื่อนตัวมาทางขาข้างดีให้ใกล้ขอบเตียงมากที่สุด โดยขาข้างที่ผ่าตัดอยู่ในท่ากางขาตลอดเวลา ใช้ข้อศอกและมือยันที่นอนแล้วลุกขึ้นนั่งพร้อมกับหมุนตัวห้อยขาลงจากเตียง
การขึ้นเตียงให้ใช้ขาข้างดีขึ้นก่อน แล้วตามด้วยขาข้างที่ทำผ่าตัด
การขึ้นลงทางลาด ถ้าจำเป็นต้องเดินขึ้นให้เอนตัวมาทางด้านหลัง การเดินลงสามารถทรงตัวได้ตามปกติ
การขึ้นลงบันได ใช้ขาข้างดีนำขึ้นและก้าวขาข้างที่ทำผ่าตัดตามไป พักไว้ที่บันไดข้างเดียวกัน แล้วจึงก้าวนำต่อไปโดยขาข้างที่ดี การลงใช้ขาข้างที่ทำผ่าตัดนำลงมาก่อน
ควรมาพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติดังนี้ปวดข้อสะโพกมาก และไม่สามารถเดินหรือลงน้ำหนักได้ ไข้ แผลบวมแดงหรือมีน้ำเหลืองซึม
ข้อห้ามปฏิบัติ
ห้ามทำกิจกรรมใดๆที่ต้องงอสะโพกมากกว่า 90 องศา (มากกว่าท่านั่งปกติบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง) ดังนี้
ห้ามนั่งไขว่ห้าง โดยใช้ขาข้างที่ทำผ่าตัดไขว่ขาข้างดี
-ห้ามนั่งเก้าอี้ที่มีระดับต่ำกว่าสะโพก เช่น ม้านั่งเตี้ย ๆโซฟา
ห้ามก้มใส่รองเท้าหรือตัดเล็บเองในระยะแรก หลักการจำคือ ห้ามใช้มือต่ำกว่าเข่า
ห้ามนั่งยอง ๆ เช่น ใช้ส้วมซึม ควรเลือกใช้ส้วมชักโครก ถ้าไม่มีอาจดัดแปลงใช้เก้าอี้ไม้เจาะเป็นช่องวางครอบบริเวณโถส้วม
ห้ามก้มลงหยิบของบนพื้น ให้ใช้ตะขอหรืออุปกรณ์อื่นๆ ช่วยหยิบ
นางสาวศศิธร อุตม์ทอง เลขที่ 11 ห้องA รหัสนักศึกษา 623020110127