Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Chest injury chest-injury-1-638, ภาวะมีอากาศหรือลมรั่วใต้ผิวหนัง…
Chest injury
พยาธิสภาพ (Pathophysiology)
พยาธิสภาพของบาดเจ็บทรวงอกเกิดได้ตั้ง แต่ผนังทรวงอก เช่น มีแผลถลอก ฟกช้ำ หรือมีการหักของซี่โครงซึ่งอาจหักซี่เดียวหรือหลายซี่ และหลายตำแหน่งทำให้ทรวงอกยุบเข้าออกตามการหายใจ ผลจากซี่โครงหักอาจทำให้เยื่อหุ้มปอดทะลุ มีลมหรือเลือดในโพรงเยื่อหุ้มปอด ผู้ป่วยจะมีอาการปวด ไม่กล้าหายใจลึกทำให้ปอดแฟบติดเชื้อที่ปอด หรือเกิดภาวะคาร์บอนไดออกไชด์คั่งและภาวะพร่องออกชิเจน นอกจากนี้อาจกดการ ทำงานของหัวใจ ทำให้หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดออกไปเลี้ยงร่างกายได้เพียงพอและจำกัดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนในปอด หรือช็อกจากการเสียเลือด
การบาดเจ็บทรวงอกเฉพาะที่
กระดูกสันอกหัก (Sternal fracture)
สาเหตุ
จากแรงกระแทกโดยตรงต่อทรวงอกด้านหน้า
อาการและอาการแสดง
มีอาการปวดมาก หายใจตื้น ทำให้ปอดแฟบ มีการคั่งของเสมหะ เกิดการติดเชื้อ และการหายใจล้มเหลว
หากประเมินจากภาพรังสีปอดทั่วไปซึ่งถ่ายจากด้านหน้าอาจไม่เห็นรอยหัก แต่จะพบรอยหักหากถ่ายภาพด้านข้างหรือวินิจฉัยจากการตรวจ X-ray
การรักษาและการพยาบาล
ใช้หลักเดียวกับการรักษาอกรวน คือ ดูแลระบบทางเดินหายใจ ให้ออกซิเจน ให้ยาระงับปวด ดูแลให้ได้สารน้ำ ป้องกันภาวะแทรกซ้อน
อกรวน (Flail chest or stove in chest)
การหักของกระดูกซี่โครงด้านหน้าจะทำให้ทรวงอกบริเวณที่ซี่โครงหักขาดการยึดเหนี่ยวกับส่วนอื่น เกิดการเคลื่อนไหวตามความดันภายในทรวงอกและสวนทางกับส่วนอื่นขณะหายใจ (paradoxical/pendelluft movement) จะสังเกตุเห็นบริเวณส่วนนั้นยุบเข้าขณะหายใจเข้าและนูนออกขณะหายใจออก
อาการและอาการแสดง
ทรวงอกที่กระดูกซี่โครงหักยุบเข้าขณะหายใจเข้าและนูนออกเมื่อหายใจออก การหายใจลักษณะนี้จะเพิ่มพื้นที่ส่วนที่ไม่มีการแลกเปลี่ยนอากาศมากขึ้นทำให้มีการแลกเปลี่ยนอากาศในถุงลมน้อยลง เกิดภาวะพร่อง O2 หายใจเร็วตื้นและลำบาก ไม่ไอ เสมหะอุดตัน ปอดแฟบ ชีพจรเร็ว บางรายได้ยินเสียงซี่โครงหักเสียดสีกัน (bone crepotus) ปอดช้ำ ปอดบวมน้ำ ติดเชื้อ มีเลือดออกในถุงลมปอด เนื้อเยื่อปอดยึดติดกัน การหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน
ภาวะที่มีซี่โครงหักอย่างน้อย 3 ซี่ ติดต่อกันโดยแต่ละซี่หักตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป สำหรับกระดูกสันอกมีโอกาสเกิดภาวะอกรวนได้ถ้ามีการหักตั้งแต่ 2 ตำแหน่งขึ้นไป
การรักษา
ช่วยให้มีการหายใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจชนิดแรงดันบวก (positive end expiratory pressure:PEEP หรือ Continuos positive airway pressure: CPAP) เพื่อให้ปอดขยายดี ลดการปวดและแก้ไขภาวะแทรกซ้อน สำหรับการรักษาเฉพาะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการบาดเจ็บ
การพยาบาล
ให้ O2 ในรายที่หายใจไม่พอหรือหอบเหนื่อยมาก แพทย์จะใส่เครื่องช่วยหายใจ พยาบาลควรประเมินเสียงลมเข้าปอด ดูดเสมหะ ทำทางเดินหายใจให้โล่ง
ประเมินความรุนแรงของความปวดและให้ยาระงับปวดตามแผนการรักษา พร้อมสังเกตอาการข้างเคียงของยา
ถ้าไม่มีกระดูกสันหลังหัก ให้ส่วนที่หักอยู่นิ่ง โดยแนะนำให้ผู้ป่วยนอนทับส่วนที่หักหรือถุงทรายกดหรืออาจใช้ผ้าห่มหรือผ้าขนหนูหยุงไว้
ประเมินความสมดุลของสารน้ำ โดยการบันทึกชนิดและปริมาณของสารน้ำ บันทึกปริมาณปัสสาวะที่ออก
ดูแลด้านจิตใจ ประเมินความวิตกกังวล ให้การช่วยเหลือตามความเหมาะสม
กระดูกไหปลาร้าหัก (Clavicle fracture)
สาเหตุ
จากการได้รับแรงกระแทกโดยตรง เช่น ถูกเหยียบ ถูกวัตถุหนัก ๆตกทับ
การได้รับแรงกระแทกโดยตรง เช่น ถูกเหยียบ ถูกวัตถุหนัก ๆตกทับ
อาการและอาการแสดง
ไหล่ข้างที่ได้รับบาดเจ็บตก ยกแขนไม่ขึ้น เคลื่อนไหวแขนได้น้อย ปวด บวม มีแผลฟกช้ำ
การรักษา
ให้ส่วนที่หักอยู่นิ่ง ๆ ใส่ผ้าคล้องแขนหรืออุปกรณ์พยุงไหล่ประมาณ 2 wk. ให้ยาระงับปวด รายที่กระดูกหักหรือมีแผลเปิดแพทย์จะผ่าตัดใส่เหล้กดามกระดูก
การพยาบาล
ประเมินอาการปวด ให้ยาระงับปวด สังเกตอาการแทรกซ้อนจากยา
หลีกเลี่ยงการแทงเส้นและให้น้ำเกลือข้างที่หัก
ไม่ให้ข้างที่หักมีการเคลื่อนไหว สอนและแนะนำการใช้ผ้าคล้องแขน (arm sling) หรืออุปกรณ์พยุงไหล่ (Clavicle strap)
สอนวิธีการบริหารข้อไหล่และแขนเมื่ออาการปวดทุเลาลง
ประเมินชีพจรข้อมือข้างที่ไหปลาร้าหักเพื่อประเมินการบาดเจ็บของหลอดเลือดและเส้นประสาทที่เลี้ยงแขน
ซี่โครงหัก (Rib fracture)
อันตรายขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่หัก
:warning: ซี่ที่ 5-9 พบบ่อยที่สุดของการบาดเจ็บจากแรงกระแทก อาจเกิดอันตรายต่อปอดและหัวใจ
:warning: ซี่ที่ 11-12 เป็นสาเหตุของการบาดเจ็บต่ออวัยวะในช่องท้อง เช่น ตับ ม้าม ไต
:warning: ซี่ที่ 1-4 อยู่ใต้กระดูกไหปลาร้า เป็นบริเวณที่มีกล้ามเนื้อแข็งแรงปกคลุม หากมีการหักมักเกิดจากแรงกระแทกอย่างรุนแรง ทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดลม
อาการและอาการแสดง
ปวดบริเวณที่มีพยาธิสภาพ โดยเฉพาะขณะหายใจเข้า ออก อาการปวดทำให้หายใจตื้น ไม่กล้าไอ การแลกเปลี่ยน O2 ไม่มีประสิทธิภาพ เสมหะคั่ง เจ็บเมื่อถูกกดตรงตำแหน่งที่หัก
การรักษา
ลดปวดโดยให้ยาระงับปวด และให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้เพียงพอ โดยทั่วไปอาการปวดจะหายไปใน2-3 สัปดาห์ หากปวดมากแพทย์จะให้ยาระงับปวดชนิดที่ผู้ป่วยควบคุมเอง หรืออาจฉีดยาชาเข้าเส้นประสาท
การพยาบาล
ประเมินอาการปวดและให้ยาระงับปวดตามแผนการรักษา
จัดท่านอนให้ผู้ป่วยอยู่ในท่าที่สุขสบาย
ประคบเย็นบริเวณที่มีพยาธิสภาพ ในระยะ 24-48 ชม.แรก หลังจากนั้นประคบร้อน
ประเมินการหายใจและภาวะพร่อง O2 โดยวัดสัญญาณชีพ ดูอัตราการหายใจ ฟังเสียงลมเข้าปอดเปรียบเทียบทั้ง 2 ข้าง สังเกตการเคลื่อนไหวของทรวงอก อาการเจียวที่ปลายมือปลายเท้า
กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกลึก ๆ หรือใช้เครื่องบริหารปอดให้ปอดขยายตัวเพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบ
ติดตามผล Chest X-ray ตามแผนการรักษาเพื่อประเมินความก้าวหน้าของการรักษา
ภาวะเลือดออกในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Hemothprax)
อาการและอาการแสดง
แน่นหน้าอก หายใจตื้น เหนื่อยหอบ หรือช็อกจากการเสียเลือด ตรวจร่างกายอาจพบ หลอดลมและหัวใจถูกดันไปด้านตรงข้าม เสียงลมเข้าปอดเบาหรือหายไป เคาะจะได้ยินเสียงทึบ ยกเว้นภาวะที่มีทั้งเลือดและลม (hemopneumothorax) ส่วนที่มีอากาศจะเคาะโปร่ง
สาเหตุ
ส่วนใหญ่มาจากการฉีกขาดของผนังทรวงอก เนื้อปอด หลอดเลือดดำฝอย พังผืดของเยื่อหุ้มปอดและกระบังลม ถ้าเลือดออกมากจะทำให้ปริมาณเลือดดำกลับเข้าหัวใจน้อยและปริมาณเลือดที่ออกจากหัวใจลดลง
การรักษา
ใช้หลักการเดียวกับภาวะ pneumothorax คือการใส่ท่อระบายทรวงอก กรณีที่มีเลือดออกมาและไม่หยุด มีลิ่มเลือดคั่งค้างในทรวงอกและไม่ออกทางท่อระบายทรวงอก มีลมและของเหลวในทรวงอก มีบาดเจ็บต่อหลอดเลือดใหญ่ หรือมีการเซาะของเลือดในผนังหลอดเลือดแดง (dissecting aneurysm) แพทย์จะรักษาโดยการผ่าตัด (thoracotomy)
การพยาบาล
ใช้หลักการเดียวกับภาวะ pneumothorax กรณีใส่ท่อระบายทรวงอกต้องคอยตรวจดูการทำงานของระบบ ไม่ให้มีก้อนเลือดอุดตันสาย
ให้ O2 ตามแผนการรักษา
กรณีที่เลือดออกมากต้องเปิดหลอดเลือดดำ 2 เส้น ให้สารน้ำให้เพียงพอและไม่ให้ sBP < 90-100 mmHg
ให้เลือดทดแทน ถ้าเลือดออกทันที 1,500 ml หรือออก 200 ml/hr 3 hr ติดต่อกัน รายงานแพทย์ และเตรียมผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด
ภาวะลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)
ลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด ชนิดความดันไม่เปลี่ยนแปลง (Simple Pneumothorax)
ภาวะที่มีลมค้างอยู่ในเยื่อหุ้มปอดและไม่มีลมรั่วต่อเนื่อง ทำให้ความดันในโพรงเยื่อหุ้มปอด ยังคงเป็นลบหรือต่ำกว่าหรือเท่ากับบรรยากาศภายนอก
ห
อาการและอาการเเสดง
ความรุนแรงขึ้นอยู่กับปริมาณลมในเยื่อหุ้มปอด
ในกรณีที่มีลมเล็กน้อย อาจไม่มีอาการ หรืออาจบ่นแน่นหน้าอกเจ็บแน่นชายโครงหรือลิ้นปี่เพียงเล็กน้อย
*ตรวจร่างกายอาจไม่พบลมใต้ผิวหนัง ฟังเสียงลมเข้าปอดด้านที่มีพยาธิสภาพได้ลดลง
ปอดข้างที่มีพยาธิสภาพเเฟบเล็กลง และขยายไม่เต็มที่ มีอาการเจ็บเเน่นหน้าอกขณะหายใจเข้า (pleuritic chest pain) ชีพจรเร็ว
การรักษา
ในรายที่มีลมในเยื่อหุ้มปอดน้อย = สังเกตอาการและติดตามผลภาพถ่ายรังสีปอดเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นหรือแย่ลง
ถ้ามีลมมาก = ใส่ท่อระบายทรวงอกเพื่อระบายลมออก
การพยาบาล
สังเกตและประเมินประสิทธิภาพการหายใจ (อาจให้ออกซิเจนความเข้มข้นสูง เพื่อช่วยการดูดซึมกลับของลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด)
ถ้ามีลมในเยื่อหุ้มน้อยหรือไม่มีอาการในตอนแรก แต่ภายหลังถ่ายภาพรังสีปอดพบ ลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดแต่ไม่มาก => แพทย์อาจให้แสดงอาการหรือเจาะดูดด้วยเข็ม ดังนั้นพยาบาลควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ คลายกังวล
ในกรณีที่มีลมในเยื่อหุ้มปอดมาก ผู้ป่วยมีอาการแสดงของการหายใจถูกกด เช่น หายใจเร็ว เหนื่อย หายใจไม่ออก ควรรีบรายงานแพทย์ และเตรียมอุปกรณ์สำหรับใส่ท่อระบายทรวงอกให้พร้อม
ภายหลังใส่ท่อระบายทรวงอกแล้ว ถ้ายังมีลมรั่วมากและปอดยังขยายไม่เต็มที่ แพทย์จะรักษาโดยการเปิดทรวงอก (Thoracotomy)
ในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องช่วยหายใจและตั้งแรงดันบวก พยาบาลควรเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อน เช่น ถุงลมปอดแตก (Barotrauma) สังเกตผิวหนังที่บวมขึ้น และคลำผิวหนังได้เสียงกรอบแกรบ
ภาวะความดันบวกจากลมรั่ว
(Tension Pneumothorax)
ความดันบวกจากลมรั่ว เป็นภาวะที่ลมรั่วเข้าไปในเยื่อหุ้มปอดและลมไม่หยุดรั่ว ทำให้มีความดันบวกเพิ่มขึ้นตลอดเวลา
เกิดความดันในโพรงเยื่อหุ้มปอดสูงกว่าบรรยากาศภายนอก โดยลมอาจเข้ามาจากแผลที่ผนังทรวงอก หรือจากการฉีกขาดของปอด/หลอดลม เพราะความดันในหลอดลมปกติสูงกว่าในโพรงเยื่อหุ้มปอดตลอดเวลาทั้งหายใจเข้าและออก
**เกิดการกดเบียดกดเบียดอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะหลอดลมคอ และหัวใจถูกเบียดไปอยู่ด้านตรงข้าม เป็นอันตรายถึงชีวิต
สาเหตุจาก ถูกยิง ถูกวัตถุปลายแหลมทิ่มแทง หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา เช่นการใส่เครื่องช่วยหายใจที่มีแรงดันบวกสูง การใส่สายระบายทรวงอก หรือการแทงสายสวนเข้าสู่หลอดเลือดดำ
อาการและอาการแสดง
อาการของการหายใจและหัวใจถูกกด เช่น กระสับกระส่าย หายใจหอบเหนื่อย หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ตัวเขียว หัวใจเต้นเร็ว เสียชีวิตได้
ผนังทรวงอกข้างที่มีพยาธิสภาพเคลื่อนไหวตามการหายใจน้อยลง
เคาะปอดข้างที่มีพยาธิสภาพได้เสียงโปร่ง ตรวจพบลมรั่วใต้ผิวหนัง เสียงลมผ่านปอดข้างที่มีพยาธิสภาพลดลง
หลอดลมคอเอียงไปด้านตรงข้ามกับที่มีพยาธิสภาพ
ค่าความดัยที่หลอดเลือดดำส่วนกลาง (Central venous pressure) สูง แม้ว่าความดันโลหิตจะต่ำ ทั้งนี้จากหลอดเลือดใหญ่ทั้งแดงและดำถูกกด หลอดเลือดดำที่คอโป่ง แต่อาจแฟบในผู้ป่วยที่ช็อกจากการเสียเลือด
ผลก๊าซในเลือดแดง พบภาวะพร่องออกซิเจน เเละเลือดเป็นด่างจากการหายใจ
การตรวจวินิจฉัย
เพื่อเเยกระหว่างลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดชนิดความดันไม่เปลี่ยนแปลง (simple pneumothorax) และความดันบวกจากลมรั่ว (tension pneumothorax)
1.ภาพถ่ายรังสีปอด จะเห็นเงาของลมเป็นสีดำ ระหว่างปอดกับผนังทรวงอกและกระบังลม ส่วนเงาปอดมีขนาดเล็กลง
2.เจาะโพรงเยื่อหุ้มปอด (Needle thoracentesis) โดยใช้กระบอกฉีดยาขนาด 5-10 ml. เข็มเบอร์ 20 ดูดลมไว้ในกระบอกฉีดยาประมาณ 2 ml. จัดท่านอนหงายศีรษะสูง 30 องศา
ลมในกระบอกฉีดยาถูกดูดเข้าไป => โพรงเยื่อหุ้มปอดมีความดันต่ำกว่าบรรยากาศมาก (ไม่มีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด) *ปกติ ลมจะเดินทางจากความดันสูงไปต่ำ
ลมในกระบอกฉีดยาอยู่อย่างเดิม สามารถดูดลมเพิ่มได้ => มีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดชนิดความดันไม่เปลี่ยนแปลง (simple pneumothorax)
แกนใรกระบอกฉีดยาถูกดันถอยหรือหลุดออกจากระบอก => มีลมบวกในโพรงเยื่อหุ้มปอด
การพยาบาล
เฝ้าระวังและสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และประเมินอาการภาวะมีความดันบวกจากลมรั่วให้เร็วที่สุด เช่น หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจไม่ออก เจ็บแน่นหน้าอก ชีพจรเร็ว ควรรายงานแพทย์
ให้ O2 แก้ไขภาวะพร่อง O2 และเตรียมอุปกรณ์ในการช่วยแพทย์ใส่ท่อระบายทรวงอก
ในกรณีที่มีความดันบวกจากลมรั่วและได้รับการใสท่อระบายทรวงอกแล้ว ห้ามหนีบสายยางท่อระบาย
ประเมินอาการหายใจ สัญญาณชีพอื่น ๆ และจัดการกับความปวด
การรักษา
ในภาวะเร่งด่วนคือมีอาการแสดงทางคลินิกชัด แพทย์จะรักษาโดยไม่รอผลยืนยันจากภาพถ่ายรังสีปอด โดยใช้เข็มฉีดยาขนาดใหญ่หรือใช้เข็มฉีดยาหลายๆเล่มปักที่ช่องซี่โครงซี่ที่ 2 ตรงกึ่งกลางไหปลาร้า เข้าโพรงเยื่อหุ้มปอดเพื่อระบายลมออก หลังจากนั้นใส่ท่อระบายทรวงอกที่ซี่โครงซี่ที่ 4 ของอกข้างที่มีพยาธิสภาพ
ภาวะลมในโพรงเยื่อหุ้มปอดชนิดมีแผลเปิด (Open pneumothorax)
หมายถึง การมีแผลเปิดที่ทรวงอก ทำให้โพรงเยื่อหุ้มปอดติดต่อกับบรรยากาศภายนอก ซึ่งขนาดของแผลต้องกว้างมากพอที่ลมจะผ่าเข้าออกได้ ซึ่งขณะหายใจเข้าลมจากภายนอกจะถูกดูดเข้าทางแผล ขณะหายใจออกลมจะถูกดันออก ทำให้เกิดเสียงฟืดฟาดขณะหายใจ ถ้าใช้มืออังแผลขณะหายใจออกจะรู้สึกว่ามีลมพุ่งออกมากระทบมือ ถ้าลมเข้าออกทางแผลมากจะทำให้ลมเข้าออกทางหลอดลมน้อยลง ทำให้ผุ้ป่วยเสียชีวิตได้
อาการและอาการแสดง
ขณะหายใจเข้าลมถูกดันเข้าไปในดพรงเยื่อหุ้มปอดเกิดแรงดันบวกกดปอดด้านที่มีพยาธิสภาพให้แฟบลง ขณะเดียวกันแรงดันนี้จะดันประจันอกให้เคลื่อนไปด้านที่ไม่มีพยาธิสภาพเป็นผลให้ปริมาตรอากาศที่เข้าปอดด้านนี้ลดลง เมื่อหายใจออกแรงดันบวกของปอดด้านที่มีพยาธิสภาพจะลดลง ทำให้อวัยวะบริเวณประจันอก เหวี่ยงกลับไปมาตามการหายใจ เรียกว่า "Mediastinum flutter"
การรักษา
ปิดแผลในรายที่มีอาการของความดันบวกจากลมรั่ว แพทย์ใส่ท่อระบายทรวงอก
การพยาบาล
ให้ O2 ตามแผนการรักษา
ปิดแผลให้สนิททั้ง 3 ด้าน เพื่อป้องกันอากาศเข้าขณะหายใจเข้า
ถ้าผู้ป่วยรู้ตัวและให้ความร่วมมือ ควรแนะนำให้หายใจเข้าลึก ๆ เพื่อให้ลมออกทางแผลได้ดีขึ้น
หลังปิดแผล สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด เพราะลมอาจออกไม่หมดและยังมีลมรั่วเข้าตลอด
ถ้าผู้ป่วยไม่ดีขึ้น แพทย์จะเปิดแผลและใส่ท่อระบายทรวงอก แล้วเย็บปิดแผลให้แน่นรอบท่อ ปลายของท่อระบายต้องจุ่มลงใต้น้ำเสมอ
ภาวะหัวใจถูกบีบรัด (Pericardial/Cardiac tamponade)
คือ ภาวะที่มีสารเหลวหรือเลือดเข้าไปอยู่ในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ ปกติแล้วช่องนี้ไม่มีทางติดต่อกับช่องทางอื่น เมื่อมีสารเหลวหรือเลือดเข้าไปจะทำให้ความดันในช่องเยื่อหุ้มหัวใจเพิ่มมากขึ้น และเมื่อความดันเพิ่มสูงกว่าความดันในหลอดเลือดดำ ทำให้เลือดไหลกลับเข้าหัวใจลำบาก เกิดความดันโลหิตตก เลือดออกจากหัวใจลดลง ภาวะนี้เรียกว่า หัวใจถูกกด
สาเหตุ
อาจเกิดจากอุบัติเหตุหรือหัตถการต่าง ๆ เล่น การใส่สายสวนหัวใจ
อาการและอาการแสดง บ่งชี้ว่าหัวใจถูกกดมี 3 ประการ (Beck's triad) คือ ความดันโลหิตต่ำ หลอดเลือดดำที่คอโป่งพอง ปละเสียงหัวใจเบา (distant heart sound)
อาการอื่น ๆ
มีประวัติการบาดเจ็บทรวงอกและมีบาดแผลบริเวณเยื่อหุ้มหัวใจ ทิศทางแผลไปในทิศทางที่จะเกิดการบาดเจ็บต่อหัวใจหรือหลอดเลือดแดงใหญ่
BP ต่ำไม่สัมพันธ์กับการเสียเลือด
อาการเขียวคล้ำบริเวณใบหน้า เนื่องจากการคลั่งของเลือดดำ
BP ในหลอดเลือดสูงขณะหายใจเข้า (Kussmual's sign)
การรักษา
ผ่าตัดแก้ไข ส่วนใหญ่มักเสียชีวิตก่อนถึง รพ. เนื่องจากเสียเลือดและจากภาวะหัวใจล้มเหลว
การพยาบาล
ประเมินอาการผู้ป่วยให้เร็วที่สุด หลังจากนั้นให้ O2 และสารน้ำ
รีบรายงานแพทย์และเตรียมอุปกรณ์เพื่อช่วยแพทย์ทำการเจาะเลือดออกจากถุงหุ้มหัวใจ (pericardiocentesis) โดยใช้เข็มดูดเลือดออก 15-20 ml การพยาบาลเพื่อช่วยแพทย์มีดังนี้
จัดท่านอนศีรษะสูง
เตรียมอุปกรณื ได้แก่ เข็มเบอร์ 16 หรือ 18 ยาว 4-6 นิ้ว 3 way กระบอกฉีดยา ขนาด 50 ml ยาชา ยาฆ่าเชื้อ ถุงมือปลอดเชื้อ เสื้อกราวน์ mask
ให้ O2 ตามแผนการรักษา
ขณะทำหัตถการ เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ให้สารน้ำให้เพียงพอ
ให้ยาเพิ่ม BP ตามแผนการรักษา
ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์เหนียวให้แน่น (pressure dressing)
เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนจากการทำหัตถการ เช่น pneumothorax
เตรียมผู้ป่วยเพื่อเข้ารับการผ่าตัดตามแผนการรักษา
Chest Anatomy
1. กระดูกทรวงอก (Thoracic cage)
🔸 ส่วนที่เป็นกระดูก ได้แก่ ซี่โครง ไหปลาร้า สะบัก (scapular) และกระดูกสันอก (sternum)
ซี่โครงมีทั้งหมด 12 คู่ โดยคู่ที่ 1-7 ยึดติดกับกระดูกสันอก
คู่ที่ 8-10 ไม่ได้ยึดติดกับกระดูกสันอกโดยตรงแต่เชื่อมกับซี่โครงคู่ที่ 7 ส่วนคู่ที่ 11-12 ยึดติดกับกระดูกสันหลังเท่านั้นและมีขนาดสั้นกว่าคู่อื่นๆ ซี่โครงทุกซี่ถูกพยุงไว้ด้วยกล้ามเนื้อ มีความสำคัญ ในการหายใจซึ่งจะผ่านจากซี่โครงบนลงมาล่าง
2. ช่องอก (Thoracic cavity)
อวัยวะต่างๆ ที่อยู่ในกระดูกทรวงอก ได้แก่ ผนังทรวงอก ผิวหนัง กล้ามเนื้อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้อที่สำคัญ ได้แก่ กล้ามเนื้อเพคตอรีส (pectoris major & pectoris minor) ซึ่งพยุงทรวงอกด้านหน้าไว้โดยมีเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ห่อหุ้มกล้ามเนื้อส่วนล่าง เรียกเนื้อเยื่อนี้ว่า "กระบังลม (diaphragm)"
การประเมินการบาดเจ็บในระยะฉุกเฉิน
เน้น
ค้นหาปัญหาที่คุกคามต่อชีวิตมากที่สุด
การประเมินทางเดินหายใจ การหายใจและระบบไหลเวียน & ตรวจร่างกาย
การดู
🔎
ค้นหาตำแหน่งและขนาดของแผล
ดูตำแหน่งของหลอดลมคอ
การเคลื่อนไหวทรวงอกขณะหายใจ
ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ
การโป่งของหลอดเลือดดำที่คอหรือไม่?
เวลาหายใจ ทรวงอกขยายเท่ากัน?
การคลำ
👋
ผู้ป่วยที่มีกระดูกซี่โครงหัก ถ้ากดบริเวณที่หักจะรู้สึกเจ็บ
Chest Compress test positive: CCT positive
มีลมรั่วใต้ผิวหนัง (Subcutaneous Emphysema) คลำได้เสียงกรอบแกรบ
การเคาะ
🤏
เคาะปอดแล้วได้ยินเสียงทึบ = มีเลือดในนโพรงเยื่อหุ้มปอด
เคาะแล้วได้ยินเสียงโปร่ง = มีลมในเยื่อหุ้มปอด
เคาะได้ยินเสียงโปร่ง+ตำแหน่งของท่อหลอดลมคอเอียงไปด้านใดด้านนึง สงสัยว่า มีความดันบวกจากลมรั่วในเยื่อหุ้มปอด
การฟัง
🦻
สังเกตเสียงดันผิดปกติขณะหายใจออก (Respiratory Stridor) และฟังเปรียบเทียบลมทั้งสองข้าง (ปกติต้องเท่ากัน)
ฟังได้ยินเสียงข้างเดียว = ข้างที่ไม่ได้ยินมีพยาธิสภาพ
การพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ที่บาดเจ็บทรวงอก
1.ทำทางเดินหายใจให้โล่ง
นอนยกศีรษะสูง เพื่อให้หายใจสะดวก ดูแลให้ได้รับออกซิเจน & ประเมินภาวะพร่องออกซิเจน เช่น อัตราการหายใจ ภาวะเขียวปลายมือปลายเท้า O2 saturation
2.แก้ไขสาเหตุที่ทำให้หายใจลำบาก เช่น เตรียมชุดสำหรับเจาะระบายลม หรือใส่ท่อระบายทรวงอก ในรายที่มีความดันบวกจากลมรั่วหรือหัวใจถูกบีบรัด
3.ให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ เฝ้าระวังการขาดน้ำหรือการสูญเสียเลือดมาก
ตรวจสัญญาณชีพ ค่าความดันโลหิต
เฝ้าระวังหัวใจเต้นผิดจังหวะ
ค่า Hct รวมถึงปัสสาวะที่ออกในแต่ละชั่วโมง
ในกรณีที่เสียเลือดมาก อาจรายงานแพทย์เพื่อขอเลือดมาทดแทน
4.ในกรณีที่มีแผลเปิด ควรทำความสะอาดและรีบอุดรอยรั่วเพื่อป้องกันการติดเชื้อ และไม่ให้ลมเข้าสู่โพรงเยื่อหุ้มปอด
5.ประเมินความปวดและให้ยาระงับปวดตามความเหมาะสม
6.ติดตามภาพถ่ายรังสี และเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างสม่ำเสมอ
7.ติดตามผลทางห้องปฏิบัติการ เช่น อิเล็กโตรไลต์ ก๊าซในเลือดแดง การแข็งตัวของเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ภาวะมีอากาศหรือลมรั่วใต้ผิวหนัง (Subcutaneous emphysema)
เป็นภาวะที่มีลมรั่วใต้ผิวหนัง ซึ่งทำให้ผิวหนังบริเวณที่มีลมบวมและคลำได้ลักษณะฟองอากาศอยู่ใต้ผิวหนัง มีเสียงกรอบแกรบ เกิดอาการเจ็บปวดหรืออึดอัดได้ในบริเวณที่บวมมาก ถ้าลมเซาะไปที่คอทำให้คอบวมและกดหลอดลมคอทำให้หายใจลำบากได้ และถ้าลมเซาะเข้าไปที่อก อาจกดหลอดเลือดและกดการทำงานของหัวใจ
สาเหตุ
เกิดภายหลังการบาดเจ็บทรวงอก การบาดเจ็บของกล่องเสียงหรือหลอดลมคม หรือเป็นภาวะแทรกซ้อนจากการเจาะคอ เนื่องจากเย็บปิดผิวหนังรอบท่อเจาะคอแน่นเกินไป
อาการและอาการแสดง
คลำได้ฟองอากาศใต้ผิวหนัง พบบ่อยที่คอ หน้าอก ใบหน้า แขนส่วนบน ท้อง
การรักษา
ขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น หากมีลมในโพรงเยื่อหุ้มปอด แพทย์จะใส่ท่อระบายทรวงอก ถ้าเย็บปิดผิวหนังรอบแผลเจาะคอแน่นเกินไป แพทย์จะตัดไหมออก เพื่อให้ลมใต้ผิวหนังระบายออกได้
การพยาบาล
ขึ้นอยู่กับสาเหตุและการรักษา สิ่งที่พยาบาลต้องระวัง คือ การสังเกตการเกิดลมรั่วใต้ผิวหนังจากการทำหัตถการต่าง ๆ
ปอดช้ำ (Pulmonary contusion)
สาเหตุ
อาจเกิดจากซี่โครงหัก อกรวนหรือกระดูกสันอกหักทำให้เกิดพยาธิสภาพที่เนื้อปอด มีเลือดออกในถุงลมปอด ถุงลมปอดบวม ความยืดหยุ่นลดลง การแลกเปลี่ยนก๊ซไม่มีประสิทธิภาพ เกิดภาวะพร่องออกซิเจน
อาการและอาการแสดง
ช่วงแรกๆ จะไม่มีอาการ ต่อมาจะหายใจลำบาก มีภาวะหายใจล้มเหลวโดยจะเริ่มด้วยอาการไอเป็นเลือด เสียงลมเข้าปอดเบา มีเสียงลมผ่านของเหลว (crackle/crepitation) และเสียงลมผ่านท่อหลอดลมขนาด เล็ก (wheezing) ภาพถ่ายรังสีปอดวันแรกไม่พบความผิดปกติ แต่ 2-3 วัน ต่อมาจะพบความผิดปกติ
การรักษา
แก้ไขภาวะพร่องออกชิเจนโดย การให้ออกชิเจนและอาจใส่เครื่องช่วยหายใจความดันบวกเพื่อให้ปอดขยายและจำกัดสารน้ำ
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับออกซิเจนให้เพียงพอ
ประเมินความปวดและให้ยาระงับปวดให้เพียงพอ
รักษาความสมดุลของสารน้ำและอิเลคโตลัยต์
จำกัดสารน้ำ บันทึกสารน้ำเข้าออก
กลไกการบาดเจ็บ
(Mechanism of injuries)
1.บาดเจ็บแบบมีแผลทะลุ (Penetrating chest injury)
การบาดเจ็บจากวัสดุปลายแหลม(penetrate) ผ่านเข้าไปในทรวงอกหรือทะลุผ่าน (perforate) ทำให้เกิดแผลฉีกขาด บาดเจ็บชนิดนี้สามารถ ประเมินแผลได้ง่ายจากขนาดของแผล ปริมาณ เลือดที่ออก หรือลักษณะอาวุธที่เสียบคาทรวงอก
2.บาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระแทก
(Non-penetrating/blunt chest injury)
การบาดเจ็บที่เกิดจากแรงกระทบกระแทกหรือเกิดจาก อาวุธหรือของไม่มีคม ทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในพบตั้งแต่ฟกช้ำจนถึงอวัยวะภายในฉีกขาด ไม่พบร่องรอยจากภายนอกจึงทำให้ยากในการวินิจฉัย ส่วนมากสาเหตุมาจากอุบัติเหตุทางถนน
ไสว นรสาร, พีรญา ไสไหม. (2559).
การพยาบาลผู้บาดเจ็บ
. นนทบุรี : โครงการตำรารามาธิบดี
คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล