Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Placenta previa นศพต. จิดาภา ชูพงษ์ เลขที่ 10 - Coggle Diagram
Placenta previa
นศพต. จิดาภา ชูพงษ์ เลขที่ 10
ข้อมูลพื้นฐาน
ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 33 ปี :warning:
G1P0000
LMP 16 สิงหาคม 2563 x 3 วัน
EDC by date 23 พฤษภาคม 2564 GA 9+4 wks
น้ำหนักก่อนตั้งครรภ์ 55 kg ส่วสูง 161 cm BMI 21.22 kg/m^2
Normal weight (18.5-24.9)
นำ้หนักที่ควรเพิ่มตลอดการตั้งครรภ์ 11.5-16 kg
ควรเพิ่ม 0.42 kg/wk
ระดับการศึกษา : ปริญาตรี
ประกอบ : อาชีพค้าขาย
รายได้ : 20,000 บาท/เดือน
ประวัติการเจ็บป่วย : ปฏิเสธ
ประวัติครอบครัว : มารดาเป็นเบาหวาน :warning:
ประวัติแพ้ยาแพ้อาหาร : ปฏิเสธ
ประวัติการได้รับวัคซีน dT :
ครั้งที่ 1 วันที่ 04/12/63
ครั้งที่ 2 วันที่ 05/01/64
ข้อมูลการตั้งครรภ์
ประวัติการฝากครรภ์
22/10/63 GA 9+4 wks นำ้หนัก 59.8 kg BP 101/70 mmHg P 70 bpm
มีอาการแพ้ท้อง
ยาที่ได้รับ
Folic acid 1x1 po pc ช่วยผลิตเม็ดเลือดแดง บำรุงเลือด
lodine 1x1 po pc ส่งเสริมการสร้างระบบประสาทของทารก
Dimenhydrinate 50 mg 1x3 po pc แก้แพ้ท้อง คลื่นไส้อาเจียน
Vitamin B6 1X1 po pc แก้แพ้ท้อง ช่วย ผ่อนคลาย บำรุงสมอง
Lab
VDRL non-reactive
HBsAg Negative
HIV Ab Negative
GCT 131 mg/dL
Hb E Screening (DCIP) Negative
CBC
Hb 13.1 g/dL
Hct 39.7 %
MCV 83.9 fL
Rh Positive
04/12/63 GA 15+5 wks นำ้หนัก 61.0 kg BP 99/59 mmHg P 64 bpm
ยาที่ได้รับ
Nataral Multi Vitamin 1x1 po pc วิตามินรวม บำรุงครรภ์
Cal tab แคลเชียมบำรุงการเสริมสร้าง กระดูก
15/02/64 GA 21+5 wks นำ้หนัก 66.5 kg BP 111/62 mmHg P 82 bpm
U/S screening พบ Placenta previa maginalis
19/02/64 GA 26+5 wks นำ้หนัก 69.4 kg BP 115/43 mmHg P 83 bpm มดลูกอยู่ระดับ 1/4 สูงกว่าสะดือ
GCT 112 mg/dL
19/03/64 GA 30+5 wks นำ้หนัก 73.0 kg BP 97/64 mmHg P 96 bpm มดลูกอยู่ระดับ 2/4 สูงกว่าสะดือ
6.02/04/64 GA 32+5 wks นำ้หนัก 74.4 kg BP 107/65 mmHg P 89 bpm มดลูกอยู่ระดับ 3/4 สูงกว่าสะดือ
ตรวจร่างกาย
no pale conjunctiva ไม่มีฟันผุ เหงือกอักเสบ คอไม่โต ไม่บวมทั้งสองข้าง
การตรวจครรภ์
ลักษณะท้อง พบ Linea Nigra, striae gravidarum สีชมพู
Leopold's maneuver
ท่า 1 Fundal grip ระดับยอดมดลูก 3/4 > สะดือ
ท่า 2 Umbilical grip wu large part OR
ท่า 3 Pawlik grip พบ Vx, HF
ท่า 4 Bilateral inguinal grip wu HF FHS 140-150 bpm
พยาธิสภาพ
ผลกระทบต่อมารดา
การตกเลือดระยะตั้งครรภ์ ส่วนใหญ่ประคับประคองการตั้งครรภ์ให้ดำเนินต่อไปได้จนคลอดทารกปลอดภัยระยะคลอดมักพบว่าการเกิดจากการฉีกขาดของปากมดลูกและตัวมดลูกเนื่องจากการคลอดทางช่องคลอด นอกจากนี้อาจพบรกเกาะลึก (placenta accreta) ซึ่งทำให้เสียเลือดมากระยะหลังคลอด นอกจากนี้พบว่ามีการติดเชื้อได้สูง เนื่องจากรอยแผลอยู่บริเวณปากมดลูกและตัวมดลูกมีขนาดกว้างกว่าปกติ
ผลกระทบต่อทารก
ทารกอาจคลอดก่อนกำหนด
ขาดออกซิเจน พิการแต่กำเนิดนอกจากนี้ยังพบว่าทารกมีขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์(IUGR)
การวินิจฉัย
ㆍการตรวจร่างกาย พบอาการซีดการตรวจทางหน้าท้อง คลำพบมดลูกนุ่ม คลำพบทารกได้ชัดเจน อาจคลำพบว่าทารกในครรภ์อยู่ในท่าผิดปกติถ้าศีรษะของทารก เป็นส่วนนำจะพบว่าส่วนนำลอยไม่เข้าอุ้งเชิงกรานและการตรวจทางช่องคลอดควรทำเมื่ออายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์
ตรวจร่างกายไม่พบภาวะซีด
ท่า 1 Fundal grip ระดับยอดมดลูก 3/4 > สะดือ
ท่า 2 Umbilical grip wu large part OR
ท่า 3 Pawlik grip พบ Vx, HF
ท่า 4 Bilateral inguinal grip wu HF FHS 140-150 bpm
ㆍการตรวจด้วยเครื่องเสียงความถี่สูง (ultrasound) เพื่อหาตำแหน่งของการเกาะของรก เป็นวิธีที่นิยมทำมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากมีความแม่นยำสูง นอกจากนี้การทำ egnetic resonance imaging : MRI ช่วยในการวินิจฉัยได้แม่นยำมากขึ้น
ผป.ได้รับการU/S screening พบ Placenta previa maginalis
ซักประวัติพบ ผป.บอกว่ามีเลือดออกทางช่องคลอดไม่มีอาการเจ็บครรภ์ หรืออาการปวด จำนวนเลือดออกไม่มากนัก มักหยุดเอง มีสีแดงสด ในรายที่มีเลือดออกมากมักพบร่วมกับอาการซีด
ผู้ป่วยบอกว่าไม่เคยมีเลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์
ความหมาย
ภาวะที่รกเกาะต่ำกว่าปกติ มีลักษณะทางคลินิกคือ เลือดออกทางช่องคลอด มักไม่เจ็บครรภ์ ไม่มีการหดรัดตัวของมดลูก หรือมดลูกแข็งเกร็ง กดไม่เจ็บ
ชนิด
ขอบของรกอยู่เหนือปากมดลูกด้านใน (low lying placenta previa ) หมายถึงรกที่ฝังตัวบริเวณ lower uterine segment ซึ่งขอบของรกยังไม่ถึง internal os ของปากมดลูก
ขอบของรกปิดถึงบริเวณปากมดลูกด้านใน (marginal placenta previa) หมายถึงรกเกาะต่ำชนิดที่ขอบรกเกาะที่ขอบของ internal os
รกปิดปากมดลูกด้านในเพียงบางส่วน (partial placenta previa) หมายถึงรกเกาะต่ำที่ขอบรกคลุมปิด internal os เพียงบางส่วน
รกปิดปากมดลูกด้านในทั้งหมด (placenta previa totolis) หมายถึง รกเกาะต่ำที่ขอบรกคลุมปิด interna OS ทั้งหมด
การรักษา
Cesarean section :
ในกรณีที่หากคลอดเองทางช่องคลอดแล้วจะเกิดภาวะตกเลือด ( การเกาะที่ขอบของรกอยู่เหนือปากมดลูกด้านใน low lying placenta previa เป็นการเกาะชนิดเดียวที่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้) ส่วนใหญ่สามารถลงแผลที่มดลูกตามแนวขวาง (ในบางรายอาจพิจารณาลงแผลที่มดลูกตามแนวยาวเพื่อหลีกเลี่ยงการผ่าทะลุรก) ในกรณีรกเกาะด้านหน้าควรวางแผนล่วงหน้าว่าจะผ่าทะลุรก หรืออ้อมชายรก (ใช้นิ้วเซาะรกจากผนังมดลูกไปยังชายรกที่ใกล้ที่สุดเพื่อเจาะถุงน้ำคร่ำ) 7 หลังเด็กและรกคลอดแล้ว ระวังภาวะตกเลือดหลังคลอด ในบางรายรกอาจติดแน่นจึงต้องเตรียมพร้อมผ่าตัดมดลูกเสมอ
Close observation :
ให้รับไว้รักษาในโรงพยาบาลหากมีเลือดออกมากทางช่องคลอด ควรดูแลอย่างใกล้ชิดในห้องคลอด เจาะเลือดตรวจ CBC, platelet count, cross match (งดน้ำและอาหาร ให้น้ำเกลือ เตรียมพร้อมผ่าตัดคลอดฉุกเฉินไว้เสมอ) เฝ้าสังเกตอาการเลือดออกทางช่องคลอด อัตราการเต้นของหัวใจทารก สัญญาณชีพ ห้ามตรวจทางช่องคลอด หรือทางทวารหนัก และห้ามสวนอุจจาระ ในกรณีเลือดหยุดแล้ว และสภาวะทารกปกติ สามารถให้กลับบ้านได้ แต่ต้องเน้นย้ำให้ผู้ป่วยมาโรงพยาบาลทันทีที่มีเลือดออกซ้ำ นัดตรวจอัลตราซาวด์ซ้ำในไตรมาสสุดท้ายว่าภาวะรกเกาะต่ำยังคงมีอยู่หรือไม่และเป็นชนิดใดเพื่อวางแผนการคลอด
ภาวะรกเกาะต่ำ (placenta previa) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด Placenta Accreta ได้ร้อยละ 6.8-10 ดังนั้นเมื่อสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับ การตรวจอัลตราซาวด์พบภาวะรกเกาะตำ่ในอายุครรภ์น้อยๆ จําเป็น ต้องนัดตรวจซำ้เป็นระยะเมื่ออายุครรภ์มากขึ้นและพบรกเกาะอยู่ด้านหลังร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว และ อัลตราซาวด์ไม่สามารถตรวจได้ละเอียด สูติแพทย์จะนิยม ส่งผู้ป่วยตรวจ เพิ่มเติมด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อค้นหา ภาวะ placenta accreta
ภาวะรกฝังตัวผิดปกติ (abnormally adhered placentation) เกิดจากการฝังตัวของรกที่ฝังตัวติดแน่นกับชั้นกล้ามเนื้อมดลูกทะลุผ่านชั้น decidua basalis หรือ Nitabuch layer ซึ่งมี 3 ชนิด
ภาพ A Placenta accreta รกเกาะติดกับชั้นกล้ามเนื้อมดลูก
ภาพ B Placenta increta รกเกาะลึกลงไปในชั้นกล้ามเนื้อมดลูก
ภาพ C Placenta percreta รกเกาะลึกทะลุชั้นกล้ามเนื้อมดลูก
ปัจจัยส่งเสริม
อายุเกิน 40 ปี
เคยเป็นในครรภ์ก่อน
ครรภ์หลัง
เคยได้รับการผ่าตัดคลอด
เคยขูดมดลูก
บุหรี่
Placenta membrananea และรกในครรภ์แฝด
ข้อวินิจฉัย
ไตรมาสที่ 1
เสี่ยงต่อภาวะแท้ง
ข้อมูลสนับสนุน 1 มารดาตั้งครรภ์ครั้งแรกพร่องความรู้ในการดูแลตนเอง
2 มีอาการแพ้ท้อง
วัตถุประสงค์ เพื่อไม่ให้เกิดการแท้งระหว่างตั้งครรภ์
เกณฑ์การประเมิน มารดามีความรู้ในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และดูแลตนเองได้ถูกต้อง
กิจกรรมพยาบาล
ประเมินความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเองในการตั้งครรภ์ของมารดา
แนะนำการรับประทาน อาหารหลัก 5 หมู่ เน้น โปรตีน เนื้อนมไข่ ผักใบเขียว และรับประทานอาหารที่มีโฟลิกสูง ซึ่งมีความจำเป็นกับทารกเพื่อใช้ใน การสร้างอวัยวะต่างๆ และสร้างเชลล์สมอง แคลเชียม จำเป็นในการพัฒนาการสร้างกระดูกและฟัน ซึ่งรับประทานได้จากนม และอาหารที่มีแคลเชียมสูง เช่น ปลาเล็กปลาน้อย รวมถึงการรับประทานยาเม็ดแคลเซียม ดื่มน้ำวันละ 8-12 แก้ว/วัน หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม อาหารกึ่งสำเร็จรูป อาหารกระป้อง อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส อาหารรสจัด โดยเฉพาะหวานจัด อาหารไขมันสูง ทั้งนี้ยังควรงดการดื่มชา กาแฟ และแอลกอฮอล์ไม่ควรสูบบุรี่ และใช้สารเสพติด
3.สามารถออกกำลังกายได้ตามปกติเหมือนตอนก่อนตั้งครรภ์แต่หลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องใช้แรงมาก หรือทำให้เกิดการกระแทก กระโดดหรือการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว ดังนั้นคุณแม่สามารถออกกำลังกายได้โดยการ วิ่งเหยาะๆว่ายน้ำ โยคะ
ควรหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในไตรมาสแรกเนื่องจากอาจส่งผลให้แท้งบุตรได้
การทำกิจกรรมสามารถทำได้ตามปกติ แต่ควรหลีกเลี่ยงงานที่ต้องสัมผัสหรือสูดดมสารเคมีหรือสิ่งอันตรายเช่น ยาฆ่าแมลง,โลหะหนักที่ผสมในสารเคมี
ภาวะแทรกซ้อน หากมีภาวะแทรกซ้อน เช่น มีเลือดไหลออกทางช่องคลอดหรือมีอาการปวดท้องเป็นเวลานานหรือปวดท้องมาก ควรรีบมาพบแพทย์โดยทันที
7.แนะนำให้มารดามาตรวจครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อประเมินความผิดปกติ
การประเมินผล
หญิงตั้งครรภ์สามารถบอกวิธีปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ และดูแลตนเองได้ถูกต้อง
ไตรมาสที่ 2
มารดามีภาวะรกเกาะต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน ผลตรวจ u/s พบภาวะรกเกาะต่ำ Placenta previa maginalis
วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้มารดามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะรกเกาะต่ำ
2.ไม่เกิดภาวะตกเลือด
เกณฑ์การประเมิน มารดามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะรกเกาะต่ำมากขึ้นมารดาสามารถดูแลตนเองตามคำแนะนำได้อย่างถูกต้อง
กิจกรรมพยาบาล
ประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะรกเกาะตำ่
2.แนะนำไม่ให้ทำงานหนัก ลดการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ควรทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง เดินขึ้นบรรไดหลายชั้น หรือมีการกระทบกระแทกเพื่อป้องกันการแท้งบุตรและตกเลือด
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากอาจทำให้เกิดการแท้งบุตรและตกเลือด
แนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้น โปรตีน เนื้อ นม ไข่สร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ลดอาหารประเภทแป้งของมัน เพราะในช่วงนี้จะต้องการโปรตีนมากกว่าคาร์โบไฮเดรต ไขมันที่สามารถทานได้ เช่น นม เนย เพราะมีวิตามินเอและดี รวมถึงแคลเซียม อาหารที่มีแคลเซียมซึ่งช่วย ในการสร้างกระดูกและฟัน ควรทานเป็นนมรสจืดเท่านั้น เน้นผักผลไม้ที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
แนะนำให้มารดาสังเกตการมีเลือดออกทางช่องคลอดก่อนการเจ็บครรภ์ หากพบเลือดออกลดไหลออกทางช่องคลอดควรรีบมาพบแพทย์ทันที
แนะนำให้มารดามาตรวจครรภ์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อประเมินความผิดปกติและวางแผนการคลอดเนื่องจากอาจจำเป็นจะต้องทำการผ่าตัดคลอดเพื่อป้องกันภาวะตกเลือด
การประเมินผล
มารดามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะรกเกาะต่ำมากขึ้นมารดาสามารถปฏิบัติตนและดูแลตนเองได้เหมาะสมตามคำแนะนำและไม่เกิดภาวะตกเลือดจากภาวะรกเกาะต่ำ
ไตรมาสที่ 3 เสี่ยงต่อภาวะตกเลือดเนื่องจากรกเกาะต่ำ
ข้อมูลสนับสนุน u/s พบภาวะรกเกาะต่ำ Placenta previa maginalis
วัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันไม่ให้มารดาตกเลือดก่อนคลอด
เกณฑ์การประเมิน มารดาไม่มีการตกเลือดก่อนคลอด
กิจกรรมการพยาบาล
1 . แนะนำไม่ให้ทำงานหนัก ลดการเคลื่อนไหวของร่างกายไม่ควรทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง เดินขึ้นบันไดหลายชั้น หรือมีการกระทบกระแทก งดมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการตกเลือด
2.สังเกตการดิ้นของทารกในครรภ์ หากทารกไม่ดิ้น หรือดิ้นน้อยกว่าปกติ ให้รีบมาพบแพทย์ทันที
ตรวจดูขนาดมดลูกและอายุครรภ์ว่าสัมพันธ์กันหรือไม่ ฟังเสียง FHS เพื่อประเมินสภาพทารกในครรภ์
แนะนำให้มารดาสังเกตอาการที่ต้องมาโรงพยาบาล อาการเจ็บครรภ์จริง คือ การเจ็บจะเริ่มต้นเหมือนปวดหลังบริเวณบั้นเอว แล้วร้าวมาที่หลังหรือขาทั้ง 2 ข้าง รู้สึกเหมือนอยากเข้าห้องน้ำ บางครั้งจะมีมูกหรือเลือดปนออกมา อาการเจ็บครรภ์จะเพิ่มมากขึ้น รู้สึกหน้าท้องและมดลูกแข็งเป็นพักๆ และค่อยๆคลายตัวลง ความเจ็บจะเพิ่มขึ้นและนานขึ้นเรื่อยๆ สม่ำเสมอทุก 10 นาทีหรือทุก 5 นาที มีอาการน้ำเดินคือมีน้ำไหลออกมาทางช่องคลอดเหมือนปัสสาวะแต่ไม่สามารถกลั้นได้ ปริมาณชุ่มผ้าอนามัย 2 ผืน อาการตกเลือดก่อนคลอดคือ เมื่อมีเลือดสดไหลออกมาทางช่องคลอดหากมีอาการควรรีบมาพบแพทย์ทันที
งดการตรวจทางช่องคลอดหรือสวนอุจจาระเพื่อป้องกันการตกเลือด
ติดตามผลการ u/s ค่า Hb Hct และตรวจร่างกายเฝ้าระวังภาวะซีดจากการเสียเลือด
ให้ข้อมูลว่าหาก u/s แล้วพบว่ามีภาวะรกเกาะต่ำที่มีความเสี่ยงต่อการตกเลือดในระยะก่อนคลอด จำเป็นจะต้องทำการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องเพื่อป้องกันการตกเลือด
การประเมินผล
มารดาไม่มีภาวะตกเลือดก่อนคลอด
คำแนะนำ
ไตรมาสที่ 1 การแพ้ท้อง เป็นเรื่องปกติหากมีน้ำหนักลดไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติ
การรับประทานอาหาร สามารถรับประทานได้ตามปกติ เท่าที่ทานได้ หากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนควรทานอาหารที่ย่อยง่าย แบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อย่อยๆ 4-5 มื้อต่อวันเพื่อให้รับประทานได้มากขึ้น และควรลดแป้ง น้ำตาล ลดการดื่มน้ำหวาน ชากาแฟแนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง เช่น เนื้อ ไข่ นมถั่วเหลือง ผักใบเขียวบร็อคโคลี่ ผักโขม เพื่อเสริมสร้างพลังงานและช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เนื้อแดง ไข่ ถั่วเมล็ดแห้ง ผักกูด ถั่วฝักยาว เป็นต้นควรรับประทานยาบำรุงตามแพทย์สั่ง ทั้ง folic acid, iodine เป็นต้น เพราะจะช่วยส่งเสริมการเติบโตของทารกในครรภ์ โดยเฉพาะไอโอดีนมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของสมองและระบบประสาทของทารก หากขาดไอโอดีนทารกอาจจะมีพัฒนาการทางสมองที่ช้าได้
หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรมีเพศสัมพันธุ์ในช่วง 3เดือนแรก
อาการที่ควรมาพบแพทย์ แพ้ท้องมากจนทานอาหารไม่ได้มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด ไม่ว่าจะมีอาการปวดท้องร่วมด้วยหรือไม่ก็ตาม การปวดท้องน้อย ในไตรมาสนี้อาจเกิดจากภาวะแท้งคุกคามหรือการฝังตัวอ่อนผิดที่ อาการที่อาจเกิดได้เพิ่มเติมคือทางเดินปัสสาวะอักเสบ โดยมีอาการปัสสาวะแสบขัด เจ็บ ปัสสาวะบ่อยเหมือนไม่สุด ปัสสาวะเป็นเลือด
ไตรมาสที่ 3 ต้องระมัดระวังเรื่องการทำกิจกรรม ห้ามทำงานหรือยกของหนัก เดินขึ้นลงบบันไดหลายชั้น งดมีเพศสัมพันธุ์ เนื่องจากมีภาวะรกเกาะตำ่
หากหายใจลำบากให้นอนศีรษะสูง หากขาบวมให้นอนเหยียดขายกปลายเท้าสูงวันละ10 นาทีป้องกันเส้นเลือดขอด ไม่ควรยืนนานๆ เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆเพื่อให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น
ในระยะ 2-3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนม และลานนม ดังนั้น ในการอาบน้ำ ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมเพราะมันจะชะล้างไขมันออกหมด ทำให้หัวนมแห้งและแตกง่าย
แนะนำให้รับประทานอาหารเน้น โปรตีน ผักผลไม้ นม แคลเชียม บำรุงทารกในครรภ์ให้มีน้ำหนักตามเกณฑ์เกิน 2500 g มารดาไม่ควรน้ำหนักลดในไตรมาสนี้
ควรมาพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งอาการสำคัญที่ต้องมารพ. เจ็บครรภ์จริง มีอาการเจ็บครรภ์สม่ำเสมอทุก 10 นาทีและมีอาการท้องแข็ง โดยลักษณะการเจ็บ จะเริ่มเจ็บจากบั้นเอวร้าวมาหน้าท้อง หน้าขา มีมูกเลือดหรือเลือดสดๆออกทางช่องคลอดมีน้ำเดินคล้ายปัสสาวะราด น้ำมีลักษณะใสๆลูกดิ้นน้อยกว่า 10 ครั้ง/วันปวดศีรษะ ตาพร่ามัว จุกแน่นลิ้นปี ขาบวมกดบุ๋มไม่คืนตัว เพราะเป็นอาการแสดงของครรภ์เป็นพิษ
การทำหมัน (หากหญิงตั้งครรภ์ต้องการทำหมัน)การทำหมันไม่มีผลกระทบใดๆต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นประจำเดือน ความต้องการทางเพศ เพราะการทำหมันเป็นการผูกและตัดท่อนำไข่เท่านั้น ซึ่งมี 2 แบบ คือ1.การทำหมันเปียก คือทำทันทีตอนผ่าคลอด2.การทำหมันแห้ง ทำหลังจากคลอดไปแล้ว
ไตรมาสที่ 2 ต้องระมัดระวังเรื่องการทำกิจกรรม ห้ามทำงานหรือยกของหนัก เดินขึ้นลงบบันไดหลายชั้น งดมีเพศสัมพันธุ์ เนื่องจากมีภาวะรกเกาะตำ่
เน้นรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้น โปรตีน เนื้อ นม ไข่สร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ลดอาหารประเภทแป้งของมัน เพราะในช่วงนี้จะต้องการโปรตีนมากกว่าคาร์โบไฮเดรต ไขมันที่สามารถทานได้ เช่น นม เนย เพราะมีวิตามินเอและดี รวมถึงแคลเซียม อาหารที่มีแคลเซียมซึ่งช่วย ในการสร้างกระดูกและฟัน ควรทานเป็นนมรสจืดเท่านั้น เน้นผักผลไม้ที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
ห้ามใช้สารเสพติด งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์สามารถเริ่มออกกำลังกายได้เบาๆ เชน เดิน โยคะ ว่ายน้ำ แต่ควรจะปรึกษาแพทย์ก่อน และไม่ควรหัก โหม จะช่วยให้นอนหลับสบายระบบไหลเวียนเลือดดีขึ้น ระบบย่อยทำงานได้ดีขึ้น ท้องไม่ผูกท่านอน ให้นอนตะแคงซ้าย ขวา หงาย สลับกันเพื่อลดอาการปวดหลังและควรนอนตะแคงซ้ายๆบ่อยๆ เพื่อลดการกดทับเส้นเลือด IVC เลือดจะได้ไหลเวียนไปสู่ลูกได้ดีขึ้นสามารถเริ่มนับลูกดิ้นได้เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ขึ้นไป ควรดิ้นมากกว่า 10ครั้งต่อวันสามารถนับได้หลังรับประทานอาหาร 1 ชั่วโมง 3มื้อ ทารกควรจะอิ้นมากกว่า 3 ครั้ง ต่อมื้ออาหาร 1 มื้อ หากน้อยกว่านี้
ให้รีบมาพบแพทย์
ส่งเสริมพัฒนาการทารกในครรภ์หญิงตั้งครรภ์ควรมีอารมณ์ดีอยู่เสมอไม่ควรเครียดลูบสัมผัสท้อง
GA 24 ks. ขึ้นไปทารกเริ่มได้ยินเสียงฟังเพลงอย่างน้อยวันละ 10 นาทีพูดคุยกับทารก ในครรภ์ ทั้งพ่อและแม่
GA 28 wks ทารกสามารถมองเห็นแสง ให้ส่องไฟเล่นกับทารกโดยปิดไฟให้มืดสนิทแล้วใช้ไฟฉายส่องไปที่หน้าท้องฝั่งตรงข้ามกับที่ทารกอยู่