Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคโลหิตจาง - Coggle Diagram
บทที่1 การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นโรคโลหิตจาง
ความหมาย
ภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (hematocrit) ต่ำกว่า 33% หรือมีฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ต่ำกว่า 11 g/dl ทุกไตรมาสของการตั้งครรภ์
การแบ่งชนิดของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
โลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (iron-deficiency anemia)
โลหิตจางจากการขาดโฟเลต (folate deficiency)
ระดับความรุนแรงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์
ภาวะโลหิตจางเล็กน้อยอาการจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ทำให้ร่างกายสามารถปรับตัวได้จะแสดงอาการเมื่อต้องใช้แรงมาก
ภาวะโลหิตจางปานกลางจะมีอาการเหนื่อยอ่อนเพลียใจสั่น หายใจลำบาก
ภาวะโลหิตจางรุนแรง เมื่อระดับฮีโมโกลบินต ่ากว่า 6 กรัม/เดซิลิตร จะมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลียตลอดเวลา ใจสั่น หนาวง่าย เบื่ออาหาร มึนงง ปวดศีรษะ เจ็บหน้าอก
สาเหตุ
ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก
ส่วนมากมักจะเก็บสะสมธาตุเหล็กได้ไม่เพียงพอเนื่องจากร่างกายต้องมีการสูญเสียไปกับการมีประจำเดือนร่างกายได้รับธาตุเหล็กจากสารอาหารไม่เพียงพอ กับความต้องการของร่างกาย ในการนำไปใช้สร้างเม็ดเลือดแดง
ภาวะโลหิตจางจากการขาดโฟเลต
เนื่องจากร่างกายได้รับสารโฟเลต จากสารอาหารไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ในการนำไปใช้สร้างเม็ดเลือดแดง โฟเลตเป็นวิตามินที่ละลายได้ในน้ำ พบได้ใน ไข่ ผัก ใบเขียว เผือก มัน แครอท ธัญพืช ส้มชนิดต่างๆ
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจำงในหญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น หญิงตั้งครรภ์ที่อาจได้รับโฟเลตจากสารอาหารไม่เพียงพอเช่น มีประวัติดื่มสุรา รับประทานยากันชัก ตั้งครรภ์แฝด มีฮีโมโกลบินที่ผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
มีอาการซีด หน้ามืด เพลีย เหนื่อยง่าย ปวดศีรษะ
ง่วงนอน
ริมฝีปากหรือลิ้นอักเสบ ลิ้นเลี่ยน ลิ้นซีด (glossitis)
แผลมุมปาก (cleilitis) กลืนลำบาก
น้ำย่อยในกระเพาะอาหารลดลงทำให้เบื่ออาหาร
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจวินิจฉัยจากผลการตรวจระดับความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง ฮีโมโกลบิน ความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง (hematocrit)ต่ำกว่า 33% หรือมีฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ต่ำกว่า 11 g/dlและสารเฟอริตินในเลือด serum ferritin ต่ำกว่า 10-15 ไมโครกรัม ,MCV ต่ำกว่า80 fl เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็กและติดสีจางลง
ผลกระทบของภาวะโลหิตจางต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อมารดา
หากมีการตั้งครรภ์แฝด การเสียเลือดเพียงเล็กน้อยจะทำให้อาการของภาวะโลหิตจางเป็นมากขึ้น
หากพบภาวะโลหิตจางเมื่ออายุครรภ์น้อยจะทำให้มีโอกาสคลอดก่อนกำหนดทารกน้ำหนักน้อย การตายปริกำเนิด
หากพบภาวะโลหิตจางเมื่อครบกำหนดคลอด มารดาจะเสี่ยงต่อการเสียเลือดสูงจากภาวะ การทำงานของเกล็ดเลือดเสียไปอาจเกิดภาวะหัวใจวาย ตกเลือดได้ง่ายการติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในระหว่างคลอดและหลังคลอด จากภาวะร่างกายมีความต้านทานต่ำ
ผลต่อทารก
ถ้ามารดามีภาวะโลหิตจางอย่างรุนแรง จะทำให้ทารกในครรภ์ได้รับออกซิเจนลดลง ทารกอาจแท้งพิการตายตั้งแต่อยู่ในครรภ์คลอดก่อนกำหนดน้ำหนักน้อย การเจริญเติบโตในครรภ์ช้า
การรักษา
รักษาโดยการให้รับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูง และให้
รับประทานยาเสริมธาตุเหล็ก เช่น ferrous sulfate 325 มก.วันละ1-2คร้ัง ซึ่งยาแต่ละเม็ดมีธาตุเหล็ก(elemental iron) ประมาณ 60 มก. FBC 1 เม็ด ประกอบด้วย ferrous fumarate 200 มก. (elemental iron 66 mg), triferdine 1 เม็ด ประกอบด้วย Iodine 0.15มก.+Ferrous fumarate 60.81 มก. +Folic acid 0.4 มก.
อาจให้ยา triferdine วันละ 1เม็ด หรือ Triferdine 1 เม็ด + FBC วันละ 1-2เม็ด หรือ FBC วันละ 2เม็ด + obimin 1 เม็ด ก่อนนอนซึ่งธาตุเหล็กที่ได้จากการรับประทานยาน้ีจะดูดซึมผ่านทางระบบทางเดินอาหารได้เพียงร้อยละ 10-30 ในรายที่มีภาวะโลหิตจางรุนแรง อาจจำเป็นต้องให้การรักษาด้วยการฉีดธาตุเหล็กทางกล้ามเนื้อ หรือหลอดเลือดดำหรือให้เลือดทดแทน