Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก ( 2 ) - Coggle Diagram
การส่งเสริมภาวะโภชนาการในเด็ก ( 2 )
ปัญหาโภชนาการในเด็กแต่ละวัย
ปัญหาโภชนาการในเด็กทารก
ทารกไม่ยอมกินอาหาร
1.1 ทารกใช้ลิ้นในการกินอาหารไม่เป็น
ทารกจะติดในการดูดนมมารดา คือ เอาลิ้นออกมานอกปากเพื่อรูดน้ำนมมารดากลับเข้าไปในปาก เมื่อวางอาหารไว้ที่ลิ้น อาหารจะถูกลิ้นดันทิ้งออกมาหมด
การพยาบาล
แนะนําให้มารดาหรือผู้ดูแลตักอาหารเพียงครั้งละ 1 ใน 4 ช้อนชา ใส่เข้าไปในกระพุ้งแก้ม หรือใส่อาหารลงไปถึงโคนลิ้น จนทารกยอมกลืนเข้าไปจึงค่อยๆ เพิ่มอาหารในแต่ละช้อน
1.2 ทารกยังไม่พร้อม
อาจเนื่องมาจากพัฒนาการการกินอาหารไม่ดี ยังอิ่มจากนมมื้อก่อน บรรยากาศการกินมีความเคร่งเครียด ไม่สบายมีไข้ เป็นหวัด พักผ่อนน้อย
การพยาบาล
แนะนําให้มารดารอป้อนอาหารหลังให้นม 3 ชั่วโมง
พัฒนาการกินอาหารไม่ดี รอให้ทารกพร้อม ใช้เวลา 2-3 วัน หรือสัปดาห์ จึงเริ่มให้ใหม่ ทําอย่างสม่ำเสมอ
มารดาทําบรรยากาศให้ผ่อนคลาย ให้ทารกได้สัมผัสอาหาร หยิบอาหารถูพื้น ถูตัวบ้าง ปาเล่นบ้าง ใช้ช้อน ชาม แก้วที่ตกไม่แตก สิ่งแวดล้อมสงบ เพื่อให้ทารกสนใจเฉพาะอาหาร
ถ้าไม่สบายควรพักและประเมินสภาพทารกว่าพร้อมกินอาหารหรือไม่
ทารกเบื่ออาหาร
สาเหตุจากความเคยชินกับส่วนผสมในอาหาร
การพยาบาล
แนะนําให้มารดาปรับเปลี่ยนอาหารให้มีหลากหลายรสชาติ เปลี่ยนผัก เนื้อสัตว์ให้ต่างชนิดกัน ไม่ควรมีรสชาติที่จัดไปทางใดทางหนึ่ง เช่น หวาน เปรี้ยว เค็ม
จัดอาหารให้มีสีสัน เช่น ใช้ผัก ผลไม้นุ่มๆ ตัดเป็นชิ้นๆ ให้ทารกได้จับ ถ้าเป็นมะละกอ กล้วยจะนุ่ม เหมาะสําหรับทารก ถ้าเป็นผัก ผลไม้ค่อนข้างแข็ง เช่น แครอท ฟักทอง ฝรั่ง แอปเปิล ต้องนั่นเป็นชิ้นเล็ก ผสมน้ำ ต้ม หรือนึ่งจนนุ่มเปื่อย
กินแล้วอาเจียน
สาเหตุ
จากทารกมีพัฒนาการการกลืนอาหารยังไม่ดี กินอาหารมากเกินไป ได้อาหารใกล้มื้อนมที่ผ่านมา แพ้อาหาร
การพยาบาล
แนะนําให้มารดา สังเกตการกลืนอาหารของทารก เพราะทารกแต่ละคนมีพัฒนาการการกลืนอาหารต่างกัน จึงต้องปรับขนาดอาหารให้เหมาะสม
แนะนําให้มารดาหรือผู้ดูแลทราบว่าทารกบางคนจะไม่มีจุดหยุดในการกินอาหาร จึงอ้าปากกินไปเรื่อยๆ ทําให้ทารกได้อาหารมากเกินไป ต้องจํากัดปริมาณให้เหมาะสม กินแต่พอดี
แนะนําให้มารดาหรือผู้ดูแลพิจารณาให้อาหารห่างจากมื้อก่อนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง
แนะนําให้มารดาหรือผู้ดูแลทราบว่าทารกที่มีประวัติแพ้นม มีโอกาสแพ้อาหารได้ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือ ไข่ ถั่วเหลือง ผลไม้เปลือกแข็ง ปลา โกโก้ ผลไม้รสเปรี้ยว ข้าวโพด ข้าวสาลี ไก่
การเจริญเติบโตช้า ไม่เหมาะสมตามวัย (failure to thrive)
สาเหตุจาก
ได้รับอาหารน้อย คุณภาพ ปริมาณไม่ถูกต้อง เช่น ได้รับน้ำผลไม้แทนอาหาร ทําให้การเติบโตช้ามารดากลัวทารกอ้วน ให้นมขาดไขมันหรือไขมันต่ำ ส่งผลต่อการพัฒนาสมอง การเรียนรู้ช้าทั้งด้านภาษาและการเคลื่อนไหว
การพยาบาล
ให้ความรู้มารดา และผู้เลี้ยงดูทารก เรื่องการจดบันทึกอาหารที่ทารกได้รับ เพื่อประเมินปริมาณอาหารและคุณภาพ และชั่งน้ำหนัก
ปรึกษาสังคมสงเคราะห์เพื่อช่วยครอบครัวที่มีปัญหาทางเศรษฐกิจ
ปัญหาโภชนาการในเด็กวัยก่อนเรียน
เด็กไม่ยอมกินอาหาร กินยาก
คำแนะนำ
1) จัดอาหารให้มีสีสันสดใส ส่งเสริมให้เด็กที่ไม่ชอบผักยอมกินผัก โดยชี้ชวนให้สนุกและน่าสนใจ
2) ไม่ให้อาหารว่างก่อนมื้ออาหารหลัก
3) จัดอาหารว่างที่มีคุณภาพ เช่น ผลไม้ แทน น้ำหวาน
4) ถ้าเด็กอิ่ม ไม่ควรคะยั้นคะยอให้กินอีก จะทําให้เด็กปฏิเสธอาหาร ถ้าเด็กไม่หิวให้เลื่อนเวลาออกไปครึ่งถึง1ชม.
5) จัดบรรยากาศในการกินอาหารโดยส่งเสริมให้เด็กกินอาหารเอง ให้เด็กมีโอกาสเลือกอาหาร มีส่วนร่วมในการทําอาหาร เช่น ล้างผัก
6) จัดอาหารให้ตรงเวลา ไม่ใช้อาหารเป็นรางวัลหลอกล่อเด็ก หรือลงโทษเด็ก
7) จัดโต๊ะ เก้าอี้ ภาชนะ ชาม ช้อนให้เหมาะสมกับเด็ก
2.ปัญหาท้องผูก
คำแนะนำ
1) ให้เด็กกินข้าวที่ขัดสีน้อย
2) ให้ผักและผลไม้ 2-3 ส่วน/วัน ผลไม้หั่นเป็นชิ้นให้เด็กหยิบกิน ใช้ผักที่มีกลิ่นน้อย ไม่ขม เช่น ผักกาด
3) ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ
ปัญหาฟันผุ
คำแนะนำ
1) ไม่ซื้อลูกอม ขนมหวาน นมหวาน น้ำอัดลม นมเปรี้ยว ให้กับเด็ก ให้ทดแทนด้วยผลไม้
2) ให้ดื่มนมจืดและน้ำเปล่าแทน นมหวาน นมเปรี้ยว น้ำอัดลม
3) ให้เด็กบ้วนปาก แปรงฟัน เช้า-เย็น หรือภายหลังกินอาหาร
ปัญหาเด็กน้ำหนักเกินและอ้วน
คำแนะนำ
1) ไม่ให้เด็กกินจุบจิบ
2) ไม่ซื้อขนม นมปรุงรส และอาหารไขมันสูงสะสมในบ้าน
3) สอนให้เด็กกินผักและผลไม้ให้เป็นนิสัย
4) สอนให้เด็กมีวินัยในการกิน กินให้เป็นเวลา
5) ลดกิจกรรมที่เด็กไม่เคลื่อนไหวร่างกาย โดยให้ดูโทรทัศน์ไม่เกินวันละ 2 ชม.
6) ส่งเสริมหรือกระตุ้นให้เด็กมีการออกกําลังกาย โดยทํากันทั้งครอบครัวหรือผู้ดูแลเป็นแบบอย่างที่ดี
ปัญหาโภชนาการในเด็กวัยเรียน
มีภาวะน้ำหนักน้อย (under nutrition)
สาเหตุ
กินอาหารไม่เป็นเวลา เนื่องจากทํากิจกรรมหรือสนใจอย่างอื่นมากกว่า
บิดามารดา ไม่ได้เตรียมอาหารให้ หรือเด็กที่ถูกทอดทิ้งจากปัญหาเศรษฐกิจในครอบครัว บิดามารดาติดยาเสพติด
ไม่กินอาหารเช้า จากการเร่งรีบไปโรงเรียน
น้ำหนักเกินและอ้วน (over nutrition)
สาเหตุ
พฤติกรรมการกิน ไม่ออกกําลังกาย
เด็กมีกลุ่มเพื่อนกินอาหารที่มีไขมัน น้ำตาล เกลือสูง
กินอาหารจานด่วน (fast food) น้ำหวาน น้ำอัดลม อาหารทอด อาหารผัดที่มีไขมันสูง
ฟันผุ
สาเหตุจาก : การรักษาสุขภาพปากและฟันไม่ดี
การพยาบาล
1) จัดให้มีโปรแกรมอาหารเช้า และอาหารกลางวันที่โรงเรียน อาหารที่มีคุณภาพ ไขมันต่ำ ไม่หวาน ไม่เค็ม
2) อาหารจานด่วน (fast food) เป็นอาหารที่เด็กนิยมกิน ควรเพิ่มผักและลดไขมัน
3) ให้ความรู้เรื่องโภชนาการทุกชั้นเรียน โดยเฉพาะหัวข้ออันตรายของโรคขาดสารอาหารและโรคอ้วน ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพต่อเนื่องไปถึงผู้ใหญ่
ปัญหาทางด้านโภชนาการของวัยรุ่น
1.พฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ
การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่
การบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสม
มีความเชื่อเรื่องเครื่องดื่มหรือยาบำรุงสุขภาพ
มีพฤติกรรมการบริโภคแบบควบคุมตนเองไม่ได้
การบริโภคอาหารให้พลังงานสูงแต่คุณค่าสารอาหารต่ำ
พฤติกรรมการลดน้ำหนักและการอดอาหาร
ค่านิยมต่อการมีหุ่นผอมเพรียวเหมือนดารา
พฤติกรรมตามอย่างเพื่อน
การให้คำแนะนำวัยรุ่น
สร้างความเข้าใจถึงผลกระทบต่อร่างกายจากการบริโภคอาหารไม่ ถูกสุขลักษณะ
สร้างความตระหนักคุณค่าแห่งตน เพื่อลดอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม สื่อต่างๆ
ให้ความรู้เรื่องการควบคุมอาหารและลดน้ำหนักอย่างถูกต้อง
สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมให้ค้นคว้าข้อมูลอาหาร
ปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กไทย
ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition)
โรคขาดพลังงาน (Marasmus)
กล้ามเนื้อลีบ ไม่มีไขมันใต้ผิวหนัง หนังหุ้มกระดูก ไม่บวม
ผมบาง แห้ง เปราะหักง่าย ผิวหนังบางแห้ง ใบหน้าหมกมุ่น แก้มตอบ หน้าคล้ายคนแก่
ซึมเศร้ากังวล
มักพบในเด็กต่ำกว่า 1 ปี เนื่องจากหย่านมเร็วและได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ
โรคขาดโปรตีน (Kwashiorkor)
• บวม กดบุ๋มที่แขน ขา 2 ข้าง
• ผมแห้งเปราะ หลุดง่าย
• ตับโต
• ผิวบาง และบางแห่งหยาบเหมือนหนังคางคก (hyperkeratosis) สีกระดํากระด่าง (hyperpigmentation) มีหนังแห้งลอกเกิดการติดเชื้อได้ง่าย
• มีโรคระบบทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อ
• หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า
Marasmic Kwashiorkor
มีอาการแสดงของการขาดโปรตีนและพลังงานร่วมกัน
มีบวม แต่ถ้ารักษาภาวะบวมจะหมดไป ผู้ป่วยจะมีลักษณะคล้ายขาดพลังงานอยู่
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ พบขาดโปรตีนและพลังงาน อัลบูมินในเลือดต่ำ
แผลหายช้า ติดเชื้อง่าย
ภูมิต้านทานต่ำ
การประเมินสภาวะผู้ป่วยขาดสารอาหาร
ประวัติการรับประทานอาหาร
การตรวจร่างกาย
2.1 การวัดสัดส่วนร่างกาย (anthropometry)
2.2 การตรวจร่างกายทั่วไป (Clinical evaluation)
2.3 ประวัติการเจ็บป่วย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจเลือด
ตรวจปัสสาวะ
รักษา
ระยะขาดอาหารรุนแรง (severe PEM มี น้ำหนัก/อายุ < 60%, BMI < 16 กิโลกรัม/ตารางเมตร หรือ marasmus, kwashiorkor)
ผู้ป่วยมีอาการกระหายน้ำ ปากแห้ง ปัสสาวะน้อย ชีพจรเบาเร็ว ความดันโลหิตต่ำมือเท้าเย็น ความรู้สึกตัวลดลง ผู้ป่วยต้องรักษาตัวที่รพ. รักษาด้วยการชดใช้น้ำ จะให้ ORS ทางปาก หรือถ้ารับประทานไม่ได้ต้องใส่สายลงสู่กระเพาะอาหาร กรณีผู้ป่วยอาเจียนท้องอืด ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดํา รักษาตามอาการ
เป้าหมาย
คือ ให้น้ำหนักค่อยๆ เพิ่มขึ้น แก้ไขปัญหาการขาดสารอาหาร ปริมาณโปรตีน อย่างน้อยเด็กควรได้รับ 3-4 กรัม/กิโลกรัม/วัน พลังงาน 120-150 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน ใน marasmus อาจ ต้องสูงกว่านี้
ระยะขาดอาหารน้อยและปานกลาง
ผู้ป่วยได้รับอาหารเสริมที่บ้าน การจัดประเภทของอาหารที่ย่อยง่าย มีโปรตีน พลังงานสูง มีวิตามิน เกลือแร่ครบ การรักษา โดยให้คําแนะนําบิดามารดาปรับวิธีการให้อาหารเด็ก การประกอบอาหาร การให้อาหารเสริม
เป้าหมาย
ให้เตรียมอาหาร อย่างน้อยให้ได้โปรตีนสองเท่า พลังงานเท่าครึ่งของคนปกติ ในเด็กก่อนวัยเรียนให้โปรตีนคุณภาพดี 2-2.5 กรัม/กิโลกรัม/วัน พลังงาน 120-150 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน ทารกขวบปีแรกให้โปรตีน 3 กรัม/กิโลกรัม/วัน พลังงาน 150 กิโลแคลอรี/กิโลกรัม/วัน
การพยาบาล
ทารก ให้คําแนะนําเรื่องการให้นมแม่ การให้นมผสม วิธีการเตรียมนมผสม การทําความสะอาดขวดนม การให้อาหารเสริมตามวัยอย่างเพียงพอ
เด็กโต ให้คําแนะนําเรื่องคุณภาพของอาหารให้มีหลากหลายชนิด อาหารครบถ้วน (balance diet) ดื่มนม 2-3 แก้ว/วัน ให้รับประทานไข่เสริม วันละ 1 ฟอง ให้เด็กได้ออกกําลังกาย มีกิจกรรมต่างๆ แนะนําเพิ่มเติมในการรับวัคซีนตามอายุ การชั่งน้ำหนักทุก 3 เดือน เพื่อติดตามการเจริญเติบโต พาเด็กมาตรวจสุขภาพเป็นระยะๆ
ระดับปานกลางถึงรุนแรง
ดูแลบันทึกปริมาณน้ำที่ร่างกายได้รับและขับออกทุกชั่วโมง เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย สารน้ำทางหลอดเลือดดํา
บันทึกน้ำหนักตัวทุกวัน
บันทึกชีพจร การหายใจ ทุก 2 ชั่วโมง
บันทึกความดันโลหิตทุก 4 ชั่วโมง
บันทึกอาหารที่ผู้ป่วยรับประทานได้ในรอบ 24 ชั่วโมง (24 hour food record)
สังเกตอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ซึม หายใจหอบ ปลายมือ-เท้าซีด เย็น การตอบสนองต่อสิ่งเร้า
เมื่อผู้ป่วยเด็กผ่านระยะวิกฤติ แนะนําผู้ดูแลเรื่องชนิดของอาหาร ปริมาณอาหาร
การขาดวิตามินและแร่ธาตุ
โรคขาดวิตามินเอ
อาการ
เกิดโรคเยื่อตาแห้ง (Xerophthalmia)
มี 3 ระยะดังนี้
ตาบอดกลางคืน (Night Blindness)
ตาแห้ง (Xerophthalmia) บริเวณหางตามีสารสีขาวใหญ่ๆ เรียกว่า Bitot’s spots
Keratomalacia กระจกตาเป็นแผล เชื้อโรคจะเข้าไปในลูกตา ทำให้ตาบอด
การป้องกัน
ส่งเสริมให้รับประทานผัก ผลไม้ที่มีวิตามินเอ เช่น มะละกอสุก มะม่วงสุก ผักบุ้ง ตำลึง เนื้อและเปลือกของฝักทอง เป็นต้น
2.โรคขาดวิตามินบีหนึ่ง
พบบ่อยในเด็กทารกอายุ 2-3 เดือน
อาการ
: มักเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วม เช่น หน้าเขียว หอบเหนื่อย ตัวบวม หัวใจโตและเต้นเร็ว ร้องเสียงแหบหรือไม่มีเสียง อาจตายได้ภายใน 2-3 ชม.
การรักษา
: ฉีดไธอะมีนเข้าเส้นเลือดดำและกล้ามเนื้อ
การป้องกันโรคขาดวิตามินบี 1
วิตามินบี 1 ถูกทำลายด้วยความร้อน ไม่ต้มเคี่ยวอาหารนาน
การป้องกันระดับครอบครัว หุงข้าวโดยไม่แช่ข้าวข้ามคืนแล้วซาวเทน้ำทิ้ง ไม่ล้างเนื้อสัตว์ด้วยวิธีแช่น้ำ ส่งเสริมให้กินข้าวซ้อมมือหรือข้าวกล้องแทนข้าวขาว
ปลาร้าดิบ จะมี Thiaminase ทำลายวิตามินบี 1 สลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน จึงควรต้มปลาร้าให้สุกก่อน
ลดการบริโภคผักจำพวก กระถิน ผักเม็ก ผักติ้ว เนื่องจากเป็นสารทำลายวิตามินบี 1
การบริโภคอาหารที่ให้วิตามินบี 1 ได้แก่ จมูกข้าว ยีสต์ เนื้อหมูสุก เนื้อเป็ด ปลาทูนึ่ง ผักบุ้ง พริกหยวก ถั่วเมล็ดแห้ง ฝรั่ง ทุเรียน งา ขนมปังโฮลวีท ไข่ไก่/ไข่เป็ดสุก นมสด เป็นต้น
โรคขาดวิตามินบีสอง
อาการ
โรคปากนกกระจอก (Angular cheilitis) เป็นแผลหรือรอยแตกที่มุมปากทั้งสองข้าง
ซอกจมูกมีเกล็ดใสเล็กๆ
ลิ้นมีสีแดงกว่าปกติและเจ็บ (glossitis) หรือมีแผลที่ผนังภายในปาก
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และอารมณ์หงุดหงิด
แหล่งอาหารของวิตามินบี 2
มีมากในตับ ไต นม ไข่ ถั่ว นมวัวสด 2 แก้ว จึงจะเพียงพอกับความต้องการใน 1 วัน
โรคขาดวิตามินซี
อาการ
พบในเด็ก 6-8 เดือน เด็กจะร้องไห้ตลอดเวลา มีเลือดออกที่เยื่อหุ้มกระดูก (subperiosteal hemorrhage) มีเลือดออกใต้ผิวหนังเป็นจุดแดง
เด็กโต มีเหงือกบวมแดง เลือดออกง่าย ฟันโยกรวน และมีเลือดออกตามไรฟันง่าย เรียกว่า โรคลักปิดลักเปิด (scurvy)
แหล่งอาหารของวิตามินซี
มะขามเทศ พริกหยวกเขียว ฝรั่ง บล็อกโคลี่ ถั่วลันเตาดิบ คะน้า สตอเบอรี่ เป็นต้น
โรคขาดธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัส
โรคกระดูกอ่อน มักเป็นกับเด็ก หญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร
อาการ
ข้อต่อกระดูกบวม ขาโค้งโก่ง กล้ามเนื้อหย่อน กระดูกซี่โครงด้านหน้ารอยต่อนูน (อกไก่)
ในเด็กทําให้การเจริญเติบโตช้า เกิดโรคกระดูกอ่อนในเด็ก
แหล่งอาหารที่พบ
อาหารที่มีแคลเซียม เช่น นม ปลาตัวเล็กๆ เต้าหู้ ตำลึง ผักกระเฉด ขี้เหล็ก ดอกแค สะเดา
อาหารที่มีฟอสฟอรัส เช่น ธัญชาติ เนื้อปลา โยเกิร์ต เมล็ดทานตะวัน ถั่วลิสง มันฝรั่ง ข้าวโพด ถั่วต่างๆ และบร๊อกโคลี
โรคขาดธาตุเหล็ก
โรคโลหิตจาง เนื่องจากร่างกายสร้างเฮโมโกลบินได้น้อยกว่าปกติ
อาการ
เปลือกตาขาวซีด ลิ้นเลี่ยน (glossitis) เล็บบางเปราะเป็นรูปช้อน (koilonychias of nail)
อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร มีความต้านทานโรคต่ำ
แหล่งอาหารที่พบ
เนื้อสัตว์ เนื้อแดง และเครื่องในสัตว์ เช่น ตับ อาหารทะเล ผักใบเขียว เช่น คะน้า บลอคโคลี่ ผักโขม ธัญพืช เช่น ถั่วแดง งาดํา ไข่แดง
โรคขาดธาตุไอโอดีน
โรคคอพอก
อาการ
: ต่อมไทรอยด์ บวมโต (goiter) เด็กจะมีรูปร่างแคระแกรน (dwarfism) สติปัญญาเสื่อม ปัญญาอ่อน เรียกว่า cretinism
แหล่งอาหารของไอโอดีน
อาหารทะเล เช่น กุ้ง หอยนางรม ปลาทะเล เป็นต้น รวมทั้งเกลือเสริมไอโอดีน
โรคอ้วน
ภาวะของการสะสมไขมันในระดับที่มากกว่าปกติ ได้รับพลังงานจากอาหารมาก แต่มีการใช้พลังงานน้อย
ใช้เกณฑ์น้ำหนักและส่วนสูงโดยมีน้ำหนักตั้งแต่ร้อยละ 120 หรือมากกว่าของน้ำหนักตัวมาตรฐาน ถือว่าเป็นโรคอ้วน
อาการและอาการแสดง
ของเด็กโรคอ้วน
มีการสะสมของเนื้อเยื่อไขมันในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
รับประทานอาหารเร็ว จํานวนมาก
มีการเจริญเติบโตเร็วกว่าเด็กทั่วไป
เพศหญิงจะมีระดูและการเจริญเติบโตของเต้านมเร็วกว่าเด็กปกติ
เพศชายจะมีขนขึ้นที่หัวเหน่าและรักแร้เร็วกว่าเด็กปกติ
น้ำหนักที่มากกดลงเข่าเกิด bow leg และ knock knee
แนวทางการประเมินโรคอ้วนในเด็ก
การซักประวัติ ได้แก่ พัฒนาการและการเจริญเติบโต โรคในครอบครัว กิจกรรมทางกาย การนอนกรส เป็นต้น
การตรวจร่างกาย
วัดเส้นรอบเอว เส้นรอบสะโพก
วัดความดันเลือด
ตรวจลักษณะทั่วไป
ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ไขมันในเลือด, FBS, ALT
หลักการที่สำคัญในการรักษาเด็กอ้วน
การเพิ่มกิจกรรมทางกายและการออกกำลังกาย
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จดบันทึกรายการอาหารที่กิน (self-monitoring)
การมีส่วนร่วมของครอบครัว ให้กำลังใจและเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็ก (role model)
การรักษากลุ่มอาการเมตาบอลิก ได้แก่ การแก้ไขภาวะดื้ออินซูลินและภาวะอ้วนลงพุง
การควบคุมการบริโภคอาหาร
การป้องกันโรคอ้วนในเด็ก
ดูแลให้เด็กได้รับอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการครบถ้วนสมวัย
การดูแลกิจกรรมทางกายของเด็ก
กิจกรรมทางกายหนักปานกลาง อย่างน้อยวันละ 60 นาที
ให้ดูโทรทัศน์(รวมเล่นเกมคอมพิวเตอร์เล่นอินเตอร์เนต) ไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง
แอปพลิเคชันด้านโภชนาการ