Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท - Coggle Diagram
บทที่ 11 การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาทางระบบประสาท
การพยาบาลเด็กที่มีอาการชัก
ชักจากไข้สูง (Febrile convulsion)
อาการชักที่สัมพันธ์กับการมีไข้
ชนิดของการชักจากไข้สูง
simple febrile seizure
เกิดการชักทั้งตัว ระยะเวลาน้อยกว่า 15 นาที มีการชักเพียงระยะเวลาสั้นๆ และชักเพียงครั้งเดียว
complex febrile seizure
เกิดการชักเฉพาะที่ มากกว่า 15 นาที
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อในระบบต่างๆ
เมื่อร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส
อาการและอาการแสดง
เด็กจะตัวร้อน หน้าแดง มึนงงสับสน กระสับกระส่าย ร้องกวน
มีอาการชักลักษณะการชักอาจจะตัวแข็งหรือตัวอ่อน ชักเกร็ง หรือกระตุก ไม่รู้สึกตัว
การรักษา
กำลังมีอาการชัก
มีการชักเกิน 5 นาที ให้ยาระงับ อาการชัก เช่น diazepam
หลังชัก
ซักประวัติตรวจร่างกายโดยละเอียด
ให้ยาป้องกันการชัก รับประทานทุก
วันนาน 1-2 ปี เช่น Phenobarbital , Depakine
การพยาบาล
วัดสัญญาณชีพทุก 4 ชั่วโมง
เช็ดตัวลดไข้ (tepid sponge)และให้ยาลดไข้
จัดท่านอนตะแคงศีรษะต่ำกว่าลำตัว ดูดเสมหะถ้ามีเสมหะ
ไม่ผูกยึดเด็กหรือจับเด็กขณะมีอาการชักเพราะอาจเกิดข้อไหล่หลุด หรือกระดูกหัก
ไม่ใส่ไม้กดลิ้นเข้าปากเด็กเพราะอาจทำให้ฟันหักและฟันที่หักอาจตกลงไปในลำคอเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ
ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขณะมีอาการชัก
สังเกตและบันทึกระยะเวลาของการชักลักษณะการซัก
โรคลมชัก (Epilepsy)
อาการชักที่เกิดขึ้นซ้ำๆ อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป โดยไม่สัมพันธ์กับการมีไข้
ชนิดของอาการชัก
Generalized seizure
Tonic seizure เกร็งแข็ง ล้มลงถ้ายืนอยู่
Clonic seizure มีการกระตุกเป็นจังหวะที่ช้ากว่า myoclonic
Tonic clonic seizure (Grand mal) มีการเกร็งก่อนแล้วมีการกระตุกตาม
Atonic seizure มีการสูญเสียความดึงตัวของกล้ามเนื้อ
Myoclonic seizure มีการหดตัวของกล้ามเนื้อเป็นระยะสั้นๆ
Absence seizure (Petit mal) มีตากระพริบหรือตากระตุก
Infantile spam ในเด็กเล็กตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 2 ปี คือ งอศีรษะ ลำตัว แขนขาเข้าหากันช่วงระยะสั้นๆ แล้วคลายออกคล้ายสะดุ้ง
Partial seizure
Simple partial seizure มีการกระตุกหรือชาของแขนขา หน้า คอ ประมาณ 5-10 วินาที
Complex partial seizure การชักที่มีอาการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม
Partial seizure evolving to secondary generalize seizure มีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองเฉพาะที่แล้วกระจายทั่วสมองทั้ง 2 ข้าง
Unclassified epileptic seizure
สาเหตุ
เกิดจากการมีรอยโรคในเนื้อสมอง
การมีรอยโรคในสมองทำให้เซลล์ประสาทหลั่งคลื่นไฟฟ้าสมองผิดปกติออกมาและไปมีผลต่ออวัยวะต่างๆที่สมองส่วนนั้น
การวินิจฉัย
การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง(electroencephalography :EEG)
ทำให้ทราบตำแหน่งของสมองที่มีความผิดปกติ
การรักษา
ให้ Diazepam 0.2-0.4 มก./กก./นาที ทางหลอดเลือดดำ
ถ้าผู้ป่วยเด็กยังไม่หยุดชักภายใน 2-5 นาที ให้ diazepam 0 2-0.4 มก.กก.ซ้ำอีกครั้งทาง
หลอดเลือดดำ
ถ้า 5 นาทียังไม่หยุดซักให้ phenytoin 20 มก.กก.ผสม 0.9% NSS ให้ทางหลอดเลือดดำด้วยความเร็วไม่เกิน 1 มก./กก./นาที
จับชีพจรและวัดความดันโลหิต ภายหลังจากให้ยาแล้ว 20-30 นาที
ยากันชัก
Benzodiazepine
diazepam (valium) ทำให้ง่วง
Phenobarbital ทำให้ง่วงซึม เดินเซ
Phenytoin (dilantin) เกิดอาการเซ ง่วงซึม เห็นภาพซ้อน ตากระตุก คลื่นไส้ อาเจียน
Valproic acid ง่วงซึม คลื่นไส้อาเจียน มือสั่น
การพยาบาลเด็กที่มีภาวะความดันในช่องกะโหลกศีรษะสูง
ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Hydrocephalus)
ภาวะที่มีการคั่งของน้ำไขสันหลังในกะโหลกศีรษะบริเวณเวนติดเคิล ( ventricle) ของสมองและ
subarachnoid space มากกว่าปกติ
น้ำไขสันหลังที่คั่งในปริมาณมากจะทำให้เกิดความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น
สาเหตุ
การสร้างหรือการผลิตน้ำไขสันหลังมากผิดปกติ
การอุดกั้นการไหลเวียนของน้ำหล่อสมองและไขสันหลัง
ความผิดปกติในการดูดซึมน้ำไขสันหลัง
อาการและอาการแสดง
ศีรษะโต
กระหม่อมหน้าโป่งตึงกว่าปกติ(fontanelle bulging)
หนังศีรษะบางและมองเห็นหลอดเลือดดำที่บริเวณใบหน้า
ตาทั้ง 2 ข้างกรอกลงข้างล่าง setting -sun sign
ตาพล่ามัว เห็นภาพซ้อน(diplopia)
พัฒนาการทั่วไปช้ากว่าปกติ(delay developement)
การวินิจฉัย
การตรวจด้วยการส่องไฟฉาย(transillumination test)
Transillumination test
การเรืองแสง
Ventriculography
การถ่ายภาพรังสี
CT scan
การฉายรังสี
Ultrasound
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
Head Circumference
วัดรอบศีรษะ
แรกเกิด 35 เซนติเมตร
1 ปี 45 เซนติเมตร
การรักษา
ผ่าตัดรักษาสาเหตุ
ผ่าตัดเปลี่ยนทางเดินน้ำไขสันหลัง (Shunt)
Ventriculo-peritoneal Shunt (V-P Shunt)
การให้ยาลดการสร้างน้ำไขสันหลัง (Diamox)
การพยาบาล
ก่อนการผ่าตัด
อาจเกิดความดันในกะโหลกศีรษะสูงจากการคั่งของน้ำไขสันหลัง
การพยาบาล
ประเมินอาการความดันในกระโหลกศีรษะสูง
วัดเส้นรอบวงศีรษะทุกวันเวลาเดียวกัน
จัดท่านอนศีรษะสูง 15-30 องศา
อาจเกิดแผลกดทับบริเวณศีรษะ
การพยาบาล
จัดให้นอนบนที่นอนนุ่มๆ ใช้หมอนนุ่มรองศีรษะไหล่ เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ
รักษาความสะอาดของผิวหนัง
จัดปูที่นอนให้เรียบตึง
ตรวจสอบประเมินการเกิดแผลกดทับสม่ำเสมอ
อาจเกิดภาวะขาดสารน้ำและอาหาร
เนื่องจากการสำรอกอาเจียนหรือดูดนมได้น้อย
ดูแลให้รับนมน้ำครั้งละน้อยๆโดยแบ่งให้บ่อยครั้ง
ขณะให้นมอุ้มท่าศีรษะสูงเสมอ
หลังให้นมจับเรอไล่ลม
หลังผ่าตัด
จัดท่านอนเพื่อป้องกันการกดทับลิ้นของท่อทางเดินน้ำไขสันหลัง
สังเกตและบันทึกอาการและอาการแสดงของภาวะแทรกซ้อนหลังทำผ่าตัด
วัดและบันทึกสัญญาณชีพและประเมินอาการทางระบบประสาท
ดูแลรักษาความสะอาดบริเวณแผลผ่าตัด ตามแผนการรักษา
พลิกตะแคงตัวและเปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะปอดอักเสบ
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้อง
วัดเส้นรอบท้อง หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงแรก เพื่อประเมินประสิทธิภาพการดูดซึมน้ำไขสันหลังที่ระบายมาจากเวนตริเคล
วัดเส้นรอบวงศีรษะทุกวัน เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของท่อระบายน้ำไขสันหลัง
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาการติดเชื้อระบบประสาท
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis)
สาเหตุ
เชื้อแบคทีเรีย
เชื้อไวรัส
พยาธิ
เชื้อรา
Cerebrospinal fluid test
Pressure
เด็กโต = 110-150 mmH2O
ทารก 100 mmH2O
Red cells ไม่พบ
White cell count ไม่พบ
Glucose 50-75 mg/dl(ครึ่งหนึ่งของน้ำตาลในเลือด)
Protein 14-45 mg/dl
อาการและอาการแสดง
มีไข้ ปวดศีรษะมาก ซึมลง กระหม่อมโป่งตึง อาเจียน ชัก คอแข็ง
การรักษา
การรักษาเฉพาะ
ให้ยาปฏิชีวนะที่สอดคล้องกับผลการเพาะเชื้อน้ำ
ไขสันหลังที่เป็นสาเหตุ
การรักษาตามอาการ
ให้ยาลดไข้ ให้ยานอนหลับ ให้ยากันชัก ให้ยาลด
อาการบวมของสมอง
ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ
การป้องกัน
ควรฉีดวัคซีน เช่น Hib vaccine , JE vaccine,BCG
ไข้สมองอักเสบ (Encephalitis)
เนื้อสมองผิดปกติอาจเกิดจากการติดเชื้อไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัส (Virus encephalitis)
Primary viral encephalitis
ไวรัสที่นำโดยแมลง โดยเฉพาะไข้สมองเจ
อี หรือ Japanese encephalitis virus ไวรัสเริม ไวรัสโรคพิษสุขนัขบ้า
Secondary viral encephalitis
ไวรัสหัด ไวรัสหัดเยอรมัน ไวรัสอีสุกอีใส ไวรัสคางทูม รวมทั้งวัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
อาการและอาการแสดง
เกิดอย่างเฉียบพลันโดยเริ่มมีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดบริเวณต้นคอมาก คอแข็ง อาเจียน หายใจไม่สม่ำเสมอ ซึมลง การเคลื่อนไหวผิดปกติ บางรายอาจมีอาการชัก
การวินิจฉัย
ตรวจน้ำไขสันหลังจะพบว่าน้ำไขสันหลังใส ไม่มีสี มีเม็ดเลือดขาว 10-1000 เซลล์/ลูกบาศก์มิลลิเมตรส่วนใหญ่เป็น lymphocyte
ความดันของน้ำไขสันหลังสูงมากกว่า 180 มิลลิเมตรน้ำเล็กน้อย
โปรตีนในน้ำไขสันหลังมีปริมาณสูงขึ้นเล็กน้อยมีค่ามากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
น้ำตาลในน้ำไขสันหลังปกติ (50-75 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)
การรักษา
การให้ยา
ยากันชัก
Phenoberbital ยาที่ลดอาการบวมของ
สมอง
ยาสเตียรอยด์
dexamethasoneยา acyclovir ทาง
หลอดเลือดดำในผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อไวรัสเริม
ยาต้านจุลชีพหรือยาปฏิชีวนะ
การป้องกัน
การฉีดวัคซีน การฉีดป้องกันโรคไข้สมองอักเสบเจอี
หลักเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อโรคหรือพาหะ เช่น ป้องกันไม่ให้ยุงกัด
สไปนา ไบฟิดา (Spina Bifida)
เป็นความผิดปกติของท่อระบบประสาทที่เจริญไม่สมบูรณ์
ทำให้รอยต่อของกระดูกสันหลังไม่เชื่อมติดกัน
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจเกิดจาก
มารดามีการติดเชื้อไวรัสในขณะตั้งครรภ์
การวินิจฉัย
มารดามีประวัติติดเชื้อขณะตั้งครรภ์การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
พบ Alphafetoprotien ในน้ำคร่ำสูง
การตรวจร่างกายทารกพบความผิดปกติ
การรักษา
การผ่าตัดเย็บปิดถุงที่ยื่นออกมา
การพยาบาล
อาจเกิดการติดเชื้อ เนื่องจากถุงน้ำแตก
การพยาบาล
จัดท่านอนตะแคงหรือนอนคว่ำ
ดูแลถุงน้ำให้ชุ่มชื่น ระวังไม่ให้เกิดแผล
หมั่นตรวจสอบการฉีกขาด รั่ว
ประเมินการติดเชื้อ
อาจมีการติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ
เนื่องจากการคั่งของน้ำปัสสาวะ
การพยาบาล
ทำ Crede’manuever ทุก 2-4 hr
ทำความสะอาดทุกครั้งหลังขับถ่าย
ให้ยา Antibiotic ตามแผนการรักษา
มีกล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรงจากการกดเบียด
เส้นประสาทไขสันหลัง
การพยาบาล
ทำ Passive Exercise ให้ผู้ป่วย
สอนผู้ปกครองในการกระตุ้นการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย
สังเกตอาการอ่อนแรงของแขนขา
การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
หลังผ่าตัด
มีโอกาสติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดได้ง่ายจากการปนเปื้อนอุจจาระปัสสาวะ
การพยาบาล
จัดท่านอนตะแคงหรือคว่ำไม่นุ่งผ้าอ้อม
ดูแลทำความสะอาดแผล
ดูแลให้ยา Antibiotic / check V/S
เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด
การพยาบาล
วัดสัญญาณชีพ ทุก 2-4 hr
เฝ้าระวังและสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ แผล
ติดเชื้อ และ Hydrocephalus
วัดเส้นรอบศีรษะทุกวันเพื่อประเมินภาวะ
Hydrocephalus
บริหารแขนขา/ เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆ
การพยาบาลเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
โรคสมองพิการ (Cerebral Palsy)
ความบกพร่องของสมองส่วนที่ใช้ควบคุมกล้ามเนื้อทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับท่าทางการทรงตัวการเคลื่อนไหว
สาเหตุ
ระยะก่อนคลอด
การมีเลือดออกทางช่องคลอดของมารดาช่วง
ระหว่างการตั้งครรภ์เดือนที่6-9
มารดาขณะตั้งครรภ์ขาดสารอาหาร
มารดามีภาวะชักหรือมีภาวะปัญญาอ่อน
การเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย
มารดาขณะตั้งครรภ์มีการใช้ยาบางชนิดทำให้สมองเด็กมีพัฒนาการผิดปกติ
มารดาได้รับอุบัติเหตุหรือเกิดการติดเชื้อขณะตั้งครรภ์
ระยะคลอด
สมองขาดออกซิเจน
ได้รับอันตรายจากการคลอด คลอดยาก รกพันคอ คลอดท่าก้น การใช้คีมดึงเด็ก
ระยะหลังคลอด
การได้รับการกระทบกระเทือนที่ศีรษะ
ตัวเหลืองเมื่อแรกเกิด เส้นเลือดที่สมองมีความ
ผิดปกติ
การติดเชื้อบริเวณสมอง
การได้รับสารพิษ
อาการและอาการแสดง
กลุ่มเกร็ง (Spastic)
มีกล้ามเนื้อเกร็ง เคลื่อนไหวได้ช้า
มีความผิดปกติครึ่งซีกหรือผิดปกติทั้งตัว
กลุ่มเคลื่อนไหวผิดปกติ (Dystonia)
ไม่สามารถควบคุมให้อยู่นิ่งๆ
จะมีการแสดงสีหน้า คอบิด แขนงอ หรือเหยียดเปะปะ
อาจมีการกระตุกอย่างรวดเร็ว คล้ายอาการขว้างลูกบอล
การรักษา
การให้ยาคลายกล้ามเนื้อ ได้แก่ diazepam,baclofen
การทำกายภาพบำบัดของกล้ามเนื้อแขน ขา หรือลำตัว
การให้ early stimulation เพื่อให้สมองส่วนต่างๆที่ไม่มีความเสียหายได้พัฒนา
การแก้ไขความผิดปกติของระบบประสาทส่วนอื่น
การให้คำแนะนำผู้ปกครองในการดูแลเด็กในชีวิตประจำวันและส่งเสริมให้เด็กฝึกทักษะการใช้ส่วนต่างๆของร่างกายตามความสามารถและศักยภาพอย่างเหมาะสม
กลุ่มอาการดาวน์ (Down ’s syndrome)
เป็นความผิดปกติทางโครโมโซมคู่ที่ 21
โอกาสเสี่ยงจะสูงขึ้นถ้ามารดามีอายุมากกว่า 30 ปี
บิดามารดาของผู้ป่วยจะมีโครโมโซมปกติ
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก (hypotonia)
หัวแบนกว้าง (brachiocephaly)
คอสั้นและผิวหนังด้านหลังของคอค่อนข้างมากและนิ่ม
หูติดอยู่ต่ำ
ปากอ้าและลิ้นมักจะยื่นออก และมีรอยแตกที่ลิ้น
มือกว้างและสั้น นิ้วก้อยโค้งงอ(clinodactyly)
ร่องระหว่างนิ้วโป้งเท้าและนิ้วชี้กว้าง
เส้นลายนิ้วมือมักพบ ulnar loopมากกว่าปกติและพบ distal triradius ในฝ่ามือ
ร่างกายเจริญเติบโตช้า
ความผิดปกติเกี่ยวกับตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ตาเข สายตาสั้น
ความผิดปกติเกี่ยวกับหู เช่น ช่องรูหูเล็ก มีปัญหาการได้ยิน
อวัยวะเพศของผู้ชายอาจเล็กกว่าปกติ
หัวใจพิการแต่กำเนิด และติดเชื้อได้ง่าย
การรักษา
การกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการให้เหมาะสมตาม
วัยตั้งแต่อายุยังน้อย(early stimulation)
การรักษาโรคทางกายอื่นๆที่มีร่วมด้วย
โรคหัวใจ
ระบบทางเดินอาหารอุดกั้น
ภาวะฮัยโปไทรอยด์และอื่นๆ
การให้คำปรึกษาแนะนำด้านพันธุกรรม