Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กรณีศึกษา หญิงพม่าอายุ37ปี G3P2A0 GA40+4wks by U/S, สาเหตุ,…
-
-
การพยาบาลก่อนเจาะถุงน้ำคร่ำ
1.ประเมินปากมดลูกรวมถึงส่วนนำของทารก(station)
2.ฟังและบันทึกผล FHR
3.ประเมินการหดรัดตัวของมดลูกเพื่อให้แน่ใจว่ามดลูกคลายตัวขณะเจาะถุงน้ำ
-
การพยาบาลขณะเจาะถุงน้ำคร่ำ
1.ให้สตรีตั้งครรภ์นอนชันเข่าหรืออยู่ในท่าขบนั่ง (lithotomy) สอด bed pan ไว้ใต้ก้นเพื่อรองรับน้ำคร่ำ ทำความสะอาดปากช่องคลอดและฝีเย็บด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ผู้ทำการเจาะถุงน้ำคร่ำต้องสวมถุงมือปราศจากเชื้อและชโลมด้วยน้ำยาหล่อลื่น
2.ทำการตรวจภายในและสำรวจว่าบริเวณ fornix ว่าไม่มีรกเกาะต่ำ แล้วสอดนิ้วชี้และนิ้วกลางเข้าไปในปากมดลูก คลำดูว่ามีเส้นเลือดทอดผ่านบนถุงน้ำคร่ำ หรือมีสายสะดือลงมาต่ำกว่าส่วนนำหรือไม่ หากมีควรผ่าตัดคลอด
3.หากไม่มีภาวะที่เป็นข้อห้ามต่อการเจาะถุงน้ำคร่ำดังที่กล่าวไว้ในข้อ 2 ให้ใช้นิ้วเซาะแยกถุงน้ำคร่ำออกจากปากมดลูกและมดลูกส่วนล่าง
4.สอดเครื่องมือที่มีเขี้ยวเล็ก ๆ เช่น Vasculum หรือ Allis forceps เข้าไประหว่างนิ้วมือทั้งสอง แล้วจับถุงน้ำบิดหรือดึงลงมาเบา ๆ ให้ถุงน้ำคร่ำแตก ถ้าถุงน้ำโป่งพองก็จะเห็นน้ำคร่ำไหลออกมาทางปากช่องคลอด แต่ถ้าถุงน้ำไม่โป่งพอง หรือติดหนังศีรษะก็จะไม่เห็นน้ำคร่ำไหลออกมา ควรสังเกตว่ามีเส้นผมติดมากับปลายเครื่องมือหรือไม่ ถ้ามีแสดงว่าถุงน้ำได้รับการเจาะแล้ว ในกรณีที่ไม่มีน้ำคร่ำไหลออกมาเลย อาจใช้นิ้วดันศีรษะขึ้นไปเล็กน้อย เพื่อให้น้ำคร่ำไหลลงมา
5.เอาเครื่องมือเจาะออกจากช่องคลอดโดยคานิ้วมือทั้งสองไว้ในปากมดลูกก่อนเพื่อถ่างขยายรูแตกบนถุงน้ำให้กว้างออก แล้วค่อย ๆ ปล่อยให้น้ำคร่ำไหลออกมาช้า ๆ สังเกตสีและลักษณะของน้ำคร่ำ อาจให้ผู้ช่วยดันบริเวณยอดมดลูกเพื่อให้ส่วนนำลงมาในเชิงกรานไม่เลื่อนขึ้นไป
6.ตรวจสอบให้แน่ใจอีกครั้งว่าไม่มีสายสะดือย้อยระหว่างที่มีน้ำคร่ำไหลลงมา
-
การพยาบาลหลังเจาะถุงน้ำคร่ำ
1.ฟังเสียงหัวใจทารกหลังจากเจาะถุงน้ำคร่ำเสร็จแล้ว
2.บันทึกลักษณะน้ำคร่ำว่ามีลักษณะใส(Clear) สีเลือด(Bloody) หรือมีขี้เทาปน(thick หรือ thin meconium) รวมถึงปริมาณน้ำคร่ำที่ไหลออกมา
-