Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ VAP : Ventilator associated pneumonia -…
ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ
VAP : Ventilator associated pneumonia
ปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ : อักเสบของปอดที่เกิดจากการติดเชื้อจุลชีพภายหลังจากการใส่ท่อช่วยหายใจนาน มากกว่า48ชั่วโมง ผลจากการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ
สาเหตุ
การสูดสําลักเชื้อจุลชีพจากปากหรือคอผ่านหลอดลมเข้าสู่ปอด เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของ การเกิดปอดอักเสบในผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจ
การหายใจเอาละอองที่มีเชื้อจุลชีพเข้าไปในปอด ส่วนใหญ่เกิดจากการปนเปื้อนเชื้อจุลชีพ บนอปุกรณเ์ครื่องช่วยหายใจ ละอองฝอยของยาบําบัดทางเดินหายใจ เชื้อแพร่กระจายเข้าสู่ปอดโดยร่วมไปกับอากาศในท่อช่วยหายใจ เชื้อมาจากกระเพาะอาหารโดยการอาเจียนแล้วสูดสำลัก
การแพร่กระจายของเชื้อจุลชีพตามระบบเลือดหรือระบบน้ําเหลือง มักเกิดหลังการติดเช้ือ ที่ตําแหน่งอื่นของร่างกาย
ปัจจัยที่เลี่ยงไม่ได้
อาเจียน
โรคปอดเรื้อรัง
หมดสติ
ความบกพร่องในการกลืนทำให้สำลักง่าย
การป้องกัน
ล้างมืออย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี สามารถป้องกันการเกิด nosocomial infection ได้ดีที่สุด ควรล้างมือก่อนและหลังสัมผัสผู้ป่วยแต่ละคน
ทำความสะอาดช่องปาก
สวมถุงมือเมื่อต้องสัมผัสสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจหรือสัมผัสอุปกรณ์ที่เปรอะเปื้อน สารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย หากคาดว่าอาจสัมผัสสารคัดหลั่งจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย ให้สวมเสื้อคลุมก่อนให้การดูแลผู้ป่วย
ดูดเสมหะด้วยหลักการปฏิบัติเพื่อป้องกันการติดเชื้อทุกขั้นตอน(Asepticprecautions)โดยการสวม ถุงมือปราศจากเชื้อก่อนดูดเสมหะให้จัดท่าผู้ป่วยศีรษะสูง 45o (Fowler's position) และดูดเสมหะ /น้ําลายในช่องปาก ผู้ป่วยทุกครั้ง
ปัจจัยที่เลี่ยงได้
การขาดน้ํา มีผลให้เยื่อบุบริเวณทางเดินหายใจแห้งทําให้เสมหะข้นและขับออกยาก และ ผู้ป่วยอยู่ในท่านอนราบมีอัตราการเกิดปอดอักเสบเพิ่มขึ้นเนื่องจากการสูดสําลักเชื้อจุลชีพจากช่องปาก และกระเพาะอาหารได้ง่าย
การได้รับสารอาหารทางสายยาง การที่กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารคลายตัวขณะได้รับ อาหารทางสายยาง และเกิดการขย้อนอาหารขึ้นมาที่ช่องปากและคอ สําลักเข้าสู่ปอด รวมทั้งการ ย้อนกลับของของเหลวในกระเพาะอาหารอาจทําให้เชื้อจุลชีพจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ทางเดินหายใจ และทําให้เกิดการติดเชื้อที่ปอดได
การได้รับยาลดกรดในผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจเพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ทําให้แบคทีเรียเจริญเติบโตมากในกระเพาะอาหาร ถ้ามีอาการอาเจียนจะสำลักเชื้อเข้าปิดได้มาก
การผ่าตัดบริเวณทรวงอกและช่องท้องมีผลต่อการขยายตัวของปอดที่อาศัยการทํางาน ของกล้ามเนื้อกระบังลมและกล้ามเนื้อซี่โครง ทําให้การไอเพื่อขับเสมหะไม่มีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยปวดแผลผ่าตัดจึงไม่กล้าไอเพื่อขับเสมหะ อีกทั้งยาระงับควาใรู้สึกหรือยาแก้ปวดที่กดศูนย์การไอทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
แบ่งออกเป็น
early-onset
เกิดขึ้นภายใน4วันแรกของการใส่เครื่องช่วยหายใจ
late-onset
เกิดขภายหลังการใส่เครื่องช่วยหายใจมากกว่า4วันขึ้นไป การพยากรณ์โรคแย่กว่า early-onset