Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy) - Coggle Diagram
การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic pregnancy)
สาเหตุ
การอักเสบเรื้อรังในช่องท้อง (pelvic inflammatory disease)
มีพังผืดอยู่รอบๆท่อนำไข่
มีเนื้องอกกดหรือดันให้ท่อนำไข่คดลง
มีแผลเป็นจากที่เคยผ่าตัดท่อนำไข่
ความผิดปกติของท่อนำไข่แต่กำเนิด
ความผิดปกติของฮอร์โมน
พยาธิสภาพ
ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะฝังตัวนอกโพรงมดลูก เช่น ท่อนำไข่ รังไข่ ปาดมดลูก บริเวณที่ไข่ฝังตัวมากที่สุดคือ ampular ของท่อนำไข่
จากนั้น trophblast จะฝังตัวลงไปในเนื้อเยื่อข้างเคียงและกล้ามเนื้อ ท่อนำไข่จะมีเลือดมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก หลอดเลือดขยายตัวมากขึ้น ส่วนที่รกเกาะจะบวมเป่ง ส่วนมดลูกจะขยายตัว โดยเยื่อบุมดลูกจะหนาตัวขึ้น
หากท่อนำไข่แตกเฉียบพลันหรือทะลุเข้าไปในช่องท้อง อาจทำให้เสียเลือดมาก เจ็บท้องรุนแรง มีเลือดในช่องท้อง บริเวณสะดือเขียวช้ำ ถ้าช่วยไม่ทันอาจทำให้ ช็ฮคและเสียชีวิตได้
หากมีเลือดมาเลี้ยงเพียงพอ การตั้งครรภ์สามารถเจริญเติบโตไปจนครบกำหนดได้ เรียกว่า secondary abdominal pregnancy
ตัวอ่อนเสียชีวิตค้างอยู่ในช่องท้องหรือ cul-se-sac เป็นเวลานาน อาจมีหินปูนมาเกาะคลุมและไม่เน่าเปื่อยภายหลังทารากเสียชีวิตแล้ว decidua จะเหี่ยวและหลุดออกมาทางช่องคลอดเป็นชิ้นเล็กๆ เรียกว่า decidual cast
ความหมาย
การตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนหรือไข่ที่ถูกผสมแล้ว (fertilized ovum) ฝังตัวอยู่บริเวนอื่นที่ไม่ใช่โพรงมดลูก โดยส่วนใหญ่พบบริเวณ ampular ของท่อนำไข่
อาการและอาการแสดง
ปวดท้อง ปวดแบบตื้อๆ(dull pain) ปวดบิด(colicky pain)
ปวดร้าวที่ไหล่
เลือดออกทางช่องคลอด (สีคล้ำหรือสีน้ำตาล)
ช็อค (ไม่สัมพันธ์กับปริมาณเลือดที่ออกทางช่องคลอด)
ปวดเกร็งหน้าท้อง
อาการเขียวช้ำบริเวณหน้าท้องรอบๆสะดือ คล้ายจ้ำเลือด
การพยาบาล
อธิบายให้เข้าใจถึงพยาธิสภาพ สาเหตุ และการดำเนินของโรค และแผนการรักษา
สังเกตอาการเจ็บปวดในช่องท้อง ตำแหน่องและความรุนแรง อาการซีด ลักษณะปริมาณเลือดที่ออก
เจาะเลือดส่งตรวจ Hemoglobin, Hematocrit และหมู่เลือด
ประเมินและบันทึกสัญญาณชีพ
ในรายที่มีภาวะช็อค จัดท่านอนราบไม่หนุนหมอน ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ให้ออกซิเจน และรีบรายงานแพทย์
ในรายที่ผ่าตัด แนะนำการปฏิบัติตัวก่อนและหลังผ่าตัด
ในรายที่รักษาด้วยยา methotrexate อธิบายภาวะแทรกซ้อนของยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ใจสั่น เม็ดเลือดขาวต่ำ มีผลต่อการทำงานของตับและไต ควรรีบแจ้งแพทย์เพื่อหยุดยา
ให้คำแนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัว ทำหมันหากมีบุตรเพียงพอแล้ว ใช้ถุงยางอนามัยหากต้องการมีบุตรอีก และปรึกษาแพทย์ก่อนการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป เพราะมีโอกาสตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
การรักษา
การใช้ยา
ยา methotrexate (MTX) ฉีดเข้า IM หรือตำแหน่งที่ไข่ฝังตัว
การผ่าตัด
การตัดท่อนำไข่ข้างที่มีการฝังตัวของไข่ออก ใช้กล้องส่องตรวจทางหน้าท้อง (laparoscopy)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติประจำเดือน มีเลือดทางช่องคลอด กดเจ็บท้องน้อย แน่นท้อง ปวดร้าวที่หัวไหล่หรือต้นคอ
การตรวจร่างกาย
พบอาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน มีเลือดออกทางช่องคลอด มีหน้ามืด ซีก เป็นลม กดเจ็บท้องน้อย ตรวจครรภ์พบ มดลูกโตขึ้น แต่ไม่เกินขนาดอายุครรภ์ 12 wks ตัวมดลูกถูกดันเยื้องไปข้างใดข้างหนึ่ง ตรวจทางช่องคลอด ปากมดลูกจะเจ็บมาก
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ตรวจ Urine pregnancy test ตรวจหาระดับ serum hCG ตรวจU/S ทางช่องคลอดไม่พบทารกอยู่ในโพรงมดลูก กรณีมีการแตกของท่อนำไข่ Hct,Hb จะต่ำกว่าปกติ
ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก
ภาวะแทรกซ้อนของการท้องนอกมดลูก
อาจทำให้ปีกมดลูกอักเสบ, ระบบทางเดินปัสสาวะอักเสบ, อาจเกิดการตกเลือดในช่องท้องจนช็อกและเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาว
ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก (เพราะการผ่าตัดปีกมดลูก อาจทำให้เกิดพังผืดและท่อรังไข่ตีบตันได้) หรือเป็นหมัน, มีโอกาสเกิดภาวะท้องนอกมดลูกซ้ำได้อีกในครรภ์ต่อไป (โอกาสมากกว่าคนทั่วไป 7-13 เท่า), มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรัง